พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วย 3 กาย รูปกาย นามกาย และธรรมกาย
บทว่า เอทิโส จ เอทิโส จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเราได้ฟังมาว่า เห็นปานนี้ ๆ คือ ทรงประกอบด้วยนามกายสมบัติ และรูปกายสมบัติเห็นปานนี้ และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้
เอทิโส จ เอทิโส จาติ เอวรูโป จ เอวรูโป จ, เอวรูปาย นามกายรูปกายสมฺปตฺติยา สมนฺนาคโต, เอวรูปาย ธมฺมกายสมฺปตฺติยา สมนฺนาคโตติ สุโตเยว เม โส ภควา.
ediso ca ediso cāti evarūpo ca evarūpo ca, evarūpāya nāmakāyarūpakāyasampattiyā samannāgato, evarūpāya dhammakāyasampattiyā samannāgatoti sutoyeva me so bhagavā. ที่มา ปรมตฺถทีปนิยา นาม ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถาย อุทานวณฺณนา (โสณสุตฺตวณฺณนา) ฉบับมหาจุฬาฯ ข้อ ๔๖ หน้า ๓๓๒-๓๓๓
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=14808
เอทิโส จ เอทิโส จาติ เอวรูโป จ เอวรูโป จ, เอวรูปาย นามกายรูปกายสมฺปตฺติยา สมนฺนาคโต, เอวรูปาย ธมฺมกายสมฺปตฺติยา สมนฺนาคโตติ สุโตเยว เม โส ภควา.
ediso ca ediso cāti evarūpo ca evarūpo ca, evarūpāya nāmakāyarūpakāyasampattiyā samannāgato, evarūpāya dhammakāyasampattiyā samannāgatoti sutoyeva me so bhagavā. ที่มา ปรมตฺถทีปนิยา นาม ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถาย อุทานวณฺณนา (โสณสุตฺตวณฺณนา) ฉบับมหาจุฬาฯ ข้อ ๔๖ หน้า ๓๓๒-๓๓๓
http://www.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=14808
ธรรมกาย แปลว่า กายอันเกิดจากธรรมคือโลกุตรธรรม เป็นกายในกายที่ละเอียดที่สุดของมนุษย์ หรือสัตวโลกทั้งหลาย เป็นกายประเสริฐ กล่าวคือเป็นกายบริสุทธิ์เป็นธาตุล้วน ธรรมล้วน ไม่ประกอบด้วยตัณหาราคะใดๆ และเหนือจากการปรุงแต่งทั้งปวง ไม่ตกอยู่ในกฎแห่งไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เป็นกายที่เที่ยงแท้ไม่เปลี่ยนแปลงแปรผันไปตามเหตุปัจจัย เป็นตัวตนที่แท้จริง
ตามหลักฐานหลักฐาน รูปกาย กับ นามกาย ที่ปรากฏในบาลีมีดังต่อไปนี้
สงบกาย(รูปกาย)และสงบจิต(นามกาย)
สองบทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย ความว่า แม้กายของเราก็เป็นของสงบแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความสงบกายและจิต. เพราะเมื่อนามกายสงบแล้วแม้รูปกาย ก็เป็นอันสงบแล้วเหมือนกัน, ฉะนั้น ในพระบาลีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสให้พิเศษเลยว่า นามกาย รูปกาย ตรัสเพียงว่า กายสงบเท่านั้น.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทสึนี้ต่อไป :-
พระโยคีผู้พรั่งพร้อมด้วยตติยฌาน ไม่มีความรำพึงในการเสวยความสุข แม้ก็จริง ถึงเมื่อเป็นเช่นนั้น พระโยคีนั้น แม้ออกจากฌานแล้ว ก็พึงเสวยสุขได้ เพราะเหตุที่รูปกายของท่าน อันรูปที่ประณีตยิ่ง ซึ่งมีความสุขที่สัมปยุตด้วยนามกายของท่าน หรือความสุขที่ประกอบนามกายนั้นเป็นสมุฏฐานถูกต้อง ซึมซาบแล้ว.
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้นจึงตรัสว่า สุขญฺจ กาเยน ปฏิสํเวเทสึ ดังนี้.
นามกายคือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ท่านกล่าวอาการทั้งหลาย ในบทว่า เยหิ อานนฺท อากาเรหิ เป็นต้น เป็นสภาพไม่ใช่เช่นเดียวกันและกันแห่งเวทนาเป็นต้น ท่านแสดงอาการเหล่านั้นไว้ด้วยดี ชื่อว่าลิงค์ (เพศ) เพราะถึงความเสื่อมโทรม ชื่อว่านิมิต เพราะเหตุคือรู้เรื่องนั้น ๆ ชื่ออุทเทส เพราะควรแสดงอย่างนั้น ๆ เพราะฉะนั้น ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้
ดูก่อนอานนท์ การบัญญัตินามกาย อันเป็นที่ประชุมของนามย่อมมีได้ด้วยอาการเพศ นิมิต อุเทศ เมื่อมีอุเทศแห่งเวทนาว่าเวทนา ในอาการรู้สึก ในเพศรู้สึก ในนิมิตรู้สึก เมื่อมีอุเทศแห่งสัญญาว่า สัญญาในอาการรู้พร้อม ในเพศรู้พร้อม ในนิมิตรู้พร้อม เมื่อมีอุเทศแห่งสังขารทั้ง
หลายว่า เจตนาแห่งสังขารทั้งหลาย ในอาการแห่งเจตนา ในเพศแห่งเจตนา ในนิมิตแห่งเจตนา เมื่อมีอุเทศแห่งวิญญาณว่า วิญญาณในอาการรู้แจ้ง ในเพศรู้แจ้ง ในนิมิตรู้แจ้งดังนี้ ย่อมเป็นการบัญญัตินามกายว่านี้เป็นนามกาย
เมื่อไม่มีอาการเป็นต้น ในเวทนาเป็นต้น อันเป็นเหตุให้บัญญัตินามกาย การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกาย จึงพึงปรากฏได้บ้างไหม มโนสัมผัสอันใดที่เป็นไวพจน์ของการสัมผัสเพียงแต่ชื่อในมโนทวาร กระทำขันธ์ ๔ ให้เป็นวัตถุแล้วจึงเกิดขึ้น มโนสัมผัสนั้นจะพึงปรากฏในรูปกาย พึงกระทำประสาททั้ง ๕ ให้เป็นวัตถุแล้วพึงเกิดขึ้นได้บ้างไหมดังนี้
ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ย่อมรับการเกิดขึ้นแห่งสัมผัสนั้นจากรูปกาย ดุจเมื่อไม่มีต้นมะม่วงก็ไม่รับการเกิดขึ้นของผลมะม่วงสุกจากต้นชมพู ฉะนั้น จึงกราบทูลว่า โน เหตํ ภนฺเต ดังนี้.
บุคคลผู้หลุดพ้นแล้ว โดยส่วนสอง
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภโตภาควิมุตฺโต ความว่า บุคคลผู้หลุดพ้นแล้ว โดยส่วนสองคือ ผู้หลุดพ้นจากรูปกาย ด้วยอรูปสมาบัติ หลุดพ้นจากนามกาย ด้วยมรรค. บุคคลนั้นออกจากบรรดาอรูปสมาบัติทั้ง ๔ อย่างหนึ่ง ๆ แล้ว พิจารณาสังขารแล้วย่อมเป็นบุคคล ๕ จำพวกด้วยอำนาจ
แห่งบุคคล คือ พระอริยบุคคล ๔ ผู้บรรลุพระอรหัตต์ และพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธแล้วบรรลุพระอรหัตต์.
พ้นจากรูปกายและนามกาย
บทว่า อุภโตภาควิมุตฺตา ความว่า พ้นด้วยส่วนทั้ง ๒ คือพ้นจากรูปกายด้วยอรูปาวจรสมาบัติ พ้นจากนามกายด้วยอริยมรรค. บทว่า ปญฺญาวิมุตฺตา ได้แก่หลุดพ้นด้วยปัญญา. คือ เป็นพระขีณาสพผู้ยังมิได้วิชชา ๓ เป็นต้น.
ตามหลักฐานหลักฐาน รูปกาย กับ ธรรมกาย ที่ปรากฏในบาลีมีดังต่อไปนี้
รูปกายสมส่วน ธรรมกายไร้กิเลส
ก็ความถึงพร้อมด้วยรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงบุญลักษณะนับร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงมีพระกายสมส่วน, ความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว
รูปกายสมส่วน ธรรมกายไร้กิเลส
ก็ความถึงพร้อมด้วยรูปกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงบุญลักษณะนับร้อย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยความที่พระองค์ทรงมีพระกายสมส่วน, ความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกาย ย่อมเป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะได้แล้ว
ก็แลความถึงพร้อมแห่งพระรูปกายของพระองค์ ผู้ทรงไว้ซึ่งพระบุญลักษณะนับร้อย เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงมีภาคยะคือบุญ ความถึงพร้อมแห่งพระธรรมกาย เป็นอันท่านแสดงด้วยความที่ทรงหักโทสะได้แล้ว.
