(ธรรม)กายของตถาคต นั่งอย่างสงบ ไม่ขยับเขยื้อน
ในตถาคตคตครรภ์สูตร 《大方等如来藏经》Tathāgatagarbha-sūtra ที่ถูกแปลเป็นภาษาจีนโดยท่านพุทธภัทร (Buddhabhadra 佛陀跋陀罗) ในสมัยราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ. 317-420) กล่าวถึงเรื่องสรรพสัตว์ล้วนมีตถาคต อยู่ในท่านั่ง (สมาธิ) แต่ว่าถูกปกปิดด้วยกิเลสอาสวะ佛言:“如是善男子!我以佛眼观一切众生,贪欲恚痴诸烦恼中,有如来智、如来眼、如来身,结加趺坐俨然不动。”
And, sons of good family, [he] perceives that inside sentient beings encased in defilements sit many tathāgatas, cross-legged and motionless, endowed like myself with a [tathāgata’s] knowledge and vision.
พระพุทธองค์ตรัสว่า “เราใช้พุทธจักขุตรวจตราเวไนยสัตว์ สามารถเห็นได้ว่า ในท่ามกลางกิเลสของความโลภ โกรธ หลง, ล้วนมีปัญญาของตถาคต ดวงตาของตถาคต กายของตถาคต นั่งอย่างสงบ (สบาย) ไม่ขยับเขยื้อน”
กายของตถาคตที่อยู่ในท่ามกลางกิเลสคืออะไร?
"กายของตถาคต"ที่อยู่ในท่ามกลางกิเลสคืออะไร กาย นั้นน่าจะหมายถึง ธรรมกาย อันเป็นกายของพระตถาคตนั่นเอง ซึ่งในศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร Sīmālāthēwī sīnātthasūt พระสูตรมหายาน ได้กล่าวถึงธรรมกายของพระตถาคตนั้น และกล่าวถึงคุณลักษณะด้วยว่ามีลักษณะเป็นมั่นคง(เที่ยง) สุข อัตตา ความบริสุทธิ์ คล้ายกับคัมภีร์เถรวาทเช่นกัน ความว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอบเขตของความรู้อันเป็นธรรมกายของพระตถาคตนั้น ไม่มีใครเห็นมาก่อน แม้โดยความบริสุทธิ์ของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ เมื่อสรรพสัตว์มีศรัทธาในพระตถาคต และสรรพสัตว์เหล่านั้นเข้าถึงพระองค์ด้วยความมั่นคง ความสุข อัตตา ความบริสุทธิ์ และไม่หลงผิดไป สรรพสัตว์เหล่านั้นมีทัศนะที่ถูกต้อง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะธรรมกายของพระตถาคตมีความสมบูรณ์ในความเป็นนิจจัง มีความสมบูรณ์อยู่ในความสุข มีความสมบูรณ์ในอัตตา และสมบูรณ์ในความบริสุทธิ์ เมื่อใดก็ตามที่สรรพสัตว์เห็นธรรมกายของพระตถาคตในลักษณะนี้ เรียกได้ว่าเขาเห็นถูกต้อง ผู้ใดเห็นถูกต้องนับว่าเป็นพุทธบุตร เกิดจากพระหฤทัย เกิดจากพระโอษฐ์ เกิดจากธรรมะ ผู้ปฏิบัตินี้เป็นเยี่ยงปรากฏของพระธรรมและประดุจเป็นทายาทแห่งพระธรรม
(แปลโดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง. เฮ้าส์. 2523.)
“O Lord, living beings have contrary ideas when they have acquired the five psychophysical elements of the individual. The impermanent is considered permanent, suffering is considered happiness. The nonsubstantiality of the self is considered a substantial self, the impure is considered pure. The knowledge of all arhats and pratyekabuddhas has not originally apprehended the Dharma body of the Tathāgata nor the realm of his omniscience. If there are living beings who believe in the Buddha’s words, they will have thoughts of permanence, of happiness, of self, and of purity. These are not contrary views but are correct views. Why? The Dharma body of the Tathāgata is the perfection of permanence, the perfection of happiness, the perfection of the substantial self, and the perfection of purity. Those who see theDharma body of the Buddha in this way are said to see correctly. Those who see correctly are the true sons and daughters of the Buddha. They arise from the Buddha’s words, from the True Dharma, and fromconversion to the Dharma, attaining the remaining benefits of the Dharma.
(The Sutra of Queen Śrīmālā of the Lion’s Roar 222b, P.43-44)
《勝鬘師子吼一乘大方便方廣經》卷1:「顛倒眾生,於五受陰,無常[4]常想、苦有樂想、無我我想、不淨淨想。一切阿羅漢、辟支佛淨智者,於一切智境界及如來法身,本所不見。
「或有眾生,[5]信佛語故,起常想、樂想、我想、淨想,非顛倒見,是名正見。何以故?如來法身是常波羅蜜、樂波羅蜜、我波羅蜜、淨波羅蜜。於佛法身,作是見者,是名正見。正見者,是佛真子,從佛口生、從正法生、從法化生,得法餘財。」(CBETA, T12, no. 353, p. 222, a18-26)
[4]〔常〕-【知】。[5]信+(於)【知】。子。
「或有眾生,[5]信佛語故,起常想、樂想、我想、淨想,非顛倒見,是名正見。何以故?如來法身是常波羅蜜、樂波羅蜜、我波羅蜜、淨波羅蜜。於佛法身,作是見者,是名正見。正見者,是佛真子,從佛口生、從正法生、從法化生,得法餘財。」(CBETA, T12, no. 353, p. 222, a18-26)
[4]〔常〕-【知】。[5]信+(於)【知】。子。
"กายของพระตถาคต" ตามที่ปรากฏหลักฐานในบาลีเถรวาท เช่น อรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔ วักกลิสูตร ว่าด้วยการเห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า ความว่า
โย โข วกฺกลิ ธมฺมนฺติ อิธ ภควา "ธมฺมกาโย โข มหาราช ตถาคโต" ติ วุตฺตํ ธมฺมกายตํ ทสฺเสติ ฯ นววิโธ หิ โลกุตฺตรธมฺโม ตถาคตสฺส กาโย นาม ฯ
ในบทว่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ นี้ พึงทราบอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมกายที่ตรัสไว้ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ธรรมกายแลคือพระตถาคต ความจริงโลกุตตรธรรม ๙ อย่าง (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) ชื่อว่า พระกายของพระตถาคต.
จะเห็นได้ว่า "กายของพระตถาคต" นั่นก็คือธรรมกาย ที่นั่งอย่างสงบ (สบาย) ไม่ขยับเขยื้อน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมกายที่ตรัสไว้ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ธรรมกายแลคือพระตถาคต ความจริงโลกุตตรธรรม ๙ อย่าง (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) ชื่อว่า พระกายของพระตถาคต และเป็นธรรมกายของพระตถาคตมีความสมบูรณ์ในความเป็นนิจจัง มีความสมบูรณ์อยู่ในความสุข มีความสมบูรณ์ในอัตตา และสมบูรณ์ในความบริสุทธิ์ ด้วยประการฉะนี้แลโย โข วกฺกลิ ธมฺมนฺติ อิธ ภควา "ธมฺมกาโย โข มหาราช ตถาคโต" ติ วุตฺตํ ธมฺมกายตํ ทสฺเสติ ฯ นววิโธ หิ โลกุตฺตรธมฺโม ตถาคตสฺส กาโย นาม ฯ
ในบทว่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ นี้ พึงทราบอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมกายที่ตรัสไว้ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ธรรมกายแลคือพระตถาคต ความจริงโลกุตตรธรรม ๙ อย่าง (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) ชื่อว่า พระกายของพระตถาคต.
Cr.WYNNE, Alexander. Buddhism: an introduction. IB Tauris, 2015.P163
Cr.https://www2.hf.uio.no/polyglotta/index.php?page=fulltext&vid=53&view=fulltext
Cr.พม.ธเนศร์ ฐานรโต บทความวิจัย "การศึกษาแนวความคิดเรื่องกายตรัสรู้ธรรมในคัมภีร์มหายานมหาปรินิรวาณสูตร
Study on the thoughts of the body to attain enlightenment in The Mahayana Mahaparinirvana Sutra"
0 ความคิดเห็น: