วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2567

ความเป็นมาและผลงานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI)

ความเป็นมาและผลงานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI)


The Origins and Achievements of the Dhammachai International Research Institute (DIRI)

The Dhammachai International Research Institute (DIRI) - A Brief Overview of its Beginnings and Accomplishments

The Dhammachai International Research Institute (DIRI) is a scholarly Buddhist research institution established as a non-profit legal entity in Australia in 2008 and subsequently registered in New Zealand in 2009.

Its vision is to be at the forefront of Buddhist studies, delving into and disseminating an understanding of the original teachings and the fundamental truths of life. DIRI's mission encompasses:

1.     Cultivating researchers focused on the original teachings of Buddhism as preserved in ancient texts and inscriptions.

2.     Serving as a research institute for both the theoretical and practical aspects of the original Buddhist teachings.

3.     Collecting ancient Buddhist manuscripts, inscriptions, and artifacts.

4.     Acting as a hub for Buddhist studies.

5.     Preserving the pure teachings of Buddhism, with an emphasis on meditation practices.

6.     Coordinating and fostering relationships with scholars worldwide.

 ความเป็นมาและผลงานของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI)

สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIR) เป็นสถาบันวิจัยวิชาการทางพุทธศาสนา จดทะเบียนในลักษณะนิติบุคคลไม่หวังผลกำไรที่ประเทศออสเตรเลียในปี พ.ศ. ๒๕๕๑ และจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในประเทศนิวซีแลนด์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ มีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำทางพุทธศาสน์ศึกษาการศึกษาค้นคว้าในคำสอนดั้งเดิมและเผยแพร่ความเข้าใจในความจริงของชีวิต มีพันธกิจคือ

๑. บ่มเพาะนักวิจัยทางด้านคำสอนดั้งเดิมในพุทธศาสนานปรากฎอยู่ในคัมภีร์และจารึกต่างๆ

๒. เป็นสถาบันวิจัยคำสอนดั้งเดิมทางพุทธศาสนาทั้งด้านทฤษฎีและปฏิบัติ

๓. รวบรวมคัมภีร์จารึก และวัตถุโบราณทางพุทธศาสนา

๔. เป็นศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา

๕. อนุรักษ์คำสอนบริสุทธิ์ทางพุทธศาสนา โดยเฉพาะการปฏิบัติสมาธิภาวนา

๖. ประสานงานและสร้างความสัมพันธ์กับนักวิชาการทั่วโลก

 DIRI was founded with the visionary goal of Luangpor Dhammajayo to systematically uncover and academically present evidence of the Dhammakaya, and to unveil its true existence to the world. The Most Venerable Phrasudhammayanavidesa (Sudham Sudhammo) played a pivotal role in actualizing this vision through dedicated scholarly endeavors.

Luangpor Dhammajayo firmly believes that, even in our era, it is entirely possible to bring this mission to fruition. He sees it as a grand task, carried across lifetimes, culminating in this very incarnation to fulfill this purpose.

These words were imparted by Luangpor Dhammajayo on the occasion of establishing the Dhammachai International Research Institute (DIRI), recorded on 7 April 2000.

สถาบันฯ ก่อตั้งขึ้นเพื่อสนองมโนปณิธานของหลวงพ่อธัมมชโย ที่จะค้นหาหลักฐานธรรมกายอย่างเป็นระบบระเบียบทางวิชาการ และเผยแพรให้โลกได้รับรู้ถึงความมีอยู่จริงของธรรมกายโดยมีเจ้าคุณพระสุธรรมญาณวิเทศ วิ. (สุธรรม สุธมโม) เป็นผู้รับสนองมโนปณิธานมาปฏิบัติงานให้เป็นรูปธรรม

และหลวงพ่อก็เชื่อว่า

ในยุคเราสมัยเรานี่แหละ เราก็สามารถกระทำสิ่งนี้ให้มันปรากฎเกิดขึ้นมา มันเป็นภารกิจอันยิ่งใหญ่ที่ติดตัวเรามาข้ามชาติ จนกระทั่งชาตินี้แหละที่มาเกิดก็เพื่อการนี้

โอวาทหลวงพ่อธัมมชโย องค์สถาปนาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย (DIRI)

ให้ไว้ ณ วันที่ ๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๔๓

             Luangpor Dhammajayo stated that the quest for evidence of the Dhammakaya has been his long-standing intention that has spanned several decades. He further expressed, "The concept of Dhammakaya is found in various scriptures, preserved in different languages scattered across the globe, beyond just Pali.

If we can obtain evidence pertaining to the original teachings of the Buddha, particularly related to the Dhammakaya knowledge, then we will present this evidence to scholars worldwide. This will allow them to know, see, understand, and accept the findings of our research, substantiated by documented references. Such revelations will be of immense benefit to all of humanity."

หลวงพ่อธัมมชโยกล่าวว่า การค้นหาหลักฐานธรรมกายเป็นความตั้งใจของหลวงพ่อมายาวนานหลายสิบปีและกล่าวอีกว่า "คำว่าธรรมกายมีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่างๆ และถูกเก็บไว้ตามภาษาต่างๆ กระจัดกระจายกันไปทั่วโลกนอกเหนือจากภาษาบาลี และหากว่าเรามีหลักฐานเกี่ยวกับคำสอนดั้งเดิมของพระพุทธเจ้า เนื่องมากับวิชชาธรรมกายด้วยแล้ว เราก็จะได้เอาหลักฐานนี้ไปแสดงเพื่อเปิดเผยให้กับนักวิชาการทั้งหลายในโลกนี้ ได้รู้ ได้เห็น ได้รับทราบ และก็ยอมรับในสิ่งที่เราได้ค้นคว้าออกมาอย่างมีเอกสารอ้างอิง จะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ"

Prior to its official registration as a legal entity, Most Ven. Phrasudhammayanavidesa (Sudham Sudhammo) actively recruited professionals from various fields to form a working group dedicated to researching the Dhammakaya evidence. This group ventured into the international academic world by signing a memorandum of understanding with the University of Sydney, Australia, facilitated by Dr. Edward F. Crangle.

ก่อนหน้าที่จะมีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เจ้าคุณหลวงน้า (พระปลัดสุธรรม สุธมฺโม ในขณะนั้น) ได้พยายามชักชวนบุคลากรจากวงการต่างๆ เข้าร่วมจัดตั้งเป็นกลุ่มปฏิบัติงานค้นคว้าหลักฐานธรรมกาย และเริ่มเข้าสู่วงการวิชาการนานาชาติด้วยการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย จากการแนะนำของ ดร.เอ็ดเวิร์ด แครงเกิ้ล (Dr. Edward F.Crangle)

This collaboration involved sending personnel to pursue various academic levels at the University of Sydney, including Luangnah Sudhammo himself, Phra Kesorn Yanawichai, Phra Mahamonchai Manthakomo (currently Dr. Mahamonchai Manthakomo), and the layperson Ms. Chanida Jantrasrisalai (currently Dr. Chanida Jantrasrisalai).

โดยการส่งบุคลากรเข้าศึกษาในระดับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้แก่ ตัวเจ้าคุณหลวงน้าเอง(พระปลัดสุธรรม สุธมโม ในขณะนั้น) พระเกษตร ญาณวิชฺโช พระมหามนต์ชัย มนฺตาคโม(ป.ธ.๖ ปัจจุบัน พระมหามนต์ชัย มนฺตาคโม ดร.) และอุบาสิกาชนิดา จันทราศรีไศล (บ.ศ.๙ ปัจจุบัน ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล)

 In 2003, the next phase saw the enrollment of upasika Supranee Phanichpong (currently Dr. Supranee Phanichpong) at the University of Sydney, followed in 2005 by Mr. Kitchai Uearaksam (now Dr. Kitchai Uearaksam). They received guidance from Dr. Jeff Wilson, who served as an advisor to these students. Subsequently, Most Ven. Phrasudhammayanavidesa handpicked and sent numerous other personnel to pursue master's and doctoral degrees at the University of Sydney and other prestigious universities worldwide, such as the University of Cambridge, University of Washington, University of Oslo, University of Otago, and Gautam Buddha University. This initiative was aimed at developing a strong foundation of personnel to enter the academic field of Buddhist studies.

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ หลังจากนั้นได้ส่ง อุบาสิกาสุปราณี พณิชยพงศ์ (บ.ศ.๙ ปัจจุบัน ดร. สุปราณี พณิชยพงศ์ เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นรุ่นถัดมา และใน พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้ส่ง นายกิจชัย เอื้อเกษม (ปัจจุบัน ดร.กิจชัย เอื้อเกษม) เข้าศึกษาตามลำดับ โดยมี ดร.เจฟ วิสสัน (Dr. Jeff Wlson) เป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่คณะนักศึกษา หลังจากนั้นเจ้าคุณหลวงน้าก็ได้คัดเลือกและส่งบุคลากรอีกหลายท่านเข้าศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในมหาวิทยาลัยซิดนีย์และมหาวิทยาลัยอื่นๆ อีกหลายประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยวอชิงตันมหาวิทยาลัยออสโล มหาวิทยาลัยโอทาโก มหาวิทยาลัยโคตมะพุทธะ (Gautam Buddha) ฯลฯ เพื่อสร้างบุคลากรเป็นรากฐานในการเข้าสู่วงวิชาการพุทธศาสน์ศึกษา

 In Thailand, the working group led by Most Ven. Phrasudhammayanavidesa received academic support from esteemed scholars such as Professor Kittikun Sukanya Sudbandit, Associate Professor Dr. Pornthip Deesomchok (Wai Chon), and Dr.Siriporn Sirikwanchai. This support significantly enhanced the group's academic structure and rigor, elevating their work from a nearly foundational level in almost every aspect.

ในประเทศไทย กลุ่มทำงานดังกล่าวโดยการนำของเจ้าคุณหลวงน้า (พระปลัดสุธรรม สุธมฺโม ในขณะนั้น) ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการจาก ศาสตราจารย์กิตติคุณ สุกัญญา สุดบรรทัด รองศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ ดีสมโชค (วายชนม์) และ ดร.ศิริพร ศิริขวัญชัย เป็นผลให้การทำงานมีระเบียบทางวิชาการมากขึ้นจากที่ไม่มีพื้นฐานในแทบทุกด้านแต่อย่างใด

In fostering relations within the academic sphere of Buddhist studies, the team participated as observers in the 14th International Association of Buddhist Studies (ABS) conference in London, England, in 2005. This marked the beginning of Most Ven. Phrasudhammayanavidesa and his team of researchers' acquaintance with leading global scholars in Buddhist studies.

ในส่วนการสร้างความสัมพันธ์กับวงวิชาการพุทธศาสน์ศึกษา ทางกลุ่มงานได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการประชุมใหญ่สมาคมวิชาการพุทธศาสตร์นานาชาติ (ABS) ครั้งที่ ๑๔ ที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เจ้าคุณหลวงน้า (พระปลัดสุธรรม สุธมฺโม ในขณะนั้น) และคณะนักวิจัยได้รู้จักนักวิชาการชั้นแนวหน้าทางพุทธศาสน์ศึกษาระดับโลกในเวลานั้น 

Later, in 2017, the Institute sent Dr. Chanida Jantrasrisalai  as an official representative to the 18th International Association of Buddhist Studies (IABS) conference in Toronto, Canada. During this period, the institute also continually sent representatives to participate in official academic conferences at Gautam Buddha University in India, the University of Otago in New Zealand, and other significant events, under the leadership of Most Venerable Phrasudhammayanavidesa.

และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ทางสถาบันฯ ได้ส่ง ดร.ชนิดา จันทราศรีไศล เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมอย่างเป็นทางการในการประชุมใหญ่สมาคมวิชาการพุทธศาสตร์นานาชาติ (IABS) ครั้งที่ ๑๘ ที่เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ระหว่างนั้นสถาบันฯ ก็ได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมทางวิชาการอย่างเป็นทางการที่มหาวิทยาลัยโคตมะพุทธะ ประเทศอินเดีย และมหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ ฯลฯ อีกหลายวาระอย่างต่อเนื่อง โดยมีเจ้าคุณหลวงน้าเป็นผู้นำคณะ

Achievement in the academic world would have been unattainable without allies. Representing the Institute, Most Ven. Phrasudhammayanavidesa has signed memorandums of understanding for educational cooperation with over ten leading educational and research institutions worldwide.

These include the University of Sydney in Australia, University of Otago in New Zealand, University of Kelaniya in Sri Lanka, University of Washington in the United States, University of Oslo in Norway, Gautam Buddha University in India, University of Cambridge in the United Kingdom, Sun Yat-sen University in the People's Republic of China, Oxford Centre for Buddhist Studies in the United Kingdom (currently changing affiliation), and Mahachulalongkornrajavidyalaya University's Nan campus.

ความสำเร็จในวงวิชาการไม่อาจเป็นไปได้เลยหากปราศจากพันธมิตร เจ้าคุณหลวงน้าในนามของสถาบันฯ จึงได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ เพื่อความร่วมมือทางการศึกษากับสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยทางการศึกษาชั้นนำในหลายประเทศกว่า ๑๐ สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยโอทาโก ประเทศนิวซีแลนด์ มหาวิทยาลัยเกลานิยา ประเทศศรีลังกา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มหาวิทยาลัยโคตมะพุทธะ (Gautam Buddha) ประเทศอินเดีย มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยซุนยัดเซ็น สาธารณรัฐประชาชนจีน ศูนย์พุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยออกชฟอร์ด ประเทศอังกฤษ (ปัจจุบันกำลังเปลี่ยนสังกัด) วิทยาเขตวิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติ (มจร.) ฯลฯ

These collaborative efforts have granted the Institute access to vital academic resources containing original Buddhist teachings and Dhammakaya evidence, such as 2,000-year-old Birch bark manuscripts and ancient texts from the Mogao Caves in Dunhuang, China.

บันทึกความร่วมมือต่างๆ นี้ทำให้ทางสถาบันฯ มีโอกาสเข้าถึงแหล่งข้อมูลสำคัญๆ ทางวิชาการที่บรรจุคำสอนดั้งเดิมทางพุทธศาสนาและหลักฐานธรรมกาย ได้แก่คัมภีร์เปลือกไม้เบิร์ช อายุ ๒,๐๐๐ ปี คัมภีร์โบราณจากถ้ำโม่เกา เมืองตุนหวางของจีน เป็นต้น

The memorandum of understanding signed with the University of Otago in New Zealand has also led to a collaborative effort in teaching Pali, Sanskrit, and Buddhist studies at the university. The Institute provides support in the form of scholarships and teaching personnel, including Associate Professor Dr. Chaisit Suwanvarangkul (currently Phra Maha Chaisit Suwanvarangkul, Associate Professor) and lay practitioner Prasong Somnoi (formerly a Bachelor of Arts in Sanskrit, now Dr. Prasong Somnoi).

สำหรับบันทึกความร่วมมือที่ลงนามไว้กับมหาวิทยาลัยโอทาโก นิวซีแลนด์ ยังก่อให้เกิดความร่วมมือในการสอนวิชาภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และวิชาพุทธศาสนาในมหาวิทยาลัยดังกล่าวอีกด้วย โดยทางสถาบันฯ เป็นผู้ให้การสนับสนุนทางด้านทุนการศึกษาและบุคลากรผู้สอน ได้แก่ ผศ.ดร. ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล (ปัจจุบัน พระมหาชัยสิทธิ์ สิทธิวณุโณ, ผศ. ดร.) และอุบาสิกาประสงค์ สมน้อย (บ.ศ.๙, ศศ.ม. (สันสกฤต) ปัจจุบัน ดร.ประสงค์ สมน้อย)

As the institute gained recognition in the academic community and had been successful in uncovering evidence of the Dhammakaya knowledge for some time, the Most Ven. Phrasudhammayanavidesa, representing the Institute, organized an academic seminar in 2014 at the Asian Institute of Technology (AIT) in Thailand. The seminar featured Professor Dr. Zemaryalai Tarzi as a special lecturer, presenting on "The History of Buddhism in Archaeological Perspectives."

เมื่อทางสถาบันฯ เป็นที่รู้จักในวงวิชาการและมีผลงานในการหาหลักฐานธรรมกายได้ระยะหนึ่ง เจ้าคุณหลวงน้า (พระครูวิเทศสุธรรมญาณในขณะนั้น) ในนามสถาบันฯ ได้จัดการสัมมนาทางวิชาการขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่ศูนย์ประชุมสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ประเทศไทย โดยมีศาสตราจารย์ ดร. เซมาร์ยาไล ทาร์ซี (Zemaryalai Tarzi) เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในมุมมองทางโบราณคดี "History of Buddhism in Archaeological Perspectives"

 This was followed by a signing ceremony between the Ministry of Culture and Information of Afghanistan and the Institute for the conservation of the Mes Aynak Buddhist archaeological site. Subsequently, Professor Dr. Kate Crosby delivered a lecture on "The Loss of Ancient Dhammakaya Meditation Practices during Modern Reforms." Institute researchers also presented evidence of Dhammakaya knowledge in Central Asia and China, along with the latest research on the practice of ancient Dhammakaya meditation.

และตามด้วยพิธีลงนามความร่วมมือการอนุรักษ์พุทธโบราณสถาน Mes Aynak ระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมและข้อมูลประเทศอัฟกานิสถาน และสถาบันฯ จากนั้นศาสตราจารย์ ดร.เคท ครอสบี (Kate Crosby) บรรยายในหัวข้อ การสูญหายของการทำสมาธิวิชชาธรรมกายแบบโบราณระหว่างการปฏิรูปสมัยใหม่ ส่วนนักวิจัยของสถาบันฯ ได้บรรยายในหัวข้อหลักฐานวิชชาธรรมกายในคันธาระ เอเชียกลาง และจีน กับผลวิจัยล่าสุดเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิวิชชาธรรมกายและแบบโบราณ

            In 2019, Most Ven. Phrasudhammayanavidesa and the Institute organized lectures at the University of Sydney and the University of Otago, featuring the esteemed Professor Garry W. Trompf who spoke on "Breakthroughs in the Discovery of Ancient Religious Manuscripts." 

Amidst the global COVID-19 crisis, under the leadership of Most Ven. Phrasudhammayanavidesa, the Institute relentlessly continued its academic endeavors. They hosted a series of online seminars known as the "Dhammachai Zoominar Series" from 12-30 April 2021. These sessions were graced by lectures from world-renowned scholars such as Dr. Jeff Wilson, D.E. Osto, Dr. Arvind Kumar Singh, Dr. Yojana Bhagat, Professor Richard Salomon, Professor Anand Singh, Dr. Stefan Baums, Professor Mark Allon, Professor Michael Zimmermann, Dr. Imre Galambos, and Dr. Lina Verchery. This significant initiative demonstrated the Institute's esteemed standing in the field of Buddhist studies.

ในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เจ้าคุณหลวงน้าและสถาบันฯ ได้จัดให้มีการบรรยายที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์และมหาวิทยาลัยโอทาโก โดยได้รับเกียรติจากศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.แกรี่ ทรัมปฟ์ (Garry W. Trompf) เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ "A Breakthroughs in the Discovery of Ancient Religious Manuscripts" ในวิกฤตโควิด ๑๙ ระบาดทั่วโลก สถาบันฯ โดยการนำของเจ้าคุณหลวงน้ายังดำเนินงานด้านวิชาการอย่างไม่หยุดยั้ง ได้จัดการบรรยายทางวิชาการทางชุม (Zoom) หรือ ดีรี่ซูมมินาร์ซีรีย์ ในระหว่างวันที่ ๑๒ - ๓๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๔ โดยได้รับเกียรติบรรยายในหัวข้อต่างๆ จากวิทยากรชั้นนำของโลก เช่น ดร. เจฟ วิลสัน (Jeff Wilson) ดร. ออสโต (D.E. Osto) ดร. อรวินท์ กุมาร ซิงห์ (Arvind Kumar Singh) ดร.โยชนา ภาคัต (Yojana Bhagat) ศ.ดร.ริชาร์ด ซาโลมอน (Richard Salomon ศ. ดร. อนันท์ ชิงห์ (Anand Singh) ดร. สเตฟาน บวามส์ (Stefan Baums) ศ.ดร.มาร์ค แอลลอน (Mark Allon) ศ.ดร.ไมเคิล ซิมเมอร์มาน (Michael Zimmermann) ดร.อิมเร กาลัมบอส (Imre Galambos) ดร.ลีนา เวอร์เชรี (Lina Verchery) นับเป็นก้าวสำคัญที่แสดงถึงการเป็นที่ยอมรับของสถาบันฯ ในวงวิชาการพุทธศาสน์ศึกษา

 One of the accomplishments that Laungnah Sudhammo takes great pride in is the research conducted at the University of Cambridge. This involved the discovery of an ancient Chinese Buddhist manuscript, over a thousand years old, from Dunhuang on the Silk Road, named "Fo Shuo Guan Jing 說觀." The manuscript's content teaches a form of meditation focusing on a serene and undisturbed mind, centered in the abdomen. When the mind becomes still, a unique state of consciousness emerges, revealing the form of the Buddha in meditation. This principle, method, and experience align closely with the teachings of Dhammakaya.

อีกหนึ่งผลงานที่เจ้าคุณหลวงน้ามีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง คืองานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นการค้นพบบันทึกในคัมภีร์พุทธจีนโบราณอายุพันกว่าปีจากตุนหวงบนเส้นทางสายไหม ชื่อคัมภีร์ "โฝวซัวกวนจิง 說觀 พบเนื้อหา สอนการทำสมาธิแบบวางใจนิ่งๆ เฉยๆ ไว้กลางนาภี (ท้อง) เมื่อใจรวมหยุดนิ่ง เป็นเอกคตารมณ์ จะมีองค์พระผุดช้อนขึ้นมาให้เห็นในสมาธิ ซึ่งถือว่าทั้งหลักการ วิธีการ และประสบการณ์ มีความสอดคล้องกับในวิชชาธรรมกาย

 Following Most Ven. Phrasudhammayanavidesa's presentation of this report, it brought immense joy to the Buddhist teachers and scholars, providing evidence to Buddhists and the global community about the existence of the Dhammakaya knowledge.

หลังจากที่เจ้าคุณหลวงน้าถวายรายงานขึ้นไป ทำให้ครูบาอาจารย์เกิดความปีติมากที่มีหลักฐานยืนยันให้เราชาวพุทธ และชาวโลกทราบว่า วิชชาธรรมกายมีอยู่จริง

Over the past 22 years, under the leadership of Most Ven. Phrasudhammayanavidesa, the Institute's diligent pursuit of Dhammakaya evidence has culminated in a collection of findings. These can be explored in the upcoming exhibition showcasing the Dhammakaya evidence in ancient Buddhist scriptures.

ผลงานการค้นหาหลักฐานธรรมกายตลอด ๒๒ ปีที่ผ่านมาของสถาบันฯ โดยการนำของเจ้าคุณหลวงน้านั้นสามารถศึกษาได้จากนิทรรศการหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณในบทต่อไป

 The eminent discovery by Most Ven. Phrasudhammayanavidesa was the unearthing of an ancient palm-leaf manuscript known as the "Phra Dhammakayathi," in the Tepchumnum version. This precious document, bestowed upon Wat Phra Chetuphon in Bangkok by King Rama III, came to light under the benevolent guidance of Phra Thepwacharajarn (compared to Dr. Sirinya Ano, P.T.9, Assoc. Prof. Dr.) and the collaborative efforts of Phra Maha Udom Punyapho.

ผลงานการค้นหาหลักฐานธรรมกายชิ้นสำคัญของเจ้าคุณหลวงน้า คือการพบคัมภีร์ใบลาน"พระธัมมกายาทิ" ฉบับเทพชุมนุม ซึ่งรัชกาลที่ ๓ พระราชทานไว้กับวัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพฯ ภายใต้ความเมตตาอนุเคราะห์ของ พระเทพวัชราจารย์ (เทียบ สิริญาโณ ป.ธ.๙, ผศ. ดร.) และด้วยความเมตตาประสานงานของ พระมหาอุดม ปัญญาโภ

Upon the manuscript's discovery, Most Ven. Phrasudhammayanavidesa, alongside a team of researchers from the Institute, advised by the esteemed Ajarn Chaeom Kaewklai, embarked on a meticulous translation. They painstakingly transcribed the ancient Khmer script into modern Thai and translated the Pali language into contemporary Thai. This monumental task also involved an in-depth analysis of the content, the findings of which are accessible through the Institute's publications.

 เมื่อพบคัมภีร์แล้วเจ้าคุณหลวงน้าและคณะนักวิจัยของสถาบันฯ ภายใต้คำปรึกษาของอาจารย์ชะเอม แก้วคล้ายได้ปริวรรตเนื้อหาที่เขียนด้วยอักษรขอมเป็นอักษรไทยปัจจุบัน และแปลภาษาบาลีเป็นภาษาไทยปัจจุบัน พร้อมทั้งมีบทวิเคราะห์เนื้อหาซึ่งสามารถหาอ่านได้จากสื่อของสถาบันฯ

This scholarly endeavor revealed that the concept of "Dhammakaya" has been recognized in Thai Buddhist society at least since the early Rattanakosin era. 

งานวิจัยนี้ทำให้ทราบได้ว่า"ธรรมกาย " เป็นที่รู้จักในสังคมพุทธศาสนาของไทยมาแล้วอย่างน้อยในต้นยุครัตนโกสินทร์

Subsequently, Most Ven. Phrasudhammayanavidesa and the institute's researchers, including Mr. Woramat Malasart, discovered several more palm-leaf manuscripts detailing the Dhammakaya incantations. The Institute found variations in the details of these manuscripts, prompting a thorough review and purification process. They then published the refined version of the Dhammakaya incantations, complete with Romanized script and English translations.

ต่อมาเจ้าคุณหลวงน้าและนักวิจัยของสถาบันฯ อันได้แก่คุณวรเมธ มลาศาสตร์ได้พบคัมภีร์ใบลานว่าด้วยคาถาธรรมกายอีกหลายฉบับ ทางสถาบันฯ พบว่ามีความแตกต่างในรายละเอียดของคัมภีร์ต่างๆ นั้น จึงได้จัดให้มีการตรวจชำระขึ้นและจัดพิมพ์เผยแพร่คาถาธรรมกายฉบับตรวจชำระดังกล่าวพร้อมทั้งบทปริวรรตอักษรโรมัน และคำแปลภาษาอังกฤษ

The latest research breakthrough came from upasika Prasong Somnoi of the Institute. She published the "Analysis and Study of the Kantawayuhasutra Manuscript," revealing that this ancient scripture, possibly predating 500 B.E., contains multiple references to "Dhammakaya" along with its meanings.

ล่าสุดนักวิจัยของทางสถาบันฯ อุบาสิกาประสงค์ สมน้อย ได้นำงานวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์คัณทวยูหสูตร" ออกเผยแพร่ ทำให้ทราบว่าคัมภีร์โบราณ คัณฑวยูหสูตรที่อาจมีอายุเนื้อหา ก่อน พ.ศ. ๕๐๐ บรรจุคำว่า ธรรมกาย พร้อมทั้งความหมายของคำว่าธรรมกายอยู่หลายแห่ง

 Moreover, there are numerous research projects awaiting exploration, compilation, and publication, inspired by faithful devotion to Most Ven. Phrasudhammayanavidesa by the laity. In a gesture of reverence, a patron from New Zealand has donated ten ancient manuscript fragments from Bamiyan, containing Buddhist texts, to the Institute. Most Ven. Phrasudhammayanavidesa has named this collection the DIRI Collection. Preliminary studies indicate that two of these pieces, believed to be in the Gandhari language, are approximately 1,350 to 1,850 years old, while the other eight pieces, in Sanskrit, date back around 1,700 to 1,800 years.

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่รอการค้นคว้า เรียบเรียง และเผยแพร่อีกหลายชิ้นด้วยความมีศรัทธาในเจ้าคุณหลวงน้าของญาติโยม ได้มีเจ้าภาพในประเทศนิวซีแลนด์ถวายชิ้นส่วนคัมภีร์โบราณจากบามิยันบรรจุข้อความทางพุทธศาสนาไว้ให้กับทางสถาบันฯ จำนวน ๑๐ ชิ้น เจ้าคุณหลวงน้าตั้งชื่อว่า DIRI Collection พบว่าเป็นภาษาคานธารี ๒ ชิ้น อายุราว ๑,๓๕๐ - ,๘๕๐ ปี และอีก ๘ ชิ้นเป็นภาษาสันสกฤต อายุราว ๑,๗๐๐ - ,๘๐๐ ปี

These ancient fragments hold untold secrets of the past. Some of these pieces are critical missing links, which could significantly enhance the existing research on the Bamiyan manuscripts conducted by Western scholars. The rest of the collection promises to unlock further mysteries, leading to new avenues of study and research in the intricate world of Buddhist history and philosophy.

จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า บางชิ้นเป็นส่วนสำคัญที่ขาดหายไป สามารถนำไปเติมเต็มในงานวิจัยคัมภีร์บามิยันที่ทำไว้ก่อนหน้าแล้วโดยนักวิชาการตะวันตก ส่วนชิ้นอื่นๆ จะได้ทำการศึกษาวิจัยต่อไป

 Towards the end of 2021, Most Ven. Phrasudhammayanavidesa, representing the Institute, spearheaded the revival of Dhammakaya incantations in daily life. This was achieved in collaboration with the Jai Klang Chedi Foundation. A project was initiated to create golden plaques inscribed with the Dhammakaya incantations, destined for installation in the "Karraphoth" (the chamber within the stupa) or within the bell of the stupa at Phra That Doi Kahlong. This ancient stupa, built during the reign of King Guena Dharmikaraja 633 years ago, was recently restored under the stewardship of the Jai Klang Chedi Foundation between 2021 and 2022.

ในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๖๔ ทางเจ้าคุณหลวงน้า ในนามสถาบันฯ ได้ส่งเสริมการฟื้นฟูคาถาธรรมกายในชีวิตประจำวันโดยร่วมมือกับมูลนิธิใจกลางเจดีย์ในการสร้างแผ่นจารึกคาถาธรรมกายด้วยทองคำขึ้นเพื่อประดิษฐานไว้ใน "ครรโภทร" (ท้องของพระเจดีย์) หรือในองค์ระฆังของพระเจดีย์ของพระธาตุดอยกาหลง ซึ่งเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชเมื่อ ๖๓๓ ปีก่อน โดยทางมูลนิธิใจกลางเจดีย์ได้เป็นประธานอำนวยการในการบูรณะขึ้นเมื่อระหว่าง พ.ศ. ๒๕๖๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๖๕

 The Institute provided the foundation with a meticulously purified and verified version of the Dhammakaya incantation. The foundation's team then skillfully inscribed these onto the golden plaques, creating a beautiful and enduring testament to these sacred words. This act symbolically links the historical continuity of the Dhammakaya incantations from the present into the future. It mirrors the practice from 200 years ago when similar incantations were enshrined in the Phra Sri Srinphet stupa at Wat Phra Chetuphon in Bangkok. Furthermore, the foundation has promoted the regular recitation of the Dhammakaya incantations.

ทางสถาบันฯ ได้มอบต้นแบบคาถาธรรมกายที่ชำระตรวจสอบแล้วอย่างสมบูรณ์ ให้กับคณะทำงานของมูลนิธิใจกลางเจดีย์เพื่อนำไปเป็นต้นแบบในการจารึกจนสำเร็จงดงาม ถือเป็นการเชื่อมรอยต่อประวัติศาสตร์ของคาถาธรรมกายจากยุคปัจจุบันไปสู่อนาคต กล่าวคือเป็นการบรรจุคาถาธรรมกายตามแบบอย่างที่มีการบรรจุคาถาธรรมกายไว้ในเจดีย์พระศรีสรรเพชญ์ วัดพระเชตุพนฯ กรุงเทพ เมื่อ ๒๐๐ ปีที่แล้ว นอกจากนี้ทางมูลนิธิฯ ได้ส่งเสริมให้มีการสวดคาถาธรรมกายเป็นประจำด้วย

 In its mission to disseminate the research findings on Dhammakaya, the Institute has taken scholarly content and distilled it into more accessible summaries for the general public. These are hosted on the institute's website, w.w.diri.ac.nz. In its first year, the site averaged 8,500 visitors per month (102,000 per year), with a significant increase in the second year to 120,000 visitors per month (1,400,000 per year). The majority of the users came from India, Thailand, Cambodia, and Singapore, with 55% being laypeople outside the monastic community.

ในส่วนของพันธ์กิจของสถาบันฯ ด้านการเผยแพร่ผลการค้นคว้าหาหลักฐานธรรมกายทางสถาบันๆ ได้นำงานวิจัยที่เป็นเนื้อหาวิชาการมาสปและย่อความเพื่อให้คนทั่วไปส ามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ บรรจุในเว็บไซต์ของสถาบันฯ ชื่อ w.w.diri.ac.nz พบว่าในปีแรกมีผู้เข้าใช้งานเฉลี่ย ๘,๕๐๐ คนต่อเดือน (๑๐๒,๐๐๐ ต่อปี และมีจำนวนผู้เข้าชมสูงขึ้นในปีที่สองถึง ๑๒๐,๐๐๐ คน ต่อเดือน (๑,๔๐๐,๐๐๐ ต่อปี) มีผู้เข้าใช้ส่วนใหญ่จากประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศกัมพูชาและประเทศสิงคโปร์ โดยพบว่า ๕๕% เป็นคนนอกวัด

 The institute has been endorsed and supported by Google as an educational institution (Higher Education: Case No. 14915700) in New Zealand. This recognition allows the institute to utilize Google's resources and technologies, specifically the G Suite for Education.

สถาบันฯ ได้รับการสนับสนุน และรับรองเชื่อถือจาก Google เป็นสถาบันทางการศึกษา (Higher Education : Case No. 14915700) ในประเทศนิวซีแลนด์ อนุญาตให้ทางสถ าบันฯ สามารถใช้ทรัพย ากรและเทคโนโลยีซอง Google คือ G Suite for Education ได้

 Presently, the institute is permanently situated in Dunedin, New Zealand. It boasts a team of researchers, including those with Doctoral and Master's degrees, totaling 16 individuals who work both full-time and part-time. Additionally, there are 10 technical and academic research assistants and four administrative staff in the director's office. The Institute is honored to have an advisory panel of leading scholars, such as Professor Zemaryalai Tarzi, Dr. Mark Allon, Professor Dr. Wil Sweetman, Dr. Edward F. Crangle, Associate Professor Dr. Anand Singh, Assistant Professor Dr. Arind Kumar Singh, Dr. Elizabeth Guthrie, Ajarn Chaeom Kaewklai, and Dr. Kiertibhum Rodpun.

ปัจจุบันสถาบันฯ มีสถานที่ตั้งถาวรอยู่ที่เมืองดันนีดิน (Dunedin) ประเทศนิวซีแลนด์ มีนักวิจัยระดับปริญญาเอกและปริญญาโท ทำงนเต็มเวลาและนอกเวลารวม ๑๖ ท่าน ผู้ช่วยนักวิจัยด้านเทคนิคและวิชาการเต็มเวลาและนอกเวลารวม ๑๐ ท่าน และบุคลากรประจำสำนักผู้อำนวยการ ๔ ท่าน มีคณะที่ปรึกษาซึ่งเป็นนักวิชาการชั้นแนวหน้าหลายท่านได้แก่ ศาสตราจารย์ คร.เซมาร์ยาไล ทาร์ซี (Zemaryalai Tarzi) ดร. มาร์ต แอลลอน (Mark Allon) ศาสตราจารย์ ดร. วิล สวีทแมน ดร. เอ็ดเวิร์ด แครงเกิ้ล (Edward F. Crangle) รองศาสตราจารย์ ดร.อนันท์ ซิงห์ (Anand Singh) ผศ. ดร, อรวินท์ กุมาร ซิงห์ (Arind Kumar Singh) ดร, เอลิซาเบธ กูธรี่ (Elizabeth Guthrie) อ. ชะเอม แก้วคล้าย และ ดร. เกียรติภูมิ รอดพันธ์

 The Institute’s advisory board brings together top academics from various fields. The Institute also actively supports scholarships for budding researchers in Buddhist studies from various countries, tapping into original sources and teachings in Germany, the United Kingdom, New Zealand, India, the People's Republic of China, and Cambodia.

สถาบันฯ ยังให้การสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาบุตลากรให้เป็นนักวิจัยทางพุทธศาสน์ศึกษาอยู่หลายท่านในหลายประเทศอันเป็นแหล่งข้อมูล คำสอนดั้งเดิม เช่น ประเทศเยอรมนี ประเทศอังกฤษประเทศนิวซีแลนด์ ประเทศอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศกัมพูชา

The Institute possesses a wealth of primary sources and Buddhist artifacts from various regions across Asia, Europe, and America, including several institutions that house invaluable ancient manuscripts. In a relentless pursuit to adhere to the policy set forth by Luangpor Dhammajayo for the continuous search for Dhammakaya evidence, the Institute, under the stewardship of the Most Ven. Phrasudhammayanavidesa, has initiated a project to recruit and develop researchers focused on original teachings and Dhammakaya evidence.

สถาบันๆ มีข้อมูลพื้นที่ที่เป็นแหล่งข้อมูลปฐมภูมิและ หลักฐานพุทธศาสนาอีกหลายแห่งทั้งในทวีปเอเชีย ยุโรป และ อเมริกา รวมถึงสถ าบันต่างๆ ที่เก็บรวบรวมคัมภีร์โบราณที่ทรงคุณค่าไว้อีกหลายแห่ง และเพื่อเป็นการสนองนโยบายของหลวงพ่อธัมมชโยในการค้นหาหลักฐานธรรมกายต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง สถาบันฯ โดยเจ้าคุณหลวงน้าจึงได้เริ่มโครงการรับนักวิจัยและพัฒนานักวิจัยคำสอนดั้งเดิม และหลักฐานธรรมกาย

In the near future, the Institute aims to nurture scholars well-versed in the languages of both ancient manuscripts and modern dialects relevant to the aforementioned sources. This endeavor is an ambitious one, requiring significant support in terms of personnel and funding. The Institute hopes to attract benefactors who share the faith in Most Venerable Phrasudhammayanavidesa and his mission, to see this project to fruition.

โดยจะรับสมัครผู้สนใจในอนาคตอันใกล้ มีจุดมุ่งหมายที่ จะบ่มเพาะนักวิชาการให้มีคุณสมบัติเหมาะกับแหล่งข้อมูลที่กล่าวถึงไม่ว่าในด้านภาษาของคัมภีร์โบราณหรือภาษาที่ใช้กันในปีจจุบันในแหล่งข้อมูลต่างๆนั้น จึงหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนโครงการที่ยังค้างอยู่นี้ ทั้งทางด้านบุคลากรและงบประมาณ จากท่านผู้ใจบุญมีศรัทธาในเจ้าคุณหลวงน้าให้สำเร็จลุล่วงต่อไป

 

Exhibition: Ancient Evidences of Dhammakaya in Buddhist Scriptures

นิทรรศการ หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ

Reviving Timeless Truths: The Dhammachai Institute's Seventeen-Year Quest to Rediscover Buddha's Teachings

Reviving Timeless Truths: The Dhammachai Institute's Seventeen-Year Quest to Rediscover Buddha's Teachings

 


Reviving Timeless Truths: The Dhammachai Institute's Seventeen-Year Quest to Rediscover Buddha's Teachings

The Dhammachai International Research Institute (DIRI) in New Zealand and Australia, envisioned by the venerable Luang Por Dhammajayo, is a beacon of spiritual exploration and discovery. This esteemed institution dedicates itself to perpetuating the profound vision of Luang Por Dhammajayo, embarking on a quest to unearth the original teachings of the exalted Supreme Buddha. Specifically, it focuses on the widely scattered teachings of Dhammakaya, a quest that has spanned over 17 years. This journey of enlightenment and dedication has led to a deep, authentic understanding of the Dhammakaya, affirming its presence within ancient Buddhist scriptures. This evidence is not confined to one form but appears in various mediums, including inscribed stone tablets, silver folding scriptures, palm leaves, and numerous other inscriptions, found both domestically and internationally.

สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยแห่งประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลียหรือ Dhammachai International Research Institute (DIRI) ถือกําเนิดขึ้นโดยดําริของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย โดยทางสถาบันมุ่งมั่นที่จะสืบสานมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย ในการที่จะทํางานสืบค้นหาหลักฐานคําสอนดั้งเดิมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะเรื่องของธรรมกายที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วโลก รวมระยะเวลายาวนานกว่า 17 ปี ซึ่งก็ทําให้มีความเข้าใจในเรื่องธรรมกายอย่างถ่องแท้และสามารถยืนยันได้ว่ามีหลักฐานของธรรมกายปรากฏในคัมภีร์พุทธโบราณ ทั้งที่เป็นศิลาจารึกจารึกลานเงินพับสาและใบลานและคําจารึกต่างๆ มากมายทั้งภายในและต่างประเทศ

Particularly in the past year, the Dhammachai International Research Institute has unearthed additional evidence of Dhammakaya teachings in several new regions, notably in Central Asia. Here, they discovered ancient Buddhist manuscripts written in Kharosthi script, estimated to be between 1700 to 1800 years old, amounting to 10 pieces or 20 polios. Furthermore, they found a significant number of ancient Buddhist manuscripts, including one from the Tunhuang caves of the Mogaoku, aged between 1000 to 1700 years, originating from China. Currently, these invaluable manuscripts are preserved in prestigious museums and libraries, such as the British Museum, British Library, Oxford Library, London Library, and Cambridge Library.

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีที่ผ่านมาทางสถาบันได้ค้นพบหลักฐานวิชาธรรมกายเพิ่มขึ้นในอีกหลายพื้นที่อาทิเช่นในเอเชียกลาง ได้พบคัมภีร์พุทธโบราณอักษรขโรษฐีซึ่งมีอายุราว 1700 ปี ถึง 1800 ปี จํานวน 10 ชิ้น หรือ 20 โพลิโอ นอกจากนี้ยังได้ค้นพบคัมภีร์พุทธโบราณจํานวนมากอันเป็นหนึ่งในคัมภีร์ตุนฮวงจากถ้ำโม่เกา อายุระหว่าง 1000 ถึง 1700 ปี ที่มาจากประเทศจีน โดยปัจจุบันคัมภีร์ดังกล่าวได้ถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์และห้องสมุดของสถาบันการศึกษาที่สําคัญๆ เช่น British Museum, British Library, Oxford library, London Library และ Cambridge Library

In Southeast Asia, the Dhammachai International Research Institute has unearthed Dhammakaya scriptures, etched onto palm leaves, which form part of the meditation practice texts in Cambodia. Additionally, inscriptions indicative of Dhammakaya teachings have been discovered in Angkor Wat, and evidence of Dhammakaya Katha in ancient Buddhist manuscripts in Cambodia and in the northern regions of Thailand. Having acquired these original teachings, which are considered foundational data, the Institute's researchers, who are studying at various universities around the world and specialize in ancient languages and Buddhism, have collaborated in research. They work both individually and in conjunction with global scholars to produce academic works about the Dhammakaya evidence and to disseminate this authentic information. They bring it to the world's attention in the form of scholarly works of international standing.

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทางสถาบันได้ค้นพบคัมภีร์ธรรมกายาทิ ที่จารึกลงบนใบลานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในคัมภีร์สายปฏิบัติสมาธิในประเทศกัมพูชาและยังได้ค้นพบจารึกที่เป็นร่องรอยของวิชาธรรมกายในนครวัดและหลักฐานคาถาธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณในประเทศกัมพูชาและในพื้นที่ทางภาคเหนือของประเทศไทย เมื่อได้หลักฐานคําสอนดั้งเดิมต่างต่างซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลปฐมภูมินี้มาแล้ว ทางนักวิจัยของสถาบันที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างต่างทั่วโลกที่ทําการศึกษาด้านภาษาโบราณและพระพุทธศาสนาก็ได้ร่วมกันทําวิจัยทั้งด้วยตนเองและร่วมงานวิจัยกับนักวิชาการระดับโลก ผลิตผลงานวิชาการเกี่ยวกับหลักฐานธรรมกายและเผยแพร่ข้อมูลอันแท้จริงนี้ ออกสู่สายตาของชาวโลกในรูปแบบของงานวิชาการในระดับสากล

Currently, the Dhammachai International Research Institute has established Memoranda of Understanding (MOUs) with 15 educational institutions across the globe. These include prestigious universities such as the University of Sydney in Australia, the University of Washington in the United States, the University of Oslo in Norway, and the University of Cambridge, particularly at the Centre for Buddhist Studies at the University of Oxford in the United Kingdom.

ทั้งนี้ ปัจจุบันทางสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้ลงนามร่วมมือเอ็มโอยูกับสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วโลกถึง 15 สถาบัน อาทิเช่น มหาวิทยาลัยซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลียมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ณ ศูนย์พุทธศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

Particularly noteworthy is the long-standing academic collaboration between the Dhammachai International Research Institute (DIRI) and the University of Otago in New Zealand, spanning over a decade. This partnership has made significant strides, as evidenced by the university's approval to launch a Master's program in Buddhist Studies in the 2019 academic year, open to interested students. Remarkably, this program introduced the study of Pali language for the first time, making it a fundamental part of the Buddhist Studies curriculum at the University of Otago.

และโดยอย่างยิ่งผลจากการลงนามร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบันดีรีกับมหาวิทยาลัยโอทาโกประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีมาอย่างยาวนานกว่า 10 ปี ถือได้ว่ามีความก้าวหน้าเป็นอย่างมากเนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปิดหลักสูตรปริญญาโทด้านพุทธศึกษาในปีการศึกษา 2562 ให้กับนักเรียนที่สนใจ ทั้งนี้จะมีการเปิดสอนวิชาภาษาบาลีขึ้นเป็นครั้งแรกซึ่งถือเป็นหนึ่งในวิชาเรียนของหลักสูตรปริญญาโทพุทธศึกษา ณ มหาวิทยาลัยโอทาโก้อีกด้วย

For 17 years, the Dhammachai International Research Institute has been unwavering in its dedication, staking its very existence on the quest to unearth the original teachings of the Supreme Buddha, particularly regarding the Dhammakaya, to bring the truth to light, in line with the vision of the venerable Luang Por Dhammajayo. Today, this relentless pursuit has culminated in the gathering of extensive evidence from ancient Buddhist manuscripts and various inscriptions. The Institute has been able to produce scholarly works that reveal and substantiate the existence of the Dhammakaya teachings, bringing them into global recognition.

เป็นเวลาถึง 17 ปีแล้วที่สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยได้มุ่งมั่นทุ่มเทเอาชีวิตเป็นเดิมพันในการสืบค้นหาหลักฐานคําสอนดั้งเดิมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเฉพาะเรื่องธรรมกายเพื่อทําความจริงให้ปรากฏ สมดังมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย
จนกระทั่งในวันนี้สามารถรวบรวมหลักฐานจากแหล่งคัมภีร์พุทธโบราณและคําจารึกต่างๆได้เป็นจํานวนมากและสามารถผลิตผลงานวิชาการเผยแพร่ให้เป็นที่ประจักษ์ยืนยันความมีอยู่จริงของคําสอนเรื่องธรรมกายออกสู่สายตาของชาวโลกได้ในระดับสากล

The success in uncovering the evidence of Dhammakaya today is not where the journey ends, but rather, it serves as a source of inspiration and a driving force for continued exploration. This achievement fuels the determination to further seek evidence, ready to advocate and defend the teachings of Buddhism for generations to come.

ความสําเร็จในการค้นพบหลักฐานธรรมกายในวันนี้ จะไม่หยุดลงเพียงเท่านี้แต่จะยิ่งเป็นกําลังใจและเป็นแรงผลักดันให้ก้าวต่อไปในการทํางานค้นหาหลักฐานและพร้อมที่จะเป็นทนายแก้ต่างให้พระพุทธศาสนาสืบไป