วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต” (ตถาคตคือธรรมกาย)

SHARE
ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต”  (ตถาคตคือธรรมกาย)

     พระตถาคตหรือพระพุทธเจ้าของเรา พระองค์เพียบพร้อมด้วยรูปกายสมบัติและธรรมกายสมบัติไม่มีใครทัดเทียมได้ แต่รูปกายก็ตกอยู่ในไตรลักษณ์คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา จะหาสาระเที่ยงแท้แน่นอนไม่ได้ ส่วนธรรมกายต่างหากเป็นส่วนที่สำคัญ เรื่องนี้พระองค์ตรัสสอนวักกลิผู้สนใจแต่รูปกายของพระตถาคตแต่ไม่สนใจธรรม ให้ท่านวักกลิสนใจอีกกายหนึ่งคือธรรมกายหมายถึงสนใจธรรม เพราะผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นก็เห็นเราตถาคต เพราะธรรมกายแลคือพระตถาคต หรืออีกความหมายหนึ่ง ตถาคตคือธรรมกาย ถ้าจะเห็นตถาคตได้ถูกต้องจริงๆ ก็ต้องเห็นให้ถึงธรรมกาย ธรรมกายแลคือพระตถาคต (ธมฺมกาโย โข ตถาคโต) ปรากฏในอรรถกถาวักกลิสูตรที่ 5 ความว่า
       ในบทว่า โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ (ดูก่อนวักกลิผู้ใดห็นธรรม) นี้ พึงทราบอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมกายที่ตรัสไว้ว่า “ขอถวายพระพรมหาบพิตร ธรรมกายแลคือพระตถาคต (ตถาคตคือธรรมกาย) ความจริงโลกุตรธรรม 9 อย่าง (มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1) ชื่อว่า พระกายของพระตถาคต
โย โข วกฺกลิ ธมฺมนฺติ อิธ ภควา "ธมฺมกาโย โข มหาราช ตถาคโต"ติ วุตฺตํ ธมฺมกายตํ ทสฺเสติ. 
นววิโธ หิ โลกุตฺตรธมฺโม ตถาคตสฺส กาโย นาม.
yo kho vakkali dhammanti idha bhagavā "dhammakāyo kho mahārāja tathāgato"ti vuttaṃ dhammakāyataṃ dasseti. navavidho hi lokuttaradhammo tathāgatassa kāyo nāma.
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=12&A=7557


ทำไมพระตถาคตจึงชือว่าธรรมกาย หรือทำไม ธรรมกายแลคือพระตถาคต?
                   ในเรื่องปรากฏเรื่องราวในอัคคัญสูตร ปาฏิกวรรคที่วาเสฏฐะและภารทวาชะจากตระกูลพราหมณ์บวชเป็นสามเณรแล้วโดนพวกพราหมณ์ด่าอย่างเสียหายมากมาย ในเรื่องชาติตระกูลพราหมณ์สูงกว่าคนอื่น พระพุทธเจ้าจึงตรัสสอนให้เห็นทำนองว่า ไม่ว่าเกิดในชาติตระกูลวรรณะใด ถ้าทำไม่ดีผิดศีลธรรมเป็นต้นก็ไม่ประเสริฐเลย แล้วตรัสสอนว่า "เธอทั้งสองพึงทราบเถิดว่า ธรรมเท่านั้นเป็นของประเสริฐที่สุดในหมู่ชนทั้งในเวลาที่เห็นอยู่ ทั้งในเวลาภายหน้า" ถ้ามีธรรมดีปฏิบัติตนดีแม้จะเกิดในสกุลไหนก็ตามเช่นออกบวชแล้ว แม้พระราชายังถวายความเคารพนับถือได้เช่นกัน
              และเมื่อออกบวชแล้วก็เป็นพวกพระสมณศากยบุตร คือเหมือนเป็นลูกของพระพุทธเจ้าหรือของพระคถาคตดังที่ตรัสไว้ว่า "พระผู้มีพระภาคได้ตรัสต่อไปว่า ดูกรวาเสฏฐะและภารทวาชะ เธอทั้งสองคนมีชาติก็ต่างกัน มีชื่อก็เพี้ยนกัน มีโคตรก็แผกกัน มีตระกูลก็ผิดกัน พากันทิ้งเหย้าเรือนเสีย มาบวชเป็นบรรพชิต เมื่อจะมีผู้ถามว่า ท่านทั้งสองนี้เป็นพวกไหน เธอทั้งสองพึงตอบเขาว่า ข้าพเจ้าทั้งสองเป็นพวกพระสมณศากยบุตรดังนี้เถิด
        ดูกรวาเสฏฐะ และภารทวาชะ ก็ผู้ใดแล มีศรัทธาตั้งมั่นเกิดขึ้นแล้วแต่รากแก้วคืออริยมรรค ประดิษฐานมั่นคง อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหมหรือผู้ใดผู้หนึ่งในโลก ไม่พรากไปได้ ควรเรียกผู้นั้นว่า เป็นบุตรเกิดแต่พระอุระ เกิดแต่พระโอฐของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดแต่พระธรรม เป็นผู้ที่พระธรรมเนรมิตขึ้น เป็นผู้รับมรดกพระธรรม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคำว่า ธรรมกายก็ดี ว่าพรหมกาย ก็ดี ว่าธรรมภูต ก็ดี ว่าพรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต ฯ"
ถอดความจาก http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=11&A=1703&Z=2129

   และเพราะเหตุไร พระตถาคตจึงชื่อว่าธรรมกาย เพราะทรงดำริพุทธพจน์คือธรรมแล้วนำออกมาแสดง ฉะนั้นพระองค์จึงเป็นธรรมกาย ปรากฏในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินี ภาค ๓ ฉบับมหาจุฬาฯ ข้อ ๑๑๘ หน้า ๕๐ ซึ่งขยายความในอัคคัญสูตร ปาฏิกวรรคว่า
          ตตฺถ "ธมฺมกาโย อิติปิ"ติ กสฺมา ตถาคโต "ธมฺมกาโย"ติ วุตฺโต. ตถาคโต หิ เตปิฏกํ พุทฺธวจนํ หทเยน จินฺเตตฺวา วาจาย อภินีหริ. เตนสฺส กาโย ธมฺมมยตฺตา ธมฺโมว. อิติ ธมฺโม กาโย อสฺสาติ ธมฺมกาโย. ธมฺมกายตฺตาเอว พฺรหฺมกาโย. ธมฺโม หิ เสฏฺฐฏฺเฐน พฺรหฺมาติ วุจฺจติ. ธมฺมภูโตติ ธมฺมสภาโว. ธมฺมภูตตฺตาเอว พฺรหฺมภูโต.
          tattha "dhammakāyo itipi"ti kasmā tathāgato "dhammakāyo"ti vutto. tathāgato hi tepiṭakaṃ buddhavacanaṃ hadayena cintetvā vācāya abhinīhari. tenassa kāyo dhammamayattā dhammova. iti dhammo kāyo assāti dhammakāyo. dhammakāyattāeva brahmakāyo. dhammo hi seṭṭhaṭṭhena brahmāti vuccati. dhammabhūtoti dhammasabhāvo. dhammabhūtattāeva brahmabhūto.
          แปลว่า : คำว่า ธมฺมกาโย อิติปิ ความว่า เพราะเหตุไร พระตถาคตจึงได้รับขนานนามว่า ธรรมกาย. เพราะพระตถาคตทรงคิดพระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎกด้วยพระหทัยแล้ว ทรงนำออกแสดงด้วยพระวาจา.ด้วยเหตุนั้น พระวรกายของพระผู้มีพระภาคจึงจัดเป็นธรรมแท้ เพราะสำเร็จด้วยธรรม. พระธรรมเป็นกายของพระผู้มีพระภาคนั้นดังพรรณนามานี้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคจึงชื่อว่า ธรรมกาย. ชื่อว่า พรหมกาย เพราะมีธรรมเป็นกายนั่นเอง แท้จริง พระธรรมท่านเรียกว่า พรหม เพราะเป็นของประเสริฐ.
(ธรรมกายพระนามของตถาคต ขยายความหลักฐานธรรมกาย โดย พระมหาสมเกียรติ วรยโส (ป.ธ.๙)
http://www.dhammakaya.net/สมาธิ/พระธรรมกาย/ธรรมกายพระนามของตถาคต)

       
       เรื่องตถาคตคือธรรมกายนั้นเป็นของเดิมมีตั้งแต่สมัยพุทธกาลและไม่ใช่มีแต่ในพระไตรปิฏกบาลีนิกายเถรวาทเท่านั้น แม้แต่ในพระไตรปิฏกภาษาจีนของมหายานและพระไตรปิฏกภาษาสันสกฤตของวัชรยานของธิเบตยังมีเรื่องนี้อยู่อีกด้วย โดยกล่าวถึงว่าพระตถาคตคือธรรมกาย และพระตถาคตคือกายแห่งปัญญาที่ยิ่งใหญ่ มีความว่า

2. [P167a2][D159b3] nam mkha' mtshan ma med [D159b4] las skyes || sangs rgyas nam
mkha' lta bu ste || nam mkha' gzugs med gyur pa'o || chos rnams nam mkha' lta bu ste || de
bzhin gshegs pa chos kyi sku || ye shes nam mkha' lta bu ste || de bzhin gshegs pa ye shes
sku ||

諸佛如虚空  虚空無生相  諸佛如虚空  虚空無色相  法猶如虚空  如來妙法身  智慧如虚空
如來大智身 (Ibid, 527b08-13)

แปลว่า อนิมิตก่อเกิดอวกาศที่ว่าง พระพุทธเจ้าเป็นเหมือนอวกาศที่ว่าง อวกาศที่ว่างย่อม กำเนิดไม่มี
รูปร่าง ธรรมะก็เหมือนอวกาศที่ว่าง พระตถาคตคือธรรมกาย ปัญญาก็เป็นเหมือนอวกาศที่
ว่างเช่นกัน พระตถาคตคือกายแห่งปัญญาที่ยิ่งใหญ่

และพระตถาคตนอกจากจะคือหรือเป็นธรรมกาย ยังเป็นนิจจัง มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นความสงบอย่างสูงสุดไม่สูญสลายไป ดังความว่า

 [P176a4][D169a3] de bzhin gshegs pa'i rtag pa ther zug g.yung drung gi mchog bsil bar
gyur pa | [P176a5] shis pa ni sangs rgyas te | de bzhin gshegs pa ni chos kyi sku'o || de
bzhin gshegs pa'i snying po82 rga ba83 med pa'o zhes bya ba 'di ni [D169a4] 'phags pa'i
lam84 yan lag brgyad pa85 yin par rig par bya'o ||

如來常及恒  第一不變易  清淨極寂靜  正覺妙身  甚深如來藏  畢竟無衰老  是則摩訶衍
具足八聖道 (Ibid, 532a20-29)
แปลว่า ตถาคตเป็นนิจจัง (nitya) มั่นคง (dhruva) ไม่เปลี่ยนแปลง (śāśvata) และเป็นความสงบอย่าง
สูงสุด พระพุทธเจ้าเป็นความสุข พระตถาคตคือธรรมกาย ตถาคตครรภะ ย่อมไม่สูญสลาย
ดังนั้นจึงควรทราบว่านี้คืออริยะมรรคมีองค์ ๘
ที่มา ธรรมกายในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร คัมภีร์ต้นฉบับพระพุทธศาสนายุคต้น ดร. ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล หน้า 18-20

       จากข้อมูลที่ยกมาข้างต้นพระตถาคตชื่อว่าธรรมกายหรือเป็นธรรมกาย ยังเป็นนิจจัง มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นความสงบอย่างสูงสุดไม่สูญสลายไป แล้วพระองค์ทรงเป็นธรรมกายซึ่งจะทรงเทศนาสั่งสอนตลอดนิรันดร์อย่างแท้จริง ปรากฏในงานวิจัยของดร.สุดารัตน์ บรรเทากุล หน้า 240 ความว่า
  ในคัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra 四童子三昧经 ได้กล่าวถึงว่า....พระพุทธเจ้าจะทรงเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ถึงแม้พระอานนท์จะทรงขอร้องให้พระพุทธเจ้าทรงอยู่ต่อไปอีกในโลกนี้นานหนึ่งกัป แต่พระสมณโคตมพุทธเจ้าอธิบายว่าแท้ที่จริงแล้วพระองค์ทรงเป็นธรรมกายซึ่งจะทรงเทศนาสั่งสอนตลอดนิรันดร์ ครั้นแล้วพระพุทธเจ้าทรงเปล่งฉัพพรรณรังสี เพื่อช่วยสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์ปราบมารเทพให้สงบ และท้ายสุดพระองค์ทรงสอนภิกษุทั้งหลายให้ทำถึงที่สุดแห่งทุกข์ด้วยการบำเพ็ญภาวนาทั้งเพื่อตนและเพื่อผู้อื่น
ที่มา การศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการโครงสร้างพระมหาปิฎกไทโช (大正新修大藏经)
An Analytical Study of the Developmental Structure of the Taishō Tripiṭaka 


      และแท้ที่จริงแล้วพระพุทธองค์ ทรงเป็นธรรมกาย ในคัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra ปรากฏหลักฐานว่า

以世諦法如是故不得自在。又如來者。是法身。非有為身無住世法。(1)
หากเข้าใจว่าเราเป็นสมมติสัจจะไม่เป็นตัวของตัวเอง แท้ที่จริงแล้วพระองค์ ทรงเป็นธรรมกาย ไม่มี(ไม่ใช่)รูป ไม่ได้อยู่บนโลกนี้ (สิ่งที่เห็นล้วนเป็นสมมติ เป็นเพียงรูปกาย แท้ที่จริงพระองค์ คือธรรมกาย)
อ้างอิงจาก คัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra  T12n0379_003 (四童子三昧經 第3卷)
http://buddhism.lib.ntu.edu.tw/BDLM/sutra/chi_pdf/sutra7/T12n0379.pdf

  และพระพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยรูปกายและธรรมกายแล้วนั้น แต่ทรงมีกายแท้จริงคือธรรมกาย ดังนั้นพระองค์จึงทรงสามารถที่จะสั่งสอนธรรมได้อยู่ตลอดนิรันดรกาล ปรากฏใน

จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร (รู้จักในชื่ออื่นว่า จตุรฺทารกสูตฺร) T379 แปลโดยชญานคุปต์ในราชวงศ์สุย สถานที่เทศนาคือป่าศาละที่กุศินารา ฉบับนี้จะต่างกับมหายานมหาปรินิรฺวาณฉบับอื่นๆ ตรงที่มีพระอานนท์เป็นผู้ถามพระพุทธเจ้า แต่คำสอนเหมือนกับฉบับมหายานตามคำสอนว่าพระพุทธเจ้ามีกายแท้จริงคือธรรมกาย ดังนั้นพระองค์จึงทรงสอนธรรมอยู่ตลอดนิรันดรกาล
ที่มา การศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการโครงสร้างพระมหาปิฎกไทโช (大正新修大藏经)
An Analytical Study of the Developmental Structure of the Taishō Tripiṭaka 

[0942a15] 爾時,彼五百諸佛告慧命阿難及羅睺羅言:「汝等善男子!莫大啼哭、莫大愁憂。本性如是、事盡如是、真實如是、諸行如是;一切有為法、一切作法、一切世諦法,悉皆如是。盡際如是,已捨身命,如來行乃無量,以世諦法如是,故不得自在。又如來者,是法身,非有為身,無住世法,汝等不應請如來住。諸善男子!汝等且止,到我佛剎,釋迦如來即時當伸手,當放光明,彼之光明照我剎土。照彼土已汝等還來見釋迦佛在汝等前為汝說法,汝等聞。是故,汝等莫大憂愁。」
     แปลโดยสรุปความว่า พระอานนท์โศกเศร้ายิ่งนัก เมื่อทราบว่าพระพุทธองค์จะปรินิพพาน พระพุทธเจ้า 500 พระองค์ ได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า เธออย่าโศกเศร้าไปเลย เธอก็รู้ไม่ใช่หรือว่าทุกอย่างต้องเป็นสังขตธรรม เป็นสมมติสัจจะ พระตถาคตมีอานุภาพไม่มีประมาณ หากเข้าใจว่า ตถาคตเป็นสมมติสัจจะ ไม่ใช่ตัวของตัวเอง แต่แท้จริงแล้วพระองค์คือ ธรรมกาย ไม่ใช่รูปกาย พวกท่านทั้งหลาย เมื่อดำเนินกลับไปยังภูมิลำเนาหรืออาวาสของตน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคตม จะแผ่รัศมีไปทั่วถึง พวกท่านจะได้พบพระพุทธองค์สมณโคตมเพื่อสดับธรรม

     สรุปว่า พระตถาคตชื่อว่าธรรมกายหรือเป็นธรรมกายที่เป็นนิจจัง มั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง และเป็นความสงบอย่างสูงสุดไม่สูญสลายไป แล้วพระองค์ทรงเป็นธรรมกายซึ่งจะทรงเทศนาสั่งสอนตลอดนิรันดร์อย่างแท้จริง เป็นหลักฐานที่สอดคล้องกันทุกนิกาย ควรที่เราชาวพุทธจะได้มั่นใจและหันมาศึกษาปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกายซึ่งเป็นกายที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า เมื่อเห็นธรรมกายก็ย่อมเห็นพระตถาคตเจ้า เพราะ“ธรรมกายแลคือพระตถาคต”  (ตถาคตคือธรรมกาย) ตามหลักฐานที่ยกมาข้างต้น ส่วนตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธ ตอนต่อไปจะเป็นอย่างไรโปรดติดตาม

(1) คำอธิบายเพิ่มเติม
非有为身:abhāvarūpa

非有
abhāva (अभाव). Non-existent, not real.


Two forms of body; there are numerous pairs, e. g. (1) (a) 分段身 The varied forms of the karmic or ordinary mortal body, or being; (b) 變易身 the transformable, or spiritual body. (2) (a) 生身The earthly body of the Buddha; (b) 化身 his nirmāṇakāya (निर्माणकाय), which may take any form at will. (3) (a) 生身 his earthly body; (b) 法身 his moral and mental nature—a Hīnayāna definition, but Mahāyāna takes his earthly nirmāṇakāya (निर्माणकाय) as the 生身 and his dharmakāya (धर्मकाय) or that and his saṃbhogakāya (सṃभोगकाय) as 法身. (4) 真應二身 The dharmakāya (धर्मकाय) and nirmāṇakāya (निर्माणकाय). (5) (a) 實相身 The absolute truth, or light, of the Buddha, i. e. the dharmakāya (धर्मकाय); (b) 為物身 the functioning or temporal body. (6) (a) 真身 thedharmakāya (धर्मकाय) and saṃbhogakāya (सṃभोगकाय); (b) 化身 the nirmāṇakāya (निर्माणकाय). (7) (a) 常身 his permanent or eternal body; (b) 無常身 his temporal body. (8) (a) 實身 and 化身 idem二色身.

非有为身指的是因缘和合而成的,是有生、住、异、灭之身,眼睛能否看得到,并不知道。法身是指没有生、住、异、灭之身,不是因缘和合而成的。

非有为身 : อภาวรูปเป็นลักษณะของเหตุและปัจจัยให้เกิดขึ้น มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แตกสลาย และดับไปของร่างกาย ตาเนื้อจะมองเห็นได้หรือไม่นั้น ยังไม่แน่ชัด แต่ธรรมกาย คือ กายที่ไม่ได้เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แตกสลาย และดับไป ไม่ได้มาจากลักษณะของเหตุและปัจจัยให้เกิดขึ้น

《金剛仙論》卷7:「。「即是身」者,明如是非有為身者即是真如,具二莊嚴妙有法身也。下長行論中故引此「非身即是身」,」
(CBETA, T25, no. 1512, p. 850, a18-20)

《能斷金剛般若波羅蜜多經論釋》卷2:「以非有為身故,名彼為非身。即真如性故,由其無身故,是故名此為具身大身。若言無有菩薩者,正覺亦無、所覺亦無,亦無眾生令入涅槃,亦不嚴淨諸佛國土。」
(CBETA, T25, no. 1513, p. 881, a29-b3)

《金剛經偈釋》卷2:「以非有為身故。是為非大身也。即此非大身。名為妙大之身。即真如性故。是身即非身。非身即身。是故說非身。依彼法身而說也。法身不離乎一切。一切不離乎法身。豈偏空非身之謂哉。」
(CBETA, X25, no. 472, p. 50, c5-8 // Z 1:39, p. 50, b3-6 // R39, p. 99, b3-6)

Anudīpanīpāṭha M:207
‘‘Nasabhāvato anupaladdhattā anipphannāni nāma hontī’’ti etena etāni asabhāvarūpānīti ca alakkhaṇa rūpānīti ca asammasanarūpānīti ca na sakkā vattuṃtipi dīpeti. Kasmā, yathāsakaṃ sabhāvehi sabhāvavantattā yathāsakaṃ lakkhaṇe hi salakkhaṇattā paṭisambhidāmagge sammasanaññāṇa vibhaṅge jātijarāmaraṇānampi sammasitabbadhammesu āgatattāti. Aṭṭhasāliniyampi ayamattho vuttoyeva.


อสภาว (ไม่มีสภาวะ) + รูป (รูป) รูปที่ไม่มีสภาวะ หมายถึง รูปที่ไม่มีสภาวลักษณะเป็นของตน แต่เกิดมีขึ้นได้เพราะอาศัยสภาวรูป เช่น ปริจเฉทรูป เป็นรูปที่เป็นช่องว่างคั่นระหว่างรูปกลาปกับรูปกลาป ถ้าไม่มีสภาวรูปที่เป็นกลาปหลาย ๆ กลาปมารวมกันจนเกิดช่องว่าง ปริจเฉทรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เป็นต้น อสภาวรูปมี  ๑๐  รูป ได้แก่ ปริจเฉทรูป ๑ วิญญัติรูป  ๒ วิการรูป ๓

無住世法 na ṭhitiṁ Lokadhamma
(พระตถาคต) ไม่ได้ตั้งอยู่ในโลกธรรม

無住 :na ṭhitiṁ

【術語】法無自性,無自性,故無所住著,隨緣而起,故云無住。故無住者萬有之本也。維摩經觀眾生品曰:「從無住本立一切法。」同註曰:「什曰:法無自性,緣感而起。當其未起,莫知所寄。莫知所寄,故無所住。無所住故,則非有無。非有無而為有無之本。」起信論義記上曰:「夫真心廖廓。(中略)非生非滅,四相之所不遷,無去無來,三際莫之能易。但以無住為性,隨派分岐。逐迷悟而升沈,任因緣而起滅。」宗鏡錄八曰:「文殊師利云:從無住本立一切法。叡公釋云:無住即實相異名,實相即性空異名。」


Not abiding; impermanence; things having no independent nature of their own, they have no real existence as separate entities.

世法:Lokadhamma

【術語】世諦之法,世間之法,因緣生之法,可毀之法。勝鬘經曰:「大悲安慰哀愍眾生為世法母。」唐華嚴經二曰:「佛觀世法如光影。」

Common or ordinary dharmas, i. e. truths, laws, things, etc.


ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน 1 พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน 2 ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?  
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน 3 สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต”  (ตถาคตคือธรรมกาย) 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
SHARE

Author: verified_user

1 ความคิดเห็น: