วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

หลักฐานธรรมกายในอวตังสกสูตร

หลักฐานธรรมกายในอวตังสกสูตร

                                         

                                  ปกรงควัตถุสีทองของอวตังสกสูตรฉบับภาษาเกาหลี ค.ศ. 1400.

                                      หลักฐานธรรมกายในอวตังสกสูตร                                  

อวตังสกสูตร มีชื่อเต็มว่า "มหาไวปุลยพุทธาวตังสกสูตร" เป็นพระสูตรสำคัญในพุทธศาสนามหายานที่มีขนาดใหญ่สูตรหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์แรก ภายหลังการตรัสรู้พระโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นการแสดงธรรมบรรยายซึ่งกล่าวถึงสภาวะภายในที่พระองค์ประจักษ์แจ้งให้กับเหล่าพระโพธิสัตว์ชั้นสูง ได้แก่ พระมัญศรีโพธิสัตว์และพระสมันตภัทรโพธิสัตว์เป็นต้น เนื้อหากล่าวถึงเหตุของการปฏิบัติและผลของการประพฤติของพระพุทธเจ้า ที่สำแดงออกมาอย่างซับซ้อนไม่รู้จบ และแต่ละสิ่งก็เชื่อมโยงกันโดยปราศจากสิ่งกีดขวาง มีความสมบูรณ์และยิ่งใหญ่ไพศาลในตัวเอง เปรียบเสมือนดอกไม้หลากหลายชนิดมาร้อยเรียงกันอย่างสวยงาม ซึ่งมองเห็นได้ด้วยดวงตาที่กระทบแสงอันแพรวพราว

คำว่า "มหาไวปุลยะ" หมายถึง หลักสัจธรรมที่กว้างใหญ่ไพศาลไร้พรมแดน ซึ่งโอบกอดสรรพสิ่งไว้ด้วยกัน ชีวิตของมนุษย์ทุกจักรวาล วัตถุสิ่งของทั้งหมดที่มีอยู่ในที่นั้น ๆ ได้รับการบรรจุไว้ในมหาไวปุลยะนี้ทั้งสิ้น สิ่งนี้คือพระธรรมอันไพศาล คำว่า "พุทธะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในพระธรรมอันไพศาล คำว่า"อวตังสกะ" คือการนำเอาเรื่องราวที่เป็นเหตุปัจจัยประการต่าง ๆ มาเกื้อกูลแก่การปฏิบัติตามแนวพระโพธิสัตว์อันงดงามด้วยคุณเป็นประการต่าง ๆ คำว่า "สูตร" ในที่นี้หมายถึง คำสอนในพุทธศาสนาที่ประมวลเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าไว้ด้วยกัน มีเนื้อหามุ่งเน้นการเทิดทูนหลักธรรมไว้เหนือเกล้า และชี้แนะให้กับสรรพสัตว์ผู้อยู่เบื้องล่าง อีกนัยหนึ่ง "พุทธะ" คือ ประจักษ์พยานแห่งการตรัสรู้ธรรม "มหาไวปุลยะ"คือ พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ "อวตังสกะ" คือ การใช้อุปมาในรูปของพวงมาลาดอกไม้ที่งดงามนานาชนิด ดอกไม้นี้ให้กำเนิดพุทธผลอันงดงามซึ่งหาได้ยากยิ่งในโลก

            อวตังสกสูตร ฉบับ 60 ผูก คือฉบับย่อเป็นฉบับที่เผยแพร่ปัจจุบันนี้ มี 60 ปกรณ์ มี 100,000 โศลก สรุปความเป็นภาษาสันสกฤตได้ 36,000 โศลก จีนได้ 45,000 โศลก ฉบับแปลภาษาจีน มี 2 ฉบับ คือ ฉบับพระพุทธภัทรมหาเถระ แปลระหว่างปีพ.ศ. 961 - 963 กับฉบับของพระมหาสมณะศึกษานันทะ แปลระหว่างปีพ.ศ. 1238 - 1242

如來處世無所依,

法身清淨無起滅,

而能照現無量土,

一切悉見天中天。

The Tathagata lived in the world without attachment to anything. Pure Dhammakaya does not arise or completely cease.

and can make light appear in an immeasurable land All people saw the Lord among the gods

พระตถาคตทรงอาศัยอยู่ในโลกโดยไม่ได้ยึดโยงอยู่กับสิ่งใด พระธรรมกายบริสุทธิ์ไม่เกิดขึ้นหรือดับสนิท

และสามารถทำให้ความสว่างปรากฎขึ้นในแผ่นดินอันไม่มีประมาณ ชนทั้งปวงล้วนได้เห็นพระผู้เป็นเทพในหมู่เทพทั้งปวง (๑.๒๙.)

一切眾生莫能測,法身禪境界,

無量方便難思議,智慧光照法門。

All living beings cannot fathom it. The Dhammakaya of the Tathagata in Jhānavisāya It is an immeasurable upaya, difficult to think about. This is the door to the Dharma with the light of wisdom.

สรรพสัตว์ทั้งปวงมิสามารถหยั่งถึง ธรรมกายของพระตถาคตในฌานวิสัย เป็นอุปายะไม่มีประมาณยากคิด นี้คือประตูสู่ธรรมด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา (๑.๕๐.)

佛身無邊如虛空,智光音是,

佛於諸法無障礙,猶光照一切。

The Buddha's body was as boundless as the air. Even the radiance of his wisdom and the clarity of his voice are the same.

The Buddha is free from obstacles and barriers in all dharmas. It's like the moonlight shining on everything.

พระวรกายของพระพุทธเจ้าไร้ขอบเขตเหมือนอากาศ แม้รัศมีแห่งพระญาณกับเสียงที่ใสสะอาดก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน

พระพุทธเจ้าทรงปราศจากอุปสรรคและเครื่องกั้นในธรรมทั้งปวง เสมอเหมือนด้วยแสงจันทร์ส่องสรรพสิ่ง (๑.๕ ๕.)

法王安住妙法堂,法身光明無不照,

法性如實無異相,是名樂音海法門。」

Phra Thammaraja was resting peacefully in the Phra Sattham Hall. The Dhammakaya radiates a brilliant radiance that nowhere it cannot reach.

The state of Dhamma is true and has no difference in characteristics. This is called the door to Dhamma, which is the satisfaction in the sound of Sakhon.

พระธรรมราชาประทับอยู่อย่างสงบในหอพระสัทธรรม พระธรรมกายเปล่งรัศมีเรืองรองไม่มีที่ใดเลยที่แผ่ไปไม่ถึง

สภาวธรรมเป็นจริงตามนั้นมีลักษณะไม่แตกต่าง นี้ชื่อว่าประตูสู่ธรรมคือความซอบใจในเสียงสาคร (๑.๕๖.)

「如法身等法界,普應眾生悉對現,

如來法王化眾生,隨諸法悉調伏。

The Dhammakaya of the Tathagata is equal to the Dhamma elements. All of them are shown to the animals as appropriate throughout the universe.

The Tathagata, the Dhamma-king, guides all beings. All of them have been trained and controlled according to the Dhamma.

พระธรรมกายแห่งพระตถาคตเสมอด้วยธรรมธาตุ ทั้งหมดล้วนสำแดงให้ปรากฎขึ้นต่อหมู่สัตว์ตามสมควรทั่วสากล

พระตถาคตผู้ทรงเป็นพระธรรมราชาทรงชี้แนะสรรพสัตว์ ทั้งหมดล้วนได้รับการอบรมและกำราบโดยอนุโลมตามสรรพธรรม (๑.๕๗.)

法身於世難思議,普現應眾生

緣性無造非實,行業莊現世間。

In this world, Dhammakaya is something that is difficult to imagine. The Tathagata arose universally, appropriate to all living beings.

The nature of factors is devoid of creation and is not true reality. Conduct and actions are decorations that occur in this world.

ในโลกนี้พระธรรมกายเป็นสิ่งที่คิดได้โดยยาก พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นทั่วสากลอย่างเหมาะสมกับสรรพสัตว์

ธรรมชาติแห่งปัจจัยปราศจากการสร้างและมิใช่ความจริงแท้ ความประพฤติและการกระทำเป็นเครื่องประดับที่อุบัติขึ้นในโลกนี้ (๑.๖๗.)

方便求佛無所有,之十方不可得,

法身示現無真實.出生自在如是見。

The use of upāyā to seek the Buddha is all but non-existent. Pursuing or chasing (Buddha) in all directions cannot be considered anything.

The Dhammakaya manifests itself without any real truth. and can occur independently You should see that.

การใช้อุปายะเพื่อแสวงหาพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นไม่ได้มีอยู่เลย การเที่ยวไขว่คว้าหรือไล่จับ(พระพุทธเจ้า) ในทศทิศก็ไม่อาจถือเอาอะไรได้

พระธรรมกายสำแดงให้ปรากฎขึ้นโดยปราศจากความจริงแท้ และเกิดขึ้นได้เองอย่างเป็นอิสระ พึงเห็นอย่างนั้น (๑.๖๘.)

如來法身不思,法界法性然

光明普照一切法,寂靜諸法皆悉現。

The Dhammakaya of the Tathagata is imaginary. And the analysis of the natural conditions of Dhamma Dhatu is also like that.

Light spreads universally in all dharmas. The calmness of all things has appeared.

พระธรรมกายของพระตถาคตเป็นอจินไตย และการวิเคราะห์สภาวธรรมแห่งธรรมธาตุก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

แสงสว่างแผ่ซ่านทั่วสากลในธรรมทั้งปวง ความสงบระงับแห่งสรรพธรรมล้วนปรากฎขึ้นแล้วทั้งสิ้น (๑.๗๙.)

法身甚彌曠,周遍十方無際,

智慧光明方便力,寂滅禪樂無邊。

The Tathagata has an extraordinary and vast Dhammakaya. Covering all areas of the border spread out in boundless directions

Light is wisdom Having upaya as power and calm Happy to live in that boundaryless jhana.

พระตถาคตมีธรรมกายอันพิสดารกว้างใหญ่ไพศาล ปกคลุมทั่วทุกบริเวณเขตแดน แผ่กระจายไปในทศทิศไร้ขอบเขต

แสงสว่างคือปัญญา มีอุปายะเป็นพลัง และทรงสงบระงับ ยินดีอยู่ในฌานที่ไร้พรมแดนนั้นด้วย (๑.๘๖.)

 

ที่มา https://drive.google.com/file/d/1WmVAuc2YqRlXJVVi6c24C7Ygi7adEChT/view

https://th.wikipedia.org/wiki/อวตังสกสูตร

วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

เสวนาวิชาการสืบค้นวิเคราะห์บันทึกมรดกธรรมในพระพุทธศาสนากับสังคมที่ก้าวไปในหัวข้อพุทธานุสติในพระพุทธศาสนาฯ.

เสวนาวิชาการสืบค้นวิเคราะห์บันทึกมรดกธรรมในพระพุทธศาสนากับสังคมที่ก้าวไปในหัวข้อพุทธานุสติในพระพุทธศาสนาฯ.

เสวนาวิชาการสืบค้นวิเคราะห์บันทึกมรดกธรรมในพระพุทธศาสนากับสังคมที่ก้าวไปในหัวข้อพุทธานุสติในพระพุทธศาสนาฯ.

 Academic dialogue delves into the analysis and exploration of recorded Dharma heritage in Buddhism. Society Moving Forward in The Topic of Buddhanusati in Buddhism


การทําสมาธิแบบพุทธานุสติซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับสมาธิแบบวิชชาธรรมกายที่เราปฏิบัติกันอยู่อย่างไรบ้างคะ?

Is there a link between Buddhanusati meditation and Vijja Dhammakaya meditation method that we are practicing?

กราบนมัสการพระคุณเจ้า แล้วก็สวัสดีทุกท่านนะครับ

I pay my highest respects to the venerable master, and greetings to all of you.

สําหรับเรื่องราวที่ผมจะมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ ขอใช้คําว่าเล่าสู่กันฟังนะครับ เพื่อที่จะได้ไม่ดูเป็นวิชาการมากเกินไป ก็คือเป็นเรื่องของการทําสมาธิแบบพุทธานุสสติ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสมาธิแบบวิชชาธรรมกายอยู่  เนื้อหาส่วนหนึ่งที่นํามาบรรยายนํามาเล่าสู่กันฟังในนี้ ก็เป็นเนื้อหาที่อยู่ในงานวิจัยที่ผมกําลังทําอยู่ โดยงานวิจัยของผมก็จะเน้นไปที่กลวิธีและประโยชน์ของวิเคราะห์ศัพท์แบบนิรุตติศาสตร์ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการวิเคราะห์ศัพย์เพื่อการปฏิบัติแบบพุทธานุสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค 

Today, I'm going to share a story with you, not in an overly academic way, but more like a casual chat. It's about Buddhanusati meditation and how it's connected to the Vijja Dhammakaya meditation method we're familiar with. So, what I'm going to talk about includes stuff from my ongoing research. It's all about digging into how words are used and what they mean in Buddhist texts, especially when it comes to understanding Buddhanusati meditation as explained in the Visuddhimagga.

สําหรับการบรรยายในวันนี้ผมก็ จะแสดงให้เห็นถึงที่มาและความสําคัญของการทําสมาธิแบบพุทธานุสติ แล้วก็การพัฒนาการและวิธีการทําสมาธิแบบพุทธานุสติ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงสมัยพระอรรถกถาจารย์ รวมถึง ความเชื่อมโยงในการทําสมาธิแบบวิชชาธรรมกายและก็คําภาวนาสัมมาอระหัง พุทธานุสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค

Part of the content I'm about to share comes from my current research which focuses on the techniques and benefits of etymological analysis in Buddhist scriptures. One aspect of this involves analyzing terminology for the practice of Buddhanusati in the Visuddhimagga text.

สําหรับสิ่งแรกที่ผมจะพูดถึงก็คือความหมายของคําว่าอนุสสติ ในคำว่าพุทธานุสติซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินคําสองคํานี้มาบ่อยๆ แล้ว แต่ว่าความหมายที่แท้จริงของสองคํานี้หมายถึงอะไร บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ จริงๆ แล้วคําว่าพุทธานุสติเป็นการสมาสของคําว่า พุทธะ ที่หมายถึงพระพุทธเจ้า กับคําว่า อนุสติ โดยเมื่อสมาสแล้วก็หมายถึงอนุสติที่มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ คําว่าอนุสตินี้ ในพระไตรปิฎกมีความหมายใกล้เคียงกับคําว่า สติ บางทีก็ใช้แทนกันได้ โดยมีความหมายอยู่ด้วยกัน 2 นัยยะ นัยยะแรกนั่นก็คือความหมายดั้งเดิมของศัพท์หมายถึงการระลึกถึง หรือว่าความทรงจํา ในภาษาอังกฤษคําว่าเมมโมรี่ โดยความหมายนี้จะเป็นความหมายที่พบโดยทั่วไปในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา รวมถึงคัมภีร์พราหมณ์ด้วย

So, I’m kicking things off with what "anusati" means when we talk about "Buddhanusati." You've probably come across this term before, but what do they truly signify? Well, "Buddhanusati" basically merges "Buddha," as in the Lord Buddha, with "anusati," meaning when put together, it's about keeping the Buddha in mind. "Anusati," as found in the Pali texts, is pretty close to "sati," and they can sometimes mean the same thing. It boils down to two senses: the first is about remembering or memory—think "memory" in English. This sense pops up a lot in the Buddhist texts and even in Brahmanical scriptures.

สําหรับในภาษาไทยเรา ก็มีการรับคํานี้มาใช้เช่นกันในคําว่าอนุสรณ์ หรือว่าภาษาบาลีก็คืออนุสรณะ ซึ่งเป็นคํานามอีกคํานึงที่มีรากเดียวคําว่า อนุสติ นั่นเอง อนุสรณ์ หมายถึงสิ่งที่ทําให้เราระลึกถึงบุคคลหรือว่าเหตุการณ์สําคัญๆ เหมือนกับคําว่าอนุสติที่หมายถึงการระลึกถึง ส่วนอีกความหมายนึงของคําว่าสติหรือว่าอนุสติ จะเป็นความหมายที่ค่อนข้างเฉพาะในบริบททางพระพุทธศาสนา หมายถึงการทําสมาธิหรือว่าในภาษาอังกฤษใช้คําว่า ความหมายนี้นักวิชาการบางท่านก็แย้งว่า เป็นความหมายที่ขยายมาจากความความทรงจําอีกทีหนึ่ง แล้วก็การมีสติหรือว่าสติจําเป็นจะใส่ความทรงจําด้วย แต่ว่านักวิชาการบางท่านเองก็กลับมาแย้งว่า การมีสติในพระพุทธศาสนาไม่จําเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับความทรงจําเสมอไป อันนี้ก็แล้วแต่ทัศนะของนักวิชาการท่านนั้นๆ

In Thai, we've got a similar word, "anusorn," or "anusarana" in Pali, that comes from the same root as "anusati." It's about things that jog your memory about people or big events, kind of like "anusati" is about remembering. Now, when we talk about "sati" or "anusati" in Buddhism, it shifts a bit to mean meditation or mindfulness. Some folks think this idea kinda stretches from the concept of memory, like mindfulness has to do with remembering stuff. But then, some scholars argue that being mindful in Buddhism isn't always about memory—it varies with each scholar's take.

สําหรับผมหลังจากที่ได้ศึกษาคําครั้งนี้แล้ว  ก็คิดว่าพิจารณาความหมายของคํานี้ออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน คือช่วงที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ อนุสติหรือพุทธานุสติ น่าจะหมายถึงความทรงจํา หรือว่าการระลึกนึกถึงพระองค์โดยตรง โดยพระสาวกหรือว่าผู้ที่ทันเห็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้ฟังธรรมจากพระองค์ มีประสบการณ์โดยตรงจากพระองค์ แต่เมื่อพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว การใช้คําว่าอนุสติ หรือว่าสติ น่าจะขยายความหมายออกมาอีกทีหนึ่ง ซึ่งหมายถึงการทําสมาธิที่ระลึกถึงพระพุทธองค์ผ่านเรื่องเล่า แล้วประกอบสร้างพระพุทธองค์ผ่านเรื่องราวที่ได้รับฟังมาอีกทีหนึ่งจากพระสาวกรุ่นแรกๆ ซึ่งวิธีการเช่นนี้น่าจะเป็นต้นแบบของการทําสมาธิแบบพุทธานุสติที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ซึ่งใช้วิธีการทางนิรุตติศาสตร์ในการประกอบสร้างภาพจําลองของพระพุทธองค์เพื่อการทําสมาธินั่นเอง

So, after digging into this word a bit, I think you can split its meaning based on whether the Buddha was still around. Back when the Buddha was alive, "anusati" or "Buddhanusati" was probably about remembering him, thinking back to what it was like to be in his presence, for those lucky enough to have actually met him and listened to his teachings. But after the Buddha passed away, "anusati" or "sati" started to mean something a bit broader. It turned into a way of meditating by recalling the Buddha through stories passed down from the earliest disciples, kind of piecing together what he was like from these narratives. This approach laid the groundwork for what we now see as Buddhanusati meditation in texts like the Visuddhimagga, where it's all about using stories to form a picture of the Buddha in your mind for meditation.

สําหรับการทําแบบพุทธานุสตินั้น ไม่ได้มีบอกว่าอย่างชัดเจนในประเทศไทยว่าต้องทําเช่นไร เช่นมหานามสูตรในอังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้แต่เพียงหากจะระลึกพระองค์ หรือว่าจะอนุสติถึงพระองค์ ให้พระสาวกระลึกถึงโดยผ่านบทอิติปิโส ซึ่งจะทําให้เข้าถึงสมาธิแล้วก็กําจัดความกลัวได้ บางพระสูตรเช่นในอังคุตตรนิกายเอง ตรัสพระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนว่า  พุทธานุสติสิ่งนี้จะนําไปสู่นิพพานได้ในที่สุด  ซึ่งอาจจะสังเกตว่าเนื้อหาตรงนี้ อาจจะมีความขัดแย้งอยู่บ้างจากคัมภีร์ยุคหลัง เช่นคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่กล่าวว่า พุทธานุสติเป็นสมาธิที่นําไปสู่สมถะเบื้องต้นได้เท่านั้น

When it comes to Buddhanusati, there isn't a clear-cut method laid out in Thailand, like "do this, then that." Take the Mahanama Sutta in the Anguttara Nikaya, for example. The Buddha was pretty much like, "If you wanna remember me or keep me in mind, just think back on the Itipiso chant. It'll help you focus and not be scared." And in the same collection, the Buddha's pretty straightforward, saying Buddhanusati can take you all the way to Nibbana. But then, you've got later texts, like the Visuddhimagga, throwing in a bit of a curveball by saying Buddhanusati is great for getting started with concentration, but that's about it.

แล้วก็นักวิชาการได้วิเคราะห์รูปแบบของพุทธานุสติ ที่ปรากฏคัมภีร์บาลีแล้วก็สรุปมาเป็น 2 แนวทาง โดยกลุ่มแรกก็เชื่อว่าพุทธานุสติในยุคแรก เป็นการท่องบทอิติปิโสเท่านั้น แล้วก็ยังไม่มีการนึกภาพหรือว่านิมิตภาพ เป็นภาพพุทธองค์ในขณะที่ปฏิบัติสมาธิ แต่ว่านักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งก็เห็นแย้งว่า การทําพุทธานุสติเกี่ยวข้องกับการตรึกภาพของพระพุทธองค์เอาไว้ในใจดังที่ที่ปรากฏในคัมภีร์สุตนิบาตโดยพระปิงคียะก็กล่าวว่า ท่านอายุมากแล้วและก็สังขารก็ไม่เอื้ออํานวยที่จะติดตามพระองค์ไปในทุกที่ แต่ท่านมีสติแล้วก็เห็นพระพุทธองค์ใจได้ตลอดเวลา อีกคัมภีร์หนึ่งก็คือคัมภีร์พุทธาปธานกล่าวไว้ว่า พระพุทธองค์ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ได้นึกถึงภาพของพุทธเจ้าและพระสาวกในพระนิพพานเอาไว้ในใจ แล้วก็ได้ฟังภาพจากพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วย ซึ่งหลักฐานชั้นต้นจากพระไตรปิฎกเหล่านี้ ก็ชี้ชัดว่าพุทธสติแบบเห็นพระพุทธเจ้ามีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลแล้ว

So, there's this debate among scholars about how Buddhanusati was practiced back in the day, based on what's in the Pali texts. One side says early on, it was all about chanting the Itipiso and didn't involve picturing the Buddha during meditation. But then, there's this other viewpoint saying that Buddhanusati definitely included imagining the Buddha, like Pingiya talking in the Suttanipata about how, even though he couldn't physically keep up with the Buddha everywhere, he kept the Buddha in his mind all the time. And in the Buddhavamsa, it talks about the Buddha, back when he was a Bodhisattva, thinking about images of past Buddhas and their disciples in Nirvana and hearing from them. So, these early texts from the Pali Canon really show that seeing the Buddha in your mind's eye as part of Buddhanusati goes way back.

สําหรับคําในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมีการกล่าวถึงพุทธานุสติไว้แบบใด ในงานวิจัยของผมพบว่าในคัมภีร์วิสุทธิมรรคพระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่ง ได้ใช้วิธีการทางนิรุตติศาสตร์ในการอธิบายความของคําทุกคําที่ปรากฏในบทอิติปิโส ซึ่งคําเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงพระพุทธคุณทั้ง 9 ประการ แล้วก็การอธิบายแบบนี้ มีปรากฏอยู่บ้างแล้วในคัมภีร์จูฬนิเทศและมหานิเทศ แต่ว่าไม่ได้เชื่อมโยงถึงการปฏิบัติแบบพุทธานุสติเหมือนกับในคัมภีร์วิสุทธิมรรค สําหรับหลักฐานที่เก่าสุดที่ปรากฏก็คือคัมภีร์วิมุตติมรรค ซึ่งมีการอธิบายบทอิติปิโส แบบนิรุตติศาสตร์เหมือนกับวิสุทธิมรรคแล้วเชื่อมโยงถึงการปฏิบัติธรรมแบบพุทธานุสติด้วย คัมภีร์วิมุตติมรรคนี้ นักวิชาการเชื่อว่าเป็นต้นแบบของคัมภีร์วิสุทธิมรรค แล้วก็แต่งโดยพระธรรมปาละที่เป็นพระจากสํานักอภัยคีวิหาร อาจจะมีความเก่าแก่กว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรคเล็กน้อย ในปัจจุบันต้นฉบับภาษาเดิมของวิมุตติมรรคไม่มีแล้วไม่หลงเหลือแล้ว มีแต่เพียงฉบับภาษาจีนที่แปลไว้ แต่ว่าการอธิบายความของบทอิติปิโสในคัมภีร์วิสุทธิมรรค น่าจะเป็นฉบับที่ขยายความได้ชัดเจนมากที่สุด แล้วก็ขยายมาจากคัมภีร์วิมุตติมรรคอีกทีหนึ่ง และก็การปฏิบัติแบบนี้น่าจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติพุทธานุสติพุทธศาสนาเถรวาทในสมัยต่อๆ มา

So, in the Visuddhimagga, there’s a section where it talks about Buddhanusati and breaks down the Itipiso chant word by word, diving into what each term means—pointing out the Buddha’s nine virtues. This kind of breakdown also pops up in older texts like the Culaniddesa and the Mahaniddesa but doesn’t tie back to Buddhanusati the way the Visuddhimagga does. The real old-school reference for this comes from the Vimuttimagga, which goes through the Itipiso chant in a similar way and connects it directly to Buddhanusati practice. People think the Vimuttimagga, written by a monk named Upatissa from the Abhayagiri place, came just before the Visuddhimagga. The original’s gone, and we only have a Chinese translation now. But, the way the Visuddhimagga explains the Itipiso chant? That’s probably the clearest we’ve got, and it likely builds off what the Vimuttimagga started. Looks like this approach kind of laid the groundwork for how Buddhanusati got practiced in Theravada Buddhism later on.

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายคําในบทอิติปิโสไว้อย่างละเอียด เช่นคําว่า อรหํ มาจากคําว่า อรกา ซึ่งหมายถึงห่างไกล คือห่างไกลจากกิเลส หรือว่ามาจากคําว่า อริ คําว่า หตะ ซึ่งผู้ที่ศัตรู อริก็คือกิเลสเนี่ยถูกกําจัดแล้ว หรือว่าคําว่า อระ บวกคําว่า หตะ ซึ่งหมายถึงซี่กรรมของกงล้อ ก็คือสังสารวัฏ ได้แตกหักลงแล้วเป็นต้น จะสังเกตได้ว่าการอธิบายความแบบนี้ มีหลักเกณฑ์อยู่ด้วยกัน 2 ประการ ก็คือหนึ่งเสียงของคําเนี่ยคําตั้งต้นกับคําที่นําอธิบายความหมายจะต้องคล้ายคลึงกัน อริหตะ กับคําว่า อรหันตะ หรือว่า อรหตะ กับคําว่า อรหันตะ เป็นต้น

So, in the Visuddhimagga, Phra Buddhaghosacarn really dives deep into the words from the Itipiso chant. Take "Araham"—he breaks it down to show it's about being way beyond all those bad vibes, or it's like saying all the bad stuff (defilements) that mess with us are gone for good. And when he talks about breaking the cycle of life and death, it’s like saying the whole spinning mess we’re caught in has finally cracked. The cool part about how he explains things? There are a couple of rules he sticks to, like making sure the words he uses to explain stuff sound kinda like the word he’s explaining. Like "Arihata" sounding similar to "Arahanta."

สําหรับประการที่ 2 ก็คือความหมายจะต้องเชื่อมโยงได้ด้วย การวิธีการทางนิติศาสตร์แบบนี้ ส่วนใหญ่จะใช้ในการอธิบายความที่เป็นวิธีการทางภาษาศาสตร์ของชาวอินเดียโบราณ แต่ว่าในที่นี้กลับนํามาใช้เป็นวิธีการทําสมาธิ ผมจึงสนใจว่ามันจะมีผลอย่างไร แล้วเราจะอธิบายเหตุการณ์อย่างนี้ได้อย่างไร

So, the second thing is about making sure everything's connected, especially when you're digging into words like they did back in the old days in India. But here's the twist—they're using this old-school word puzzle approach for meditation. That got me wondering what kind of impact that could have and how we'd even start to explain something like that.

อันนี้ผมจึงขอเชื่อมโยงไปถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง ก็คือการศึกษาอารมณ์ความเกรงขาม หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า AWE อารมณ์นี้เกิดขึ้นจากการรับรู้สิ่งที่ใหญ่กว่าตน ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางสังคม เมื่อเรามองเห็นภูเขาแม่น้ําต้นไม้ที่ยิ่งใหญ่ การเห็นศักยภาพที่ตระการตาหรือว่าอาคารสิ่งปลูกสร้างที่อลังการ หรือว่ารวมถึงการรับรู้ทางสังคมเช่นการพบปะหรือการพูดคุยกับบุคคลที่อํานาจ มีคุณธรรมที่น่าเกรงขามที่ทําให้เรารู้สึกขนลุกได้ ถ้าเรารับรู้สิ่งต่างต่างเหล่านี้แล้ว เราจะพยายามปรับเปลี่ยนมุมมองของเราที่มีต่อโลกให้เข้ากับสิ่งที่เรารับรู้ใหม่นี้ อารมณ์ความเกรงขามนี้ ในทางวิทยาศาสตร์มีการทดลองว่าจะนําไปสู่สมาธิได้และสร้างความศรัทธาในศาสนาและตัวบุคคล รวมถึงทําให้ตาของผู้ที่มีอารมณ์ความเกรงขามลดลงด้วย So, I got thinking about how this all ties back to a certain type of scientific study—looking into that whole awe thing. You know that feeling you get when you're faced with something way bigger than you, like a massive mountain or a huge river, or even when you're in the presence of someone really powerful or morally upright, and it just gives you chills. When stuff like this makes us see the world in a new light, science says it can actually help us focus better, build up our faith in our religion or ourselves, and even shrink our egos a bit.

จากการศึกษาอารมณ์ความเกรง ทําให้ผมสรุปได้ว่าสมาธิแบบพุทธานุสติที่มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ก็คือการสร้างอารมณ์ความเกรงขามนั่นเอง โดยใช้วิธีการทางนิรุตติศาสตร์ในการขยายความเพื่อทําให้ผู้ตรึกระลึกถึงได้รับรู้ถึงพระพุทธคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์ อ่านตัวหนังสือในบทสวดและสร้างความศรัทธา มุ่งตรงต่อพุทธองค์แล้วนําไปสู่สมาธิและนิพพานในที่สุด

So, after looking into how reverence works, I figured out that when you're doing Buddhanusati meditation and focusing on the Buddha, you're basically building up this sense of deep respect. The trick is using word analysis to really dig into the texts, so when people think about it, they can get a sense of just how awesome the Buddha's qualities are. It's about getting into the chants, boosting your faith, and keeping your sights on the Buddha, which can then take you all the way to getting your mind right and, eventually, to Nibbana.

 

สําหรับการทําสมาธิแบบพุทธานุสติที่ใช้หลักการทางนิรุตติศาสตร์ ก็มีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยในสมัยเวลาหลังจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเลย มีคัมภีร์จตุรารักขาซึ่งใช้แนวทางการอธิบายความแบบเดียวกันคัมภีร์วิสุทธิมรรค แต่ว่ามีลักษณะที่ย่อความมา อาจจะเป็นเพราะว่าต้องการจะลดความซับซ้อนในการท่องจําและการทําความเข้าใจ ส่วนในแถบประเทศไทยเอง ก็มีการสืบทอดมาหลายทาง มีการแต่งตําราพุทธคุณที่ใช้บทอิติปิโสเป็นหลัก แล้วก็อธิบายความให้ยืดยาวออกไปเพื่อทําให้เห็นภาพของความยิ่งใหญ่ของกลุ่มของพระพุทธองค์ ซึ่งอันนี้ก็น่าจะเป็นแนวทางในการนําไปสู่การปฏิบัติแบบที่แบบพุทธานุสติ นอกจากนี้คําว่าสมาส ผมคิดว่าน่าจะมาจากการท่องกลับของบทอิติปิโส ที่ขึ้นต้นด้วยคําว่า อรหํ สัมมาสัมพุทโธ ภควา เป็นต้น ซึ่งเมื่อกลับแล้วเราก็จะได้คําว่า สัมมาอรหัง และการตีความคําว่า สัมมาอะระหังเอง ในปัจจุบันก็ยังมีการตีความทางนิรุตติศาสตร์อยู่ โดยจะพบว่าทางอาการทางสมาธิ ก็อาศัยหลักการการตีความจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเป็นต้นแบบนั่นเอง

So, the way we do Buddhanusati meditation, based on breaking down words and their meanings, has come all the way down to us today. After the Visuddhimagga came out, there was this text called the Caturarakkha that kind of followed in its footsteps but made things shorter, probably to make it easier for folks to get and remember. Over here in Thailand, we've taken this and run with it, creating works that dive deep into the Buddha's qualities using the Itipiso as a starting point, and really fleshing it out to show just how amazing the Buddha and his teachings are. This sort of thing probably helps shape how Buddhanusati is practiced. And about the term "samma arahang," I'm pretty sure it comes from flipping the Itipiso verse around, starting with "Araham sammasambuddho bhagava'' and so on. Flipping it gives you "samma arahang," and how we understand that term today has a lot to do with the kind of word analysis you see in the Visuddhimagga, setting the standard for meditation practices.

สุดท้ายนี้ ผมก็เลยจะขอสรุปว่าการปฏิบัติสมาธิแบบพุทธานุสติที่มีการเห็นพระพุทธเจ้า น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วดังที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกที่ผมได้แสดงให้เห็นเบื้องต้น แล้วก็พุทธสติสามารถนําไปสู่นิพพานได้ตามที่พระองค์ทรงตรัสสอนไว้ และคําว่า สัมมา อะระหัง น่าจะสืบทอดมาจากการใช้วิธีการทางนิรุตติศาสตร์ เพื่อการปฏิบัติแบบพุทธานุสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นเอง

So, to wrap this up, I'm pretty convinced that Buddhanusati meditation, where you visualize the Buddha, has been around since the Buddha's days—just like the early texts in the Pali Canon show. Plus, the Buddha said this kind of meditation can take you all the way to Nibbana. And that phrase "Samma Arahang" we come across, especially in the Visuddhimagga? It looks like it comes from using some serious word-analysis to get into the groove of Buddhanusati meditation.

 

วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

Reviving Lost Wisdom: The Unveiling of the Kanthari Studies Center and the Renaissance of Ancient Buddhist Languages

Reviving Lost Wisdom: The Unveiling of the Kanthari Studies Center and the Renaissance of Ancient Buddhist Languages

Reviving Lost Wisdom: The Unveiling of the Kanthari Studies Center and the Renaissance of Ancient Buddhist Languages

I pay my utmost respects to Phra Ajahn Mahasudham Suratano, and greetings to all the attendees. The significant day has finally arrived, as we witness the opening of the Kanthari Studies Center of the Dhammachai International Research Institute, or DIRI for short. This organization, under the Pariyatti Dhamma Division of Wat Phra Dhammakaya, aims to revive ancient languages that seem almost extinct or forgotten, and to revitalize them in Thailand.

กราบนมัสการพระคุณเจ้าพระอาจารย์มหาสุธรรม สุรตโน แล้วก็สวัสดีท่านผู้มีบุญทุกท่านค่ะ ก็ต้องพูดว่าในที่สุดก็มาถึงวันนี้นะคะ วันนี้เป็นวันสำคัญ เพราะว่าเป็นวันที่มีพิธีเปิดศูนย์คานธารีศึกษาของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยหรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่าดีรี องค์กรนี้จะสังกัดสํานักพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย แล้วก็จะมาช่วยกันปลุกภาษาโบราณ ที่ดูเหมือนว่าจะตายไปแล้วนะ ถ้าไม่ตายก็ถูกหลงลืมไปแล้ว ให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ในสยามประเทศนี้

 

Speaking of DIRI, it's fitting to share through its lens of places and times, as DIRI's work truly spans across various countries and over a decade or more. Led by The Most Venerable Phrasudhammayanavidesa, who dedicated his life to unearth the original teachings of the exalted Supreme Buddha, anchored in the determination of Luang Por  Dhammajayo, who believed in the existence of truth, and his encouragement to find it. The Most Venerable Phrasudhammayanavidesa (Sudham Sudhammo), greatly rejoiced as he gradually discovered what was shared by Dr. Chanida Jantrasrisalai.

เมื่อพูดถึงดีรี ก็อยากจะเล่าสักนิดนึง แล้วก็ไม่มีอะไรที่จะเหมาะสมมากไปกว่า จะต้องเล่าผ่านเรื่องของสถานที่และกาลเวลา เพราะว่างานของดีรีนั้นเนี่ย เป็นงานที่ผ่านสถานที่และกาลเวลาจริงๆ เดินทางไปในหลายประเทศทั่วโลก ผ่านระยะเวลานับ 10 ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น โดยที่มีพระเดชพระคุณพระสุธรรมญาณวิเทศ ท่านเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสําคัญ อุทิศชีวิตเพื่อการศึกษานี้ โดยที่มีจิตตั้งมั่นอยู่ในมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่หลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่บอกว่า เขาบอกว่าไม่มีเหรอ ความจริงนั้นมีนะ ให้ไปแล้วจะเจอ ซึ่งหลวงน้าสุธัมโม ท่านเจ้าคุณหลวงน้าสุธัมโม ท่านก็ไปและท่านดีใจมากเลยเมื่อท่านค่อยๆ เจอ ดังที่ท่านได้รับทราบจากดร.ชนิดาไปแล้ว

 

DIRI has grown on the foundation laid by Most Ven. Dhammajayo, starting from almost nothing to being able to reach out to the vast world. At that time, whom to meet or where to go was unknown. Throughout this period, DIRI faced numerous challenges, including language barriers, cultural differences, and notably, financial constraints. However, through hard work and perseverance, it has come a long way. This is highly commendable.

ดีรีนี้อาจจะกล่าวได้ว่าเติบโตขึ้นมาบนฐานของมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่ เติบโตขึ้นมาจากความน้อย เกือบไม่มีอะไรเลย แต่ว่าจะต้องไปยังโลกที่กว้างใหญ่ไพศาล ตอนนั้นจะไปที่ไหน จะไปพบใคร ที่อยู่ในหน้าจอเมื่อสักครู่นี้ ยังไม่รู้จักเลยแม้แต่คนเดียว จะไปพบใคร ต้องใช้เวลาเท่าไหร่จะไปพบกับท่านเหล่านี้ได้อย่างไร ไม่มีใครรู้ทั้งสิ้น ในระหว่างเวลาดังกล่าว ดีรีต้องผ่านอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา เรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม แล้วก็อีกหลายหลายด้านที่สําคัญอย่างยิ่งก็คือเรื่องของความขาดแคลนงบประมาณ หลวงน้าต้องทํางานหนักมากเลยในเรื่องนี้ แต่ก็สามารถอดทนฝ่าฟันกันมาได้จนกระทั่งถึงวันนี้เป็นที่น่าชื่นชมมาก

 

Without Luang Por Dhammajayo, DIRI wouldn't have reached this point. It must be emphasized that without him, there would be no DIRI.

หากไม่มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยแล้วเนี่ย ไม่มีทางเลยที่ดีรีเนี่ยจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ ต้องเน้นย้ำเลยนะคะ ไม่มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ไม่มีดีรี

DIRI has been here until now through exploration and finding answers, though still incomplete or unclear. Nonetheless, DIRI has uncovered new knowledge, significant in the academic field, buried in Kanthari language inscriptions on wood. This will gradually ignite a new perspective in this society and the Buddhist community on open-mindedness towards Buddhist studies. Understanding Buddhism's depth sometimes requires more than just a single book or piece of knowledge, necessitating insights from various sources, which DIRI is actively doing and crucially contributing to Buddhism.

ดีรีได้มาถึงวันนี้เนี่ยได้ ผ่านการแสวงหาแล้วก็พบคําตอบที่แม้ว่าจะยังขาดหายอยู่บ้างแล้วก็ยังคลุมเครืออยู่บ้าง แล้วก็ยังไม่ครบถ้วน แต่ก็ต้องถือว่าดีรีได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งสําหรับในแวดวงวิชาการแล้วถือว่ามีความสําคัญมาก ได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งได้ถูกกลบฝังอยู่ในแผ่นเปลือกไม้ในภาษาคานธารี นับวันสิ่งเหล่านี้เนี่ยจะค่อยๆ จุดประกายทัศนะใหม่ในสังคมประเทศนี้ ในสังคมพุทธนี้ว่าด้วยการเปิดกว้างทางความคิดเกี่ยวกับการศึกษาพระพุทธศาสนา การที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาซึ่งมีความล้ำลึกอย่างมากนั้น บางครั้งหนังสือเล่มเดียวไม่สามารถจะบอกได้หมด บางครั้งองค์ความรู้เดียวไม่สามารถที่จะตอบได้หมด ต้องอาศัยความรู้จากหลายๆ แหล่งและดีรีกําลังทําเรื่องนี้ ซึ่งถือว่าเป็นความสําคัญ มีความสําคัญต่อวงการพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

 

The discovery of Kanthari scriptures, once buried beneath the deserts, has led western scholars to seriously study this language. Westerners, when they commit to something, do so with dedication, and they eventually learn to read Kanthari.

การค้นพบคัมภีร์ภาษาคานธารีที่เคยถูกฝังกลบอยู่ใต้ทะเลทราย ทําให้นักวิชาการจากโลกตะวันตกที่ท่านได้เห็นภาพของท่านเหล่านั้นบนหน้าจอเมื่อสักครู่นี้ ได้หันมาศึกษาภาษานี้อย่างจริงจัง ต้องกล่าวว่าชาวตะวันตกเนี่ย เวลาเขาทําอะไรเขาทําจริงมากเลยนะคะ ตั้งอกตั้งใจศึกษาจนกระทั่งสามารถอ่านภาษาคานธารีออก

 

Scholars, including myself, participated and observed their learning methods. Dr. Po (Dr. Chanida Jantrasrisalai) worked tirelessly, often with little sleep, raising concerns for her health.

นักวิชาการจัดดีรีก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมไปศึกษาเรียนรู้ ดิฉันไปด้วยแล้วก็เห็น เห็นเรื่องวิธีการเรียนของเขาเนี่ย ดร.โป้(ดร.ชนิดา) ทํางานหนักมากเลย บางวันเนี่ยแทบจะไม่ได้นอน บอกโป้เอ้ยนอนมั่งเหอะ เธอก็ไม่เคยจะยอมนอน ซึ่งน่าเป็นห่วงในเรื่องสุขภาพเป็นอย่างมาก

 

These scholars studied and interpreted in their capacity as experts in Pali and other languages, and as Buddhists. Many seen earlier are not Buddhists; they come from different religions but with an open heart to study and contribute significantly to Buddhism.

ท่านเหล่านี้ก็ได้ไปศึกษาเรียนรู้ แล้วก็ตีความช่วยเค้าตีความในฐานะที่เป็นผู้รู้ในภาษาบาลีและในบางภาษา แล้วก็ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ท่านต่างๆ ที่ท่านเห็นในหน้าจอเนี้ยหลายท่านไม่ได้เป็นพุทธ เขาถือศาสนาอื่นแต่เค้ามีจิตใจอันกว้างขวาง แล้วก็มาศึกษาคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา  แล้วก็ทําประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

 

Dr. Po's team, including Dr. Kitchai and many others, began as students and are now emerging scholars deeply knowledgeable in Kanthari, poised to broaden the world of Buddhism.

ทีมของดร.โป้ เนี่ยนะคะ ดร.กิจชัยก็ดีและอีกหลายๆ ท่าน ท่านเริ่มจากการเป็นนักเรียนจนบัดนี้เติบโตและกําลังก้าวขึ้นมาเป็นนักวิชาการ กําลังเป็นอาจารย์ที่มีความรู้ทางภาษาคานธารีอย่างลุ่มลึก ท่านจะเปิดโลกอันกว้างขวางของพระพุทธศาสนาสืบไปนะคะ

 

Buddhism's growth across regions cannot ignore the geographical and sociological factors, and local conflicts, persisting over thousands of years. Sometimes unable to compete, Buddhism was lost, leading to numerous sects. The diversification of teachings and inscriptions, worth studying, arose from this.

การเติบโตของพระพุทธศาสนาในแต่ละดินแดนนั้น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และยังมีการเผชิญกับอริราชศัตรูในท้องถิ่น ซึ่งดําเนินไปอย่างต่อเนื่องผ่านกาลเวลานับพันๆ ปี บางแห่งเราสู้รบตบมือกับเขาไม่ได้ พระศาสนาได้สูญหายไป และที่ได้รับรู้กันก็คือมีการแตกนิกายออกไปเป็นอันมาก แน่นอนว่าเมื่อมีการแตกนิกาย การจดจารึกบันทึกคําสอนก็ย่อมแตกต่างกันไป ซึ่งก็มีค่าควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

 

Buddhists spread in various directions, facing different geographies and local challenges. They adapted what they knew to spread within those communities, believing no knowledge, especially Buddhist teachings, should be discarded. This opens up perspectives on other Buddhist scriptures beyond the Theravada Pali canon.

การที่ชาวพุทธเนี่ยแตกออกไปในทิศเหนือบ้าง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบ้าง ทิศตะวันตกทิศตะวันออก ต่างคนต่างก็ไปเผชิญภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน เผชิญภัยจากคนในท้องถิ่นที่หลากหลายมาก พวกเขาต้องปรับสิ่งที่เขารู้ เพื่อที่จะสามารถเผยแพร่ให้กับชุมชนในกลุ่มนั้นได้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าความรู้ย่อมไม่มีสิ่งใดที่ควรละทิ้ง ยิ่งเป็นเรื่องคําสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความลุ่มลึกอย่างยิ่ง ก็สมควรที่จะเปิดทัศนะว่า ยังมีคัมภีร์พุทธของนิกายอื่นอื่นนอกจากเถรวาทในภาษาบาลี

 

Thai Buddhists have long studied Theravada teachings in Pali, but there are other teachings to learn, with similarities and differences. The Kanthari language is a tool to explore these teachings.

คําสอนของเถรวาทในภาษาบาลีนั้นชาวพุทธไทยได้ศึกษากันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน  แต่ก็ยังมีคําสอนอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน คล้ายคลึงบ้างมีความแตกต่างกันอยู่บ้างสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ควรจะเรียนรู้มิใช่หรือ ภาษาคานธารีก็คือเครื่องมือหนึ่งในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆเหล่านั้น

 

Over the years, DIRI, led by Phra Sudhammayanavites, or affectionately known as Luang Nah Sudhammo, had to overcome challenges but never complained and dedicated his life to it.

หลายปีผ่านไปดีรีได้ทุ่มเทอย่างสุดชีวิตของพระสุธรรมญาณวิเทศ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าพระเดชพระคุณหลวงน้าสุธัมโม ท่านทุ่มเทฝ่าฟันอุปสรรคที่หลั่งไหลเข้ามา ก็พูดได้เลยว่าทุกรูปแบบอย่างท้อถอย ไม่เคยปริปากบ่น จนกระทั่งบางครั้งเราต้องไปถามท่านว่าท่านคิดยังไงคะในเรื่องนี้ แต่ท่านไม่เคยบ่น จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

 

Today, DIRI, affiliated with the Pariyatti Dhamma Division of Wat Phra Dhammakaya, under the guidance of Phra Ajahn Mahasudham Suratano, will continue to strengthen the Kanthari Studies Center.

วันนี้ดีรี ได้สังกัดสํานักพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย ภายใต้การอํานวยการของพระอาจารย์มหาสุธรรม สุรตโน ท่านก็จะได้สร้างความเป็นปึกแผ่นให้ศูนย์คานธารีศึกษาต่อไป

 

Kanthari has traveled from afar, emerging in this region, confident of success for the benefit of Buddhism's prosperity.

คารธารีนั้นเดินทางมาจากที่ไกล อุบัติใหม่ในภูมิภาคนี้ เชื่อมั่นว่าจะประสบความสําเร็จ

 เพื่อประโยชน์ในการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป

 

I express my gratitude to the venerable teacher. Let's give a round of applause for Professor Sukanya Suddhammaraj, the esteemed advisor to the Dhammachai International Research Institute and the Kanthari Studies Center. Thank you.

กราบขอบพระคุณด้วยพระอาจารย์ค่ะ ขอเสียงปรบมือดังๆ นะครับให้ศาสตราจารย์กิตติคุณสุกัญญา สุดบรรทัดราชบัณฑิตที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยและที่ปรึกษาศูนย์คานธารีศึกษานะครับ กราบขอบพระคุณนะครับ


ร่วมค้นความเกี่ยวเนื่องศรีเทพเมืองเก่า 2500 ปีกับนิกายต่างๆ

ร่วมค้นความเกี่ยวเนื่องศรีเทพเมืองเก่า 2500 ปีกับนิกายต่างๆ

Mysteries of Si Thep: Uncovering the Forgotten Legacy of Ancient Buddhism

ร่วมค้นความเกี่ยวเนื่องศรีเทพเมืองเก่า 2500 ปีกับนิกายต่างๆ โดยดร.กิจชัย เอื้อเกษม

Embark on an enchanting quest to uncover the connections between the 2,500-year-old ancient city of Sri Thep and various sects, guided by the wisdom of Dr. Kitchai Uearkesorn.

เมืองโบราณศรีเทพที่เพิ่งขึ้นทะเบียนมรดกโลกไปเร็วๆ นี้ค่ะ มีหลักฐานทางศาสนาพุทธหรือไม่อย่างไรคะ

The ancient city of Sri Thep, which has only recently been inscribed as a World Heritage Site, possesses any Buddhist religious evidence or not?

ครับก่อนอื่นชื่อเมืองศรีเทพ เป็นชื่อที่ทางกรมศิลปากร ได้ใช้เรียกชื่อเมืองโบราณแห่งนี้ ซึ่งค้นพบโดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ เมื่อปี 2447 มาแล้ว ชาวบ้านเรียกชื่อเมืองนี้ว่าเมืองอภัยสาลีหรือเมืองไพสาลี เมืองนี้มีที่ตั้งสําคัญมาก เป็นชัยภูมิที่สามารถเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าหรือว่าทรัพยากรต่างๆ จากดินแดนภายใน ไปสู่ภูมิภาคต่างต่างของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ ฉะนั้นก็นับว่าเป็นเมืองที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจมากทีเดียว

Firstly, the name "Sri Thep" is a designation used by the Fine Arts Department for this ancient city, discovered by His Royal Highness Prince Damrong Rajanubhab in 1904. Locally, it is referred to as "Muang Aphai Salī" or "Muang Phai Salī." This city holds a position of great significance, serving as a strategic location for the exchange of goods and resources from the interior lands to the various regions of Southeast Asia. Thus, it stands as a city of considerable economic importance.

ในเมืองนี้ เริ่มต้นจากการเป็นชุมชนเกษตรกรรมเมื่อ 2500 ปีมาแล้ว แล้วก็ในปีถัดมาประมาณ1700 ถึง1500 ปี ก็เปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนเมืองขึ้นมา เมื่อได้สัมผัสกับอิทธิพลอารยธรรมภายนอก เช่นอิทธิพลอารยธรรมของทางอินเดีย ทางเขมรโบราณ ก็ได้เปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนในอารยธรรมทวารวดี เมื่อประมาณ 1200 ปีมาแล้ว และก็เปลี่ยนเป็นชุมชนในอารยธรรมของเขมรโบราณในระยะถัดมา

In this city, the journey began as an agricultural community some 2,500 years ago. Then, in the subsequent years, around 1,700 to 1,500 years past, it transformed into an urban settlement upon encountering influences from foreign civilizations, such as the Indian and the ancient Khmer influences. This led to its evolution into a community within the Dvaravati civilization roughly 1,200 years ago, and eventually, it shifted to become a part of the ancient Khmer civilization in the following period.

ในเมืองโบราณนี้เองมีหลักฐานทางโบราณคดีที่ทําให้เราได้ทราบว่า ชุมชนนี้นับถือพระพุทธศาสนาทางเถรวาท ทางมหายาน แล้วก็มีศาสนาอื่นก็คือพราหมณ์ฮินดูอยู่ด้วย นักวิชาการกล่าวไว้ว่า ศาสนาพุทธที่เข้ามาในเมืองศรีเทพในระยะต้นนั้นก็คือศาสนาพุทธในนิกายเถรวาท เข้ามาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 หลักฐานก็คือมีศิลาจารึก เย ธัมมา อยู่อย่างน้อยสองชิ้นนะครับ

In this ancient city, archaeological evidence reveals that the community embraced Theravada Buddhism, Mahayana Buddhism, as well as Hinduism under Brahmanism. Scholars have stated that Buddhism entered the city of Sri Thep in its early phase as Theravada Buddhism around the 11th Buddhist century. The evidence for this includes at least two inscribed stone pillars, known as "Yeh Dhamma."


เย ธัมมาคืออะไร เย ธัมมา ก็คือคาถาภาษาบาลีที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึก อันนี้เนี่ยเขียนไว้ว่า   เย ธมฺมา เหตุปปฺภวา    เยสํ เหตุํ ตถาคโต อาห

เตสญฺจ โย นิโรโธ      เอวํ วาที มหาสมโณ

What is "Yeh Dhamma"? "Yeh Dhamma" refers to a Pali incantation inscribed on stone pillars. This particular inscription reads: "Ye dhammā hetuppabhavā, yesam hetum tathāgato āha; tesañca yo nirodho, evam vādī mahāsamaṇo."

ขอเน้นตรง เยสํ เหตุํ ตถาคโต ก็อาจจะไม่ตรงกับในพระไตรปิฎกนัก แต่ว่าจากคําอ่านอักษรปาลวะของศิลาจารึกในเมืองศรีเทพนั้น อ่านได้เช่นนั้น ก็เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

It must be highlighted that "เยสํ เหตุํ ตถาคโต" may not align precisely with the texts within the Pali Canon. However, the unique interpretation from theปาลวะ script inscriptions found in the city of Sri Thep reads thus, marking its distinct character.

คําแปลก็คือว่า ธรรมเหล่าใด เกิดแต่เหตุ พระตถาคตทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น

The translation is thus: "Whatever Dhammas arise from causes, the Tathagata has declared the cause of those Dhammas and their cessation."

คาถา เย ธัมมา นี่ถือว่าเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา ตัดมาจากข้อความในพระวินัยปิฎก ตอนที่เกี่ยวกับพระสารีบุตรและก็พระโมคคัลลาน์อัครสาวกทั้งสองท่านได้บรรพชา ครั้งนั้นทั้งพระสารีบุตรพระโมคคัลลาน์ก็ยังเป็นปริพาชกอยู่ในสํานักของสัญชัย วันหนึ่งก็ได้มาพบท่านพระอัสสชิซึ่งเป็นหนึ่งในปัญจวัคคีย์ ท่านมีอาการที่สงบเรียบร้อย สารีบุตรปริพาชกในตอนนั้นก็เลยศรัทธา รอจนได้โอกาสก็เลยเข้าไปถามถึงธรรมะที่ท่านพระอัสชิเนี่ยได้เรียนรู้อยู่ ถามว่าท่านอยู่สํานักใดเป็นต้น ท่านพระอัสชิเนี่ยก็ตอบท่านไปด้วยคาถาเย ธัมมาเนี่ย ที่เมื่อกี้อ่านให้ฟัง ผลก็คือพระสารีบุตรก็ได้ดวงตาเห็นธรรม 

The incantation "Yeh Dhamma" is considered the heart of Buddhism, extracted from a passage in the Vinaya related to Sariputta and Moggallana, the Buddha's two chief disciples, at the time of their ordination. At that time, both were still ascetics in the company of Sanjaya. One day, they encountered Assaji, one of the first five disciples of the Buddha, whose demeanor was calm and composed. Moved by faith, Sariputta, the ascetic, seized the opportunity to inquire about the Dharma Assaji had learned, asking under whose guidance he practiced. Assaji responded with the "Yeh Dhamma" incantation we have discussed. As a result, Sariputta attained enlightenment.

คาถานั้นก็เลยมีความสําคัญเรียกกันว่า คาถาเย ธัมมา นอกจากศิลาจารึกคาถาเย ธัมมา ที่ผมได้พูดไปก็ยังมีหลักฐานอื่นอย่างเช่น จารึกนะครับบนฐานประติมากรรมอยู่ประมาณสองชิ้นบางชิ้นก็จะมีทั้งทางด้านหน้าและด้านหลัง บางชิ้นก็จะมีด้านเดียวกล่าวว่าเป็นหลักฐานทางเถรวาทนี้ก็เพราะว่าใช้ภาษาบาลี แต่ว่าก็ด้วยการจารึกอักษรปาลวะที่มีอายุราวประมาณพุทธศตวรรษที่ 11 ถึง 13

Thus, this incantation holds great importance, known as the "Yeh Dhamma" chant. Besides the inscribed stone pillars featuring the "Yeh Dhamma" chant I have mentioned, there are other evidences, such as inscriptions on the bases of sculptures, about two pieces, some with inscriptions on both the front and back, and some on one side only. These are considered evidence of Theravada Buddhism because they are in Pali language. However, the use of ปาลวะ script in these inscriptions, dating from the 11th to 13th Buddhist centuries, further underscores their significance.

นอกจากนั้นก็ยังมีเศษส่วนชิ้นส่วนของจารึกโบราณประทับอยู่ที่ตรงพระพุทธรูปซึ่งชํารุดแตกหัก ก็มีคาถาเย ธัมมา อยู่ตรงนั้นเหมือนกัน เป็นอักษรปาลวะในรุ่นศตวรรษที่ 11 ถึง13 ฉะนั้นเราก็พอจะพูดได้ว่าในยุคแรกๆ ของเมืองศรีเทพ ก็มีพระพุทธศาสนาคติเถรวาทอยู่ในเมืองนั้น

Furthermore, fragments of ancient inscriptions have been found on damaged Buddha statues, bearing the "Yeh Dhamma" chant as well. These are in Pali script from the 11th to 13th centuries. Hence, we can say that in the early eras of the city of Sri Thep, Theravada Buddhist doctrine was present.


นอกจากหลักฐานทางศิลาจารึกแล้ว ยังมีโบราณสถานขนาดใหญ่มากเลย ในเมืองศรีเทพคือเขาคลังใน ปัจจุบันนี้โบราณสถานแห่งนี้ก็เหลือเพียงรากฐาน ขนาด 28  คูณ 44 เเมตรแล้วก็สูงประมาณ12 เมตร พื้นฐานด้านล่างนี้ส่วนใหญ่เป็นสิลาแลง ส่วนบนของโบราณสถานแห่งนี้จะเป็นลานกว้าง สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นที่ประดิษฐานสถูปหรือมณฑป หรือวิหารโบราณมาก่อน แล้วก็ในลานกว้างส่วนที่เหลือก็อาจจะเป็นบริเวณที่ใช้ประกอบพิธีกรรม เป็นที่น่าสังเกตว่าโบราณสถานแห่งนี้ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งจะแตกต่างจากโบราณสถานทางศาสนาพราหมณ์ฮินดู ซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงหันหน้าไปทางทิศตรงกันข้ามรอบๆ โบราณสถานแห่งนี้ ยังมีรากฐานของอาคารโบราณหรืออยู่ ก็เลยสันนิษฐานว่า ที่นี่อาจจะต้องมีขอบเขตที่กว้างใหญ่มาก แล้วก็มีกําแพงเนี่ยล้อมรอบอยู่

Besides the evidence from inscriptions, there exists a significant archaeological site in the city of Sri Thep, known as Khao Klang. Today, only the foundation remains, measuring 28 by 44 meters and approximately 12 meters in height. The base is predominantly made of laterite, while the upper part of the site features a wide platform. It is conjectured that this might have been the site for a stupa, mandapa, or an ancient vihara previously, and the remaining wide area could have been used for ritual purposes. Notably, this site faces east, which contrasts with nearby Hindu Brahmanic religious sites that face the opposite direction. Surrounding this site, there are also foundations of ancient buildings, suggesting that this area might have been extensive and enclosed by walls.


พระพุทธศาสนาที่กล่าวถึง ที่บอกว่าเป็นเถรวาท ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเถรวาทมาจากศรีลังกา เพราะว่าอักษรปาลวะที่ปรากฏอยู่ในศิลาจารึกเย ธัมมานั้น เป็นที่นิยมใช้กันเฉพาะในอินเดียภาคใต้เท่านั้น แล้วก็ยังไม่พบจารึกภาษาบาลีที่ใช้อักษรปาลวะ ปรากฏอยู่ในเกาะศรีลังกา ในช่วงพุธศตวรรษที่ 11 ถึง 13 นี้เองที่ได้กล่าวไปว่าศาสนาพุทธในเมืองศรีเทพเป็นคติของเถรวาท ไม่ได้แปลว่าชาวเมืองจะนับถือพุทธศาสนาเถรวาทเพียงประการเดียว  ก็ยังมีหลักฐานโบราณคดีของศาสนาพราหมณ์ฮินดู ไวษณพนิกายปรากฏขึ้นชาวเมืองก็คงนับถือไปพร้อมพร้อมกัน เพราะว่ามีเทวรูปของพระนารายณ์ พระกฤษณะ พระสุริยะให้เราเห็น ได้ขุดค้นพบในเมืองโบราณศรีเทพนี้ด้วยครับ

The Buddhism referred to as Theravada mentioned in the context lacks direct evidence to confirm its origins from Sri Lanka, as the ปาลวะ script found in the "Yeh Dhamma" inscriptions was popularly used only in South India. Furthermore, no Pali inscriptions using the ปาลวะ script have been found in Sri Lanka during the 11th to 13th Buddhist centuries. Thus, stating that the Buddhism in the city of Sri Thep was of the Theravada tradition does not mean the city's inhabitants exclusively practiced Theravada Buddhism. Archaeological evidence of Hindu Brahmanism and the Vaishnavism sect has also been discovered, indicating that the city’s residents likely revered these religious practices simultaneously. This is supported by the discovery of deity statues of Narayana, Krishna, and Surya within the ancient city of Sri Thep.