วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 9 เห็นธรรมกายเมื่อใด ก็ใกล้พุทธเจ้าเมื่อนั้น

SHARE
เห็นธรรมกายเมื่อใด ก็ใกล้พุทธเจ้าเมื่อนั้น

 หากมีคำถามว่า แล้วทำไมเราจึงจะต้องเห็นธรรมหรือเห็นธรรมกาย
                 ถ้าไม่เห็นธรรมหรือเห็นธรรมกายก็จะเป็นผู้ห่างไกลพระพุทธเจ้าห่างไกลพระตถาคต และพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคตก็ห่างไกลผู้นั้นด้วย ดังในพุทธดำรัสในสังฆาฏิสูตร ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา" 
       ทำไมถึงห่างไกลพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคต?  
มีคำตอบอธิบายปรากฏใน ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก อรรถกถาสังฆาฏิสูตร เล่ม ๔๕ หน้า ๕๘๓ ว่า 
        "บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคตก็ชื่อว่า อยู่ไกลเธอเหมือนกัน ด้วยคำนี้พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้น และการรวมกันด้วย ธรรมกาย ต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้) ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า
        ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ไม่เห็นเราตถาคต"
https://www.dmc.tv/pages/ธรรมกาย/พระธรรมกาย-ภาพพระธรรมกาย.html
         ในคัมภีร์มูลสรวาสติวาทของมหายาน มีหลักฐานปรากฏคล้ายบาลีของเถรวาทเช่นกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด เช่นในงานวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์ คัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุ ศึกษาเฉพาะประวรัชยาวัสตุ โปษธวัสตุ ประวารณาวัสตุ วรษาวัสตุ จรมวัสตุและสังฆเภทวัสตุ" เสนอโดย พระมหาบุญเกิด เจริญแนว ปรากฏความว่า
        (17) โดยสมัยนั้นแล พระโศรณะ โกฎีกรรณะนั่งประชุมอยู่ในบริษัท I ลำดับนั้น พระโศรณะ โกฎีกรรณะได้ลุกจากอาสนะแล้ว ทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งคุกเข่าประคองอัญชลี ต่อพระมหากาตยายนะ แล้วจึงกล่าวคำพูดกะพระมหากาตยายนะผู้มีอายุว่า I ข้าแต่พระอุปาธยายะ กระผมได้เคยเห็นพระผู้มีพระภาคนั้นโดยอานุภาพ โดยธรรมกาย แต่ไม่เคยเห็นโดยรูปกาย ข้าแต่พระอุปาธยายะ กระผมจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคนั้นโดยรูปกาย Iท่านจึงกล่าวว่า I ศิษย์เอ๋ย เธอต้องทำอย่างนั้น I เพราะว่า พระสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงเป็นพระอรหันต์ ทรงเป็นพระตถาคต ที่บุคคลทั่วไปจะเฝ้าได้ยาก เช่นเดียวกับดอกมะเดื่อ I เธอจงถวายบังคมพระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงความไม่มีอาพาธจนถึงความประทับอยู่สำราญ และปัญหาอีก 5 ข้อตามคำของเราว่า I
       (17) เตน ขลุ (ปุนะ สมเยน โศฺรณะ โกฏีกรฺณสฺตสฺยาเมว ปรฺษทิ สํนิษณฺโณ,ภตฺ สํนิปติตะ I อถายุษฺมานฺ โศฺรณะ โกฏีกรฺณ อุตฺถายาสนาเทกำสมุตฺตรา)สํคํ กฺฤตฺวา ทกฺษิณํ ชานุมณฺฑลํ ปฺฤถิวฺยำ ปุรติษฺฐาปฺย (เยนายุษฺมานฺ มหากาตฺยายนสฺเตนาญฺชลึ กฺฤตฺวา ปฺรณมฺยา)ยุษฺมนฺตํ มหากาตฺยายนมิทมโวจตฺ I ทฺฤษฺโฎ มโยปาธฺยายานุภาเวน ส ภควานฺ ธรฺมกาเยน โน ตุ รูปกาเยน I (คจฺฉามฺยุปาธฺยาย รูปกาเยนาปี ตํ ภควนฺตํ ทฺรกฺษฺยามิ I ส อาห I เอวํ วตฺส กุรุษฺว I ทุรฺลภทรฺศนา หิ วตฺส ตถาคตา อรฺหนฺตะ) สมฺยกฺสํพทฺธาะ ตทฺยถา เอาทุมฺพรปุษฺปมฺ I อสุมากํ จ (วจเนน ภควตะ ปาเทา ศิรสา วนฺทสฺวาลฺปาพาธตำ จ ยาวตฺ สุขสฺปรฺศวิหารตำ จ ปญฺจ ปฺรศนานิ จ ปฺฤจฺฉ I
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/PhramahaBoonkerd_Charernnaew_Doctor/fulltext.pdf
คล้ายในคัมภีร์ทิวยาวทาน (Divyavadana) ซึ่งเรียบเรียงประมาณพุทธศตวรรษที่ 7-9 (ราวคริสต ศตวรรษที่ 1-3) ความว่า
dṛṣṭo mayopādhyāyānubhāvena ' sa bhagavān dharmakāyena no tu rūpakāyena | gacchāmy upādhyāya rūpakāyenāpi taṃ bhagavantaṃ drakṣyāmi |
ทฤษฺโฏ มโยปาธฺยายานุภาเวน  ภควานฺ ธรฺมกาเยน โน ตุ รูปกาเยน  คจฺฉามฺยฺ อุปาธฺยาย รูปกาเยนาปิ ตํ ภควนฺตํ ทฺรกฺษฺยามิ 
鄔波馱耶。我有諮白。願見聽許。我今但見鄔波馱耶。未見世尊。雖見法身。未見色身。若親教聽我見如來色身相好者。今亦欲去
 ในวิมลเกียรตินิทเทสสูตร แปลและเรียบเรียงโดย อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้กล่าวถึงพระวรกายที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็คือพระธรรมกายนั้นเอง ตามหลักฐานที่ปรากฏว่า
 api tu bhadantānanda dharmakāyās tathāgatā nāmiṣakāyāḥ lokottarakāyās tathāgatāḥ sarvalokadharmasamatikrāntāḥ anābādhas tathāgatasya kāyas sarvāsravavinivṛtaḥ asaṃskṛtas tathāgatasya kāyaḥ sarvasamkhyāvigataḥ tasya bhadanto vyādhim icchatīty ayuktam asadṛśam /
         อปิ ตุ ภทนฺตานนฺท ธรฺมกายาสฺ ตถาคตา นามิษกายาะ / โลโกตฺตรกายาสฺ ตถาคตาะ สรฺวโลกธรฺมสมติกฺรานฺตาะ / อนาพาธสฺ ตถาคตสฺย กายสฺ สรฺวาสฺรววินิวฤตะ / อสํสฺกฤตสฺ ตถาคตสฺย กายะ สรฺวสมฺขฺยาวิคตะ / ตสฺย ภทนฺโต วฺยาธิมฺ อิจฺฉตีตฺยฺ อยุกฺตมฺ อสทฤศมฺ /
http://prajnatara79.blogspot.com/2016/11/blog-post_54.html
       "พระคุณเจ้าอานนท์พึงทราบไว้เถอะว่า พระวรกายที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็คือพระธรรมกายนั้นเอง มิได้เป็นกายเกิดจากกิเลสตัณหา พระพุทธองค์เป็นพระผู้ควรบูชา ประเสริฐเลิศกว่าผู้หนึ่ง ผู้ใดในไตรโลก พระสรีระของพระองค์เป็นอนาสวะ มีอาสวธรรมเป็นมูลเฉทสิ้นเชิงแล้ว พระสรีระของพระองค์เป็นอสังขตะ ปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งได้ ไม่ตกไปในข่ายแห่งการนับประมาณได้ ก็เมื่อพระวรกายของพระองค์มีสภาพดังกล่าวมานี้ จักมีโรคาพาธเกิดขึ้นได้อย่างไรเล่า ?"
     "'Reverend Ananda, the Tathagatas have the body of the Dharma - not a body that is sustained by material food. The Tathagatas have a transcendental body that has transcended all mundane qualities. There is no injury to the body of a Tathagata, as it is rid of all defilements. The body of a Tathagata is uncompounded and free of all formative activity. Reverend Ananda, to believe there can be illness in such a body is irrational and unseemly!'
         ตามหลักฐานจะเห็นได้ว่า พระธรรมกายคือพระกายที่แท้จริงของพระพุทะเจ้า เพราะแม้จะเดินตามข้างหลังพระพระพุทธเจ้า แต่ไม่เห็นพระธรรมกายก็ยังถือว่ายังอยู่ห่างไกล หรือแม้จะตามเฝ้าดูด้วยความเลื่อมใสมากมายเพียงใด เมื่อยังไม่เห็นพระธรรมกาย ถือว่ายังเลื่อมใสไม่ถูกตัวที่แท้จริงของพระตถาคตเจ้าและอาจจะถูกตำหนิได้ เหมือนพระวักกลิที่เลื่อมใสแต่เฉพาะในรูปของพระองค์ไม่ค่อยสนใจในพระสัทธรรม จึงทำให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ พระองค์จึงตรัสสอนให้เห็นเบญจขันธ์ร่างกายไม่ใช่สิ่งเที่ยงแท้เป็นต้น เพราะถ้าผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นจะเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
 "อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเรา ก็ย่อมเห็นธรรม วักกลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?..."

            ในวิมลเกียรตินิทเทสสูตร แปลและเรียบเรียงโดย อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้กล่าวถึง สรีรกาย(พระรูปกาย)นี้น่าเบื่อหน่ายเห็นปานฉะนี้เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงยินดีในพระพุทธสรีระ(พระธรรมกาย)  ตามหลักฐานที่ปรากฏว่า
tatra yuṣmābhir evaṃrūpe kāye nirvidvirāga utpādayitavyas tathāgatakāye ca spṛhotpādayitavyā /
dharmakāyo hi mārṣāḥ tathāgatakāyo dānanirjātaḥ śīlanirjātaḥ samādhinirjātaḥ prajñānirjāto vimuktinirjāto vimuktijñānadarśananirjātaḥ maitrīkaruṇāmuditopekṣānirjātaḥ dānadamasaṃyamanirjātaḥ kṣāntisauratyanirjāto dṛḍhavīryakuśalamūlanirjāto dhyānavimokṣasamādhisamāpattinirjātaḥ śrutaprajñopāyanirjātaḥ /....
          ตตฺร ยุษฺมาภิรฺ เอวํรูเป กาเย นิรฺวิทฺวิราค อุตฺปาทยิตวฺยสฺ ตถาคตกาเย จ สฺปฤโหตฺปาทยิตวฺยา /
          ธรฺมกาโย หิ มารฺษาะ ตถาคตกาโย ทานนิรฺชาตะ ศีลนิรฺชาตะ สมาธินิรฺชาตะ ปฺรชฺญานิรฺชาโต วิมุกฺตินิรฺชาโต วิมุกฺติชฺญานทรฺศนนิรฺชาตะ / ไมตฺรีกรุณามุทิโตเปกฺษานิรฺชาตะ / ทานทมสํยมนิรฺชาตะ กฺษานฺติเสารตฺยนิรฺชาโต ทฤฒวีรฺยกุศลมูลนิรฺชาโต ธฺยานวิโมกฺษสมาธิสมาปตฺตินิรฺชาตะ ศฺรุตปฺรชฺโญปายนิรฺชาตะ / 
          สปฺตตฺริํศทฺโพธิปกฺษฺยนิรฺชาตะ ศมถวิทรฺศนานิรฺชาโต ทศพลนิรฺชาตศฺ จตุรฺไวศารทฺยนิรฺชาตะ / อษฺฏาทศาเวณิกพุทฺธธรฺมนิรฺชาตะ สรฺวปารมิตานิรฺชาตะ / อภิชฺญาวิทฺยานิรฺชาตะ สรฺวากุศลธรฺมปฺรหาณาย นิรฺชาตะ สรฺวกุศลธรฺมปริคฺรหนิรฺชาตะ สตฺยนิรฺชาโต ภูตนิรฺชาโต 'ปฺรมาทนิรฺชาตะ / อปฺรมาณศุภกรฺมนิรฺชาโต มารฺษาะ ตถาคตกายสฺ ตตฺร ยุษฺมาภิะ สฺปฤหา กรฺตวฺยา / 
        สรฺวสตฺวานํา จ สรฺวกฺเลศวฺยาธิปฺรหาณายานุตฺตรายํา สมฺยกฺสํโพเธา จิตฺตานฺยฺ อุตฺปาทยิตวฺยานิ /
http://prajnatara79.blogspot.com/2016/11/blog-post_54.html
           “ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย สรีรกายนี้น่าเบื่อหน่ายเห็นปานฉะนี้เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงยินดีในพระพุทธสรีระ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤๅ ?
             ก็เพราะว่า อันพระพุทธสรีรกายนั้น คือพระธรรมกายนั้นเองย่อมเกิดมาจากปัญญาและคุณสมบัติเป็นอันมาก จักประมาณมิได้ เกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เกิดมาจากเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เกิดมาจากทาน ศีล ขันติ โสรัจจะ วิริยะ ฌาน วิมุตติ สมาธิ พหูสูต ปัญญาแล

           ปวงบารมีธรรม ๓๗ เกิดมาจากสมถวิปัสสนา เกิดมาจากทศพลญาณ เกิดมาจากจตุเวสารัชชญาณและอเวณิกธรรม ๑๘ เกิดมาจากสรรพอกุศลสมุจเฉทธรรมและจากสรรพกุศลภาวนาธรรมเกิดมาจากภูตตัตตวธรรม เกิดมาจากอัปปมาทธรรมและวิสุทธิธรรมเป็นอเนกอนันต์ดังกล่าวมานี้ ยังพระตถาคตกายให้บังเกิดขึ้น 
        ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใด ปรารถนาจักได้พระพุทธสรีรกาย และอาจตัดเสียซึ่งพยาธิโรคันตรายของสรรพสัตว์ได้ขาด ผู้นั้นถึงตั้งจิตปณิธานในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเถิด.

          Therefore, you should be revulsed by such a body. You should despair of it and should arouse your admiration for the body of the Tathagata.

          "Friends, the body of a Tathagata is the body of Dharma, born of gnosis. The body of a Tathagata is born of the stores of merit and wisdom. It is born of morality, of meditation, of wisdom, of the liberations, and of the knowledge and vision of liberation. It is born of love, compassion, joy, and impartiality.

          ในคัมภีร์อัษฏสาหสริกาปรัชญาปารมิตา ฉบับเต็มในภาษาสันสกฤต(Vaidya 1960) พบคำว่าธรรมกายหลายแห่งซึ่งกล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นธรรมกาย หรือมีธรรมเป็นกาย และพึงเห็นพระพุทธองค์โดยการบรรลุธรรมกาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
dharmakāyapariniṣpattito māṃ bhikṣavo drakṣayatha
               ธรฺมกายปรินิษฺปตฺติโต มำ ภิกฺษโว ทฺรกฺษยถ (Vaidya 1960: 48)
คำแปลภิกษุทั้งหลาย จงเห็นเราโดยการบรรลุธรรมกาย และ
               น หิ ตถาคโต รูปกายโต ทฺรษฺฏวฺยะ | ธรฺมกายาสฺตถาคตาะ
(Vaidya 1960: 253)

คำแปลไม่พึงเห็นพระตถาคตโดยรูปกาย พระตถาคตทั้งหลายมีธรรมเป็นกาย
        และในทนองเดียวกันกับคัมภีร์อัษฏสาหสริกาปรัชญาปารมิตาที่มีหลายฉบับที่เนื้อหาแตกต่างกันไปบ้าง ชิ้นส่วนคัมภีร์ปัญจวิงศติสาหสริกาปรัชญาปารมิตาในภาษาสันสกฤตที่พบในเอเชียกลางหลายครั้ง (Bongard-Levin 1994; Watanabe 1994; Bongard-Levin and Kimura 1995; Karashima 2005) ก็มีลักษณะเนื้อหาที่เรียบเรียงใหม่แตกต่างกันไปบ้างเช่นเดียวกัน(Bongard-Levin and Kimura 1995: 355) ในคัมภีร์นี้พบคว่าธรรมกายอยู่เช่นกัน ดังเช่นเนื้อหาต่อไปนี้
 tāṃśa ca dharmakāyena ca rūpakāyena ca draṣṭukāmena iyameva prajñāpāramitā śrotavyodgrahītavyā dhārayitavyā vācayitav yā paryavāptavyā parebhyaś ca vistareṇa saṃprakāśayitavyā yo niśaś ca manasikartavyā । sacet kulaputro vā kuladuhitā vā tān daśasu dikṣu tathāgatān arhataḥ samyaksaṃbuddhān icched darṣṭuṃ tena kulaputrena vā kuladuhitrā vā prajñāpāramitāyāṃ caratā buddhānusmṛtir bhāvayitavyā
ตำศ จ ธรฺมกาเยน จ รูปกาเยน จ ทฺรษฺฏุกาเมน อิยเมว  ปฺรชฺญาปารมิตา โศฺรตวฺโยทฺคฺรหีตวฺยา ธารยิตวฺยา วาจยิตวฺ  ยา ปรฺยวาปฺตวฺยา ปเรภฺยศฺ จ วิสฺตเรณ สํปฺรกาศยิตวฺยา โย  นิศศฺ จ มนสิกรฺตวฺยา ฯ สเจตฺ กุลปุโตฺร วา กุลทุหิตา วา  ตานฺ ทศสุ ทิกฺษุ ตถาคตานฺ อรฺหตะ สมฺยกฺสํพุทฺธานฺ อิจฺเฉทฺ  ทรฺษฺฏุํ เตน กุลปุเตฺรน วา กุลทุหิตฺรา วา ปฺรชฺญาปารมิตายำ  จรตา พุทฺธานุสฺมฤติรฺ ภาวยิตวฺยา (Kimura 1986: 96)

คำแปลผู้ปรารถนาจะเห็นพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งโดยธรรมกายและโดยรูปกาย ควรสดับฟัง ศึกษา ทรงจ บอกเล่าบรรยาย ประกาศ ปรัชญาปารมิตานี้โดยพิศดาร แก่บุคคลอื่นด้วย และพึงกระทไว้ในใจโดยแยบคายด้วยฯ อนึ่ง ถ้ากุลบุตรหรือกุลธิดาจะพึงประสงค์ที่จะเห็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในทิศทั้งสิบเหล่านั้น กุลบุตรหรือกุลธิดานั้นผู้ประพฤติอยู่ในปรัชญาปารมิตาพึงเจริญพุทธานุสติฯ
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html

       มีหลักฐานที่เกิดให้เข้าใจผิดในบ้างพระสูตรที่กล่าวถึงธรรมกายว่าไม่สามารถเห็นได้เช่นในคัมภีร์มหายานสูตรตาลังการความว่า
                     viśuddhā tathatā niṣpannaḥ paramārthaḥ, sa ca buddhānāṃ suvabhāvaḥ....
                           ...sarvathā cādṛśyamānatā dharmakāyena...,
                    วิศุทฺธา ตถตา นิษฺปนฺนะ ปรมารฺถะส จ พุทฺธานำ สุวภาวะ....              
                     ...สรฺวถา จาทฺฤศฺยมานตา ธรฺมกาเยน...
ความจริงที่สูงสุดก็คือ ตถตาที่บริสุทธิ์ เป็นสภาวะที่เหมาะสม ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายธรรมกาย
เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นได้ โดยประการทั้งปวง
MahāyānaSūtralaikāra (MSA.XX-XXI.60 Commentary.)
        แม้ในคัมภีร์มหายานสูตรตาลังการ จะกล่าวถึงประโยคที่ว่า "ธรรมกายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นได้" ในความหมายคือไม่สามารถจะเห็นด้วยตาธรรมดาของปุถุชนคนทั่วไป แต่ะเห็นการด้วยการเจริญสมาธิปฏิบัติธรรมถึงจะสามารถเห็นได้
       สรุปความว่า  แม้จะเดิมตามหลังพระพุทธองค์หรือพูดง่ายๆว่า เดินตามเกาะชายผ้าสังฆาฏิ ก็เป็นเพียงการเห็นหรืออยู่ด้วยกันทางรูปกายกับพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่เหตุของการอยู่รวมหรือวัตถุประสงค์ของพระพุทธเจ้าเพราะยังไม่เห็นธรรม จึงถือว่ายังห่างไกลพระพุทธเจ้า แต่ถ้าเห็นพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคตด้วยญาณหรือญาณจักษุและอยู่รวมด้วยธรรมกายคือเข้าถึงหรือบรรลุธรรมกาย จึงประมาณคือบรรลุวัตถุประสงค์ของการอยู่ร่วมกันกับพระพุทธเจ้าได้ เพราะพระวรกายที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็คือพระธรรมกายนั้นเอง  อันพระพุทธสรีรกายนั้น คือพระธรรมกายนั้นเองย่อมเกิดมาจากปัญญาและคุณสมบัติเป็นอันมาก จักประมาณมิได้ เกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นต้น

https://sutra.thai-sanscript.com/sutra/mahayanasutra/mahayana-sutrasanipata/vimalakirti-nirdesa/
SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: