วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?

SHARE
ตอน 5  เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
        การเห็นมีอยู่ ๕ อย่างด้วยกัน คือ เห็นด้วยตาเนื้อ เรียกว่า มังสจักขุ เป็นการเห็นแค่ข้างหน้า ข้างหลังไม่เห็น เวลาอยากเห็นข้างหลังก็ต้องหันหลัง หรือเอี้ยวตัวมอง ถึงจะเห็นสิ่งที่อยากเห็น ถึงกระนั้นก็เห็นไม่ได้ไกล เห็นด้วยตาทิพย์ เรียกว่าทิพจักขุ มองได้กว้างไกลขึ้น ละเอียดขึ้น มองทะลุสิ่งต่างๆ ได้ตามต้องการ เหมือนชาวสวรรค์ที่สามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ด้วยตาทิพย์
        การเห็นได้รอบตัว เรียกว่า สมันตจักขุ คือ รู้ได้รอบตัวเห็นได้รอบตัว จะมองอะไรก็ดูที่ตรงกลางที่เดียว ไม่ต้องเหลียวซ้ายแลขวา คือ สามารถเห็นได้ไปพร้อมๆ กัน เป็นการเห็นที่วิเศษมากขึ้นกว่ามังสจักขุหรือทิพจักขุ ส่วนปัญญาจักขุ คือ การรู้แจ้งเห็นแจ้งด้วยปัญญาบริสุทธิ์ ที่เห็นได้เพราะมีแสงสว่างบังเกิดขึ้น เห็นสิ่งต่างๆ ด้วยปัญญาบริสุทธิ์ที่เกิดจากการประพฤติปฏิบัติธรรม และสุดท้ายธรรมจักษุ คือ ดวงตาธรรมกาย เป็นการเห็นแจ้งด้วยธรรมจักขุของธรรมกาย และรู้แจ้งด้วยญาณทัสสนะของธรรมกาย ซึ่งเป็นผู้รู้ที่แท้จริง เป็นการเห็นที่ไม่มีขอบเขตจำกัด สามารถมองเห็นจากผลแล้วสาวไปถึงต้นเหตุได้ จะรู้เห็นได้หมด เป็นการรู้แจ้งเห็นแจ้ง และแทงตลอดทั้งนิพพาน ภพสาม โลกันตร์ ไม่มีอะไรมาปิดบังอำพรางธรรมจักษุได้เลย

      ในพระไตรปิฎกบาลีได้กล่าวถึงเรื่องพระปิงคิยะผู้เป็นอดีตศิษย์พราหมณ์พาวรี ถูกอาจารย์ส่งไปกับเหล่ามาณพเพื่อถามปัญหากับระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ถามปัญหา ฟังธรรมบรรลุธรรมแล้วกลับมาหาอาจารย์พราหมณ์พาวรีของตน ได้เล่าถึงภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้ไปทำและได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้าและกล่าวถึงการเห็นพระพุทธเจ้าด้วยใจได้ชัดเจนเหมือนเห็นด้วยตา ดังที่พระปิงคิยเถระเล่าให้พราหมณ์พาวรีฟังว่า 
     "ท่านมีใจอยู่กับพระพุทธองค์และเห็นพระพุทธองค์ได้ชัดเจนทั้งวันและคืนเสมือนเห็นด้วยตาท่านพราหมณ์ อาตมาย่อมเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วยใจเหมือนเห็นด้วยตา อาตมาเป็นผู้ไม่ประมาทตลอดคืนและวันนมัสการอยู่ตลอดคืนและวัน อาตมาย่อมสำคัญการไม่อยู่ปราศจากพระพุทธเจ้านั่นแล"

          และในอรรถกถาเชนตาเถรีคาถามีคำอธิบาย “การเห็นพระพุทธเจ้าด้วยใจ” ของพระอริยสาวกว่าเป็น ”การเห็นธรรมกาย” เพราะเป็นการเห็นอริยธรรมแล้วบรรลุมรรคผล
          " เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นธรรมกาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ อันข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุ ฉะนั้นร่างกายนี้จึงเป็นที่สุด ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าและพระอริยะอื่นๆ ย่อมได้ชื่อว่าข้าพเจ้าได้เห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรม ไม่ใช่ด้วยเพียงเห็นรูปกาย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า
            ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้สดับแล้วเป็นผู้เห็นอริยสัจดังนี้ เป็นต้น"
diṭṭho hi me so bhagavāti hisaddo hetuattho. yasmā so bhagavā dhammakāyo sammāsambuddho attanā va adhigatariyadhammadassanena diṭṭho, tasmā antimoyaṃ samussayoti yojanā. ariyadhammadassanena hi buddhā bhagavanto aññe ca ariyā diṭṭhā nāma honti, na rūpakāyadassanamattena. yathāha "yo kho vakkali dhammaṃ passati, so maṃ passatīti ca"sutvā ca kho bhikkhave ariyasāvako ariyānaṃ dassāvīti ca ādi.
        ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควาติ หิสทฺโท เหตุอตฺโถ. ยสฺมา โส ภควา   ธมฺมกาโย สมฺมาสมฺพุทฺโธ อตฺตนา ว อธิคตอริยธมฺมทสฺสเนน ทิฏฺโฐ, ตสฺมา อนฺติโมยํ สมุสฺสโยติ โยชนา. อริยธมฺมทสฺสเนน หิ พุทฺธา ภควนฺโต อญฺเญ จ อริยา ทิฏฺฐา นาม โหนฺติ, น รูปกายทสฺสนมตฺเตน. ยถาห "โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสตี ติ [เชิงอรรถ สํ.ข.๑๗/๘๗/๙๖]   จ"สุตฺวา จ โข ภิกฺขเว อริยสาวโก อริยานํ ทสฺสาวี ติ [เชิงอรรถ ม.มู.๑๒/๒๐/๑๒, สํ.ข.๑๗/๑/๓] จ อาทิ.
(เถรี.อ.ปรมตฺถทีปนี เชนฺตาเถรีคาถาวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๕)
ข้อความว่า “พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นอันเราเห็นแล้ว” หมายความว่า เราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบพระองค์นั้นโดยประจักษ์ด้วยดวงตาคือญาณ โดยการเห็นโลกุตรธรรมที่ได้เห็นแล้วด้วยตนเอง
http://infinitygoodness.blogspot.com/2016/04/blog-post_90.html   
      และในคัมภีร์ ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตกะ อรรถกถา ปรมตฺถทีปนี อคฺคปฺปสาทสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๒๐-๓๒๑ มีข้อความตอนหนึ่งซึ่งกล่าวถึง ธรรมกาย ว่า
       ปุริมสฺมึ จ อตฺเถ อคฺคสทฺเทน พุทฺธาทิรตนตฺตยํ วุจฺจติ เตสุ ภควา ตาว อสทิสฏฺเฐน คุณวิสิฏฺเฐน อสมสมฏฺเฐน จ อคฺโค. โส หิ มหาภินีหารํ ทสฺนฺนํ ปารมีนํ ปวิจยญฺจ อาทึ กตฺวา เตหิ โพธิสมฺภารคุเณหิ เจว พุทฺธคุเณหิ จ เสสชเนหิ อสทิโสติ อสทิสฏฺเฐน อคฺโค. เย จสฺส คุณา มหากรุณาทโย, เต เสสสตฺตานํ คุเณหิ วิสิฏฺฐาติ คุณวิสฏฺฐฏฺเฐนปิ สพฺพสตฺตุตฺตมตาย อคฺโค. เย ปน ปุริมกา สมฺมาสมฺพุทฺธา สพฺพสตฺเตหิ อสมา. เตหิ สทฺธึ อยเมว รูปกายคุเณหิ เจว ธมฺมกายคุเณหิ จ อสมสมฏฺเฐนปิ อคฺโค.
ye pana purimakā sammāsambuddhā sabbasattehi asamā. tehi saddhiṃ ayameva rūpakāyaguṇehi ceva dhammakāyaguṇehi ca asamasamaṭṭhenapi aggo.
ธรรมกาย  กายแห่งการตรัสรู้ธรรม
        มีคำแปลปรากฏอยู่ใน ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตกะ อรรถกถา ปสาทสูตร เล่ม ๔๕ หน้า ๕๕๙ ว่า

       "อนึ่งในความหมายอย่างก่อนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นไว้ด้วย "อคฺค" ศัพท์ ในสัตว์โลกเหล่านั้น พระผู้มีพระมีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐก่อน โดยหมายความว่าไม่มีผู้เปรียบโดยความหมายว่าเป็นผู้วิเศษด้วยคุณความดี และโดยความหมายว่าไม่มีผู้เสมอเหมือนจริงอยู่พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ โดยความหมายว่าไม่มีผู้เปรียบเพราะทรงทำอภินิหารมามาก และการสั่งสมบารมี ๑๐ ประการมาเป็นเบื้องต้น จึงไม่เป็นเช่นกับคนทั้งหลายที่เหลือ เพราะพระคุณคือพระโพธิสมภารเหล่านั้น และเพราะพุทธคุณทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ เพราะเป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ แม้โดยความหมายว่า เป็นผู้วิเศษด้วยคุณความดี เพราะพระองค์มีพระคุณพระมหากรุณาธิคุณ เป็นต้น ที่วิเศษกว่าคุณทั้งหลายของสรรพสัตว์ที่เหลือ ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ แม้โดยความหมายว่า ไม่มีผู้เสมอเหมือน เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้เอง เป็นผู้เสมอโดยพระคุณทางรูปกาย และพระคุณทางธรรมกาย กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ผู้ไม่เสมอเหมือนกับสรรพสัตว์"
      จากข้อความที่ยกมานี้ จะเห็นได้ว่า

        (๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระคุณที่สำคัญอยู่ ๒ ทางคือ พระคุณทางรูปกาย และพระคุณทาง ธรรมกาย (๒) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประเสริฐกว่าผู้อื่นทั้งปวง เพราะไม่มีผู้ใดเปรียบเทียบกับพระองค์ได้ในด้านคุณความดี ความกรุณา การสั่งสมบารมีการทำอภินิหารมาก พระโพธิสมภาร และพระพุทธคุณทั้งหลาย (๓) พระคุณทางรูปกาย และพระคุณทางธรรมกาย ของพระพุทธองค์นั้น เสมอกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตกาล ในข้อนี้ย่อมสรุปได้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายล้วนมี ธรรมกาย และ ธรรมกาย เป็นคนละสิ่งกับรูปกาย

(๑) มังสจักษุ หรือตาธรรมดาของภิกษุ สามารถมองเห็นได้ก็แต่เพียงรูปกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(๒) ธรรมกาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุจะสามารถเห็นได้ด้วยญาณจักษุเท่านั้น ถ้าไม่มีญาณจักษุ ก็ไม่สามารถมองเห็น 
(๓) ภิกษุที่มองเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงเฉพาะรูปกาย ไม่ชื่อภิกษุนั้นอยู่ใกล้ตถาคตหรือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และตถาคตเองก็ไม่ชื่อว่าอยู่ใกล้ภิกษุนั้น 

    และในคัมภีร์ ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก อรรถกถาปรมตฺถทีปนี สงฺฆาฏิกณฺณสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๓๔ มีข้อความที่กล่าวถึง ธรรมกาย ว่า
so ārakāva mayhaṃ, ahañca tassāti so bhikkhu mayā vuttapaṭipadaṃ apūrento mama dūreyeva, ahañca tassa dūreyeva. etena maṃsacakkhunā tathāgatadassanaṃ rūpakāyasamodhānañca akāraṇaṃ, ñāṇacakkhunāvadassanaṃ dhammakāyasamodhānameva ca pamāṇanti dasseti. tenevāha "dhammaṃ hi so bhikkhave bhikkhu na passati, dhammaṃ apassanto maṃ na passatīti. tattha dhammo nāma navavidho lokuttaradhammo,so ca abhijjhādīhi dussitacittena na sakkā passituṃ, tasmā dhammassa adassanato dhammakāyaṃ ca na passatīti tathā hi vattuṃ :- "kinte vakkali iminā pūtikāyena diṭṭhena, yo kho vakkali dhammaṃ passati, so maṃ passati. yo maṃ passati, so dhammaṃ passatīti. “dhammakāyo itipi, brahmakāyo itipiti ca ādi        โส อารกาว มยฺหํ, อหญฺจ ตสฺสาติ โส ภิกฺขุ มยา วุตฺตปฏิปทํ อปูเรนฺโต มม ทูเรเยว, อหญฺจ ตสฺส ทูเรเยว. เอเตน มํสจกฺขุนา ตถาคตทสฺสนํ รูปกายสโมธานญฺจ อการณํ, ญาณจกฺขุนาวทสฺสนํ ธมฺมกายสโมธานเมว จ ปมาณนฺติ ทสฺเสติ. เตเนวาห "ธมฺมํ หิ โส ภิกฺขเว ภิกฺขุ น ปสฺสติ, ธมฺมํ อปสฺสนฺโต มํ น ปสฺสตี" ติ. ตตฺถ ธมฺโม นาม นววิโธ โลกุตฺตรธมฺโม,โส จ อภิชฺฌาทีหิ ทุสฺสิตจิตฺเตน น สกฺกา ปสฺสิตุํ, ตสฺมา ธมฺมสฺส อทสฺสนโต ธมฺมกายํ จ น ปสฺสตี" ติ ตถา หิ วตฺตุํ :- "กินฺเต วกฺกลิ อิมินา ปูติกาเยน ทิฏฺเฐน, โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสติ. โย มํ ปสฺสติ, โส ธมฺมํ ปสฺสตี" ติ. (เชิงอรรถอ้าง สํ.ข.๑๗/๘๗/๙๖) “ธมฺมกาโย อิติปิ, พฺรหฺมกาโย อิติปิ” ติ จ อาทิ (เชิงอรรถอ้าง ที.ปา. ๑๑/๑๑๘/๗๒)

        มีคำแปลปรากฏใน ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก อรรถกถาสังฆาฏิสูตร เล่ม ๔๕ หน้า ๕๘๓ ว่า บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคตก็ชื่อว่า อยู่ไกลเธอเหมือนกัน ด้วยคำนี้พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้น และการรวมกันด้วย ธรรมกาย ต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้) ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า
        ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ไม่เห็นเราตถาคต
       ในคำว่า ธมฺมํ น ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่าธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตตรธรรมนั้นได้ ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่า ไม่เห็น ธรรมกาย สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า
       ดูก่อนวักกลิ เธอจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้เธอได้เห็นแล้ว ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นก็เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้นก็เห็นธรรม ดังนี้ และว่าเราตถาคตเป็นธรรมภูต เราตถาคตเป็นพรหมภูตดังนี้ และว่าเป็น ธรรมกาย บ้าง เป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้เป็นต้น

จากข้อความที่ยกมานี้มีประเด็นสำคัญว่า

(๔) ภิกษุที่มีญาณจักษุ สามารถมองเห็น ธรรมกาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงจะได้ชื่อว่าอยู่ใกล้พระองค์ และพระองค์ก็อยู่ใกล้ภิกษุนั้น เพราะเหตุนี้พระพุทธองค์จึงได้ตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นเราตถาคต" ณ จุดนี้จึงสรุปได้ว่า คำว่า "ธรรม" ใน "ไม่เห็นธรรม" นั้นที่แท้หมายถึง "ธรรมกาย" คือเมื่อไม่เห็น ธรรมกาย ก็ไม่เห็นเราตถาคต ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ธรรมกาย ไม่ใช่เป็นเพียงชื่อของตถาคตเท่านั้น แต่เป็นตัวตถาคตทีเดียว ซึ่งเป็นคนละส่วนกับรูปกาย ซึ่งเป็นเบญจขันธ์หรือเป็นเปลือกนอกของตถาคต ดังที่พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำได้กล่าวอธิบายไว้แล้ว ส่วนคำว่า "ญาณจักษุ" ก็คือ "ปัญญาจักษุ" หรือ "ธรรมจักษุ" หรือเรียกง่ายๆ ว่า "ตาธรรมกาย" นั่นเอง ผู้ที่จะมีญาณจักษุได้จะต้องเจริญวิปัสสนาภาวนาขั้นสูง จนบรรลุถึง ธรรมกาย ในตนเอง แล้วด้วยตาของ ธรรมกาย หรือญาณจักษุของตนเองนั้น ก็จะเห็น ธรรมกาย หรือตถาคต หรือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังที่ได้พรรณนาไว้ในข้อ ๒-อิติวุตฺตก ๒๕/๒๗๒ 
(๕) ผู้ที่มีญาณจักษุ คือผู้เข้าถึง ธรรมกาย ในตนเอง หรือเรียกว่าผู้ที่มี ธรรมกายย่อมเห็น ธรรมกาย ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

รูปกายและธรรมกายปรากฏในสัททนีติ ปทมาลา (Sadd.I.77) ดังนี้
dissamānopi tāvassa rūpakāyo acintiyo
asādhāraṇañāṇaṭṭhe dhammakāye kathā va kāti ।
ทิสฺสมาโนปิ ตาวสฺส      รูปกาโย อจินฺติโย
อสาธารณญาณฏฺเฐ      ธมฺมกาเย กถา ว กาติ ฯ
คำแปล รูปกายแม้ที่ปรากฏอยู่ของพระองค์นั้นเป็นเรื่องอจินไตยจงยกไว้ก่อน
ไม่จำต้องพูดถึงพระธรรมกาย (ของพระองค์นั้น) ซึ่งมั่งคั่ง ไปด้วยญาณ คือความรู้ที่ไม่ทั่วไป (ว่าจะเป็นเรื่องอจินไตยเช่นเดียวกัน) ดังนี้
Even his visible form-body was beyond thought, what can be said of his spiritual body, which was unique, having powerful knowledge?
“即使其可见的色身也不可思议对于不共之智的法身,又怎能说得清呢?” 
ที่มา 1.ร่องรอยวิชชาธรรมกายในคัมภีร์จตุรารกฺขา สุปราณี พณิชยพงศ์ หน้า 10-11
2.นวธรรมและคณะนักวิจัย DIRI http://www.kalyanamitra.org/th/uniboon_detail.php?page=4272
3.สทฺทนีติปฺปกรณํ (ปทมาลา) ๔. ภูธาตุมยนามิกรูปวิภาค https://palipage.blogspot.com/2015/06/blog-post_8.html
4.คัมภีร์ใบลาน โวหารโพธิ (โพธิปักขิยธรรม) https://linux.thai.net/~thep/esaan-scripts/trans-tham/bodhi.html
"ธรรมกาย"ของพุทธเจ้าเป็นเช่นใด 
    สมาธิราชสูตร เป็นคัมภีร์มหายานที่สันนิษฐานว่าเป็นของสายมาธยมิกะที่เขียนขึ้นระหว่างกลางพุทธศตวรรษที่ 7-8 (คริสต์ศตวรรษที่ 2) พบตัวคัมภีร์ใบลาน 2 แห่งในแคว้นคันธาระ คือที่เมืองกิลกิตและที่บามิยัน ทั้งคู่เขียนด้วยอักษรที่เรียกว่า “กิลกิต-บามิยัน แบบที่ 1” (Gilgit-Bamiyan Type I) บ่งบอกว่าน่าจะคัดลอกมาราวกลางพุทธศตวรรษที่ 11-13 ซึ่งแตกต่างจากอายุคัมภีร์จากกิลกิตที่ดัทท์เคยประเมินไว้ (Dutt 1939: ii) ในยุคแรกเริ่มของการศึกษาคัมภีร์จากกิลกิตไปราว 1-2 ศตวรรษ เนื้อหาของคัมภีร์จากบามิยันและกิลกิตใกล้คียงกันมาก (Skilton 2002: 100) นอกจากนี้ คัมภีร์นียังพบในเอเชียกลางอีกด้วย แสดงว่าน่าจะเป็นพระสูตรที่นิยมศึกษากันในทั้งสองพื้นที่ ได้กล่าวถึงพุทธกายหรือธรรมกายไว้อย่างชัดเจนว่า 
atha khalu bhagavāṃstasyāṃ velāyāmimā gāthā abhāṣata
ya icche lokanāthasya kāyaṃ jānitumīdṛśam |
imaṃ samādhiṃ bhāvitvā kāyaṃ buddhasya jñāsyati | (1)
puṇyanirjātu buddhasya kāya: śuddha: prabhāsvara: |
sameti so’ntarīkeฺṣaṇa nānātvaṃ nāsya labhyate | (2)
yādṛśā bodhirbuddhasya lakṣaṇāni ca tādṛśā: |

yādṛśā lakṣaṇāstasya kāyastasya hi tādṛśa: | (3
อถ ขลุ ภควำสฺตสฺยำ เวลายามิมา คาถา อภาษต
ย อิจฺเฉ โลกนาถสฺย กายํ ชานิตุมีทฺฤศมฺ |
อิมํ สมาธึ ภาวิตฺวา กายํ พุทฺธสฺย ชฺญาสฺยติ | (1)
ปุณฺยนิรฺชาตุ พุทฺธสฺย กาย: ศุทฺธ: ปฺรภาสฺวร: |
สเมติ โส’นฺตรีเกฺษณ นานาตฺวํ นาสฺย ลภฺยเต | (2)
าทฺฤศา โพธิรฺพุทฺธสฺย ลกฺษณานิ จ ตาทฺฤศา: |
าทฺฤศา ลกฺษณาสฺตสฺย กายสฺตสฺย หิ ตาทฺฤศ: | (3)
คำแปล ทราบว่าครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า 
ผู้ใดปรารถนาจะรู้กายอันเช่นนี้ของพระโลกนาถ เจริญสมาธินี้แล้วจักรู้กายของพระพุทธเจ้า ฯ (1)
กายของพระพุทธเจ้าเกิดจากบุญ บริสุทธิ์ ส่องสว่าง กายนั้นเสมอกับอากาศ
ที่เห็นได้ในระหว่าง(อย่าง) หาความต่างกันไม่ได้(ระหว่าง)กายนั้น(กับอากาศ) ฯ (2)
โพธิและลักษณะของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นใด กายก็เป็นเช่นนั้น ลักษณะของ
พระพุทธเจ้านั้นเป็นเช่นใด ก็กายของพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นเช่นนั้น ฯ (3)
(เฉพาะคาถาและคำแปลนำมาจากงานวิจัย การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สมาธิราชสูตร โดย ร้อยโทพรชัย หะพินรัมย์ หน้า 641 และคำแปลหน้า 163-164
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/605/1/53105902%20%20พรชัย%20%20หะพินรัมย์.pdf
  และในฉบับภาษาสันสกฤต พบคำว่าธรรมกายในท่อนหลังซึ่งเป็นส่วนที่พบจากกิลกิต ดังนี้
ye māṃ rūpeṇa adrākṣur ye māṃ ghoṣeṇa anvayuḥ
mithyāprahāṇaprasṛtā na māṃ drakṣayanti te janāḥ
draṣṭavyo dharmato buddho dharmakāyas tathāgataḥ

dharmatā cāpayavijñeyā na sā śakyaṃ vijānituṃ
เย มาํ รูเปณ อทฺรากฺษุรฺ        เย มาํ โฆเษณ อนฺวยุะ
มิถฺยาปฺรหาณปฺรสฤตา   น มาํ ทฺรกฺษยนฺติ เต ชนาะ
ทฺรษฺฏวฺโย ธรฺมโต พุทฺโธ       ธรฺมกายสฺ ตถาคตะ
ธรฺมตา จาปยวิชฺเญยา  น สา ศกฺยํ วิชานิตุํ
(Gómez and Silk 1989: 105/11a)
คำแปล: (ในเวลานั้น พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานคาถาเหล่านี้)
ชนเหล่าใดเห็นเราโดยรูป ชนเหล่าใดติดตาม(ฟัง)เราโดยเสียง 
มัวประกอบความเพียรไม่ถูกทาง พวกเขาย่อมไม่ได้ชื่อว่า เห็นเรา 
พึงเห็นพระพุทธเจ้าโดย(ความเป็น)ธรรม พระตถาคตเจ้ามีธรรมเป็นกาย 
แต่สภาวะแห่งธรรม ไม่อาจสัมผัสรับรู้ได้ “ธรรมตา”จะรับรู้ด้วยวิญญาณไม่ได้
ที่มา หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ บทที่ 3 คันธาระ เอเชียกลาง และประเทศจีน | 187
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html
  ซึ่งคล้ายกับคัมภีร์พระสูตรมหายาน วัชรัจเฉทิกาปรัชญาปารมิตาสูตร (ฉบับภาษาสันสกฤต)
๏ อถ ขลุ ภควำสฺตสฺยำ เวลายามิเน คาเถ อภาษต-
เย มำ รูเปณ จาทรากฺษุรฺเย มำ โฆเษณ จานฺวาคุะ | 
มิถฺยาปฺรหาณปฺรสฺฤตา น มำ ทฺรกฺษฺยนฺติ เต ชนาะ || ๑ ||
ธรฺมโต พุทฺโธ ทฺรษฺฏวฺโย ธรฺมกายา หิ นายกาะ | 
ธรฺมตา จ น วิชฺเญยา น สา ศากฺยา วิชานิตุมฺ || ๒ || || ๒๖ || 
अथ खलु भगवांस्तस्यां वेलायामिमे गाथे अभाषत-
ये मां रूपेण चाद्राक्षुर्ये मां घोषेण चान्वगुः।
मिथ्याप्रहाणप्रसृता न मां द्रक्ष्यन्ति ते जनाः॥१॥
धर्मतो बुद्धो द्रष्टव्यो धर्मकाया हि नायकाः
धर्मता च न विज्ञेया न सा शक्या विजानितुम्॥२॥२६॥
คำแปล: ในเวลานั้นแล พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานคาถาเหล่านี้
ชนเหล่าใดเห็นเราโดยรูปด้วย ชนเหล่าใดติดตาม(ฟัง)เราโดยเสียงด้วย 
มัวประกอบความเพียรไม่ถูกทาง พวกเขาย่อมไม่ได้ชื่อว่า เห็นเรา 
พึงเห็นพระพุทธเจ้าโดยความเป็นธรรม พระนายกเจ้าเป็นธรรมกาย 
แต่สภาวะแห่งธรรม ไม่อาจสัมผัสรับรู้ได้ “ธรรมตา”จะรับรู้ด้วยวิญญาณไม่ได้
http://www.thai-sanscript.com/index.php/sample/vajrasutra
[梵本] ये मां रूपेण चाद्राक्षुर्ये मां घोषेण चान्वगुः। 
मिथ्याप्रहाणप्रसृता न मां द्रक्ष्यन्ति ते जनाः॥१॥ 
[轉寫] ye māṁ rūpeṇa cādrākṣur-ye māṁ ghoṣeṇa cānvaguḥ| 

mithyāprahāṇaprasṛtā na māṁ drakṣyanti te janāḥ||1|| 
[什譯] 「若以色見我、以音聲求我,是人行邪道,不能見如來。 

[奘譯] 「諸以色觀我、以音聲尋我,彼生履邪斷,不能當見我。 

[凈譯] 「若以色見我、以音聲求我,是人起邪觀,不能當見我。 

[梵本] धर्मतो बुद्धो द्रष्टव्यो धर्मकाया हि नायकाः। 

धर्मता च न विज्ञेया न सा शक्या विजानितुम्॥२॥२६॥ 
[轉寫] dharmato buddho draṣṭavyo dharmakāyā hi nāyakāḥ| 

dharmatā ca na vijñeyā na sā śakyā vijānitum||2||26|| 
[什譯] (缺譯

[奘譯] 應觀佛法性,即導師法身,法性非所識,故彼不能了。」 


https://www.douban.com/group/topic/11318361/
Those who by my form did see me.
And those who followed me by voice,
Wrong the efforts they engaged in,
Me those people will not see.
From the Dharma should one see the Buddhas,
For the Dharma-bodies are the guides.
Yet Dharma’s true nature should not be discerned,
Nor can it, either, be discerned.

(Vajracchedika Prajndpdramitd, chap. 26.)
http://www.himalayanheritage.info/Himalayan_Heritage/blog/Entries/2010/2/3.html

             ในปรัตยุตปันนสมาธิสูตร (บางทีเรียกว่า ปรัตยุตปันนพุทธสัมมุขาวัสถิตสมาธิสูตร หรือ ภัทรปาลสูตร)จัดเป็นพระสูตรเกี่ยวกับสมาธิเก่าแก่ที่สุดของมหายาน เขียนขึ้นก่อนการแปลของท่านคือในราว พ.ศ. 500 หรืออาจเก่าแก่กว่านั้น65 คัมภีร์นี้กล่าวถึงการทำสมาธิแบบกำหนดนิมิตเป็นองค์พุทธเจ้าไว้ในใจ เมื่อผู้ปฏิบัติใจหยุดนิ่งจะสามารถเข้าถึงประสบการณ์ เห็นพระพุทธเจ้าจำนวนมากมายดุจทะเลองค์พระได้ ในการประมวลเนื้อหาจากฉบับภาษาจีนและทิเบตคัมภีร์ระบุไว้ว่า ให้ทำสมาธิบนพื้นฐานของศีลที่บริสุทธิ์ คุณธรรมที่บริบูรณ์ และความไม่ยึดติดในสิ่งใดๆ ดังข้อความต่อไปนี้
             "พระโพธิสัตว์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ตาม (ชำระศีลให้บริสุทธิ์แล้วให้อยู่ในที่สงัด) น้อมระลึกถึงพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เหมือนระลึกถึงสิ่งน่าปลื้มใจที่เห็นในฝัน ด้วยใจที่แน่วแน่ ไม่วอกแวก เขาไม่พึงทำความรู้สึกเหมือนกำลังรับรู้สิ่งที่มีตัวตน แต่ให้ทำความรู้สึกเสมือนกำลังรับรู้อากาศที่ว่างเปล่า เมื่อใจตั้งมั่นในการรับรู้อากาศที่ว่างเปล่าแล้วมีใจจดจ่ออยู่กับพระพุทธองค์ ก็จะเห็นพระองค์เสมือนมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า งดงาม ดังพุทธปฏิมาที่เป็นแก้วใสแจ่ม"(3A-3C, 3H; Harrison 1990: 31-2, 39-40)
ที่มา หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ บทที่ 3 คันธาระ เอเชียกลาง และประเทศจีน | หน้า 266-267
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html
        สรุปความว่า การจะเห็นพระพุทธเจ้านั้นสามารถเห็นรูปกายด้วยตา(มังสจักษุ) และสามารถเห็นธรรมกายได้ด้วยใจ(ธรรมจักษุหรือปัญญาจักษุ) และธรรมกายของพุทธเจ้าเป็นอย่างไร ก็เหมือนที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ไม่เห็นเราตถาคต" ส่วนในฝ่ายมหายาน พูดไว้ชัดเจนโดยไม่ต้องตีความว่า "โพธิและลักษณะของพระพุทธเจ้าเป็นเช่นใด กายก็เป็นเช่นนั้น ลักษณะของพระพุทธเจ้านั้นเป็นเช่นใด ก็กายของพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นเช่นนั้น " และว่า  "ก็จะเห็นพระองค์เสมือนมาปรากฏอยู่เฉพาะหน้า งดงาม ดังพุทธปฏิมาที่เป็นแก้วใสแจ่ม" ถึงอย่างไรสิ่งเหล่านี้แม้เป็นหลักฐานทางเอกสารซึ่งถือเป็นส่วนปริยัติ  แต่เป็นปริยัติที่อธิบายการปฏิบัติ ส่วนจะชัดเจนอย่างไร ขอเชิญทุกท่านปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกายกันเถิด แล้วเราก็จะหายสงสัย ส่วนตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป


ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน 1 พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน 2 ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?  
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน 3 สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต”  (ตถาคตคือธรรมกาย) 

http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด ๒ ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: