วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 14 ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา

SHARE
                     "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา
                      “ผู้ที่เห็นด้วยธรรมกายย่อมเห็นพระนายก"

       จากพุทธกาลผ่านมาถึงปัจจุบัน
           ความสืบเนื่องหรือความสอดคล้องในคำสอนของพระสัมมาสัมสัมพุทธเจ้าที่ถ่ายทอดจากมุขปาฐะตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนมาถึงสังคายนาครั้งที่ 1 จนถึงการสังคายนา 3 ในสมัยพระเจ้าอโศกยังทำด้วยวิธีการสวดท่องจำหรือมุขปาฐะ จนเริ่มมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในใบลานในราวพุทธศักราชที่ 433 ที่ประเทศศรีลังกา แม้ในช่วงเริ่มที่มีการแตกนิกายเป็นเถรวาทกับมหายานเริ่มมีตั้งแต่หลังสังคายนาครั้งที่ 1  และปรากฏชัดเจนขึ้นเมื่อมีการสังคายนาครั้งที่ 2 - 3 และเกิดสังคายนาอย่างชัดเจนของคณะสงฆ์ฝ่ายมหาสังฆิกะในสมัยพระเจ้ากนิษกะ
        ถ้านับพระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ของนิกายเถรวาท ซึ่งเปรียบได้กับพระเจ้ากนิษกะทรงเป็นองค์อัครราชูปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ของพุทธศาสนานิกายมหายาน  ราชธานีของพระองค์คือเมืองเปศวรในประเทศปากีสถานปัจจุบัน ห่างจากพระเจ้าอโศกราว 200 ปีต่อมา  แต่ในการสืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของแต่ละนิกายยังรักษาให้คงอยู่ตลอดมาตามลำดับ ถึงแม้ยุคแรกจะสืบทอดด้วยวิธีท่องจำมุขปาฐะและจารึกเป็นอักษรในเวลาต่อมา

   แม้จะต่างนิกาย หลักการความหมายยังเหมือนกัน
          พระพุทธศาสนาแม้จะมีการแยกแตกต่างนิกายกันออกไป แต่หลักการและความหมายยังเหมือนเดิม ถึงแม้บางทีเมื่อนำมาเปรียบเทียบเคียงกันแล้วทำให้ได้ความหมายที่ชัดเจนขึ้นหรือยิ่งขึ้นกว่าเดิมอีก อย่างที่เราทราบกันดีว่า เบื้องต้นมีการใช้ภาษาบาลีในการท่องจำด้วยวิธีมุขปาฐะ ต่อมาในการจารึกพระธรรมวินัยฝ่ายเถรวาทยังใช้ภาษาบาลี ส่วนทางมหายานได้ใช้ภาษาสันสกฤษในการจารึกคำสอน ถึงจะมีภาษาที่แตกต่าง แต่หลักการและเนื้อหายังคงตรงกันอยู่ในยุคต้นๆ
         กาลนานผ่านไปทางฝ่ายมหายานจึงเริ่มมีพระสูตรที่อธิบายหลักธรรมและเรื่องราวต่างๆ เพิ่มเติมมากขึ้น แต่เมื่อนำพระสูตรเดียวกัน หรือประโยคที่คล้ายกันมาเปรียบเทียบ จะเห็นได้ว่าแม้ภาษาและอักษรจะต่างกัน แต่ตรงกันในเนื้อหาสาระอย่างนัยยะสำคัญ เช่นประโยคบาลีที่เราคุ้นชินในวักกลิสูตรฝ่ายเถรวาทว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา" แม้ประโยคนี้ในพระสูตรภาษาสันสกฤษฝ่ายมหายานก็ใช้คล้ายกันว่า “ผู้ที่เห็นด้วยธรรมกายย่อมเห็นพระนายก" ดังปรากฏในสมาธิราชสูตรของพุทธศาสนามหายานในยุคแรก ๆ สันนิษฐานว่า น่าจะประพันธ์ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6 - 10 ซึ่งในสมาธิราชสูตรมีข้อความที่ระบุเนื้อหาไว้ในทํานองเดียวกันกับหลักฐานทางบาลีว่า
                        dharmakāyena paśyanti ye te paśyanti nāyakam |
                        dharmakāyā hi saṃbuddhā etat saṃbuddhadar śanam |
SR. 32.197.17. ธรฺมกาเยน ปศฺยนฺติ เย เต ปศฺยนฺติ นายกมฺ |
                              ธรฺมกายา หิ สํพุทฺธา เอตตฺ สํพุทฺธทรฺ ศนมฺ | (32)
                          “ผู้ที่เห็นด้วยธรรมกาย ย่อมเห็นพระนายก
                           เพราะว่า พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายคือธรรมกาย
                           นั้นเป็นทรรศนะของพระสัมพุทธเจ้า”
  佛言:“汝既不见色是我,异我,相在,不见受,想,行,识是我,异我,相在,何故变悔?”[i]

    ส่วนในพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค ก็ปรากฏข้อความคล้ายกันว่า
             Yokho, vakkali, dhammaṃ passati so maṃpassati; yo maṃ passati so dhammaṃ passati. Dhammañhi, vakkali, passanto maṃ passati; maṃ passanto dhammaṃ passati.[ii]
            "ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ความจริง เมื่อเห็นธรรมก็ชื่อว่าเห็นเรา    เมื่อเห็นเราก็ชื่อว่าเห็นธรรม"
         ข้อควรสังเกต  ในบาลี "โย ธมฺมํ ปสฺสติ ผู้ใดเห็นธรรม"  ส่วนสันสกฤษใช้คำว่า "ธรฺมกาเยน ปศฺยนฺติ เย ผู้ที่เห็นด้วยธรรมกาย" ในบาลีใช้ ธมฺมํ ส่วนสันสกฤษใช้ ธรฺมกาเยน ถือว่าเป็นการขยายความว่า เห็นธรรม ก็คือ เห็นธรรมกาย นับได้ว่าพระสูตรมหายานช่วยอธิบายบาลีฝ่ายเถรวาทให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
        และยังอธิบายให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไปอีกว่า เพราะว่า พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายคือธรรมกาย ยิ่งเป็นการตอกย้ำความหมายของคำว่า ธรรม คือ ธรรมกาย คือ พระพุทธเจ้า ด้วย หมายความว่า เห็นธรรม คือ เห็นธรรมกาย คือเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นหลักฐานยืนยันว่า การเห็นธรรมกายคือการเห็นพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นกาย ไม่ใช่เห็นธรรมทั่วไป หรือเห็นธรรมกาย คือ หมวดหมู่แห่งธรรม นั่นเอง
                ซึ่งนัยยะดังกล่าวมีสอดคล้องกับคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร โดยหมายถึงธรรมกาย ที่เป็นกายในความหมายที่ ๒ ว่า

           佛言:“善男子,如来已于无量无边阿僧祇劫,无有食身烦恼之身,无后边身,常身法身金刚之身。善男子,未见佛性者名烦恼身杂食之身,是后边身。菩萨尔时受饮食已,入金刚三昧。此食消已,即见佛性,得阿耨多罗三藐三菩提。是故我言二施果报等无差别。”[iii]

          "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนกุลบุตร แต่กาลนานมาแล้ว ตถาคตไม่ถูกจำกัดด้วยกาล (อกาลิโก)  ไม่ได้ถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหาร กายที่ปราศจากกิเลสอาสวะ เป็นกายที่ไร้ขอบเขต (คือกายที่สูงกว่ากายของพระอรหันต์) บัดนี้ได้สภาวะแห่งกายที่เที่ยงแท้ ธรรมกาย กายแก้ว , ดูก่อนกุลบุตร บุคคลที่ยังไม่เห็นพุทธธาตุ คือ บุคคลที่ยังเป็นกายที่มีกิเลสอาสวะ เป็นกายที่มีขอบเขต , พระโพธิสัตว์ (นัยยะของพระสูตรนี้ คือ บุคคลที่บรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนานมาแล้ว) เมื่อรับวัตถุทานแล้วขบฉันไปจึงเข้าสู่สมาธิกายแก้ว เมื่อย่อยอาหารหมดไปจึงได้เห็นพุทธธาตุ จึงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ กายของพระโพธิสัตว์จึงไปสู่สภาวะของกายเที่ยงแท้ ธรรมกาย กายแก้ว , ดังนั้นการถวายทานแด่พระโพธิสัตว์ที่จะบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณหรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเวลาจะปรินิพพานจึงมีอานิสงส์ไม่ต่างกัน"
         จะเห็นได้ว่า  ความสืบเนื่องหรือความสอดคล้องในคำสอนของพระสัมมาสัมสัมพุทธเจ้าที่ถ่ายทอดจากมุขปาฐะตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจนมาถึงปัจจุบันนั้น แม้จะผ่านกาลยาวนานมาทั้งฝ่ายเถรวาทและฝ่ายมหายานก็ยังสอดคล้องตรงกันในเนื้อหาสาระอย่างมีนัยยะสำคัญ ควรที่ทั้งสองฝ่ายเปิดใจยอมรับหันมาศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน จะได้เข้าใจถูกต้องตรงกัน เมื่อเข้าใจในส่วนปริยัติแล้ว ต้องพิสูจน์ด้วยการปฏิบัติให้แจ่มชัดชัดเจนยิ่ง  เพื่อความเจริญก้าวหน้าของพระพุทธศาสนาสืบต่อตลอดกาลนาน

[i] 佛说:你既然看不到色是我,与我不同,有形象在,看不到受想行识是我,与我不同,有形象在,有什么原因后悔?
《雜阿含經》卷37:「佛告阿濕波誓:「汝既不見色是我、異我、相在,不見受、想、行、識是我、異我、相在,何故變悔?」」(CBETA, T02, no. 99, p. 267, b20-22)
《雜阿含經》卷7:「爾時,世尊告諸比丘:「何所有故,何所起?何所繫著,何所見我?令諸眾生作如是見、如是說:『若無五欲娛樂,是則見法般涅槃;若離惡不善法,有覺、有觀,離生喜樂,入初禪,乃至第四禪,是第一義般涅槃。』?」
諸比丘白佛:「世尊是法根、法眼、法依……」如是廣說,次第如上三經。」(CBETA, T02, no. 99, p. 45, b27-c4)
[ii] พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาบาลี) เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค  [๑.ขันธสังยุต] มัชฌิมปัณณาสก์  ๔.  เถรวรรค  ๕.  วักกลิสูตร ข้อที่ ๒๑๗ หน้าที่ ๑๔๗
[iii]《大般涅槃经》卷2,《大正藏》第12册,第372页,上。
SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: