วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 11 รูปกายเป็นสังขตธรรม ธรรมกายเป็นอสังขตธรรม

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 11 รูปกายเป็นสังขตธรรม ธรรมกายเป็นอสังขตธรรม

รูปกายเป็นสังขตธรรม ธรรมกายเป็นอสังขตธรรม

             ถ้าว่าตามหลักฐานนี้ก็พูดแบบง่ายๆ ว่า กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกต้องเกิดด้วยรูปกาย และครั้งที่สองเกิดด้วยธรรมกาย เรื่องพระพุทธเจ้าทรงมี 2 กายไม่ใช่จะมีแต่ในเถรวาทเท่านั้น แม้แต่คัมภีร์ฝ่ายมหายานก็ปรากฏหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าประกอบด้วย 2 กาย คือ รูปกาย กับ ธรรมกาย และยังแสดงอย่างละเอียดว่า ธรรมกายของพระพุทธองค์เป็นอสังขตธรรม นิจจัง สุขัง อัตตา และความบริสุทธิ์อีกด้วย ในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร ปรากฏหลักฐานว่า

         40, 41 善男子。我於經中説如來身凡有二種。一者生身。二者法身。言生身者。即是方便應化之身。如是身者。可得言是生老病死長短黒白。是此是彼是學無學。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來。定説佛身是有爲法。法身即是常樂我淨。永離一切生老病死。非白非黒非長非短。非此非彼非學非無學。若佛出世及不出世。常住不動無有變易。善男子。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來定説佛身是無爲法。(SAT Daizokyo, T374 12:567a3, 6)

         แปลว่า ดูก่อนกุลบุตร เราได้อธิบายเนื้อความตามพระสูตรว่า กายของตถาคตประกอบด้วย ๒ กาย หนึ่งคือ รูปกาย และสองคือ ธรรมกาย รูปกายเป็นชื่อของการแสดงออกของกายที่เกิดจากกุศโลบาย ดังนั้นคำที่จะใช้ได้กับคำนี้คือ การเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว มันเป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนี้ เป็นความรู้ เป็นความไม่รู้ สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอนและไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคต ได้ตรัสว่า(รูป)กายของพระพุทธเจ้าเป็นสังขตธรรม” ธรรมกาย เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา และ ความบริสุทธิ์ ปราศจากการเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว ตลอดกาล มันไม่เป็นเช่นนั้น ไม่เป็นเช่นนี้ ไม่เป็นความรู้ ไม่เป็นความไม่รู้ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะปรากฏ และไม่ปรากฏเกิดขึ้นในโลกนี้ พระองค์ก็เป็นนิจจัง มีความแน่วแน่ และมั่นคง ดูก่อน กุลบุตร สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอน และไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคตได้ตรัสว่า (ธรรม)กายของพระพุทธเจ้าเป็นอสังขตธรรม
ที่มา ธรรมกายในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร คัมภีร์ต้นฉบับพระพุทธศาสนายุคต้น ดร. ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล หน้า 7-8

             ในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตรของมหายาน ยังมีเนื้อความอื่นๆ อีกหลายตอนที่แสดงแนวคิดที่น่าจะเป็นต้นตอของการขยายความเพิ่มเติมออกไปในพระสูตรมหายานรุ่นหลัง เช่น
           กายของพระตถาคตไม่ได้ถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหาร เพราะตถาคตคือ ธรรมกาย ดังหลักฐานปรากฏว่า
           然我定知如來身者。即是法身非爲食身。(T374 12:374c9)
คำแปล: ... เช่นนั้น เราได้ทราบแล้วว่ากายของพระตถาคตคือธรรมกาย  และเป็นกายที่ไม่ได้ถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหาร

           และหลักฐานว่า กายของเรา(ตถาคต)นี้คือธรรมกาย มีปรากฏความว่า

          而我此身畢竟不從*婬欲和合而得生也。我已久從無量劫
來離於婬欲。我今此身即是法身隨順世間示現入胎。(T374 12:388b27)
คำแปล: โดยประการทั้งปวง กายของเรานี้มิได้เกิดจากการรวมกันของกิเลสและตัณหา 
         เราได้สละออกห่างแล้วจากกิเลสและตัณหามาเป็นเวลานานนับไม่ถ้วน 
         กายของเรานี้คือธรรมกาย และตามวิถีของชาวโลกเราจึงต้องผ่านมาจากครรภ์ของมารดา

และแท้ที่จริงแล้วพระพุทธองค์ ทรงเป็นธรรมกาย ในคัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra ปรากฏหลักฐานว่า
以世諦法如是故不得自在。又如來者。是法身。非有為身無住世法。
หากเข้าใจว่าเราเป็นสมมติสัจจะไม่เป็นตัวของตัวเอง แท้ที่จริงแล้วพระองค์ ทรงเป็นธรรมกาย ไม่มี(ไม่ใช่)รูป ไม่ได้อยู่บนโลกนี้ (สิ่งที่เห็นล้วนเป็นสมมติ เป็นเพียงรูปกาย แท้ที่จริงพระองค์ คือธรรมกาย)
อ้างอิงจาก คัมภีร์จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร Caturdārakasamādhisūtra  T12n0379_003 (四童子三昧經 第3卷)
http://buddhism.lib.ntu.edu.tw/BDLM/sutra/chi_pdf/sutra7/T12n0379.pdf

  และพระพุทธเจ้าทรงสมบูรณ์ด้วยรูปกายและธรรมกายแล้วนั้น แต่ทรงมีกายแท้จริงคือธรรมกาย ดังนั้นพระองค์จึงทรงสามารถที่จะสั่งสอนธรรมได้อยู่ตลอดนิรันดรกาล ปรากฏใน

จตุรฺทารกสมาธิสูตฺร (รู้จักในชื่ออื่นว่า จตุรฺทารกสูตฺรT379 แปลโดยชญานคุปต์ในราชวงศ์สุย สถานที่เทศนาคือป่าศาละที่กุศินารา ฉบับนี้จะต่างกับมหายานมหาปรินิรฺวาณฉบับอื่นๆ ตรงที่มีพระอานนท์เป็นผู้ถามพระพุทธเจ้า แต่คำสอนเหมือนกับฉบับมหายานตามคำสอนว่าพระพุทธเจ้ามีกายแท้จริงคือธรรมกาย ดังนั้นพระองค์จึงทรงสอนธรรมอยู่ตลอดนิรันดรกาล
ที่มา การศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการโครงสร้างพระมหาปิฎกไทโช (大正新修大藏经)
An Analytical Study of the Developmental Structure of the Taishō Tripiṭaka 

[0942a15] 爾時,彼五百諸佛告慧命阿難及羅睺羅言:「汝等善男子!莫大啼哭、莫大愁憂。本性如是、事盡如是、真實如是、諸行如是;一切有為法、一切作法、一切世諦法,悉皆如是。盡際如是,已捨身命,如來行乃無量,以世諦法如是,故不得自在。又如來者,是法身,非有為身,無住世法,汝等不應請如來住。諸善男子!汝等且止,到我佛剎,釋迦如來即時當伸手,當放光明,彼之光明照我剎土。照彼土已汝等還來見釋迦佛在汝等前為汝說法,汝等聞。是故,汝等莫大憂愁。」

          แม้พระพุทธเจ้าจะปรินิพพานแล้ว ธรรมกาย ก็ยังคงอยู่ และนิพพานธาตุ ก็ไม่เต็มหรือพร่อง ดังพุทธพจน์ในพระวินัยปิฎก จุลวรรค ทุติยภาค  ปาติโมกขฐปนขันธกะ  ความอัศจรรย์ในธรรมวินัยว่า
            "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำบางสายในโลกที่ไหลไป ย่อมไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนยังตกลงมาจากอากาศ ความพร่องหรือความเต็มของมหาสมุทรย่อมไม่ปรากฏเพราะเหตุนั้น 
             ภิกษุจำนวนมากก็เหมือนกัน ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ เพราะเหตุนั้น 
      ข้อที่ภิกษุจำนวนมาก ถ้าแม้ยังปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความพร่องหรือความเต็มของนิพพานธาตุย่อมไม่ปรากฏ(ด้วยภิกษุนั้น) เพราะเหตุนั้น 
            แม้นี้ก็เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีในธรรมวินัยนี้ เป็นข้อที่ ๕ ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้ว พากันชื่นชมในธรรมวินัยนี้" 
 [๔๖๑] เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยา กาจิ โลเก สวนฺติโย  มหาสมุทฺทํ อปฺเปนฺติ ยา จ อนฺตลิกฺขา ธารา ปปตนฺติ น เตน
   มหาสมุทฺทสฺส อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ 
         เอวเมว โข  ภิกฺขเว พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ   น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ   
          ยมฺปิ ภิกฺขเว พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ 
         อยมฺปิ ภิกฺขเว อิมสฺมึ ธมฺมวินเย ปญฺจโม อจฺฉริโย  อพฺภุโต ธมฺโม ยํ ทิสฺวา ทิสฺวา ภิกฺขู อิมสฺมึ ธมฺมวินเย   อภิรมนฺติ ฯ
       และในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน อุโปสถสูตร ว่าด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๘ ความว่า
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมลงในมหาสมุทร
และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุทั้งหลายจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๕...
       เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยา จ โลเก สวนฺติโย มหาสมุทฺทํ อปฺเปนฺติ ยา จ อนฺตลิกฺขา ธารา ปปตนฺติ น เตน มหาสมุทฺทสฺส  อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ เอวเมว โข ภิกฺขเว พหูปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน  นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ ยมฺปิ ภิกฺขเว  ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน  นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ อยมฺปิ ภิกฺขเว  อิมสฺมึ ธมฺมวินเย ปญฺจโม อจฺจริโย อพฺภูตธมฺโม ยํ ทิสฺวา  ทิสฺวา ภิกฺขู อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อภิรมนฺติ ฯ
         เสยฺยถาปิ  ปหาราท ยา กาจิ โลเก สวนฺติโย มหาสมุทฺทํ อปฺเปนฺติ ยา จ  อนฺตลิกฺขา ธารา ปปตนฺติ น เตน มหาสมุทฺทสฺส อุนฺนตฺตํ วา  ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ เอวเมว โข ปหาราท พหู เจปิ ภิกฺขู  อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา   อุนฺนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ ยมฺปิ ปหาราท พหู เจปิ  ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อุนฺนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ อยํ ปหาราท อิมสฺมึ   ธมฺมวินเย ปญฺจโม อจฺฉริโย อพฺภุตธมฺโม ยํ ทิสฺวา ทิสฺวา ภิกฺขู  อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อภิรมนฺติ ฯ
            และปรากฏในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส ความว่า
      อนภินิพพัตติสามัคคีเป็นไฉน ? ภิกษุทั้งหลายแม้มาก ย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ความบกพร่องหรือความเต็มแห่งนิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏ นี้ชื่อว่า อนภินิพพัตติสามัคคี.
        กตมา อนภินิพฺพตฺติสามคฺคี ฯ พหู เจปิ ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย   นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตสํ นิพฺพานธาตุยา โอนตฺตํ  วา ปุณฺณตฺตํ วา ปญฺญายติ อยํ อนภินิพฺพตฺติสามคฺคี ฯ
      "นิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น" และการปรินิพพานเหมือนแม่น้ำไหลไปสู่คงคามหาสมุทรนั้น คล้ายกับการปรินิพพานของพระโคตมีภิกษุณีและภิกษุณี ๕๐๐ รูป มีหลักฐานปรากฏในพระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย อปทานว่า "พระนางโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพานพร้อมกับพระภิกษุณีอีก ๕๐๐ องค์ เหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น"
และปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เถรีคาถา  อรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา ความว่า
     "พระโคตมีภิกษุณีจะไปสู่นิพพานพร้อมกับภิกษุณี ๕๐๐ รูปเหมือนกับแม่น้ำคงคาไหลไปสู่สาครพร้อมกับแม่น้ำ ๕๐๐ สาย ฉะนั้น" 
      

  น่าสังเกตว่า นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้นหรือ นิพพานธาตุของภิกษุเหล่านั้น หมายความว่าอย่างไร  (ข้อที่ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น พหู เจปิ  ภิกฺขู อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา ปรินิพฺพายนฺติ น เตน นิพฺพานธาตุยา อุนฺนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ปญฺญายติ) 

     และในอรรถกถาอุโบสถสูตรและอรรถกถาปหาราทะสูตรที่ ๙ ท่านขยายความหมายถึงเพียงความเต็มและความพร่องของนิพพานธาตุว่า
 "บทว่า น เตน นิพฺพานธาตุยา อูนตฺตํ วา ปูรตฺตํ วา ความว่า เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่เสด็จอุบัติขึ้น แม้ตลอดอสงไขยกัป แม้สัตว์ตนหนึ่ง ก็ไม่อาจปรินิพพานได้ แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุ ว่างเปล่า แต่ในพุทธกาล ในสมาคมหนึ่ง ๆ สัตว์ทั้งหลายยินดีอมตธรรมนับไม่ถ้วน แม้ในกาลนั้นก็ไม่อาจกล่าวได้ว่า นิพพานธาตุเต็ม"

  แต่ไม่ได้อธิบายว่า ด้วยภิกษุนั้น หมายความว่าอย่างไร อาจจะหมายถึงว่าเมื่อปรินิพพานแล้ว ธรรมกายที่เป็นอสังขตธรรมหรือนิพพาน (นวโลกุตรธรรม มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1) ก็ไปรวมอยู่ที่นิพพานธาตุเหมือนแม่น้ำไหลไปรวมที่มหาสมุทรได้หรือไม่? เรื่องนี้สำคัญอาจจะเป็นที่มาของพระสูตรของเถรวาทและมหายาน ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิชาการต้องไปค้นคว้าสืบต่อไป

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 10 รูปกายเลี้ยงดูให้เติบโต ธรรมกายทำให้เติบโต

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 10 รูปกายเลี้ยงดูให้เติบโต ธรรมกายทำให้เติบโต

ตอน 10 รูปกายเลี้ยงดูให้เติบโต ธรรมกายทำให้เติบโต

                นอกจากธรรมกายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ในพระไตรปิฎกบาลียังกล่าวถึงธรรมกายของพระพุทธสาวกด้วยดังที่ปรากฏในมหาปชาบดีโคตมีเถรีอปทาน อันเป็นถ้อยคำที่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีกราบทูลลาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อเสด็จปรินิพพาน
             พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี คือพระมาตุจฉาผู้เป็นประดุจพระมารดาที่ทรงเลี้ยงดูเจ้าชายสิทธัตถะมาตั้งแต่แรกประสูติ และในภายหลังที่พระบรมโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระมหาปชาบดีโคตมีได้ทูลขอพระบรมพุทธานุญาตออกผนวชด้วย โดยเป็นภิกษุณีองค์แรกในพระพุทธศาสนา และได้ตรัสรู้ธรรมเป็นพระอรหันตเถรีองค์หนึ่ง
     ข้อความที่ท่านกราบทูลพระบรมศาสดานั้นมีคำว่า “ธรรมกาย” อยู่ด้วย ดังนี้
     ข้าแต่พระสุคตหม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้าพระองค์ทรงเป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดมผู้เป็นที่พึ่ง ผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมหม่อมฉันเป็นผู้ที่พระองค์ให้เกิดแล้วข้าแต่พระสุคต พระรูปกายของพระองค์นี้หม่อมฉันได้เลี้ยงดูให้เติบโต ส่วน ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน พระองค์ทรงทำให้เติบโตแล้ว หม่อมฉันได้ถวายพระกษีรธารแด่พระองค์เพียงระงับดับกระหายได้ชั่วครู่ แต่พระองค์ทรงประทานกษีรธารคือธรรมอันสงบระงับอย่างยิ่งแก่หม่อมฉัน (แปลจากพระไตรปิฎกบาลีสยามรัฐ เล่ม 33 ข้อ 157 หน้า 284)
พระบาลีสูตรที่ ๒ เกี่ยวกับ ธรรมกาย ปรากฎใน พระสูตรขุททกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน ที่ ๗ ฉบับสยามรัฐ เล่ม ๓๓ ข้อ ๑๕๗ หน้า ๒๘๔ ว่า
อหํ สุคต เต มาตา ตุวํ ธีรา ปิตา มม สทฺธมฺมสุขโท นาถ ตยา ชาตมฺหิ โคตม ฯ สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยา ฯ มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ อนโณ ตฺวํ มหามุเน ปตฺตกามิตฺถิโย ยาจํ ลภนฺติ ตาทิสํ สุตํ ฯ
 “尊敬的善逝,我是您的母亲。尊者是传播法乐给众人的智者,但您 是我的父亲。尊敬的如来尊者,您的肉身,是我让您成长的,但是我 的令人欢喜之法身,是您让我成长的。我给您和乳汁,可以让您暂时 消除饥饿。可是您给我喝了,法河之水,让我能究竟的宁静。  
๖. ในคัมภีร์ ขุทฺทกนิกาย สุตฺตนิปาต อรรถกถาปรมตฺถโชติกา ธนิยสุตฺตวณฺณนา ฉบับมหาจุฬาฯ หน้า ๓๙ ปรากฏมีข้อความเกี่ยวกับธรรมกาย ว่า
            อถ ธนิโย อเวจฺจปฺปสาทโยเคน ตถาคเต มูลชาตาย ปติฏฺฐตาย สทฺธาย ปญฺญจกฺขุนา ภควโต ธมฺมกายํ ทิสฺวา ธมฺมกายสญฺโจหิตหทโย จินฺเตสิ :- "พนฺธนานิ ฉินฺทึ, คพฺภเสยฺยา จ เม นตฺถี" ติ อวีจึ ปริยนฺตํ กตฺวา ยาว ภวคฺคา โก อญฺโญ เอวํ สีหนาทํ นทิสฺสติ อญฺญตฺร ภควตา, อาคโต นุ โข เม สตฺถาติ. (*** ข้ามข้อความบางส่วน ***) ตตฺถ ยสฺมา ธนิโย สปุตฺตทาโร ภควโต อริยมคฺคปฏิเวเธน ธมฺมกายํ ทิสฺวา โลกุตฺตรจกฺขุนา, รูปกายํ ทิสฺวา โลกิยจกฺขุนา สทฺธาปฏิลาภํ ลภิ, ตสฺมา อาห "ลาภา วต โน อนปฺปกา, เย มยํ ภควนฺตํ อทฺทสามา" ติ.-

มีคำแปลที่ปรากฏใน ขุทฺทกนิกาย สตฺตนิปาต อรรถกถาธนิยสูตร เล่ม ๔๖ หน้า ๘๔ ว่า
          ลำดับนั้น นายธนิยะ เห็นแล้วซึ่ง ธรรมกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธา ซึ่งตั้งมั่นแล้ว อันเกิดขึ้นแล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผู้มีหทัยอัน ธรรมกาย ตักเตือนแล้ว คิดแล้วว่านับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุด จนถึงภวัครพรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลังเช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่องผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี (*** ข้ามข้อความบางส่วน ***) เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็น ธรรมกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยโลกุตตรจักษุ โดยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วยโลกิยจักษุ และกลับได้แล้วซึ่งสัทธาฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า
http://www.dhammakaya.net/สมาธิ/พระธรรมกาย

         ส่วนในสมาธิราชสูตรเป็นคัมภีร์มหายานอีกพระสูตรหนึ่งที่มีการกล่าวเปรียบเทียบพระพุทธองค์กับธรรมกาย เป็นพระสูตรที่สอนเรื่องการอบรมสัญญาใน“อภาวะ” และการปฏิบัติธรรมแบบเห็นพระ ส่วนในเรื่องที่กล่าวเปรียบเทียบพระพุทธองค์กับพระธรรมกายนั้น พบในต้นฉบับคัมภีร์ภาษาสันสกฤตที่ตรวจชำระและตีพิมพ์โดยสถาบันมิถิลา (Vaidya 1961b) มีข้อความที่เกี่ยวข้องปรากฏอยู่หลายแห่ง ดังตัวอย่างนี้
1. โย ธรฺมกาเย ภวติ ปฺรติษฺฐิโต อภาว ชานาติ ส สรฺวภาวานฺ | อภาวสํชฺญาย วิภาวิตาย น รูปกาเยน ชิเนนฺทฺร ปศฺยติ (Vaidya 1961b, 21)
คำแปล: ผู้ใด ย่อมดำรงมั่นอยู่ในพระธรรมกาย เขาย่อมรู้ถึงภาวะทั้งปวงว่าเป็นอภาวะ ด้วยความแจ่มแจ้งแห่งสัญญาว่าเป็นอภาวะ เขาย่อมไม่เห็นพระชินเจ้าโดยรูปกาย
2. น หิ รูปโต ทศพลานฺ ปศฺยติ โส ธรฺมกาย นรสึหานฺ (Vaidya 1961b: 77)
คำแปล: เขาย่อมไม่เห็นเหล่าพระทศพลผู้เป็นสีหะในหมู่นรชนโดยรูป (เพราะ)พระองค์ทรงมีธรรมเป็นกาย
3.ตสฺมาตฺ ตรฺหิ กุมาร โพธิสตฺตฺเวน มหาสตฺตฺเวน น รูปกายตสฺตถาคตะปฺรชฺญาตวฺยะ | ตตฺ กสฺย เหโตะ? |
ธรฺมกายา หิ พุทฺธา ภควนฺโต ธรฺมกายปฺรภาวิตาศฺจ น รูปกายปฺรภาวิตาะ
| (Vaidya 1961b, 143)
คำแปล: เพราะฉะนั้น กุมาร ในเรื่องนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ไม่พึงรับรู้พระพุทธองค์โดยพระรูปกาย เพราะอะไร เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีธรรมเป็นกาย ทรงปรากฏโดยพระธรรมกาย มิใช่ปรากฏโดยพระรูปกาย
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html
           และในคัมภีร์สมาธิราชสูตร ปรากฏหลักฐานว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย คือ ธรรมกาย ถูกอบรมด้วยธรรมกาย มิใช่ถูกอบรมด้วยรูปกาย ปรากฏความว่า
            (ทราบว่าลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกจันทรประภาผู้กุมารว่า)
          "ดูก่อนกุมาร เพราะเหตุนั้นในบัดนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์พึงไม่ใส่ใจในกาย ไม่มุ่งหวังในชีวิต ฯ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร? ดูก่อนกุมาร เพราะว่า เพราะเหตุแห่งความสิ้นสุดลงแห่งกายและชีวิต บุคคลย่อมเป็นผู้
ถูกอกุศลธรรมปรุงแต่ง ฯ
         ดูก่อนกุมาร เพราะเหตุนั้นในบัดนี้ พระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ไม่พึงรู้จักพระตถาคตโดยรูปกาย ฯ
ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งอะไร? เพราะว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย คือ ธรรมกาย ถูกอบรมด้วยธรรมกาย มิใช่ถูกอบรมด้วยรูปกาย ฯ"
         ตสฺมาตฺ ตรฺหิ กุมาร โพธิสตฺตฺเวน มหาสตฺตฺเวน กาเย-นธฺยวสิเตน ชีวิเต นิรเปเกฺษณ ภวิตวฺยมฺ |
ตตฺ กสฺย เหโต: ? กายชีวิตาธฺยวสานเหโตรฺหิ กุมาร อกุศลธรฺมาภิสํสฺกาโร ภวติ |
          ตสฺมาตฺตรฺหิ กุมาร โพธิสตฺตฺเวน มหาสตฺตฺเวน น รูปกายตสฺตถาคต:ปฺรชฺญาตวฺย: |
ตตฺ กสฺย เหโต: ? ธรฺมกายา หิ พุทฺธา ภควนฺโต ธรฺมกายปฺรภาวิตาศฺจ น รูปกายปฺรภาวิตา: |184
SR. 22.143.1.
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/605/1/53105902%20%20พรชัย%20%20หะพินรัมย์.pdf
               สรุปความว่า ธรรมกาย นั้นสามารถทำให้เติบโตได้เหมือนประโยคว่า ธรรมกายอันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน พระองค์ทรงทำให้เติบโตแล้ว และธรรมกาย นั้นสามารถตักเตือนผู้เข้าถึงได้ด้วยดังประโยคว่า  นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า... ผู้มีหทัยอันธรรมกายตักเตือนแล้ว และพระโพธิสัตว์มหาสัตว์ ไม่พึงรู้จักพระตถาคตโดยรูปกาย เพราะว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคทั้งหลาย คือ ธรรมกาย ถูกอบรมด้วยธรรมกาย มิใช่ถูกอบรมด้วยรูปกาย ฯ เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีธรรมเป็นกาย ทรงปรากฏโดยพระธรรมกาย มิใช่ปรากฏโดยพระรูปกาย

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 9 เห็นธรรมกายเมื่อใด ก็ใกล้พุทธเจ้าเมื่อนั้น

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 9 เห็นธรรมกายเมื่อใด ก็ใกล้พุทธเจ้าเมื่อนั้น

เห็นธรรมกายเมื่อใด ก็ใกล้พุทธเจ้าเมื่อนั้น

 หากมีคำถามว่า แล้วทำไมเราจึงจะต้องเห็นธรรมหรือเห็นธรรมกาย
                 ถ้าไม่เห็นธรรมหรือเห็นธรรมกายก็จะเป็นผู้ห่างไกลพระพุทธเจ้าห่างไกลพระตถาคต และพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคตก็ห่างไกลผู้นั้นด้วย ดังในพุทธดำรัสในสังฆาฏิสูตร ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา" 
       ทำไมถึงห่างไกลพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคต?  
มีคำตอบอธิบายปรากฏใน ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก อรรถกถาสังฆาฏิสูตร เล่ม ๔๕ หน้า ๕๘๓ ว่า 
        "บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคตก็ชื่อว่า อยู่ไกลเธอเหมือนกัน ด้วยคำนี้พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้น และการรวมกันด้วย ธรรมกาย ต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้) ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า
        ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ไม่เห็นเราตถาคต"
https://www.dmc.tv/pages/ธรรมกาย/พระธรรมกาย-ภาพพระธรรมกาย.html
         ในคัมภีร์มูลสรวาสติวาทของมหายาน มีหลักฐานปรากฏคล้ายบาลีของเถรวาทเช่นกัน แต่แตกต่างกันในรายละเอียด เช่นในงานวิจัย "การศึกษาวิเคราะห์ คัมภีร์มูลสรวาสติวาทวินยวัสตุ ศึกษาเฉพาะประวรัชยาวัสตุ โปษธวัสตุ ประวารณาวัสตุ วรษาวัสตุ จรมวัสตุและสังฆเภทวัสตุ" เสนอโดย พระมหาบุญเกิด เจริญแนว ปรากฏความว่า
        (17) โดยสมัยนั้นแล พระโศรณะ โกฎีกรรณะนั่งประชุมอยู่ในบริษัท I ลำดับนั้น พระโศรณะ โกฎีกรรณะได้ลุกจากอาสนะแล้ว ทำผ้าอุตตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งคุกเข่าประคองอัญชลี ต่อพระมหากาตยายนะ แล้วจึงกล่าวคำพูดกะพระมหากาตยายนะผู้มีอายุว่า I ข้าแต่พระอุปาธยายะ กระผมได้เคยเห็นพระผู้มีพระภาคนั้นโดยอานุภาพ โดยธรรมกาย แต่ไม่เคยเห็นโดยรูปกาย ข้าแต่พระอุปาธยายะ กระผมจะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคนั้นโดยรูปกาย Iท่านจึงกล่าวว่า I ศิษย์เอ๋ย เธอต้องทำอย่างนั้น I เพราะว่า พระสัมมาส้มพุทธเจ้า ทรงเป็นพระอรหันต์ ทรงเป็นพระตถาคต ที่บุคคลทั่วไปจะเฝ้าได้ยาก เช่นเดียวกับดอกมะเดื่อ I เธอจงถวายบังคมพระยุคลบาท ของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลถามถึงความไม่มีอาพาธจนถึงความประทับอยู่สำราญ และปัญหาอีก 5 ข้อตามคำของเราว่า I
       (17) เตน ขลุ (ปุนะ สมเยน โศฺรณะ โกฏีกรฺณสฺตสฺยาเมว ปรฺษทิ สํนิษณฺโณ,ภตฺ สํนิปติตะ I อถายุษฺมานฺ โศฺรณะ โกฏีกรฺณ อุตฺถายาสนาเทกำสมุตฺตรา)สํคํ กฺฤตฺวา ทกฺษิณํ ชานุมณฺฑลํ ปฺฤถิวฺยำ ปุรติษฺฐาปฺย (เยนายุษฺมานฺ มหากาตฺยายนสฺเตนาญฺชลึ กฺฤตฺวา ปฺรณมฺยา)ยุษฺมนฺตํ มหากาตฺยายนมิทมโวจตฺ I ทฺฤษฺโฎ มโยปาธฺยายานุภาเวน ส ภควานฺ ธรฺมกาเยน โน ตุ รูปกาเยน I (คจฺฉามฺยุปาธฺยาย รูปกาเยนาปี ตํ ภควนฺตํ ทฺรกฺษฺยามิ I ส อาห I เอวํ วตฺส กุรุษฺว I ทุรฺลภทรฺศนา หิ วตฺส ตถาคตา อรฺหนฺตะ) สมฺยกฺสํพทฺธาะ ตทฺยถา เอาทุมฺพรปุษฺปมฺ I อสุมากํ จ (วจเนน ภควตะ ปาเทา ศิรสา วนฺทสฺวาลฺปาพาธตำ จ ยาวตฺ สุขสฺปรฺศวิหารตำ จ ปญฺจ ปฺรศนานิ จ ปฺฤจฺฉ I
http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/thesis/fulltext/thapra/PhramahaBoonkerd_Charernnaew_Doctor/fulltext.pdf
คล้ายในคัมภีร์ทิวยาวทาน (Divyavadana) ซึ่งเรียบเรียงประมาณพุทธศตวรรษที่ 7-9 (ราวคริสต ศตวรรษที่ 1-3) ความว่า
dṛṣṭo mayopādhyāyānubhāvena ' sa bhagavān dharmakāyena no tu rūpakāyena | gacchāmy upādhyāya rūpakāyenāpi taṃ bhagavantaṃ drakṣyāmi |
ทฤษฺโฏ มโยปาธฺยายานุภาเวน  ภควานฺ ธรฺมกาเยน โน ตุ รูปกาเยน  คจฺฉามฺยฺ อุปาธฺยาย รูปกาเยนาปิ ตํ ภควนฺตํ ทฺรกฺษฺยามิ 
鄔波馱耶。我有諮白。願見聽許。我今但見鄔波馱耶。未見世尊。雖見法身。未見色身。若親教聽我見如來色身相好者。今亦欲去
 ในวิมลเกียรตินิทเทสสูตร แปลและเรียบเรียงโดย อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้กล่าวถึงพระวรกายที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็คือพระธรรมกายนั้นเอง ตามหลักฐานที่ปรากฏว่า
 api tu bhadantānanda dharmakāyās tathāgatā nāmiṣakāyāḥ lokottarakāyās tathāgatāḥ sarvalokadharmasamatikrāntāḥ anābādhas tathāgatasya kāyas sarvāsravavinivṛtaḥ asaṃskṛtas tathāgatasya kāyaḥ sarvasamkhyāvigataḥ tasya bhadanto vyādhim icchatīty ayuktam asadṛśam /
         อปิ ตุ ภทนฺตานนฺท ธรฺมกายาสฺ ตถาคตา นามิษกายาะ / โลโกตฺตรกายาสฺ ตถาคตาะ สรฺวโลกธรฺมสมติกฺรานฺตาะ / อนาพาธสฺ ตถาคตสฺย กายสฺ สรฺวาสฺรววินิวฤตะ / อสํสฺกฤตสฺ ตถาคตสฺย กายะ สรฺวสมฺขฺยาวิคตะ / ตสฺย ภทนฺโต วฺยาธิมฺ อิจฺฉตีตฺยฺ อยุกฺตมฺ อสทฤศมฺ /
http://prajnatara79.blogspot.com/2016/11/blog-post_54.html
       "พระคุณเจ้าอานนท์พึงทราบไว้เถอะว่า พระวรกายที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็คือพระธรรมกายนั้นเอง มิได้เป็นกายเกิดจากกิเลสตัณหา พระพุทธองค์เป็นพระผู้ควรบูชา ประเสริฐเลิศกว่าผู้หนึ่ง ผู้ใดในไตรโลก พระสรีระของพระองค์เป็นอนาสวะ มีอาสวธรรมเป็นมูลเฉทสิ้นเชิงแล้ว พระสรีระของพระองค์เป็นอสังขตะ ปราศจากเหตุปัจจัยปรุงแต่งได้ ไม่ตกไปในข่ายแห่งการนับประมาณได้ ก็เมื่อพระวรกายของพระองค์มีสภาพดังกล่าวมานี้ จักมีโรคาพาธเกิดขึ้นได้อย่างไรเล่า ?"
     "'Reverend Ananda, the Tathagatas have the body of the Dharma - not a body that is sustained by material food. The Tathagatas have a transcendental body that has transcended all mundane qualities. There is no injury to the body of a Tathagata, as it is rid of all defilements. The body of a Tathagata is uncompounded and free of all formative activity. Reverend Ananda, to believe there can be illness in such a body is irrational and unseemly!'
         ตามหลักฐานจะเห็นได้ว่า พระธรรมกายคือพระกายที่แท้จริงของพระพุทะเจ้า เพราะแม้จะเดินตามข้างหลังพระพระพุทธเจ้า แต่ไม่เห็นพระธรรมกายก็ยังถือว่ายังอยู่ห่างไกล หรือแม้จะตามเฝ้าดูด้วยความเลื่อมใสมากมายเพียงใด เมื่อยังไม่เห็นพระธรรมกาย ถือว่ายังเลื่อมใสไม่ถูกตัวที่แท้จริงของพระตถาคตเจ้าและอาจจะถูกตำหนิได้ เหมือนพระวักกลิที่เลื่อมใสแต่เฉพาะในรูปของพระองค์ไม่ค่อยสนใจในพระสัทธรรม จึงทำให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ พระองค์จึงตรัสสอนให้เห็นเบญจขันธ์ร่างกายไม่ใช่สิ่งเที่ยงแท้เป็นต้น เพราะถ้าผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นจะเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
 "อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเรา ก็ย่อมเห็นธรรม วักกลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?..."

            ในวิมลเกียรตินิทเทสสูตร แปลและเรียบเรียงโดย อาจารย์เสถียร โพธินันทะ ได้กล่าวถึง สรีรกาย(พระรูปกาย)นี้น่าเบื่อหน่ายเห็นปานฉะนี้เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงยินดีในพระพุทธสรีระ(พระธรรมกาย)  ตามหลักฐานที่ปรากฏว่า
tatra yuṣmābhir evaṃrūpe kāye nirvidvirāga utpādayitavyas tathāgatakāye ca spṛhotpādayitavyā /
dharmakāyo hi mārṣāḥ tathāgatakāyo dānanirjātaḥ śīlanirjātaḥ samādhinirjātaḥ prajñānirjāto vimuktinirjāto vimuktijñānadarśananirjātaḥ maitrīkaruṇāmuditopekṣānirjātaḥ dānadamasaṃyamanirjātaḥ kṣāntisauratyanirjāto dṛḍhavīryakuśalamūlanirjāto dhyānavimokṣasamādhisamāpattinirjātaḥ śrutaprajñopāyanirjātaḥ /....
          ตตฺร ยุษฺมาภิรฺ เอวํรูเป กาเย นิรฺวิทฺวิราค อุตฺปาทยิตวฺยสฺ ตถาคตกาเย จ สฺปฤโหตฺปาทยิตวฺยา /
          ธรฺมกาโย หิ มารฺษาะ ตถาคตกาโย ทานนิรฺชาตะ ศีลนิรฺชาตะ สมาธินิรฺชาตะ ปฺรชฺญานิรฺชาโต วิมุกฺตินิรฺชาโต วิมุกฺติชฺญานทรฺศนนิรฺชาตะ / ไมตฺรีกรุณามุทิโตเปกฺษานิรฺชาตะ / ทานทมสํยมนิรฺชาตะ กฺษานฺติเสารตฺยนิรฺชาโต ทฤฒวีรฺยกุศลมูลนิรฺชาโต ธฺยานวิโมกฺษสมาธิสมาปตฺตินิรฺชาตะ ศฺรุตปฺรชฺโญปายนิรฺชาตะ / 
          สปฺตตฺริํศทฺโพธิปกฺษฺยนิรฺชาตะ ศมถวิทรฺศนานิรฺชาโต ทศพลนิรฺชาตศฺ จตุรฺไวศารทฺยนิรฺชาตะ / อษฺฏาทศาเวณิกพุทฺธธรฺมนิรฺชาตะ สรฺวปารมิตานิรฺชาตะ / อภิชฺญาวิทฺยานิรฺชาตะ สรฺวากุศลธรฺมปฺรหาณาย นิรฺชาตะ สรฺวกุศลธรฺมปริคฺรหนิรฺชาตะ สตฺยนิรฺชาโต ภูตนิรฺชาโต 'ปฺรมาทนิรฺชาตะ / อปฺรมาณศุภกรฺมนิรฺชาโต มารฺษาะ ตถาคตกายสฺ ตตฺร ยุษฺมาภิะ สฺปฤหา กรฺตวฺยา / 
        สรฺวสตฺวานํา จ สรฺวกฺเลศวฺยาธิปฺรหาณายานุตฺตรายํา สมฺยกฺสํโพเธา จิตฺตานฺยฺ อุตฺปาทยิตวฺยานิ /
http://prajnatara79.blogspot.com/2016/11/blog-post_54.html
           “ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย สรีรกายนี้น่าเบื่อหน่ายเห็นปานฉะนี้เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงยินดีในพระพุทธสรีระ ข้อนั้นเพราะเหตุดังฤๅ ?
             ก็เพราะว่า อันพระพุทธสรีรกายนั้น คือพระธรรมกายนั้นเองย่อมเกิดมาจากปัญญาและคุณสมบัติเป็นอันมาก จักประมาณมิได้ เกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เกิดมาจากเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เกิดมาจากทาน ศีล ขันติ โสรัจจะ วิริยะ ฌาน วิมุตติ สมาธิ พหูสูต ปัญญาแล

           ปวงบารมีธรรม ๓๗ เกิดมาจากสมถวิปัสสนา เกิดมาจากทศพลญาณ เกิดมาจากจตุเวสารัชชญาณและอเวณิกธรรม ๑๘ เกิดมาจากสรรพอกุศลสมุจเฉทธรรมและจากสรรพกุศลภาวนาธรรมเกิดมาจากภูตตัตตวธรรม เกิดมาจากอัปปมาทธรรมและวิสุทธิธรรมเป็นอเนกอนันต์ดังกล่าวมานี้ ยังพระตถาคตกายให้บังเกิดขึ้น 
        ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ผู้ใด ปรารถนาจักได้พระพุทธสรีรกาย และอาจตัดเสียซึ่งพยาธิโรคันตรายของสรรพสัตว์ได้ขาด ผู้นั้นถึงตั้งจิตปณิธานในพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเถิด.

          Therefore, you should be revulsed by such a body. You should despair of it and should arouse your admiration for the body of the Tathagata.

          "Friends, the body of a Tathagata is the body of Dharma, born of gnosis. The body of a Tathagata is born of the stores of merit and wisdom. It is born of morality, of meditation, of wisdom, of the liberations, and of the knowledge and vision of liberation. It is born of love, compassion, joy, and impartiality.

          ในคัมภีร์อัษฏสาหสริกาปรัชญาปารมิตา ฉบับเต็มในภาษาสันสกฤต(Vaidya 1960) พบคำว่าธรรมกายหลายแห่งซึ่งกล่าวไว้ในทำนองเดียวกันว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นธรรมกาย หรือมีธรรมเป็นกาย และพึงเห็นพระพุทธองค์โดยการบรรลุธรรมกาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
dharmakāyapariniṣpattito māṃ bhikṣavo drakṣayatha
               ธรฺมกายปรินิษฺปตฺติโต มำ ภิกฺษโว ทฺรกฺษยถ (Vaidya 1960: 48)
คำแปลภิกษุทั้งหลาย จงเห็นเราโดยการบรรลุธรรมกาย และ
               น หิ ตถาคโต รูปกายโต ทฺรษฺฏวฺยะ | ธรฺมกายาสฺตถาคตาะ
(Vaidya 1960: 253)

คำแปลไม่พึงเห็นพระตถาคตโดยรูปกาย พระตถาคตทั้งหลายมีธรรมเป็นกาย
        และในทนองเดียวกันกับคัมภีร์อัษฏสาหสริกาปรัชญาปารมิตาที่มีหลายฉบับที่เนื้อหาแตกต่างกันไปบ้าง ชิ้นส่วนคัมภีร์ปัญจวิงศติสาหสริกาปรัชญาปารมิตาในภาษาสันสกฤตที่พบในเอเชียกลางหลายครั้ง (Bongard-Levin 1994; Watanabe 1994; Bongard-Levin and Kimura 1995; Karashima 2005) ก็มีลักษณะเนื้อหาที่เรียบเรียงใหม่แตกต่างกันไปบ้างเช่นเดียวกัน(Bongard-Levin and Kimura 1995: 355) ในคัมภีร์นี้พบคว่าธรรมกายอยู่เช่นกัน ดังเช่นเนื้อหาต่อไปนี้
 tāṃśa ca dharmakāyena ca rūpakāyena ca draṣṭukāmena iyameva prajñāpāramitā śrotavyodgrahītavyā dhārayitavyā vācayitav yā paryavāptavyā parebhyaś ca vistareṇa saṃprakāśayitavyā yo niśaś ca manasikartavyā । sacet kulaputro vā kuladuhitā vā tān daśasu dikṣu tathāgatān arhataḥ samyaksaṃbuddhān icched darṣṭuṃ tena kulaputrena vā kuladuhitrā vā prajñāpāramitāyāṃ caratā buddhānusmṛtir bhāvayitavyā
ตำศ จ ธรฺมกาเยน จ รูปกาเยน จ ทฺรษฺฏุกาเมน อิยเมว  ปฺรชฺญาปารมิตา โศฺรตวฺโยทฺคฺรหีตวฺยา ธารยิตวฺยา วาจยิตวฺ  ยา ปรฺยวาปฺตวฺยา ปเรภฺยศฺ จ วิสฺตเรณ สํปฺรกาศยิตวฺยา โย  นิศศฺ จ มนสิกรฺตวฺยา ฯ สเจตฺ กุลปุโตฺร วา กุลทุหิตา วา  ตานฺ ทศสุ ทิกฺษุ ตถาคตานฺ อรฺหตะ สมฺยกฺสํพุทฺธานฺ อิจฺเฉทฺ  ทรฺษฺฏุํ เตน กุลปุเตฺรน วา กุลทุหิตฺรา วา ปฺรชฺญาปารมิตายำ  จรตา พุทฺธานุสฺมฤติรฺ ภาวยิตวฺยา (Kimura 1986: 96)

คำแปลผู้ปรารถนาจะเห็นพระพุทธเจ้าเหล่านั้นทั้งโดยธรรมกายและโดยรูปกาย ควรสดับฟัง ศึกษา ทรงจ บอกเล่าบรรยาย ประกาศ ปรัชญาปารมิตานี้โดยพิศดาร แก่บุคคลอื่นด้วย และพึงกระทไว้ในใจโดยแยบคายด้วยฯ อนึ่ง ถ้ากุลบุตรหรือกุลธิดาจะพึงประสงค์ที่จะเห็นพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในทิศทั้งสิบเหล่านั้น กุลบุตรหรือกุลธิดานั้นผู้ประพฤติอยู่ในปรัชญาปารมิตาพึงเจริญพุทธานุสติฯ
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html

       มีหลักฐานที่เกิดให้เข้าใจผิดในบ้างพระสูตรที่กล่าวถึงธรรมกายว่าไม่สามารถเห็นได้เช่นในคัมภีร์มหายานสูตรตาลังการความว่า
                     viśuddhā tathatā niṣpannaḥ paramārthaḥ, sa ca buddhānāṃ suvabhāvaḥ....
                           ...sarvathā cādṛśyamānatā dharmakāyena...,
                    วิศุทฺธา ตถตา นิษฺปนฺนะ ปรมารฺถะส จ พุทฺธานำ สุวภาวะ....              
                     ...สรฺวถา จาทฺฤศฺยมานตา ธรฺมกาเยน...
ความจริงที่สูงสุดก็คือ ตถตาที่บริสุทธิ์ เป็นสภาวะที่เหมาะสม ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายธรรมกาย
เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นได้ โดยประการทั้งปวง
MahāyānaSūtralaikāra (MSA.XX-XXI.60 Commentary.)
        แม้ในคัมภีร์มหายานสูตรตาลังการ จะกล่าวถึงประโยคที่ว่า "ธรรมกายเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นได้" ในความหมายคือไม่สามารถจะเห็นด้วยตาธรรมดาของปุถุชนคนทั่วไป แต่ะเห็นการด้วยการเจริญสมาธิปฏิบัติธรรมถึงจะสามารถเห็นได้
       สรุปความว่า  แม้จะเดิมตามหลังพระพุทธองค์หรือพูดง่ายๆว่า เดินตามเกาะชายผ้าสังฆาฏิ ก็เป็นเพียงการเห็นหรืออยู่ด้วยกันทางรูปกายกับพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่เหตุของการอยู่รวมหรือวัตถุประสงค์ของพระพุทธเจ้าเพราะยังไม่เห็นธรรม จึงถือว่ายังห่างไกลพระพุทธเจ้า แต่ถ้าเห็นพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคตด้วยญาณหรือญาณจักษุและอยู่รวมด้วยธรรมกายคือเข้าถึงหรือบรรลุธรรมกาย จึงประมาณคือบรรลุวัตถุประสงค์ของการอยู่ร่วมกันกับพระพุทธเจ้าได้ เพราะพระวรกายที่แท้จริงของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็คือพระธรรมกายนั้นเอง  อันพระพุทธสรีรกายนั้น คือพระธรรมกายนั้นเองย่อมเกิดมาจากปัญญาและคุณสมบัติเป็นอันมาก จักประมาณมิได้ เกิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นต้น

https://sutra.thai-sanscript.com/sutra/mahayanasutra/mahayana-sutrasanipata/vimalakirti-nirdesa/