ธรรมกายมีลักษณะอย่างไร
จากการศึกษาจากคัมภีร์บาลีเถรวาท ยังไม่พบการอธิบายลักษณะ พระธรรมกายอย่างตรงๆ และชัดเจนว่า มีลักษณะอย่างไร แต่อาจจะเทียบเคียงหรือตีความได้จากพุทธพจน์ที่ว่า "ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแล เห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม, ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเราตถาคต โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ, โย มํ ปสฺสติ โส ธมฺมํ ปสฺสติ"
จะเป็นไปได้หรือไม่ ถ้าจะกล่าวว่า การเห็นธรรมแล้วเห็นธรรมกายนั้นคือการเห็นเราตถาคต หมายถึง พระธรรมกาย มีลักษณะเหมือน พุทธลักษณะ(ลักษณะของพระพุทธเจ้าซึ่งหมายความว่า "ธรรม"หรือธรรมกาย ก็มีลักษณะคล้ายกับ"เรา"ตถาคตหรือรูปกายตถาคต)
พระอรรถกถาจารย์อธิบายความเรื่อง ผู้ใดเห็นธรรมไว้ทำนองว่า เห็นธรรมนั้นคือนวโลกุตรธรรม และธรรมนั้นคือ ธรรมกาย หรือเรียกชื่อว่า กายของพระตถาคต ตามที่ปรากฏหลักฐานในอรรถกถา สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ขันธสังยุตต์ มัชฌิมปัณณาสก์ เถรวรรคที่ ๔ วักกลิสูตร ว่าด้วยการเห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า ความว่า
โย โข วกฺกลิ ธมฺมนฺติ อิธ ภควา "ธมฺมกาโย โข มหาราช ตถาคโต" ติ วุตฺตํ ธมฺมกายตํ ทสฺเสติ ฯ นววิโธ หิ โลกุตฺตรธมฺโม ตถาคตสฺส กาโย นาม ฯ
ในบทว่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ นี้ พึงทราบอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมกายที่ตรัสไว้ว่า ขอถวายพระพรมหาบพิตร ธรรมกายแลคือพระตถาคต ความจริงโลกุตตรธรรม ๙ อย่าง (มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑) ชื่อว่า พระกายของพระตถาคต.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=215
พระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกาย
พระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกาย มีลักษณะอย่างไรนั้น ว่าโดยสรุปรวมแล้วเป็นลักษณะพุทธรูปที่ประกอบด้วยญาณต่างๆ ดังมีปรากฏในคัมภีร์พระธัมมกายาทิ ซึ่งเป็นคัมภีร์ศาสนาพุทธที่แต่งขึ้นด้วยภาษาบาลีจัดอยู่ในประเภทปกรณ์วิเศษ พบอยู่ในชุดพระไตรปิฎกฉบับสมบูรณ์ที่ทรงสร้างโดยพระมหากษัตริย์ไทย คือพระไตรปิฎกฉบับรองทรงโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ ๑ ใช้ทรงประจำพระองค์เป็นหลักฐานชิ้นที่ ๘ และ ฉบับเทพชุมนุม ที่สร้างขึ้นในช่วง พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๙๔ โดยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๓ และพระราชทานไว้ประจำวัดพระเชตุพนฯ เป็นหลักฐานชิ้นที่ ๙ มีข้อความสำคัญว่า
คัมภีร์พระธัมมกายาทิ ฉบับเทพชุมนุม
ร.๓ วัดพระเชตุพนฯ
........
อญฺเญสํ เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ อติวิโรจติ
ยสฺส ตมุตฺตมงฺคาทิ- ญาณํ สพฺพญฺญุตาทิกํ
ธมฺมกายมคฺคํ พุทฺธํ นเม ตํ โลกนายกํ
อิมํ ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ โยคาวจรกุลปุตฺเตน ติกฺขญาเณน สพฺพญฺญุพุทฺธภาวํ ปตฺเถนฺเตน ปุนมฺปุนํ อนุสฺสริตพฺพํฯ
แปลโดย ศาตราจารย์ ฉ่ำ ทองคําวรรณ ว่า
พระพุทธเจ้ารุ่งเรืองยิ่งกว่าเทพยาดา แลมนุษย์ทั้งหลายอื่น ด้วยพระธรรมกาย
พระญาณที่จัดเป็นพระเศียรเป็นต้น คือมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นอาทินั้น
อันพระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า พระธรรมกาย(ธมฺมกายมตํ) แห่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใด
ข้าพเจ้า (ขอนอบน้อม)ไหว้ ซึ่งพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นโลกนายก
พระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกายนี้ อันโยคาวจรกุลบุตร ผู้มีญาณอันกล้า เมื่อปรารถนา ซึ่งภาวะแห่งตนเป็นสัพพัญญูพุทธเจ้า พึงระลึกเนืองๆ ฯ
เรื่อง กายหรือธรรมกายของพระตถาคตหรือกายแห่งพุทธะนั้น มีหลักฐานในฝ่ายเถรวาทบาลีว่า ตถาคตสฺส กาโย(1) แปลว่า พระกายของพระตถาคต ส่วนในพระสูตรมหายาน ได้กล่าวถึง "ธรรมกายของพระตถาคตเจ้า"Tathāgata’s Dharma body (dharmakāya) ถ้าจะเขียนเป็นบาลีได้ว่า ตถาคตสฺส ธมฺมกาโย ซึ่งเป็นเหมือนการอธิบายให้ชัดเจนขึ้น ดังที่ปรากฏหลักฐานในศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร (ภาษาอังกฤษแปลจากต้นฉบับเดิม ในภาษาธิเบต จีน ญี่ปุ่น และชิ้นส่วนภาษาสันสกฤต ภาษาไทยแปลจากภาษาอังกฤษแปลโดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์) ความว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กุลบุตรกุลธิดาที่ได้สละร่างกายนั้น ย่อมเข้าถึงกายแห่งพุทธะ เป็นที่สุดแห่งสังสาร ย่อมเป็นอิสระจากความชรา ความเจ็บไข้ และความตาย ไม่มีใครทำลายได้ จึงเป็นผู้มีความมั่นคงสงบนิ่ง เป็นอมตะ เป็นอิสระจากการตาย และถึงพร้อมด้วยบารมีอันมหาศาล เข้าถึงธรรมกายแห่งพระตถาคตเจ้า"(ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. ศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร พระสูตรมหายาน กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง. เฮ้าส์. 2523.)
“When good sons and daughters abandon the body, they become equal to the last limit of the cycle of birth and death (samsara). Having parted from old age, illness, and death, they realize the indestructible, eternal, unchanging, and inconceivable merits of the Tathāgata’s Dharma body (dharmakāya).
《勝鬘師子吼一乘大方便方廣經》卷1:「善男子善女人捨身者,生死後際等,離老病死,得不壞常住、無有變易、不可思議功德如來法身。」(CBETA, T12, no. 353, p. 219, a1-8)
และเพราะพระธรรมกายของพระตถาคตนั้นได้ชื่อว่า 'เป็นที่สุดแห่งทุกข์' ในศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตรเช่นกันว่า
"ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
การพ้นทุกข์มิใช่การสิ้นสุดแห่งธรรมะ ด้วยเหตุใดหรือ เพราะพระธรรมกายของพระตถาคตนั้นได้ชื่อว่า 'เป็นที่สุดแห่งทุกข์' ไม่มีจุดกำเนิด
มิได้ถูกสร้างขึ้น ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย เป็นอิสระจากความตาย เป็นนิรันดร์
มั่นคง สงบ อมตะ มีความบริสุทธ์จากภายใน เป็นอิสระจากอาสวะทั้งปวง
ถึงพร้อมอยุ่ในธรรมชาติแห่งพุทธะอันมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา
มีความเปิดเผย เป็นอิสระและหยั่งมิได้ ธรรมกายแห่งพระตถาคตนี้ เมื่อยังไม่เป็นอิสระจากอาสวะเรียกว่า
ตถาคตครรภ์
“O Lord, the
extinction of suffering is not the destruction of the Dharma.
The ‘extinction
of suffering’ signifies the Dharma body of the Tathāgata, which is from beginningless time uncreated,
non arising, indestructible, free from
destruction, eternal, inherently pure, and separate from all the stores of defilement. O Lord, the Dharma body is not
separate from, free from, or different
from the inconceivable Buddha-Dharmas that are more numerous than the sands of the Ganges River.
“O Lord, the Dharma body
of the Tathāgata
is called the tathā
gatagarbha when
it is inseparable from the stores of defilement.”
《勝鬘師子吼一乘大方便方廣經》卷1:「「世尊!非壞法故,名為苦滅。所言苦滅者,名無始無作、無起無盡、離盡常住、自性清淨,離一切煩惱藏。世尊!過於恒沙不離、不脫、不異、不思議佛法成就,說如來法身。世尊!如是如來法身不離煩惱藏,名如來藏。」(CBETA, T12, no. 353, p. 221, c7-11)และ ธรรมกายแห่งพระตถาคต มีหลักฐานปรากฏในมัญชุศรีปรัชญาปารมิตาสูตร พระสังฆปาละ พระเถระชาวอินเดียเชื้อสายทิเบต แห่งอาณาจักรฟูนัน ในสมัยเหลียงแปลจากภาษาสันสกฤตสู่ภาษาจีน และแปลเป็นไทยพระวิศวภัทร เซี่ยเกี๊ยก (釋聖傑) แปลไทย ความว่า
พระผู้มีพระภาคตรัสกะพระมัญชุศรีว่า “บัดนี้ เธอได้เห็นตถาคตอย่างแท้จริงหรือไม่?” พระมัญชุศรีทูลว่า “พระผู้มีพระภาค! ธรรมกายแห่งพระตถาคตแต่เดิมมาก็ไม่อาจเห็นได้ เพื่อสรรพสัตว์เป็นเหตุข้าพระองค์จึงมาทัศนาพระพุทธองค์ ธรรมกายของพระองค์นั้นเป็นอจินไตย(นึกคิดเอาไม่ได้) ไร้ลักษณะ ไร้รูปร่าง มิได้มาแลมิได้ไป มิใช่มีแลมิใช่ไม่มี มิใช่เห็นแลมิใช่ไม่เห็น ดั่งตถตา (ความเป็นไปอย่างนั้นเอง) ที่ไม่ได้มาและไม่ได้ไป มิใช่การปราศจาก และมิใช่การไม่ปราศจาก มิใช่สถานที่แลมิใช่การไม่ใช่สถานที่ มิใช่การเป็นหนึ่ง มิใช่การเป็นสอง มิใช่ความบริสุทธิ์ มิใช่มลทิน ไม่เกิดไม่ดับ ข้าพระองค์ทัศนาพระตถาคตอยู่อย่างนี้พระเจ้าข้า”
爾時世尊告文殊師利:「汝今真實見如來乎?」文殊師利白佛言:「世尊!如來法身本不可見,我為眾生故來見佛。佛法身者不可思議,無相無形,不來不去,非有非無,非見非不見,如如實際,不去不來,非無非非無,非處非非處,非一非二,非淨非垢,不生不滅。我見如來亦復如是。」(CBETA, T08, no. 233, p. 733, a05)
http://www.mahaparamita.com
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=38539
สรุปความว่า ในทางเถรวาท พระธรรมกายคือพระพุทธลักษณะ หรือพระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกาย(ธมฺมกายพุทฺธลกฺขณํ) ส่วน พระธรรมกาย ในทางมหายานมีหลักฐานว่า ธรรมกายแห่งพระตถาคตเจ้า นั้น และเมื่อเข้าถึงพระธรรมกายของพระตถาคตนั้นได้ชื่อว่า 'เป็นที่สุดแห่งทุกข์' จะเป็นอย่างไร? เป็นเรื่องที่ต้องตามหาหลักฐานกันต่อไป
ถึงแม้ว่าหลักฐานต่างๆ จะเป็นอย่างไร แต่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงธรรมกาย ตามเส้นทางมัชฌิมาปฏิปทาทางสายกลางผ่านมรรคมีองค์ 8 ตามหลักอริยสัจ 4 แล้วเราก็เข้าถึงธรรมกายได้ในที่สุด เมื่อเข้าถึงพระธรรมกายแล้วจะทำให้หมดความสงสัยเพราะเห็นธรรมกายด้วยตัวของตนเอง(ปัจจัตตัง)
ส่วนการตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธ จะเป็นอย่างไรโปรดติดตามตอนต่อไป
อ้างอิง
1.โย โข วกฺกลิ ธมฺมนฺติ อิธ ภควา "ธมฺมกาโย โข มหาราช ตถาคโต" ติ วุตฺตํ ธมฺมกายตํ ทสฺเสติ ฯ นววิโธ หิ โลกุตฺตรธมฺโม ตถาคตสฺส กาโย นาม ฯ
ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน 1 พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน 2 ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน 3 สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน
ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต” (ตถาคตคือธรรมกาย)
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/4.html ตอน 7 ธมฺมกายพุทธลกฺขณํ พระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกาย
0 ความคิดเห็น: