รูปกายเป็นสังขตธรรม ธรรมกายเป็นอสังขตธรรม
ถ้าว่าตามหลักฐานนี้ก็พูดแบบง่ายๆ ว่า กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกต้องเกิดด้วยรูปกาย และครั้งที่สองเกิดด้วยธรรมกาย เรื่องพระพุทธเจ้าทรงมี 2 กายไม่ใช่จะมีแต่ในเถรวาทเท่านั้น แม้แต่คัมภีร์ฝ่ายมหายานก็ปรากฏหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าประกอบด้วย 2 กาย คือ รูปกาย กับ ธรรมกาย และยังแสดงอย่างละเอียดว่า ธรรมกายของพระพุทธองค์เป็นอสังขตธรรม นิจจัง สุขัง อัตตา และความบริสุทธิ์อีกด้วย ในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร ปรากฏหลักฐานว่า
40, 41 善男子。我於經中説如來身凡有二種。一者生身。二者法身。言生身者。即是方便應化之身。如是身者。可得言是生老病死長短黒白。是此是彼是學無學。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來。定説佛身是有爲法。法身即是常樂我淨。永離一切生老病死。非白非黒非長非短。非此非彼非學非無學。若佛出世及不出世。常住不動無有變易。善男子。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來定説佛身是無爲法。(SAT Daizokyo, T374 12:567a3, 6)
แปลว่า ดูก่อนกุลบุตร เราได้อธิบายเนื้อความตามพระสูตรว่า กายของตถาคตประกอบด้วย ๒ กาย หนึ่งคือ รูปกาย และสองคือ ธรรมกาย รูปกายเป็นชื่อของการแสดงออกของกายที่เกิดจากกุศโลบาย ดังนั้นคำที่จะใช้ได้กับคำนี้คือ การเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว มันเป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนี้ เป็นความรู้ เป็นความไม่รู้ สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอนและไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคต ได้ตรัสว่า(รูป)กายของพระพุทธเจ้าเป็นสังขตธรรม” ธรรมกาย เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา และ ความบริสุทธิ์ ปราศจากการเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว ตลอดกาล มันไม่เป็นเช่นนั้น ไม่เป็นเช่นนี้ ไม่เป็นความรู้ ไม่เป็นความไม่รู้ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะปรากฏ และไม่ปรากฏเกิดขึ้นในโลกนี้ พระองค์ก็เป็นนิจจัง มีความแน่วแน่ และมั่นคง ดูก่อน กุลบุตร สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอน และไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคตได้ตรัสว่า (ธรรม)กายของพระพุทธเจ้าเป็นอสังขตธรรม”
แม้พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานแล้ว ธรรมกาย ก็ยังคงอยู่ และนิพพานธาตุ ก็ไม่เต็มหรือพร่อง ดังพุทธพจน์ในพระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค ปาติโมกขฐปนขันธกะ ความอัศจรรย์ในธรรมวินัยว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น
ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น
ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ(ด้วยภิกษุนั้น) เพราะเหตุนั้น
แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้"
ถ้าว่าตามหลักฐานนี้ก็พูดแบบง่ายๆ ว่า กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกต้องเกิดด้วยรูปกาย และครั้งที่สองเกิดด้วยธรรมกาย เรื่องพระพุทธเจ้าทรงมี 2 กายไม่ใช่จะมีแต่ในเถรวาทเท่านั้น แม้แต่คัมภีร์ฝ่ายมหายานก็ปรากฏหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าประกอบด้วย 2 กาย คือ รูปกาย กับ ธรรมกาย และยังแสดงอย่างละเอียดว่า ธรรมกายของพระพุทธองค์เป็นอสังขตธรรม นิจจัง สุขัง อัตตา และความบริสุทธิ์อีกด้วย ในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร ปรากฏหลักฐานว่า
40, 41 善男子。我於經中説如來身凡有二種。一者生身。二者法身。言生身者。即是方便應化之身。如是身者。可得言是生老病死長短黒白。是此是彼是學無學。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來。定説佛身是有爲法。法身即是常樂我淨。永離一切生老病死。非白非黒非長非短。非此非彼非學非無學。若佛出世及不出世。常住不動無有變易。善男子。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來定説佛身是無爲法。(SAT Daizokyo, T374 12:567a3, 6)
แปลว่า ดูก่อนกุลบุตร เราได้อธิบายเนื้อความตามพระสูตรว่า กายของตถาคตประกอบด้วย ๒ กาย หนึ่งคือ รูปกาย และสองคือ ธรรมกาย รูปกายเป็นชื่อของการแสดงออกของกายที่เกิดจากกุศโลบาย ดังนั้นคำที่จะใช้ได้กับคำนี้คือ การเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว มันเป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนี้ เป็นความรู้ เป็นความไม่รู้ สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอนและไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคต ได้ตรัสว่า(รูป)กายของพระพุทธเจ้าเป็นสังขตธรรม” ธรรมกาย เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา และ ความบริสุทธิ์ ปราศจากการเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว ตลอดกาล มันไม่เป็นเช่นนั้น ไม่เป็นเช่นนี้ ไม่เป็นความรู้ ไม่เป็นความไม่รู้ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะปรากฏ และไม่ปรากฏเกิดขึ้นในโลกนี้ พระองค์ก็เป็นนิจจัง มีความแน่วแน่ และมั่นคง ดูก่อน กุลบุตร สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอน และไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคตได้ตรัสว่า (ธรรม)กายของพระพุทธเจ้าเป็นอสังขตธรรม”
ที่มา ธรรมกายในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร คัมภีร์ต้นฉบับพระพุทธศาสนายุคต้น ดร. ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล หน้า 7-8
ในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตรของมหายาน ยังมีเนื้อความอื่นๆ อีกหลายตอนที่แสดงแนวคิดที่น่าจะเป็นต้นตอของการขยายความเพิ่มเติมออกไปในพระสูตรมหายานรุ่นหลัง เช่น
กายของพระตถาคตไม่ได้ถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหาร เพราะตถาคตคือ ธรรมกาย ดังหลักฐานปรากฏว่า
然我定知如來身者。即是法身非爲食身。(T374 12:374c9)
คำแปล: ... เช่นนั้น เราได้ทราบแล้วว่ากายของพระตถาคตคือธรรมกาย และเป็นกายที่ไม่ได้ถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหาร
และหลักฐานว่า กายของเรา(ตถาคต)นี้คือธรรมกาย มีปรากฏความว่า
而我此身畢竟不從*婬欲和合而得生也。我已久從無量劫
來離於婬欲。我今此身即是法身隨順世間示現入胎。(T374 12:388b27)
คำแปล: โดยประการทั้งปวง กายของเรานี้มิได้เกิดจากการรวมกันของกิเลสและตัณหา
เราได้สละออกห่างแล้วจากกิเลสและตัณหามาเป็นเวลานานนับไม่ถ้วน
กายของเรานี้คือธรรมกาย และตามวิถีของชาวโลกเราจึงต้องผ่านมาจากครรภ์ของมารดา
และแท้ที่จริงแล้วพระพุทธองค์ ทรงเป็นธรรมกาย ในคัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra ปรากฏหลักฐานว่า
以世諦法如是故不得自在。又如來者。是法身。非有為身無住世法。
หากเข้าใจว่าเราเป็นสมมติสัจจะไม่เป็นตัวของตัวเอง แท้ที่จริงแล้วพระองค์ ทรงเป็นธรรมกาย ไม่มี(ไม่ใช่)รูป ไม่ได้อยู่บนโลกนี้ (สิ่งที่เห็นล้วนเป็นสมมติ เป็นเพียงรูปกาย แท้ที่จริงพระองค์ คือธรรมกาย)
อ้างอิงจาก คัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra T12n0379_003 (四童子三昧經 第3卷)
http://buddhism.lib.ntu.edu.tw/BDLM/sutra/chi_pdf/sutra7/T12n0379.pdf
และพระพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยรูปกายและธรรมกายแล้วนั้น แต่ทรงมีกายแท้จริงคือธรรมกาย ดังนั้นพระองค์จึงทรงสามารถที่จะสั่งสอนธรรมได้อยู่ตลอดนิรันดรกาล ปรากฏใน
An Analytical Study of the Developmental Structure of the Taishō Tripiṭaka
และแท้ที่จริงแล้วพระพุทธองค์ ทรงเป็นธรรมกาย ในคัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra ปรากฏหลักฐานว่า
以世諦法如是故不得自在。又如來者。是法身。非有為身無住世法。
หากเข้าใจว่าเราเป็นสมมติสัจจะไม่เป็นตัวของตัวเอง แท้ที่จริงแล้วพระองค์ ทรงเป็นธรรมกาย ไม่มี(ไม่ใช่)รูป ไม่ได้อยู่บนโลกนี้ (สิ่งที่เห็นล้วนเป็นสมมติ เป็นเพียงรูปกาย แท้ที่จริงพระองค์ คือธรรมกาย)
อ้างอิงจาก คัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra T12n0379_003 (四童子三昧經 第3卷)
http://buddhism.lib.ntu.edu.tw/BDLM/sutra/chi_pdf/sutra7/T12n0379.pdf
และพระพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยรูปกายและธรรมกายแล้วนั้น แต่ทรงมีกายแท้จริงคือธรรมกาย ดังนั้นพระองค์จึงทรงสามารถที่จะสั่งสอนธรรมได้อยู่ตลอดนิรันดรกาล ปรากฏใน
จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร (รู้จักในชื่ออื่นว่า จตุรฺทารกสูตฺร) T379 แปลโดยชญานคุปต์ในราชวงศ์สุย สถานที่เทศนาคือป่าศาละที่กุศินารา ฉบับนี้จะต่างกับมหายานมหาปรินิรฺวาณฉบับอื่นๆ ตรงที่มีพระอานนท์เป็นผู้ถามพระพุทธเจ้า แต่คำสอนเหมือนกับฉบับมหายานตามคำสอนว่าพระพุทธเจ้ามีกายแท้จริงคือธรรมกาย ดังนั้นพระองค์จึงทรงสอนธรรมอยู่ตลอดนิรันดรกาล
ที่มา การศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการโครงสร้างพระมหาปิฎกไทโช (大正新修大藏经)An Analytical Study of the Developmental Structure of the Taishō Tripiṭaka
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น
ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น
ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ(ด้วยภิกษุนั้น) เพราะเหตุนั้น
แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้"
[๔๖๑] เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยา กาจิ โลเก สวนฺติโย มหาสมุทฺทํ อปฺเปนฺติ ยา จ อนฺตลิกฺขา ธารา ปปตนฺติ น เตน
มหาสมุทฺทสฺส อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ
เอวเมว โข ภิกฺขเว พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ
ยมฺปิ ภิกฺขเว พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ
อยมฺปิ ภิกฺขเว อิมสฺมึ ธมฺมวินเย ปญฺจโม อจฺฉริโย อพฺภุโต ธมฺโม ยํ ทิสฺวา ทิสฺวา ภิกฺขู อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อภิรมนฺติ ฯ
และในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน อุโปสถสูตร ว่าด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๘ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมลงในมหาสมุทร
และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุทั้งหลายจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๕...
เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยา จ โลเก สวนฺติโย มหาสมุทฺทํ อปฺเปนฺติ ยา จ อนฺตลิกฺขา ธารา ปปตนฺติ น เตน มหาสมุทฺทสฺส อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ เอวเมว โข ภิกฺขเว พหูปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ อยมฺปิ ภิกฺขเว อิมสฺมึ ธมฺมวินเย ปญฺจโม อจฺจริโย อพฺภูตธมฺโม ยํ ทิสฺวา ทิสฺวา ภิกฺขู อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อภิรมนฺติ ฯ
เสยฺยถาปิ ปหาราท ยา กาจิ โลเก สวนฺติโย มหาสมุทฺทํ อปฺเปนฺติ ยา จ อนฺตลิกฺขา ธารา ปปตนฺติ น เตน มหาสมุทฺทสฺส อุนฺนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ เอวเมว โข ปหาราท พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อุนฺนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ ยมฺปิ ปหาราท พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อุนฺนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ อยํ ปหาราท อิมสฺมึ ธมฺมวินเย ปญฺจโม อจฺฉริโย อพฺภุตธมฺโม ยํ ทิสฺวา ทิสฺวา ภิกฺขู อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อภิรมนฺติ ฯและในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน อุโปสถสูตร ว่าด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๘ ความว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมลงในมหาสมุทร
และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุทั้งหลายจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๕...
เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยา จ โลเก สวนฺติโย มหาสมุทฺทํ อปฺเปนฺติ ยา จ อนฺตลิกฺขา ธารา ปปตนฺติ น เตน มหาสมุทฺทสฺส อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ เอวเมว โข ภิกฺขเว พหูปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ ยมฺปิ ภิกฺขเว ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ อยมฺปิ ภิกฺขเว อิมสฺมึ ธมฺมวินเย ปญฺจโม อจฺจริโย อพฺภูตธมฺโม ยํ ทิสฺวา ทิสฺวา ภิกฺขู อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อภิรมนฺติ ฯ
และปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส ความว่า
อนภินิพพัตติสามัคคีเป็นไฉน ? ภิกษุทั้งหลายแม้มาก ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความบกพร่องหรือความเต็มแห่งนิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏ นี้ชื่อว่า อนภินิพพัตติสามัคคี.
กตมา อนภินิพฺพตฺติสามคฺคี ฯ พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตสํ นิพฺพานธาตุยา โอนตฺตํ วา ปุณฺณตฺตํ วา ปญฺญายติ อยํ อนภินิพฺพตฺติสามคฺคี ฯ
"นิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น" และการปรินิพพานเหมือนแม่น้ำไหลไปสู่คงคามหาสมุทรนั้น คล้ายกับการปรินิพพานของพระโคตมีภิกษุณีและภิกษุณี ๕๐๐ รูป มีหลักฐานปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย อปทานว่า "พระนางโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพานพร้อมกับพระภิกษุณีอีก ๕๐๐ องค์ เหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น"
และปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เถรีคาถา อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา ความว่า
"พระโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพานพร้อมกับภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น"
น่าสังเกตว่า นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้นหรือ นิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น หมายความว่าอย่างไร (ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อุนฺนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ)
และในอรรถกถาอุโบสถสูตรและอรรถกถาปหาราทะสูตรที่ ๙ ท่านขยายความหมายถึงเพียงความเต็มและความพร่องของนิพพานธาตุว่า
กตมา อนภินิพฺพตฺติสามคฺคี ฯ พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตสํ นิพฺพานธาตุยา โอนตฺตํ วา ปุณฺณตฺตํ วา ปญฺญายติ อยํ อนภินิพฺพตฺติสามคฺคี ฯ
"นิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น" และการปรินิพพานเหมือนแม่น้ำไหลไปสู่คงคามหาสมุทรนั้น คล้ายกับการปรินิพพานของพระโคตมีภิกษุณีและภิกษุณี ๕๐๐ รูป มีหลักฐานปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย อปทานว่า "พระนางโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพานพร้อมกับพระภิกษุณีอีก ๕๐๐ องค์ เหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น"
และปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เถรีคาถา อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา ความว่า
"พระโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพานพร้อมกับภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น"
น่าสังเกตว่า นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้นหรือ นิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น หมายความว่าอย่างไร (ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อุนฺนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ)
และในอรรถกถาอุโบสถสูตรและอรรถกถาปหาราทะสูตรที่ ๙ ท่านขยายความหมายถึงเพียงความเต็มและความพร่องของนิพพานธาตุว่า
"บทว่า น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ความว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติขึ้น แม้ตลอดอสงไขยกัป แม้สัตว์ตนหนึ่ง ก็ไม่อาจปรินิพพานได้ แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุ ว่างเปล่า แต่ในพุทธกาล ในสมาคมหนึ่ง ๆ สัตว์ทั้งหลายยินดีอมตธรรมนับไม่ถ้วน แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุเต็ม"
แต่ไม่ได้อธิบายว่า ด้วยภิกษุนั้น หมายความว่าอย่างไร อาจจะหมายถึงว่าเมื่อปรินิพพานแล้ว ธรรมกายที่เป็นอสังขตธรรมหรือนิพพาน (นวโลกุตรธรรม มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1) ก็ไปรวมอยู่ที่นิพพานธาตุเหมือนแม่น้ำไหลไปรวมที่มหาสมุทรได้หรือไม่? เรื่องนี้สำคัญอาจจะเป็นที่มาของพระสูตรของเถรวาทและมหายาน ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิชาการต้องไปค้นคว้าสืบต่อไป