รูปกายเสื่อมสลาย ธรรมกายคงอยู่
ด้วยคำว่าข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ชื่อว่าย่อมกระทำพระธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์. ด้วยคำนั้น ท่านย่อมยังประชาชนผู้กระวนกระวายเพราะไม่ได้เห็นพระศาสดาให้เบาใจว่า ปาพจน์คือ พระธรรมวินัยนี้ มีพระศาสดาล่วงไปแล้ว หามิได้ พระธรรมกายนี้เป็นพระศาสดาของท่านทั้งหลาย ดังนี้. ด้วยคำว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ท่านพระอานนท์เมื่อแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีอยู่ในสมัยนั้น ชื่อว่า ย่อมประกาศการเสด็จปรินิพพานแห่งพระรูปกาย.
เห็นรูปกาย นำมาซึ่งความเลื่อมใส เห็นธรรมกาย เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส
บทว่า ปาสาทิกํ ความว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้านแก่ชนผู้ขวนขวายในการเห็นพระรูปกาย เพราะความสมบูรณ์ด้วยความงามแห่งสรีระของพระองค์ อันนำความเลื่อมใสมารอบด้าน อันประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีด้านละวา และพระเกตุมาลารัศมีที่เปล่งเหนือพระเศียร. บทว่า ปสาทนียํ ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส เหมาะที่จะควรเลื่อมใส หรือควรแก่ความเลื่อมใสของคนผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ เพราะธรรมกายสมบัติอันประกอบด้วยจำนวนพระคุณหาประมาณมิได้ มีทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ อาเวณิยพุทธธรรม ๑๘ เป็นต้น.
ก็ด้วยบทว่า ปาสาทิกํ นี้ ในอธิการนี้ ท่านแสดงถึงความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรูปกาย. ด้วยบทว่า ปสาทนียํ นี้ แสดงถึงความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมกาย.
เห็นเราเห็นรูปกาย เห็นธรรมเห็นธรรมกาย
ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่าเรายังไม่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์แล ดังนี้ ท่านกล่าวหมายเอาเฉพาะการเห็นรูปกายเท่านั้น. จริงอยู่ ท่านพระโสณะพอบวชแล้วก็เรียนกรรมฐานในสำนักของพระเถระ เพียรพยายามอยู่ ยังไม่ได้อุปสมบทเลย ได้เป็นพระโสดาบัน ครั้นอุปสมบทแล้วคิดว่า แม้อุบาสกทั้งหลาย ก็เป็นพระโสดาบัน ทั้งเราก็เป็นพระโสดาบัน ในข้อนี้จะคิดไปทำไมเล่า จึงเจริญวิปัสสนาเพื่อมรรคชั้นสูงได้อภิญญา ๖ ภายในพรรษานั้นเอง แล้วปวารณาด้วยวิสุทธิปวารณา ก็เพราะเห็นอริยสัจ จึงเป็นอันชื่อว่าเธอได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า
สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม. เพราะฉะนั้น การเห็นธรรมกาย จึงสำเร็จแก่เธอก่อนทีเดียว ก็แล ครั้นปวารณาแล้ว เธอได้มีความประสงค์จะเห็นรูปกาย.
ภควตา ถึงพร้อมด้วยพระรูปกาย อรหตา ถึงพร้อมด้วยพระธรรมกาย
ด้วยบทว่า ภควตา นี้ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระรูปกาย อันไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น
ประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ และพระเกตุมาลามีรัศมีแผ่ไปได้ประมาณ ๑ วา ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ชื่อว่าทรงบุญลักษณะไว้ตั้ง ๑๐๐ เพราะทรงมีบุญสมภารที่ทรงสั่งสมไว้หลายอสงไขยกัปด้วยการแสดงว่าพระองค์ทรงคายภาคยธรรมได้แล้ว
ด้วยบทว่า อรหตา นี้ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกายที่เป็นอจินไตย อาทิ พลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ และอาเวณิกพุทธธรรม (ธรรมเฉพาะพระพุทธเจ้า) ๑๘ เพราะแสดงการบรรลุสัพพัญญุตญาณมีการสิ้นอาสวะเป็นปทัฏฐาน โดยการแสดงการละกิเลสที่ไม่มีส่วนเหลือ
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ล้ำเลิศด้วยพระคุณทางรูปกายและธรรมกาย
ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ แม้โดยความหมายว่า ไม่มีผู้เสมอเหมือน เพราะสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้เอง เป็นผู้เสมอโดยพระคุณทางรูปกาย และพระคุณทางธรรมกายกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในปางก่อน ผู้ไม่เสมอเหมือนกับสรรพสัตว์
การอยู่รวมกันทางรูปกาย การรวมกันด้วยธรรมกาย
บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้นเมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคต ก็ชื่อว่า อยู่ไกลเธอเหมือนกัน. ด้วยคำนี้
พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้นและการรวมกันด้วยธรรมกายต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้).
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นเราตถาคต. ในคำว่า ธมฺมํ น ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่า ไม่เห็นธรรมกาย
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ เธอจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ที่เธอได้เห็นแล้ว ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้น ก็เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้น ก็เห็นธรรม ดังนี้ และว่า เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้ และว่า เป็นธรรมกายบ้าง เป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น.
เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกุตรจักษุ และกลับได้สัทธาที่เป็นโลกิยสัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ความถึงพร้อมแห่งรูปกายและธรรมกาย
บทว่า ปุตฺโต อปฺปฏิมสฺส ตาทิโน ความว่า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ไม่มีที่เปรียบ คือ เว้นจากข้อเปรียบเทียบ ด้วยความถึงพร้อมแห่งธรรมกาย มีกองแห่งศีลเป็นต้น และ
ด้วยความถึงพร้อมแห่งรูปกาย ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะถึงพร้อมด้วยลักษณะของผู้คงที่.
ผู้มีพระสิริ เพราะประกอบไปด้วยสิริ คือรูปกาย และสิริคือธรรมกายอันสูงสุด
บทว่า ตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ ๓๐ ทัศ ทรงหักกิเลสทั้งปวง แล้วตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ชื่อว่าเป็นศากยบุตร เพราะเป็นบุตรของพระเจ้าศากยะ ทรงเจริญแล้วด้วยบุญสมบัติ อันไม่สาธารณ์ทั่วไป แก่สัตว์อื่นและชื่อว่า ผู้มีพระสิริ เพราะประกอบไปด้วยสิริ คือรูปกาย และสิริคือธรรมกายอันสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศากยบุตร ผู้มีพระสิริพระองค์นั้น ความว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
รูปกายเจริญเติบโต ธรรมกายเจริญเติบโต
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ทรงทำให้เกิด ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ก็ทรงทำให้เจริญเติบโตแล้ว
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว
สมบัติแห่งรูปกายและธรรมกาย
อนึ่ง สมบัติแห่งรูปกายของพระองค์ผู้ทรงบุญลักษณะตั้งร้อย เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงมีภาคยะ สมบัติแห่งธรรมกายของพระองค์ เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะเสียได้
ด้วยบทว่า ภควตา นี้ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระรูปกาย อันไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น
ประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ และพระเกตุมาลามีรัศมีแผ่ไปได้ประมาณ ๑ วา ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ชื่อว่าทรงบุญลักษณะไว้ตั้ง ๑๐๐ เพราะทรงมีบุญสมภารที่ทรงสั่งสมไว้หลายอสงไขยกัปด้วยการแสดงว่าพระองค์ทรงคายภาคยธรรมได้แล้ว
ด้วยบทว่า อรหตา นี้ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกายที่เป็นอจินไตย อาทิ พลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ และอาเวณิกพุทธธรรม (ธรรมเฉพาะพระพุทธเจ้า) ๑๘ เพราะแสดงการบรรลุสัพพัญญุตญาณมีการสิ้นอาสวะเป็นปทัฏฐาน โดยการแสดงการละกิเลสที่ไม่มีส่วนเหลือ
พระพุทธเจ้าเป็นผู้ล้ำเลิศด้วยพระคุณทางรูปกายและธรรมกาย
ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ แม้โดยความหมายว่า ไม่มีผู้เสมอเหมือน เพราะสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้เอง เป็นผู้เสมอโดยพระคุณทางรูปกาย และพระคุณทางธรรมกายกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในปางก่อน ผู้ไม่เสมอเหมือนกับสรรพสัตว์
การอยู่รวมกันทางรูปกาย การรวมกันด้วยธรรมกาย
บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้นเมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคต ก็ชื่อว่า อยู่ไกลเธอเหมือนกัน. ด้วยคำนี้
พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้นและการรวมกันด้วยธรรมกายต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้).
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นเราตถาคต. ในคำว่า ธมฺมํ น ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่า ไม่เห็นธรรมกาย
สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ เธอจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ที่เธอได้เห็นแล้ว ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้น ก็เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้น ก็เห็นธรรม ดังนี้ และว่า เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้ และว่า เป็นธรรมกายบ้าง เป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น.
เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกุตรจักษุ และกลับได้สัทธาที่เป็นโลกิยสัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ความถึงพร้อมแห่งรูปกายและธรรมกาย
บทว่า ปุตฺโต อปฺปฏิมสฺส ตาทิโน ความว่า เป็นบุตรผู้เกิดแต่พระอุระ ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ผู้ไม่มีที่เปรียบ คือ เว้นจากข้อเปรียบเทียบ ด้วยความถึงพร้อมแห่งธรรมกาย มีกองแห่งศีลเป็นต้น และ
ด้วยความถึงพร้อมแห่งรูปกาย ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะถึงพร้อมด้วยลักษณะของผู้คงที่.
ผู้มีพระสิริ เพราะประกอบไปด้วยสิริ คือรูปกาย และสิริคือธรรมกายอันสูงสุด
บทว่า ตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นใด ทรงบำเพ็ญบารมีมาครบ ๓๐ ทัศ ทรงหักกิเลสทั้งปวง แล้วตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ชื่อว่าเป็นศากยบุตร เพราะเป็นบุตรของพระเจ้าศากยะ ทรงเจริญแล้วด้วยบุญสมบัติ อันไม่สาธารณ์ทั่วไป แก่สัตว์อื่นและชื่อว่า ผู้มีพระสิริ เพราะประกอบไปด้วยสิริ คือรูปกาย และสิริคือธรรมกายอันสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศากยบุตร ผู้มีพระสิริพระองค์นั้น ความว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.
รูปกายเจริญเติบโต ธรรมกายเจริญเติบโต
ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ทรงทำให้เกิด ข้าแต่พระสุคต รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ก็ทรงทำให้เจริญเติบโตแล้ว
ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว
สมบัติแห่งรูปกายและธรรมกาย
อนึ่ง สมบัติแห่งรูปกายของพระองค์ผู้ทรงบุญลักษณะตั้งร้อย เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงมีภาคยะ สมบัติแห่งธรรมกายของพระองค์ เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยความที่พระองค์ทรงหักโทสะเสียได้
สมบัติคือรูปกายและธรรมกาย
บัดนี้ เพื่อแสดงสมบัติคือรูปกายและธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวคาถานี้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีผู้เสมอเหมือนในพระรูป ในศีล สมาธิ ปัญญาและวิมุตติ ทรงเสมอกับ
พระพุทธเจ้าที่ไม่มีใครเสมอในการประกาศพระธรรมจักร.
ตามหลักฐานหลักฐาน นามกาย กับ กรชกาย ที่ปรากฏในบาลีมีดังต่อไปนี้
บทว่า อารทฺธํ ความว่า (ความเพียร) ที่ประคองไว้แล้ว คือให้บริบูรณ์แล้ว และชื่อว่า ไม่ย่อหย่อน เพราะเริ่มแล้ว บทว่า อุปฏฺฐิตา ความว่า สติ ชื่อว่า ตั้งมั่นและไม่หลงลืม เพราะตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน ๔ บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย ความว่า นามกายและกรชกายสงบ คือ มีความกระวนกระวายระงับแล้ว และเพราะระงับแล้ว จึงชื่อว่า ไม่กระสับกระส่าย บทว่า สมาหิตํ จิตฺตํ ความว่า จิตที่ตั้งมั่นโดยชอบ คือ ตั้งไว้ด้วยดีในอารมณ์ (และ) เพราะตั้งไว้โดยชอบนั่นเอง จึงชื่อว่า มีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ.
บทว่า ปีติ ชายติ ความว่า ปีติ ๕ อย่าง ย่อมบังเกิด. บทว่า กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งกรชกายย่อมสงบระงับ ด้วยธรรมเป็นเครื่องสงบระงับซึ่งความกระวนกระวาย. บทว่า สมาธิยติ ความว่า ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ ในอารมณ์.
ว่าด้วยมิทธะมิใช่อกุศล
ก็ความที่กรชกายอ่อนเพลีย (ทุรพล) นี้ เห็นปานนี้ ไม่ใช่ภาวะที่มรรคพึงฆ่า ความที่กายทุรพลนี้ย่อมได้ทั้งในรูปที่มีใจครอง และในรูปที่ไม่มีใจครอง เมื่อจะได้ในรูปที่มีใจครอง ย่อมได้ในเวลาที่พระขีณาสพเดินทางไกลหรือทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเหน็ดเหนื่อย เมื่อได้ในรูปที่ไม่มีใจครอง ย่อมได้ในใบไม้ดอกไม้ทั้งหลาย จริงอยู่ ใบไม้ของต้นไม้บางชนิดย่อมคลี่ออกไปด้วยแสงแดด ในเวลาราตรีย่อมงอกลับ ดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานด้วยแสงพระอาทิตย์ แต่ในเวลาราตรีย่อมหุบ ก็มิทธะนี้ย่อมมีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย เพราะความที่มิทธะนั้นไม่เป็นอกุศล ฉะนี้แล.
ในอธิการแห่งมิทธะนั้น ถ้าพึงมีผู้สงสัยว่า มิทธะมิใช่อกุศล เพราะเหตุไร เพราะมิทธะเป็นรูป ก็รูปเป็นอัพยากตะและมิทธะนี้ก็เป็นรูป ด้วยเหตุนั้นในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำกายศัพท์ว่า ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย ดังนี้.
ตามหลักฐานหลักฐาน รูปกาย กับ กรชกาย ที่ปรากฏในบาลีมีดังต่อไปนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลหุโก วต เม กาโย มีอธิบายว่า รูปกายของเรา ชื่อว่าเบาพร้อมหนอ เพราะการฝึกจิตมีอย่าง ๑๔ ได้ ด้วยการข่มกิเลสมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะความชำนาญ อันเราอบรมมาดีแล้ว ด้วยการเจริญอิทธิบาท ๔ โดยที่เราน้อมกรชกายนี้ ที่ชื่อว่า มีมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยได้ด้วยอำนาจจิต.
ก็บทว่า ปีติสุเขน ได้แก่ ความสุขที่คล้ายกับสุขประกอบด้วยปีติ. อธิบายว่า ในอธิการนี้ อุเบกขาท่านประสงค์เอาว่าเป็นสุข เพราะความเป็นสภาพที่สงบระงับ และเพราะประกอบไปด้วยญาณวิเศษ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระอริยบุคคลก้าวลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา. ในบทนั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ว่า พระอริยบุคคลย่อมก้าวลง คือ ย่อมเข้าไปสัมผัส ได้แก่ถึงพร้อมซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ที่เกิดพร้อมกับอิทธิจิต อันมีฌานเป็นเบื้องบาทเป็นอารมณ์ หรือมีรูปกายเป็นอารมณ์.
และสมดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า สัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า สุขสัญญา เพราะว่าอุเบกขาท่านกล่าวว่า เป็นสุขอันสงบแล้ว สัญญานั้นแหละ พึงทราบว่า ชื่อว่า ลหุสัญญา เพราะพ้นแล้วจากนิวรณ์ทั้งหลายและจากธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น. ก็แม้กรชกายของพระอริยบุคคลผู้ก้าวลงสู่สัญญานั้น ย่อมเป็นกรชกายเบาพร้อมเหมือนปุยนุ่น พระอริยบุคคลย่อมไปสู่พรหมโลก ด้วยกายที่ปรากฏว่าเบาพร้อมเหมือนปุยนุ่นที่ฟุ้งไปแล้ว ตามแรงลมอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า กายของเราย่อมเลื่อนลอยได้เหมือนปุยนุ่น ที่ถูกลมพัดไปฉะนั้น ดังนี้. คาถานั้นมีใจความว่า ในเวลาใด เรามีความประสงค์ จะไปสู่พรหมโลก หรือโลกอื่นด้วยฤทธิ์ ในเวลานั้น กายของเราก็จะโลดไปสู่อากาศทันที เหมือนปุยนุ่น ที่วิจิตร อันลม คือ พายุพัดไปฉะนั้น.
บทว่า จิตฺตวเสน กายํ ปริณาเมติ น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตคือยึดกรชกาย แล้วยกขึ้นในจิตอันมีฌานเป็นบท ทำการไปของจิตให้เป็นการไปเร็ว เพราะการไปด้วยจิตเป็นความเร็ว.
บทว่า สุขสญฺญญฺจ ลหุสญฺญญฺจ โอกฺกมิตฺวา คือหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา อันเกิดพร้อมกับอิทธิจิตอันมีรูปกายเป็นอารมณ์.
นอกจากนี้ ธรรมกาย ยังถือได้ว่าเป็นตัวพุทธศาสนาที่แท้ ไม่แบ่งแยกนิกาย ไม่แบ่งชนชั้นวรรณะ ชาติและภาษา ผู้ที่ดำเนินตามอริยมรรคมีองค์ ๘ ถูกส่วนเข้าก็จะเห็นได้เข้าถึงได้แน่นอน และจะได้ชื่อว่า เป็นพุทธบุตร พุทธธิดา เป็นพุทธศาสนิกชน และเป็นสมณะในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เพราะอะไร ? เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย ก็เสด็จอุบัติขึ้นด้วย พระธรรมกาย แล้วทรงเผยแผ่สั่งสอนชาวโลกจนกระทั่งเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระสาวกผู้เป็นอริยะทั้งหลายก็ได้นำมาเผยแผ่สืบต่อกันมา
http://www.dhammakaya.net/สมาธิ/พระธรรมกาย/หลักฐานธรรมกาย
ตามหลักฐานหลักฐาน นามกาย กับ กรชกาย ที่ปรากฏในบาลีมีดังต่อไปนี้
บทว่า อารทฺธํ ความว่า (ความเพียร) ที่ประคองไว้แล้ว คือให้บริบูรณ์แล้ว และชื่อว่า ไม่ย่อหย่อน เพราะเริ่มแล้ว บทว่า อุปฏฺฐิตา ความว่า สติ ชื่อว่า ตั้งมั่นและไม่หลงลืม เพราะตั้งมั่นด้วยอำนาจสติปัฏฐาน ๔ บทว่า ปสฺสทฺโธ กาโย ความว่า นามกายและกรชกายสงบ คือ มีความกระวนกระวายระงับแล้ว และเพราะระงับแล้ว จึงชื่อว่า ไม่กระสับกระส่าย บทว่า สมาหิตํ จิตฺตํ ความว่า จิตที่ตั้งมั่นโดยชอบ คือ ตั้งไว้ด้วยดีในอารมณ์ (และ) เพราะตั้งไว้โดยชอบนั่นเอง จึงชื่อว่า มีอารมณ์เดียวเป็นเลิศ.
บทว่า ปีติ ชายติ ความว่า ปีติ ๕ อย่าง ย่อมบังเกิด. บทว่า กาโย ปสฺสมฺภติ ความว่า ทั้งนามกาย ทั้งกรชกายย่อมสงบระงับ ด้วยธรรมเป็นเครื่องสงบระงับซึ่งความกระวนกระวาย. บทว่า สมาธิยติ ความว่า ย่อมตั้งมั่นโดยชอบ ในอารมณ์.
ว่าด้วยมิทธะมิใช่อกุศล
ก็ความที่กรชกายอ่อนเพลีย (ทุรพล) นี้ เห็นปานนี้ ไม่ใช่ภาวะที่มรรคพึงฆ่า ความที่กายทุรพลนี้ย่อมได้ทั้งในรูปที่มีใจครอง และในรูปที่ไม่มีใจครอง เมื่อจะได้ในรูปที่มีใจครอง ย่อมได้ในเวลาที่พระขีณาสพเดินทางไกลหรือทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งเหน็ดเหนื่อย เมื่อได้ในรูปที่ไม่มีใจครอง ย่อมได้ในใบไม้ดอกไม้ทั้งหลาย จริงอยู่ ใบไม้ของต้นไม้บางชนิดย่อมคลี่ออกไปด้วยแสงแดด ในเวลาราตรีย่อมงอกลับ ดอกปทุมเป็นต้น ย่อมบานด้วยแสงพระอาทิตย์ แต่ในเวลาราตรีย่อมหุบ ก็มิทธะนี้ย่อมมีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย เพราะความที่มิทธะนั้นไม่เป็นอกุศล ฉะนี้แล.
ในอธิการแห่งมิทธะนั้น ถ้าพึงมีผู้สงสัยว่า มิทธะมิใช่อกุศล เพราะเหตุไร เพราะมิทธะเป็นรูป ก็รูปเป็นอัพยากตะและมิทธะนี้ก็เป็นรูป ด้วยเหตุนั้นในอธิการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสกระทำกายศัพท์ว่า ความไม่สมประกอบแห่งนามกาย ความไม่ควรแก่การงานแห่งนามกาย ดังนี้.
ตามหลักฐานหลักฐาน รูปกาย กับ กรชกาย ที่ปรากฏในบาลีมีดังต่อไปนี้
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลหุโก วต เม กาโย มีอธิบายว่า รูปกายของเรา ชื่อว่าเบาพร้อมหนอ เพราะการฝึกจิตมีอย่าง ๑๔ ได้ ด้วยการข่มกิเลสมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะความชำนาญ อันเราอบรมมาดีแล้ว ด้วยการเจริญอิทธิบาท ๔ โดยที่เราน้อมกรชกายนี้ ที่ชื่อว่า มีมหาภูตรูปให้เป็นปัจจัยได้ด้วยอำนาจจิต.
ก็บทว่า ปีติสุเขน ได้แก่ ความสุขที่คล้ายกับสุขประกอบด้วยปีติ. อธิบายว่า ในอธิการนี้ อุเบกขาท่านประสงค์เอาว่าเป็นสุข เพราะความเป็นสภาพที่สงบระงับ และเพราะประกอบไปด้วยญาณวิเศษ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระอริยบุคคลก้าวลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา. ในบทนั้นมีอรรถาธิบายดังนี้ว่า พระอริยบุคคลย่อมก้าวลง คือ ย่อมเข้าไปสัมผัส ได้แก่ถึงพร้อมซึ่งสุขสัญญาและลหุสัญญา ที่เกิดพร้อมกับอิทธิจิต อันมีฌานเป็นเบื้องบาทเป็นอารมณ์ หรือมีรูปกายเป็นอารมณ์.
และสมดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า สัญญาอันสัมปยุตด้วยอุเบกขาชื่อว่า สุขสัญญา เพราะว่าอุเบกขาท่านกล่าวว่า เป็นสุขอันสงบแล้ว สัญญานั้นแหละ พึงทราบว่า ชื่อว่า ลหุสัญญา เพราะพ้นแล้วจากนิวรณ์ทั้งหลายและจากธรรมอันเป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น. ก็แม้กรชกายของพระอริยบุคคลผู้ก้าวลงสู่สัญญานั้น ย่อมเป็นกรชกายเบาพร้อมเหมือนปุยนุ่น พระอริยบุคคลย่อมไปสู่พรหมโลก ด้วยกายที่ปรากฏว่าเบาพร้อมเหมือนปุยนุ่นที่ฟุ้งไปแล้ว ตามแรงลมอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า กายของเราย่อมเลื่อนลอยได้เหมือนปุยนุ่น ที่ถูกลมพัดไปฉะนั้น ดังนี้. คาถานั้นมีใจความว่า ในเวลาใด เรามีความประสงค์ จะไปสู่พรหมโลก หรือโลกอื่นด้วยฤทธิ์ ในเวลานั้น กายของเราก็จะโลดไปสู่อากาศทันที เหมือนปุยนุ่น ที่วิจิตร อันลม คือ พายุพัดไปฉะนั้น.
บทว่า จิตฺตวเสน กายํ ปริณาเมติ น้อมกายไปด้วยอำนาจจิตคือยึดกรชกาย แล้วยกขึ้นในจิตอันมีฌานเป็นบท ทำการไปของจิตให้เป็นการไปเร็ว เพราะการไปด้วยจิตเป็นความเร็ว.
บทว่า สุขสญฺญญฺจ ลหุสญฺญญฺจ โอกฺกมิตฺวา คือหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา อันเกิดพร้อมกับอิทธิจิตอันมีรูปกายเป็นอารมณ์.
http://www.dhammakaya.net/สมาธิ/พระธรรมกาย/หลักฐานธรรมกาย
0 ความคิดเห็น: