ธรรมกายความหมายและความสำคัญ
ปัญหาธรรรมกายเถียงไปอย่างไรก็ไม่จบ เพราะเถียงหรือแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจที่ไม่ตรงกัน
ธรรมกาย ความหมาย 3 ประการ
ตามหลักฐานเอกสารคือพระไตรปิฏกอรรถกถาฎีกา
1.ธรรมกาย(ปริยัติ) ในแง่ของพุทธวจนะหรือคำสอน
1.1. ธรรมกายคือหมวดหมู่คำสอนทั้งหมดหรือคำสอนทั่วไป เพราะพระพุทธเจ้าทรงคิดพระไตรปิฏก ถ้ายอมรับในแง่นี้ ก็ต้องยอมรับธรรมกายคือพระไตรปิฏกใส่ส่วนที่เป็นหมดหมู่แห่งธรรมทั้งหมดทั้งปวง การจะรู้หรือเข้าถึงได้ก็ต้องศึกษาเราเรียนไตร่ตรอง เป็นส่วนของสุตมยปัญญา(รับรู้) จินตามยปัญญา(คิดพิจารณา)
1.2. ธรรมกายคือ คำสอนในแง่ให้น้อมนำไปคิดแล้วมุ่งสู่การปฏิบัติ เช่น ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม เป็นคำสอนหรือธรรมที่ทรงแนะให้ฉุกใจคิดแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ คงไม่ใช่คำสอนแบบหมวดหมู่คำสอนหรือคำสอนทั่วไป เพราะถ้าตีความว่าเป็นหมวดหมู่แห่งธรรมก็จะไปแย้งหรือเกิดปัญหาหลายส่วนตามมาอย่างน้อย 2 ประการคือ 1.แย้งกับการตีความความหมาย เช่น "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา" จะเกิดคำถามว่า 1.) เห็นอย่างไร? 2.) เห็นธรรมอะไร? 3.) เห็นเราคือใคร? 4.) เห็นเราอย่างไร?
1.) เห็นอย่างไร? เห็นด้วยตา เช่น มองเห็นหมวดหมู่ธรรมตามหนังสือตำราหรือเห็นเห็นด้วยใจ เช่นจากการคิดพิจารณา ถ้าตีความหรือขยายความแบบนี้ก็พอฟังได้ และพอจะเข้าใจได้
2.) เห็นธรรมอะไร? สติสัมปชัญญะ หิริโอตตัปปะ ทานศีลภาวนา หรือ ราคะโทสะโมหะเป็นต้น ตรงนี้เริ่มจะไม่ค่อยชัดเจนว่าเอา หมวดหมู่ไหนกันแน่หรือจะเอาทุกหมวดหมู่หรือเอาเฉพาะบางหมวดหมู่(ถ้าเอาทุกหมวดหมู่ก็จะค้านกับอรรถกถาจารย์ที่ท่านมุ่งหมาย เพราะ เห็นธรรม ในที่นี้ท่านหมายถึง ธรรม คือ นวโลกุตรธรรมซึ่งเป็นอริยธรรมไม่ใช่ธรรมทั่วไป)
3.) เห็นเราคือใคร เราคือตถาคต เราคือพระพุทธเจ้า คำถามตอบของคำถามข้อนี้จะย้อนไปถึงคำถามข้อที่ 2 และข้อที่ 1 ถ้าตอบชัดเจนก็ไม่มีปัญหาไม่ขัดแย้งกัน ถ้าตอบไม่ชัดเจนก็จะเกิดปัญหาตามมา เช่น เราคือพระพุทธเจ้า ถ้าเห็นธรรมคือกิเลส 3 เห็นศลี 5 เห็นอบายมุข 6 เป็นต้น โดยการอ่านการคิดพิจารณา ก็ถือว่าเห็นพระพุทธเจ้า? ก็จะมีคำถามว่าเห็นแค่นี้ หรือเห็นแบบนี้ก็ถือว่าเห็นพระพุทธเจ้าอย่างนั้นหรือ? จะเกิดคำถามตามมาอีกมากมาย ถ้าเห็นแค่นี้ก็ไม่ต้องเข้าวัด ไม่ต้องทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนาก็ได้? ถ้าตีความแบบนี้จะมีชาวพุทธที่คิดว่า ถ้าเช่นนั้นเราก็ทำตัวแบบ "วัดไม่เข้าเหล้าไม่กินศีลไม่ถือ"อย่างนี้ก็ได้ แค่เราอ่านฟังคิดหมวดหมู่ธรรมข้อใดข้อหนึ่งเราก็เห็นธรรมและเห็นพุทธเจ้าแล้ว
คำตอบคำถามนี้ ก็ต้องตอบให้ดีเพราะจะส่งผลต่อท่าทีการปฏิบัติของเราชาวพุทธได้
และข้อสุดท้ายเป็นข้อที่สำคัญคือ 4.) เห็นเราอย่างไร? นั่นสิเห็นอย่างไร? เห็นแบบอ่านหรือฟัง หรือเห็นแบบคิดพิจารณา ดูแล้วเป็นไปได้หลายทาง แต่ถ้าจะให้คำตอบชัดก็ต้องกลับมาที่ตัวบาลี คำว่าเห็นท่านใช้คำว่า ปสฺสติ ตามพุทธพจน์ว่า โย ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา
คำว่า ปสฺสติ เมื่อเปิดพจนานุกรม แปลว่า เห็นอยู่, ย่อมเห็น, จะเห็น
ความหมายคำว่า เห็น มีหลายระดับอยู่ที่ว่า จะเจาะจงว่าเห็นอะไรเช่นเห็นสรรพสัตว์ตึกรามบ้านช่องเป็นต้น แต่ในที่นี้จะกล่างถึง เห็นธรรม เท่านั้น แม้ "เห็นธรรม" มีหลายระดับเช่นกัน เช่น
1.กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ. (องฺ.สตฺตก.๒๓/๙๙) แปลว่า ผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม
2. ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ, ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ. อนฺธตมํ ตทา โหติ, ยํ โลโภ สหเต นรํ. แปลว่า ผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภเข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น. (พุทฺธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๕, ขุ.มหา. ๒๙/๑๗.
3. โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน, ธมฺมํ กาเยน ปสฺสติ. ส เว ธมฺมธโร โหติ, โย ธมฺมํ นปฺปมชฺชติ. แปลว่า ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม. (พุทฺธ) ขุ. ธ. ๒๕/๔๙. อธิบายความว่า ฟังธรรมแม้น้อยย่อมเห็นธรรมด้วยกาย หมายความว่า แม้จะรู้ธรรมไม่มาก คือรู้เพียงบทใดบทหนึ่งย่อๆ ก็สามารถเข้าใจในธรรมได้อย่างลึกซึ้งก็เป็นผู้ทรงธรรมได้
จะเห็นได้ว่า เห็นธรรม มีหลายอย่างหลายระดับ แต่สำคัญว่า เห็นแล้วสุดท้ายเกิดผลอะไรในที่สุด เช่น "ผู้โกรธย่อมไม่เห็นธรรม" หมายถึงเพราะโกรธทำให้ไม่มีสติยั้งคิด เพราะมั่วแต่โมโหโกธาทำให้บดบังปัญญา หรือ "ผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภเข้าครอบงำคนใดเมื่อใด ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น" ข้อนี้ยิ่งชัดเจนว่า เพราะกิเลสคือความโลภเข้าครอบงำทำให้มืดมิดเข้าบดบังปัญญา ส่วน "ผู้ใดฟังธรรมแม้น้อย ย่อมเห็นธรรมด้วยกาย ผู้ใดไม่ประมาทธรรม ผู้นั้นแล ชื่อว่าผู้ทรงธรรม" คือ แม้จะฟังธรรมน้อยแต่ไม่ประมาทมีสติอยู่ทุกเมื่อ ชื่อว่า "ผู้ทรงธรรม" ได้
1.3. ธรรมกายคือ ผลปฏิบัติหรือจากการบรรลุธรรม
2.ธรรมกาย(ปฏิบัติ)ในแง่ผู้ปฏิบัติ
3.ธรรมกาย(ปฏิเวธ)ในผู้เข้าถึงจากผลการปฏิบัติ
ตามเอกสารจากครูบาอาจารย์
ความหมายในแง่ปฏิบัติ
ผู้ที่บรรลุหรือเข้าถึง
0 ความคิดเห็น: