วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561

 ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอัฟกานิสถาน ตามหลักฐานที่ค้นพบในแง่มุมของโบราณคดี

ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอัฟกานิสถาน ตามหลักฐานที่ค้นพบในแง่มุมของโบราณคดี

สถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัย แห่งประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
การประชุมวิชาการในหัวข้อ
“ ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนาในประเทศอัฟกานิสถาน ตามหลักฐานที่ค้นพบในแง่มุมของโบราณคดี”
และหัวข้อ
“การค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับวิชชาธรรมกายและการปฏิบัติธรรมในยุคโบราณ”
ในวันอาทิตย์ที่ ๒๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๗ เวลา ๐๘.๐๐น.-๑๗.๐๐น.
ณ ห้องประชุมสถาบันเอไอที กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
——
https://www.youtube.com/watch?v=2IDa60QZCqI&feature=youtu.be
บรรยายโดย ศาสตราจารย์ ดร.เซมายาไลย์ ทาร์ซี
แปลเป็นภาษาไทยโดยคุณดุษฎีวรรณ เพ็ชร์น้ำสิน
Dhammachai International Research Institute (DIRI) Australia and New Zealand Conference on “Our knowledge of Buddhism in Afghanistan, based on Archaeological Evidences” and “Recent Research on Dhammakaya and Boran MeditationTraditions” Sunday 20, April B.E. 2557: 08.00-17.00 AIT Conference Center, Bangkok, Thailand Professor Dr Zemaryalai Tarzi Translated from French to English by Nadia Tarzi-Saccardi

(DIA 001) ตามตำนานต่างๆ เกี่ยวกับดินแดน Ariana ซึ่งตรงกับสถานที่ตั้งประเทศอัฟกานิสถานใน
ปัจจุบันล้วนมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาจากประเทศอินเดียในยุคพระศากยมุนี
 (DIA 001) According to legends part of the land of Ariana, which corresponds to modern Afghanistan, already had contact with Buddhist India during the time of Sakyamuni.

(DIA 002) อันที่จริงจากบันทึกที่พระภิกษุ Xuanzangเขียนเล่าเรื่องว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนีได้
เหาะมาทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Nagarahara หรือเมืองหลวงโบราณของภูมิภาค Jalalabad อันเป็นแถบ
พื้นที่มืดครึ้ม มีความชื้นและมีถ้ำที่ลึกซึ่งเป็นที่อาศัยของนาคนิสัยดุร้ายชื่อ Naga Gopala พระสัมมาสัม
พุทธเจ้าเสด็จมาเพื่อจะเกลี้ยกล่อมให้นาคยุติการทำลายพืชผลของชาวบ้าน เมื่อปราบนาคแล้วแต่เพื่อให้แน่ใจว่านาคจะไม่กลับคำ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงประทับพระฉายอันเป็นเงาของพระองค์เสมือนคอยเล็งแลไม่ให้นาคทำผิดพลาดอีก
 (DIA002) Indeed, in the writings of Xuanzang it is said that Buddha Sakyamuni flew himself to the south west of Nagarahara (ancient capital of the Jalalabad region) to a dark, humid and deep cave, where dwelled the destructive Naga Gopala. He went there to persuade the Naga to stop destroying the harvest of the locals, once it was done Buddha left his shadow to keep an eye on the Naga and make sure he would not do it again.

(DIA 003) อีกตำนานหนึ่งพูดถึงพ่อค้าสองคนชื่อว่าตปุสสะและภัลลิกะได้รับคำบัญชาจากพระสัมมาสัม
พุทธเจ้าให้อัญเชิญพระบรมธาตุอันศักดิ์สิทธิ์ไปประดิษฐาน ณ นครหลวงโบราณที่ชื่อว่า Bactres ( หรือ
Balkh โบราณ)ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ในบริเวณภาคเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน
 (DIA 003) According to another legend, two famous merchants, Trapusa and Bhallika, were sent by Buddha to take sacred relics to the capital of ancient Bactres (ancient Balkh) located in northern Afghanistan.

(DIA 004) สืบเนื่องเป็นพุทธประเพณีตั้งแต่ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกรก็ได้มีชาดกเล่าเรื่องราวที่
เกิดขึ้น ณ บริเวณประเทศอัฟกานิสถาน และมีภาพประกอบเกี่ยวกับการพบกันระหว่างพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้าทีปังกรกับพระโพธิสัตว์ซึ่งในยุคต่อมาก็คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีศากยมุนี (Megha ) ข้าพเจ้าจะ
ย้อนกลับมาบรรยายหัวข้อนี้อีกครั้งตอนที่กล่าวถึงรัชสมัยพระเจ้าอโศกทั้งจะกล่าวถึงต้นกำเนิดของ
ประติมากรรมตั้งแต่สมัยโรงเรียนแกะสลักแห่งยุค Kabul-Kapisa
พิจารณาจากตำราทางประวัติศาสตร์และการขุดค้นพบทางโบราณคดีมีความเป็นไปได้อย่าง
มากว่าพุทธศาสนาในประเทศอัฟกานิสถานไม่น่าจะแผ่ขยายมาก่อนหน้ารัชสมัยของพระเจ้าอโศกแห่ง
ราชวงศ์เมาระยัน
(DIA 004) In addition Buddhist tradition makes Afghanistan a privileged place where the Dipankara jataka once took place, and illustrated the meeting of future Buddha Sakyamuni (Megha) with Dipankara, one of the main Buddha. I will go back to this topic later when we address Asoka’s reign, and also discuss the sculptures originating from the sculpture school of Kabul-Kapisa. In light of historical texts and archaeological excavations it is most likely that Buddhism in Afghanistan did not expand prior to the Mauryan sovereign Asoka.

(DIA 005) ก่อนจะไปถึงเรื่องการสำรวจยุคสมัยของพระเจ้าอโศกในประเทศอัฟกานิสถาน ควรที่จะทำ
ความเข้าใจถึงต้นกำเนิดแห่งพุทธศิลป์ที่มีขึ้นครั้งแรกๆ ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียรวมไปถึงประเทศปากีสถาน แคว้นแคชเมียร์ ประเทศอัฟกานิสถาน และเป็นเรื่องน่านำมาพิจารณาเกี่ยวกับศิลปะ Greco Buddhist ยุคคันธาระ ยุค Hadda ยุคพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และยุคที่มีการ
ผสมผสานศิลปะระหว่างกรีกและอินเดีย ดังจะเห็นจากภาพการพบปะระหว่าง พระเจ้า Seleucos Nicator
กับพระเจ้าจันทรคุปต์ กษัตริย์พระองค์แรกแห่งอินเดียซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์เมารยะ
 (DIA 005) Before we discuss Asoka’s expeditions in Afghanistan, it is important to understand the Buddhist art genesis that took place in the north west of India, including Pakistan, Kashmir, Afghanistan, and take into consideration the Greco Buddhist art of Gandhara, Hadda, Alexander the Great’s expeditions, and the merging of the Greek and Indian worlds, as is illustrated with the meeting between Seleucos Nicator and the first Indian king and founder of the Maurya dynasty, Candragupta.

(DIA 006) กองทหารที่ประจันหน้ากันในครั้งนั้นน่าจะนำไปสู่สัญญาสงบศึก เนื่องจากจักรวรรดิ Seleucidแห่งพระเจ้า Seleucos Nicator ได้แลกเปลี่ยนช้างศึกหลายเชือกรวมถึงยอมเสียเมืองหลายเมืองได้แก่ Gandhara, Kapisa, Arachosia ( Kandahar ) and บางทีอาจรวมเมือง Gedrosia (Balouchistan) ด้วย ดังนั้นอินเดียยุคนั้นแผ่ขยายอาณาจักรไปถึงที่ราบสูงแห่งประเทศอิหร่าน การแผ่ขยายอำนาจในครั้งนั้นมีอิทธิพลสืบเนื่องถึงสามรัชสมัยแห่งราชวงศ์เมารยะอันได้แก่ พระเจ้าจันทรคุปต์พระโอรสของพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ทรงพระนามว่าพระเจ้าพินธุสารและพระเจ้าหลานทรงพระนามว่าพระเจ้าอโศก การเปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาของพระเจ้าอโศกทำให้ทุกหนแห่งที่พระองค์แผ่อาณาจักรไปล้วนเชื่อมต่อด้วยจิตวิญญาณแห่งพุทธศาสนา อันเป็นศาสนาแห่งความรู้แจ้ง และน่าจะแผ่ขยายจากคำบอกเล่าของพระผู้สอนศาสนาหรือคนเดินทางท่องเที่ยวที่ผ่านไปมาระหว่างเมืองอย่างที่ทราบกันว่าหลังจากสงครามครั้งใหญ่ที่เอาชนะแคว้น Kalinga แล้ว พระเจ้าอโศกทรงเสียพระทัยอย่างหนัก ชัยชนะที่นำความขมขื่นมาให้พระองค์นั้น เป็นเหตุให้คนพลัดที่อยู่ถึง ๑๕๐,๐๐๐ คนและมีคนตายไป ๑๐๐,๐๐๐ คน หายนะครั้งนี้ก่อให้เกิดผลกระทบอันมหาศาลต่อประชาชน ต่อผู้เคร่งครัดศาสนาในระดับชนชั้นกลางที่เป็นพราหมณ์ พระเจ้าอโศกได้ทรงตัดสินพระทัยที่จะระงับความรุนแรงโดยแทนที่ด้วยธรรมะ โดยทรงปวารณาตัวเป็นอุบาสก
 (DIA 006) This military encounter would lead to a peace treaty.Indeed, the Seleucid Empire of Seleucos Nicator, in exchange of war elephants, gives up several satrapies including Gandhara, Kapisa, Arachosia (Kandahar) and probably Gedrosia (Balouchistan). And so India spreads over the Iranian plateau, the roads of these satrapies open widely to the three consecutive Mauryan sovereigns, namely, Chandragupta, his son Bindusara and grandson Asoka. The conversion to Buddhism of Asoka leads to new roads, spiritual roads, used for spiritual transmission of Buddhism, the religion of the Enlightened one that will be travelled by missionaries and pilgrims.   11
We know that after the Great War and the conquest of Kalinga, Asoka was filled with remorse. His bitter victory was the result of 150 000 deportees, and several 100 000 dead. This disaster had a huge impact on the people, in particular on the pious and bourgeois Brahmans. Asoka decided to replace violence with the Dharma, and he became a loyal laic, or Upasaka.

(DIA 007) หลังจากที่ทรงปฏิญาณตนเป็นพุทธมามกะผ่านมา ๑๐ ปีแล้วจึงทรงให้แผ่ขยายความสว่างไสวแห่งพุทธศาสนา ทรงเริ่มการเผยแผ่ด้วยกฎหมายที่เรียกว่า ธรรมยาตรา โดยรับสั่งเริ่มแรกกับผู้เข้าเฝ้าประชุม ให้แก่โหราจารย์ ได้ทรงแจกจ่ายทองคำเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาและแบ่งปันให้แก่ผู้สูงอายุ และเพื่อที่จะให้มีการกระจายตัวและให้ปลูกฝังพุทธศาสนาหรือที่ทรงให้เรียกกันว่าเป็นกฎหมาย พระเจ้าอโศกได้ทรงสั่งให้แกะสลักกฎหมายนี้ลงบนก้อนหิน บนเสาหิน และอนุสาวรีย์ต่างๆ ซึ่งแกะสลักด้วยอักษรภาษาท้องถิ่นต่างๆตลอดจนอักษรภาษาในภูมิภาคต่างๆในจักรวรรดิของพระองค์
วันนี้เราไม่มีเวลาพอที่จะศึกษากฎหมายที่เหลืออยู่ทั้ง ๓๖ ชิ้น แต่ข้าพเจ้าขอเสนอแนะนำให้เชิญ
ผู้เชี่ยวชาญทางวิชานี้โดยเฉพาะซึ่งก็คือ Professor H. Falk ผู้ที่จะให้ความเข้าใจอันดีต่อเรื่องนี้
อย่างไรก็ตามวันนี้ข้าพเจ้ามีความยินดีที่จะพูดถึงกฎ ๖ ชิ้นหรือสิ่งที่ถูกแกะสลักที่ขุดพบในชั้นหิน
ทรายในประเทศอัฟกานิสถาน อันที่จริงมีอยู่ ๓ ชิ้นที่ค้นพบอยู่ในระหว่างโซนกลาง Laghamn
( Lampaka) และ Jalalabad ( Nagarahara ) อยู่ใน Darunta ทั้ง ๓ ชิ้นนี้แกะสลักด้วยอักษร Aramaic ซึ่งเป็นภาษาตะวันตกโบราณ
  (DIA 007) Ten years following his sacrament he went on a journey of enlightenment. He inaugurated this tour of the Law (Dharmayatra) with audiences, predications and the distribution of gold to the religious and the elderlies. In order to grow and spread the practicing of the so-called Law, Asoka ordered the engraving of edicts on rock, columns and other monuments. These edicts were carved in the various local and regional languages of the Empire. We will not have the time today to take a look at the 36 existing edicts. I recommend you invite a specialist in the subject, namely Professor H. Falk who could easily devote a conference on this vast topic. However, in keeping with the title of the conference for today I am happy to discuss the six edicts or inscriptions that were found on the Afghan soil. Indeed three of them were discovered in the intermediate zone between Laghamn (Lampaka) and Jalalabad (Nagarahara), in Darunta to be precise. These three inscriptions are carved in Aramaic, an ancient western language, probably transmitted by the Achaemenid administration.

(DIA 008)ส่วนกฎหมายอีก ๓ ชิ้นพบใน Arachosia ( Kandahar ) แกะสลักด้วยอักษร Aramaic และ
กรีก มีอยู่ชิ้นหนึ่งใหญ่มากแกะสลักทั้งอักษร Aramaicและอักษรกรีก ได้มีการแปลและศึกษาโดย
นักวิชาการชาวฝรั่งเศสและนักวิชาการชาวอิตาลี ในคำแปลจากส่วนของอักษร Aramaicค่อนข้างมีการ
พัฒนาและใกล้เคียงกับกฎหมายที่แกะสลักเป็นอักษรอินเดีย ในคำแปลจากส่วนที่เป็นอักษรกรีกค่อนข้างย่อและเขียนในรูปแบบอักษรศาสตร์ที่เป็นกวีนิพนธ์กรีก งานแกะสลักสองภาษาที่แปลมาจากภาษา Kandahar อาจเป็นช่วงเดียวกันในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกหรือก่อนคริสต์ศักราช ๒๕๘ ปี เท่าที่เราทราบมาว่างาน แกะสลักชิ้นแรกที่เก่าแก่ที่สุดคือ Barabar ขุดพบในชั้นหินทรายในประเทศอินเดียระบุวันเวลา เมื่อ ๒๕๖ ปีก่อนคริสต์ศักราช เป็นที่น่าสนใจว่าการเผยแผ่กฎหมายยุคพระเจ้าอโศกเป็นการแพร่ขยายออกไปทั้งฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกในเวลาเดียวกัน เป็นที่สังเกตว่าอักษร Aramaic มีรากศัพท์มาจากตัวอักษร Kharosthi ที่มีภาษาพูดและภาษาเขียนจากต้นกำเนิดในฝั่งตะวันตก
(DIA 008) On the other hand the three edicts found in Arachosia (Kandahar) are engraved in Aramaic and Greek. One of these is very large and engraved in both Aramaic and Greek. It was translated and studied by French and Italian scholars. The Aramaic version is slightly more developed and is closer to the Indian inscriptions. On the other hand the Greek version is more abstract and written in an advance literary form of classical Greek. The bilingual inscription from Kandahar probably dates from the same time as Asoka’s tenth year as sovereign, in other words 258 BCE. We know that Asoka’s oldest edict (first inscription of Barabar) on Indian soil dates from 256 BCE. It is interesting to see that a part Asoka’s royal edicts spread to the West and the East on one hand, and on the other, that the Aramaic of which derives the Kharosthi alphabet was a language and writing also originating from the West.

(DIA 009) ตอนนี้เรามาจดจ่อกับการเสด็จเดินทางไปเยี่ยมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทางพุทธศาสนาของพระเจ้า
อโศก เท่าที่ทราบมาว่าในช่วงปีที่ ๑๔ แห่งรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสร้างสถูปคู่ของพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้า Konakamuni ใน Nigalisagar ส่วนในปีที่ ๒๐ แห่งรัชสมัยพระเจ้าอโศกได้เสด็จไปยังสวนลุพินี
สถานที่ประสูติของสถานที่ประสูติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเสด็จไปนมัสการพระสถูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า Konakamuni เป็นครั้งที่สอง
เป็นพระคุณอย่างยิ่งสำหรับหลักฐานแกะสลักในศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งทำให้เรารู้ว่าพระเจ้าอโศกทรงมีพระบัญชาให้สร้างสถูปไว้มากมายในสถานที่แถบตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียเพื่อประดิษฐานพระบรมสาริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นสถูปใหญ่ Buktara องค์ที่ ๑ ใน Swat และสถูป Dhamarajika ในเมืองตักสิลา
 (DIA 009) We will now concentrate on Asoka’s visit to sacred Buddhist sites. We know that during his fourteenth year as a sovereign, he expands the double stupa of Buddha Konakamuni in Nigalisagar. In his twentieth year, Asoka visits the Lumbini garden where Buddha was born and gives homage for a second time to the Konakamuni stupa. Thanks to XX century excavations we know that Asoka had ordered the building of several stupas on sacred relics of Buddha in the North-West of India. Some examples are the Great stupa of Buktara I, in the Swat and the Dhamarajika stupa in Taxila.

(DIA 010) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเทศอัฟกานิสถานนั้น เราไม่อาจคาดเดาถึงความเชื่อมั่นเป็นส่วน
พระองค์ของพระเจ้าอโศกในการเผยแผ่มาทางตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นภาคส่วนของเมืองโบราณ Jalalabad ( Ngarahara ) หรือแม้กระทั่งที่พะองค์รับสั่งให้สร้างพระสถูป ๓ องค์บนสถานที่ ๓ แห่งที่นับเนื่องด้วยชาดกเล่าเรื่องพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกร พระสถูปองค์แรกเป็นสถานที่ที่พราหมณ์หนุ่มผู้คงแก่เรียนนามว่า Megha ซื้อดอกบัวหลายๆดอก พระสถูปองค์ที่ ๒ เ ป็นสถานที่ที่พราหมณ์ Megha โปรยกลีบดอกบัวเพื่อแสดงความเคารพนอบน้อมถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกร และสถูปองค์สุดท้ายคือสถานที่ที่พราหมณ์ Megha สยายผมปูลาดบนโคลนเพื่อถวายเส้นทางให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทีปังกรเสด็จผ่านโดยไม่เปื้อนพระบาท สำหรับสถูปองค์ที่ ๔ ที่พระเจ้าอโศกสร้างขึ้นในเขต Jalalabad เพื่อชี้บอกถึงถ้ำที่แสดงภาพเงาพระฉายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 (DIA 010) As far as Afghanistan is concerned, we do not know with certitude if Asoka went personally to the South-Eastern part of the ancient city of Jalalabad (Ngarahara) or if he simply ordered the construction of three stupas on three places where the Dipankara Jataka took place. The first of these stupa was built where the young Brahman student, Megha, bought lotus flowers; the second stupa was built where Megha threw in homage lotus flower petals towards the Buddha of the time, Dipankara; finally the third was built where Magha spread his long hair underneath Dipankara’s feet to protect him from the mud. The fourth stupa built par Asoka in the Jalalabad region would indicate the placement of the Buddha’s shadow cave.

(D I A 0 1 1 ) พระเจ้าอโศกทรงสนพระทัยภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทอินเดียอย่างเห็นได้ชัด
หลังจากที่พระราชบิดาของพระองค์คือ พระเจ้า Bindusara กษัตริย์พระองค์ก่อนแห่งนครตักสิลาซึ่ง
ครอบครองดินแดแถบนี้ พระเจ้าอโศกทรงนำเทคนิคการแกะสลักก้อนหินฝีมือตลอดจนวิธีการขัดหินของ
เมือง Achaemenid และเมือง Hellenistic เปิดเผยสู่สายตาชาวโลก งานช่าง Persepolitan ที่เห็นเด่นชัด
คือ ประติมากรรมเสาอโศกทั้งหลาย
(DIA 011) It is obvious that Asoka had an interest in the North-Western area of India, after all his father Bindusara, the vice king of Taxila, had once ruled there. 12
Asoka’s exposure to the Achaemenid and Hellenistic world enabled him to introduce, in India, the various techniques of rock carving and polishing, as well as bringing an obvious Persepolitan order that can be seen in the Asoka columns.

(DIA 012) การแผ่ขยายพุทธศาสนาในประเทศอัฟกานิสถานได้ลดน้อยถอยลงหลังจากสิ้นสุดรัชสมัยของพระเจ้าอโศก เนื่องจากสถานที่เหล่านี้ภายหลังถูก Greco Bactrians เข้าครอบครอง ได้แผ่ขยาย
อาณาจักรเข้าสู่ Hindukush จากเหนือจรดใต้เข้ามาทาง Mathura ผู้คนขนานนามว่าเป็นพวก Indo-
Greeks
รูปแบบศิลปะที่ใช้ก่อสร้างผลงานพุทธศาสนามีศิลปะหลายชาติผสมอยู่คือ Greeks of Bactria,
คันธาระและตักสิลา อย่างไรก็ตามมีกษัตริย์กรีกพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า Menander (Menendra,
Milinda) ได้ตีเอาเมืองอัฟกานิสถานตลอดจนถึงเมือง Mathura ครอบครองตั้งแต่ปี ๑๖๐ ก่อนคริสตกาลถึงปี ๑๓๕ ก่อนคริสตกาล ต่อมาได้ทรงพบกับพระภิกษุผู้ปราดเปรื่องมีนามว่าพระนาคเสน พระองค์จึงได้
เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาและได้บรรลุธรรมขั้นสูง บทสนทนาระหว่างพระยามิลินทร์กับพระนาคเสนได้
บันทึกไว้เป็นภาษาบาลีภายใต้ชื่อเรื่อง มิลินทปัญหา แม้นี้จะเป็นก้าวหนึ่งของกษัตริย์กรีกที่เปลี่ยนมานับ
ถือพุทธศาสนาในเขตประเทศอัฟกานิสถาน แต่ก็ต้องรอคอยนานถึงศตวรรษที่หนึ่งเพื่อพิสูจน์ให้รู้ว่ามี
ศิลปะเกี่ยวกับพุทธศาสนาอยู่ในแถบภาคพื้นตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดียอันเป็นปากประตู
ทางเข้าทวีปเอเชียกลาง
(DIA 012) Following Asoka’s reign the influence of Indian Buddhism diminishes in Afghanistan. It is now the Greco Bactrians that rule the land. Once they cross the Hindukush from the north to the south and militarily invade India all the way to Mathura, scholars name them Indo-Greeks. We ignore whether Buddhist monasteries were built during the time of these Greeks of Bactria,Ghandara and Taxila. However, one of the Greek kings, a certain Menander (Menendra, Milinda) had pushed his conquests from Afghanistan to Mathura, and ruled from 160 BCE to 135 BCE. Following a traditional meeting with a monk –philosopher, Nagasena, he converted to Buddhism and attained a high spiritual degree. The conversations between Milinda and Nagasena were transcribed in Pali under the title: Milindapanha (the Milinda Questions). Despite this progress, the Greek king’s conversion to Buddhism in Afghanistan, one has to wait to the first century CE to have proof of the presence of Buddhist art in the north western part of India, and at the door of Central Asia.

(DIA 013) การพิสูจน์เมื่อค้นพบเหรียญที่ระลึกซึ่งสันนิษฐานกันว่าน่าจะผลิตขึ้นในเหมืองกษาปณ์ของ
เมือง Sakas เหรียญนี้ได้พบที่ Tolla Pata ใกล้ๆกับ Sheberghan ซึ่งอยู่ตอนเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 (DIA 013) The proof comes in the form of a “commemorative” coin. Probably minted under the Sakas, the coin is found at Tolla Pata, near Sheberghan in the north of Afghanistan and reveals for the first time the anthropomorphological image of Buddha.

(DIA 014) ก่อนหน้านี้เพียงแต่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีศากยมุนีในรูปแบบสัญลักษณ์ต่างๆ ตาม
อนุสาวรีย์อินเดียอย่างเช่น พระพุทธบาท พระแท่นที่ประทับ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ หรือม้าพระที่นั่งกั้นด้วย
เศวตฉัตรใช้เนื่องในวันปรินิพพาน เป็นต้น ศิลปะยุค Kushan ที่สร้างพระพุทธรูปในวันพระราชพิธีปรินิพพานได้รับความนิยมอย่างเป็นทางการ อีกทั้งเป็นพระราชนิยมของราชวงศ์ต่างๆ ด้วย
 (DIA 014) Prior to this date Buddha Sakyamuni was represented on Indian Buddhist monuments by symbols, such as the Buddhapadas (the footprint of Buddha), an empty throne, the Bodhi tree, or a riderless horse protected from the sun by an umbrella- on the occasion of the Great Departure, etc. With the ascension of the Kushan dynasty Buddhist art becomes official and a vast amount of monasteries are built.

(DIA 015) นักวิชาการเคยมีความเชื่อว่าพระพุทธรูปเหมือนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศิลปะคันธาระ
โดยได้รับการสนับสนุนพระเจ้ากนิษกะ
(DIA 015) Scholars used to believe that the anthropomorphological image of Buddha was a result of the Greco Buddhist art of Gandhara and the goodwill influence of king Kanishka.
https://ipfs.io/ipfs/QmXoypizjW3WknFiJnKLwHCnL72vedxjQkDDP1mXWo6uco/wiki/Kanishka_the_Great.html

(DIA 016) แต่เมื่อค้นพบหินแกะสลักต่างๆ ใน Swat และการค้นพบเหรียญต่างๆ แห่ง Tolla Tapa ทำให้
รู้ว่าเหรียญมีอายุเก่าแก่กว่ายุค Kushans
การขุดค้นที่ประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ๑๙๘๐ (พ.ศ.๒๕๒๓) บริเวณไซท์ Tape Marajan III ใน
กรุงคาบูล สิ่งแกะสลักปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าพระเจ้า Kujula Kadphisès กษัตริย์กุสานะพระองค์แรก
ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ให้สร้างพระสถูป ณ สถานที่แห่งนี้
 (DIA 016) But in the light of recent excavations in the Swat, and the discovery of the Tolla Tapa coins, we now know that the physical representation of Buddha dates from before the Kushans. The Afghan 1980’ excavations at the site of Tape Marajan III in Kabul- of which its publication has been entrusted to me- reveals clearly that the first Kushan sovereign, Kujula Kadphisès, had contributed to the construction of a stupa on that very site.

(DIA 017) เรายังได้พบหลักฐานว่ากษัตริย์แห่งกุสานะพระองค์อื่นๆ ทรงบริจาคเพื่อสร้างพระสถูปหลาย
องค์ ไม่ปรากฏพระนามของพระองค์ แต่จะมีชื่อต้นเรียกพระนามว่า Soter Megas ครองราชย์ในช่วง
ต้นๆ แห่งจักรวรรดิกนิษกะ ในปี ๒๐๐๐ (พ.ศ.๒๕๔๓) DAFA ( D elegation Archaeologique Francaise
en Afghanistan ) ได้ขุดพบพระสถูปองค์หนึ่งที่สร้างโดย Soter Megas ตามหลักฐานที่มีเหรียญ
Soter Megas จำนวนหนึ่ง บริเวณ Bactres
(DIA 017) We also have found several donations for the building of stupas by another Kushan king. He is “unnamed” but has the title Soter Megas and reigned prior to Kanishka. In year 2000, the DAFA (Delegation Archaeologique Francaise en Afghanistan) excavated in Bactres, and discovered in a stupa only Soter Megas coins.

(DIA 018) มีเงื่อนงำอยู่น้อยมากที่จะชี้ว่าปฐมกษัตริย์แห่งกุสานะพระเจ้า Wimas Kadphises ทรงให้การ
สนับสนุนสร้างวัดต่างๆในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเหรียญกษาปณ์ยุคของพระองค์นั้นเห็นได้ชัดว่า
พระองค์โปรดศาสนา Shiva
  (DIA 018) There are very few clues that indicate that Wimas Kadphises, the predecessor of King Kanishka would have contributed to the building of Buddhist monasteries. Based on the reading of his coins it is clear that he favored the cult of Shiva.

(DIA 019) เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระเจ้ากนิษกะที่หนึ่ง กษัตริย์แห่งกุสานะที่ทรงค้ำจุนพุทธ
ศาสนา เหรียญรูปพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศรีศากยมุนีมีปรากฏบนเหรียญกษาปณ์ไม่น้อยกว่า ๓๐ อัน มีทั้ง
รูปนั่งและยืน พระเจ้ากนิษกะได้ขยายพระสถูปเก่าให้ใหญ่มากขึ้น ตลอดจนบูรณะซ่อมแซมพระสถูป
โบราณต่างๆ อีกทั้งสร้างเพิ่มเติมให้ยิ่งใหญ่ขึ้นอีกหลายองค์ ทรงปกป้องศูนย์กลางศิลปะและโรงเรียน
ต่างๆ ส่วนใหญ่ทรงสร้างเมืองล้อมรอบวัดต่างๆ ทรงพัฒนาศิลปะแห่ง Mathura, Taxila, Swat, Gandhara,
Hadda, Nagarahara, Kabul, Kapisa, Ghazni, Kunduz ใน Bactria รวมไปถึงภาคพื้น Bactres
(Balkh) , Delberjin, Termez (Kara Tapa and Faya Tapa) ข้าพเจ้าไม่ได้นับเนื่องรวมกับทุก
ไซท์ในประเทศอินเดีย จากประเทศปากีสถานถึงประเทศอัฟกานิสถาน เอเชียกลางหรือตามเส้นทางไป
ประเทศจีน ศิลปะสร้างพระพุทธรูปของ Gandhara, Swat และ Kabul-Kapisa สร้างด้วยความโดดเด่น
จากหินเก่าแก่ที่เรียกว่า schist จึงมีผลงานชิ้นเอกหลายชิ้นที่ทำจากหิน schist พระพุทธรูปที่มีรูปแบบ
คล้ายเทพเจ้าอพอลโลของกรีก ทรงแต่งกายแบบกรีกเป็นอิทธิพลมาจาก หินเก่าแก่
ที่เรียกว่า schist จึงมีผลงานชิ้นเอกหลายชิ้นที่ทำจากหิน schist
(DIA 019) Budhdism really takes off thanks to the Kushan king Kanishka I. Buddha Sakyamuni’s effigy apprears on at least 30 coins, either seating or standing. Kanishka enlarges and restores ancient stupas and builds larger ones. He protects the art centers and schools. He builds cities often surrounded by many monasteries. He develops the art of Mathura, Taxila, Swat, Gandhara, Hadda, Nagarahara, Kabul, Kapisa, Ghazni, Kunduz; in Bactria including the region of Bactres (Balkh), Delberjin, Termez (Kara Tapa and Faya Tapa). I am not including all the sites in India, from Pakistan to Afghanistan, Central Asia and those in the direction of China. 13
The Buddhist art from Gandhara, Swat and Kabul-Kapisa is expressed in the form of schist carved masterpieces (local Schist).

(DIA 020) พระพุทธรูปที่มีรูปแบบคล้ายเทพเจ้าอพอลโลของกรีก ทรงแต่งกายแบบกรีกเป็นอิทธิพลมา
จากนักวิชาการสมัยนั้นเชื่อตามพุทธศิลป์แนว Greco หรือชุดแต่งกายแบบชาวโรมันอันเป็นรูปแบบศิลปะ
พระพุทธรูปแบบโรมัน แม้มีหลายทฤษฎีแต่ศิลปะจากพระพุทธรูปยุคกุสานะผสมผสานกันระหว่าง Hellenistic และ Bactria งดงามอ่อนช้อยตามลักษณะกรีกอเล็กซานเดรียจากการแผ่แสนยานุภาพของโรมัน รูปปั้นพระโพธิสัตว์เป็นผลงานจากโรงเรียนศิลปะแห่ง Peshawar แสดงให้เห็นถึงความเป็นคนเมืองหลวงที่มีเชื้อสายกษัตริย์เป็นผู้ดีที่เพียบพร้อมไปด้วยความมั่งคั่งหรูหรา
พระพุทธรูปของฝ่ายนิกายมหายานก็มีคุณลักษณะพิเศษเมื่อพิจารณาดูรูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิ
เตศวรประดับพระเศียรแบบแขกคล้ายๆ พระพุทธรูปแกะสลักแบบคันธาระ แม้ศิลปะจะคล้ายคลึงกันตาม
แบบศิลปะแกะสลักหิน schist ของจักรวรรดิกุสานะ เหล่าช่างศิลป์ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากวัดต่างๆที่ตนทำงานอยู่โดยดำรงรักษาไว้ซึ่งงานสร้างสรรค์ตามที่ได้เรียนมาและตามคำสอนในนิกายที่ตนเองนับถือ
(DIA 020) The Buddha appears with the features of the Greek Apollo, dressed with a Greek coat according to the scholars who believe in the presence of a Greco Buddhist art, or with a Roman toga for those who defend the theory of a Roman-Buddhist art. Regardless of the theories, was is certain is that the Buddhist art under the Kushan combined the Hellenistic gains in Bactria and the artistic currant originating from Greek Alexandria under Roman domination. The Bodhisattva images, in particular of the art school of Peshawar, show us local, royal and aristocratic opulence and luxury. The Mahayanist movement has been attributed as the origin for the physical image of Buddha. It is true in some ways, especially when looking at the representation of Bodhisattva Avalokitisvara who wears a turban adorned with the effigy of Buddha as seen in Gandhara sculptures. Despite similarities to the art of schist of the Kushan Empire, the artists were greatly influenced by the nearby monasteries they worked for, and created iconographic scenes in keeping with the teachings and principles of the individual religious cults that managed the monastery’s religious affairs.

(DIA 021) ข้าพเจ้าจะขอยกตัวอย่างภาพความอัศจรรย์แห่งสาวัตถี Miracle of Sravasti อันที่จริงแล้ว
หลายๆ ความเชื่อในคันธาระแสดงให้เห็นแง่มุมของอภินิหารนี้ โดยเป็นภาพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ
นั่งบนดอกบัวดอกหนึ่งที่ที่ลอยจากน้ำขึ้นไปบนอากาศ และภาพเหล่านั้นที่เป็นรูปแบบคันธาระจะ
ประกอบด้วยภาพพระสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนี โดยพระ Maitreya พระ Siddharta อยู่ข้างๆ พระองค์
หรือพระ Maitreya กับพระอวโลกิเตศวรอยู่ข้างๆ
(DIA 021) I take as an example the Miracle of Sravasti. Indeed, in Gandhara, several reliefs show the phase of this miracle, where Buddha is sitting on a lotus flower that is reaching for the sky from the water. In these Gandharian scenes, Buddha Sakyamuni has at his sides either Maitreya and Siddartha, or Avalokitisvara and Siddartha.

(DIA 022) ใน Swat ก็ค้นพบภาพแบบเดียวกัน แสดงถึงภาพอภินิหารที่เสมือนจริง นี่เป็นอีกภาพหนึ่งที่จะ
เห็นเปลวไฟออกมาทางบ่าของพระพุทธองค์และน้ำพวยพุ่งออกมาจากทางพระบาท
 (DIA 022) The same scene found in the Swat, represents another phase of the miracle in a naturalistic presentation. Here one can see flames coming out of his shoulders and water coming out of his feet.

(DIA 023) ภาพเฉพาะตอนนี้เป็นผลผลิตงานจากโรงเรียน Kabul-Kapisa ซึ่งค่อนข้างแตกต่างกัน
เล็กน้อย เปลวไฟไม่ได้ผ่านขวางร่างกายส่วนบนแต่ศิลปะนี้ให้ภาพเปลวไฟกระจายตัวเหนือบ่าไหล่
ด้านข้างๆ ส่วนโดดเด่นเพียงหนึ่งเดียวคือ แสงสว่างแห่งดวงปัญญารอบพระเศียร เป็นภาพที่ให้ความรู้สึก
สุขสงบแก่ผู้พบเห็น น้ำก็พวยพุ่งออกมาทางปลายพระบาทเหมือนๆ กัน
ศิลปะที่แกะสลักจากหิน schist เราจะเห็นว่าใช้นวัตกรรมมากมาย นอกจากพระพุทธรูปและรูป
ปั้นพระโพธิสัตว์แล้ว ตามผนังของพระสถูปประดับด้วยภาพของช่วงชีวิตระดับต่างๆ ตั้งแต่ประสูติ
จนกระทั่งปรินิพพาน ควรที่จะเดินวนขวารอบสถานที่นั้นๆ เพื่อสังเกตถึงช่วงชีวิตอันน่าเลื่อมใสของพระ
สัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างต่อเนื่อง เป็นภาพที่ได้รับการคัดสรรถึงเหตุการณ์ตามลำดับก่อนหลัง การคัดเลือก
อิริยาบถที่แสดงสัญลักษณ์ด้วยพระหัตถ์เพื่อนำไปเป็นประโยชน์ใช้สอยจริงๆ ย่อมแตกต่างกันไปแล้วแต่
การใช้สอยบอกเล่าของแต่ละเมือง
 (DIA 023) This phase can also be seen in works produced by the Kabul-Kapisa school. This time the same scene is represented in a slightly different way. Here the flames do not obstruct the upper body, they are instead spread over the shoulders, aside, so as to liberate the head of the Enlightened one, who appears peaceful to the visitors. The water jets out of the feet as well. In this schist art form we see a lot of innovations. In addition to the statues representing Buddha and Bodhisattva, the walls of the stupas are adorned with the different phases of the life of the Enlightened one, from conception to birth to Parinirvana. The faithfuls could go around the monuments from the right, and observe in veneration the successive phases of Buddha’s life. The choice for these iconographic scenes might differ from one region to the next, but the chronology of events would always be respected. The same applied for the choice of mudras, which would change from one country to the other.

(DIA 024) ในชิ้นงานแกะสลักจากหิน schist การแสดงพระหัตถ์ที่โดดเด่นคือ ธรรมจักรมุทรา พระหัตถ์ที่
เป็นอิริยาบถของการนั่งสมาธิ ต่อด้วย Abhaya-mudra เป็นมุทราที่ปราศจากความหวาดกลัวด้วยการ
นั่งขัดสมาธิโดยยกพระหัตถ์ขวาขึ้น
(DIA 024) In the schist sculpture, the dominating mudra was the Dhamacakra-mudra, the mudra of meditation. Followed by the Abhaya-mudra, the mudra of fearlessness, executed only with the right hand for the sitting statues.

(DIA 025) เปรียบเทียบกับพระพุทธรูปศิลปะคันธาระแบบองค์ยืน ส่วนใหญ่แสดงท่า Abhaya-mudra
หรือไม่ก็เป็น Vitarka-mudra (เป็นการโต้ตอบหรือโต้แย้ง) ทั้งสองแบบนี้ล้วนยกพระหัตถ์ขวา
(DIA 025) Whereas for the standing Gandhara statues, the most common mudras were either the Abhaya-mudra, or the Vitarka-mudra (discussion or argumentation), both executed only with the right hand.
 ส ำหรับพระพุทธรูปยืนแห่ง Kabul-Kapisa มักจะแสดงท่า Abhaya-mudra พร้อมกับยกพระหัตถ์
ขวาขึ้น ส่วนท่ามุทราที่สำคัญมากและพบเห็นกันในพระพุทธศาสนาแถบตะวันออกเฉียงใต้ของทวีป
เอเซีย คือ Bhumispara-mudra (หรือเรียกว่าให้แผ่นดินเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ความจริง) ซึ่งยากที่จะพบ
เห็นกันในคันธาระหรือในประเทศอัฟกานิสถาน
 (DIA 026) For the standing Buddha statues of Kabul-Kapisa, they would be represented in Abhaya-mudra with the right hand. One very important mudra, often seen in the Buddhism of South-East Asia, is the Bhumispara-mudra (calling the earth to witness the truth) is rarely seen in Gandhara or Afghanistan.
ไม่ควรลืมว่าบทบาทในฐานะองค์อุปถัมภ์ของกษัตริย์กุสานะมีความสำคัญต่อรูปแบบศิลปะ
แกะสลักก้อนหิน schist ในที่นี้ข้าพเจ้าจะแสดงภาพของเหล่ากษัตริย์ เจ้าชายทั้งหลาย กลุ่มชนชั้นสูงผู้มั่งคั่งซึ่งล้วนอยู่ในเครื่องแต่งกายตามพื้นเพแถบที่ราบสูงตอนกลางของทวีปเอเซีย
(DIA 027) Let us not forget that in this schist art form, the role of the Kushan donors is very 14
important. Here I show you images of kings, princes and aristocrats, dressed in their original Central Asia steppe’s costumes.


(DIA 028) เมื่อพูดถึงการแกะสลักหิน schist ทางศิลปะของ Hadda แกะสลักออกมาจากหินปูนซึ่งเป็น
งานคุณภาพสูงมาก นี่เป็นภาพที่ข้าพเจ้าแสดงเป็นเพียงตัวอย่างที่เชื่อว่าเป็นต้นกำเนิด ซึ่งขุดพบจากที่
Tape Shotor และนี่เป็นชิ้นที่สวยงามขุดพบที่ Hadda โดย W. Simpson ในศตวรรษที่ ๑๙ ขณะนี้เก็บ
รักษาอยู่ที่พิพธภัณฑ์แห่งชาติอังกฤษ
ในช่วงยุคเดียวกันของการแกะสลักหิน พุทธศิลป์ของภาคพื้นตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ
อินเดียและ Hadda เป็นศิลปะปั้นที่ขึ้นรูปแม่พิมพ์ด้วยดินเหนียวเป็นศิลปะคุณภาพที่มีความวิจิตรงดงาม
แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลอันยิ่งใหญ่จาก Hellenistic ด้วยคุณลักษณะนี้การค้นพบพุทธศิลป์ที่ Tape
Shotor จึงได้เห็นถึงการแกะสลักที่สมบูรณ์แบบด้วยเทคนิคที่ได้รับการดูแลอย่างดี ม ีภาพเสมือนจริงแสดงถึงพุทธประวัติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พบอยู่ถึง ๖๐ พื้นที่ในซอกหินของ Tape Shotor
 (DIA 028) In addition to the schist sculptures, Hadda produced limestone sculptures of very high quality. Here I show you some examples of reliefs originating from my excavations at Tape Shotor, and a beautiful relief excavated at Hadda by W. Simpson in the XIX century that is now at the British Museum. In parallel to the stone sculptures, the Buddhist art of North-West of India, and more so of Hadda has given us clay moldings of exquisite artistic quality, that artistically reveals a great Hellenistic influence. In this domain, the site of Tape Shotor shows us a refined Buddhist art executed with a perfect and controlled technique. More than 60 niches were adorned in this fashion at Tape Shotor, in high reliefs animating characters in iconographic scenes, generally representative of the life of Buddha.

(DIA 029) พื้นที่ซอกหินลำดับที่ ๑๓ ที่ Tape Shotor ใน Hadda มีความเป็นพิเศษ จริงๆแล้วแรกสุดมี
ชิ้นงานแกะสลักทรงกลมอยู่ชิ้นหนึ่ง ซอกหินนี้มีอีกชื่อเรียกว่าหลุมน้ำเป็นการแทนที่ความหมายของตอน
กำเนิดต้นโพธิ์ เมื่อพญานาค Kalika ได้ทำนายว่าชัยชนะของพระโพธิสัตว์จวนจะมาถึงแล้วซึ่งกำลังแผ่
รัศมีแห่งดวงปัญญาจึงควรจะกล่าวคำสรรเสริญพระองค์ และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาเรื่องแม่พิมพ์ที่ทำจากดินเหนียวของ Tape Shotor ตอนนี้ข้าพเจ้าจะเสนอภาพจากซอกหินที่ V1, V2และ V3
   (DIA 029) Niche XIII at Tape Shotor in Hadda, is unique. Indeed, for the first time one creates a sculpture in the round. This niche also called the aquatic niche, and represents the episode about the eve of the Bodhi, when the Naga Kalika predicts the imminent triumph of the Bodhisattva in which one radiates the light of wisdom, and praises him. To not waist anytime in regards to the clay molding of Tape Shotor, I only show you here niches V1, V2 and V3.

(DIA 030) ข้าพเจ้าใช้เวลาเกือบ ๓ ปีในการบูรณะซอกหิน V1ต้องเก็บรวบรวมชิ้นส่วนที่เกลื่อนกราดตรง
จุดนั้น ที่เราเห็นอยู่ตรงกลางนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าศากยมุนีประทับนั่งบนแท่น ห่มสังฆาฏิคลุมบ่าทั้ง
สองข้างกลีบจีวรเรียงตัวอย่างถูกต้องตามแบบฉบับ ด้านขวามือของพระพุทธองค์จะเห็นพระโพธิสัตว์ตามรูปแบบคันธาระ ทางมุมตอนเหนือจะเป็นหญิงสาวพุทธอุปัฏฐากชื่อว่า Kushan ด้านบนเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปางนั่งสมาธิ และภาพสุดท้ายนี้เป็นพราหมณ์ที่เป็นพระเจ้าที่มีผมสลวยสวยงามกำลังเคลื่อนไหวมือขวา ส่วนมือซ้ายถือคนโทน้ำใบเล็ก คาดว่าสิ่งที่อยู่ในซอกหินนี้สร้างขึ้นเมื่อศตวรรษที่ ๒ ก่อนคริสตกาลเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการแกะสลักหิน schist ของคันธาระ
(DIA 030) I was able, over a period of almost three years, to restore Niche V1, of which the strewn fragments were collected on the spot. We see here in the center, sitting on a base, Buddha Sakyamuni, draped in a Samghati, covering his shoulders and of which the pleats were molded with know-how. To his right we see a Bodhisattva of typical Gandhara type; in the northern angle stands a young female Kushan donor, and at the top a Buddha in meditation, and finally the god Brahma. He is recognizable thanks to his luxurious hair and the movement of his right hand, while in his left hand he holds a small water vase. I dated this niche to be of the II century C.E., contemporary to the schist sculptures of Gandhara.

(DIA 031) จากซอกหินที่ V2 ขอแสดงภาพวัชรปาณี Vajrapani แสดงถึงลักษณะเด่นของเทพเจ้ากรีกชื่อ
เฮอร์คิวลีส และเพื่อที่จะเปลี่ยนจากวีรบุรุษกรีก ช่างประติมากรได้เปลี่ยนกระบองมาเป็น Vajra
ยังคงอยู่ที่ซอกหิน V2 นี่คือเทพเจ้า Hariti เป็นการเลียนแบบมาจากเทพเจ้าสตรีของ Greco-
Roman เทพเจ้าแห่งเมืองและความอุดมสมบูรณ์ เธอสวมอาภรณ์แบบกรีก มือซ้ายถือเขาสัตว์ที่ประดับ
ด้วยผลไม้และดอกไม้ ในขณะที่มือขวาโปรยกลีบดอกไม้ถวายพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 (DIA 031) Of niche V2 I show you a Vajrapani represented here with the features of the Greek Heracles. To change the Greek hero aspect, the artist only replaced the club for the Vajra.Also belonging to niche V2, here the goddess Hariti is the exact copy of the GrecoRoman goddess of the cities and abundance. She is dressed in a Greek robe and holds in her left hand a Cornucopia, while with her right hand she is throwing flower petals towards Buddha.

(DIA 032) สำหรับซอกหิน V3 ทางซ้ายมือของท่าน ข้าพเจ้าแสดงให้ท่านเห็นตรงมุมทางเหนือ เราจะ
เห็นพระภิกษุสองรูปกำลังฟังพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งอยู่ระหว่างแสดงพระธรรมเทศนา ที่
เมืองพาราณสี ปกติจะมีพระภิกษุ ๕ รูป ข้างบนนี้เราจะเห็นวัชรปาณี เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของพระเจ้าอ
เล็กซานเดอร์มหาราช ตัวอย่างเหล่านี้ทำให้หมดความสงสัยว่าศิลปะ Hellenistic และศิลปะ Bactria
ล้วนมีส่วนสนับสนุนกันและกันอย่างใหญ่หลวงที่ทำให้เกิดรูปแบบพุทธศิลป์ของทางทิศตะวันตกเฉียง
เหนือของประเทศอินเดีย(หรือแถบประเทศอัฟกานิสถานและประเทศปากีสถาน)ก่อกำเนิดงานสร้างสรรค์
พระพุทธรูป
(DIA 032) Of niche V3, to your left, I show you only its northern angle, where we see two monks listening to Buddha during the Sermon at Benares. There used to be five monks. Above the two monks we see a Vajrapani, he has the features of Alexander the Great. These examples demonstrate without ambiguity how Hellenistic art in general, and more so the art of Bactria, have both contributed enormously to the formation of the Buddhist art of NorthWest India (Afghanistan-Pakistan), the cradle of the creation of Buddha’s image.

(DIA 033 ) ก่อนจะไปกันต่อ ข้าพเจ้าอยากจะเชิญชวนมาดูศิลปะ Tape Shotor แห่งเมือง Hadda จะ
ศีรษะของพระภิกษุหลายรูป คัดเลือกออกมาจากพระภิกษุที่เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนาซึ่งเกิดจากความสมัครใจและนี่ก็คือสานุศิษย์ผู้ติดตามบางส่วน และนี่เป็นเหล่าชาว Kushan ที่เป็นอุปัฏฐากผู้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้สร้างอาคารในบริเวณที่ขุดพบซอกหินเหล่านี้
  (DIA 033) Before we move on I would like to draw your attention on the art of Tape Shotor of Hadda. Here you see the heads of monks, chosen amongst the converted monks, at the time of the Predication, as well as some disciples, and some Kushan donors who greatly contributed to the building of these remarkable niches.

(DIA 034 ) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนามีความเสียหายเพียงเล็กน้อยในตอนเหนือเขตของ Hindukush ระบุวันเวลาจากราชวงศ์กุสานะในช่วงคริสตศตวรรษที่ ๑-๓ เรายังไม่สามารถขุดค้นวัดต่างๆที่
Bactres (Balkh) จึงยังไม่ได้เปิดเผยถึงของมีค่าภายในนั้น ทั้งๆที่เรารู้ว่ามีวัดพุทธมากมาย เห็นได้จาก
เงาสูงที่ทาบทาลงบนพื้นของพระสถูปต่างๆ วัดที่มีชื่อเสียงมากแห่งหนึ่งชื่อว่า Naw Bahar หรือวิหารใหม่มีพระสถูปที่ยิ่งใหญ่อยู่องค์หนึ่งตั้งชื่อว่า Tope Rostam A. Foucher ตามที่ขุดพบเมื่อปี ๑๙๒๓
(พ.ศ.๒๔๖๖) ต่อมาเป็นภาระที่จะต้องบูรณะซ่อมแซม โดยทาง Western Turksได้รับไปปฏิสังขรณ์เมื่อ
คริสต์ศตวรรษที่ ๖
(DIA 034) We have few Buddhist ruins in the northern part of the Hindukush, and they date from the time of the Kushan dynasty, I-III C.E. The monasteries at Bactres (Balkh) have not been sufficiently excavated as to reveal their treasures, yet we know there were many Buddhist monasteries there from the tall silhouette of their stupas. One famous monastery is Naw Bahar (new Vihara) with its great stupa: Tope Rostam. 15
A. Foucher excavated the stupa in 1923, and left us with a remarkable drawing now restored, that represents Tope Rostam in its most recent state: an enlargement and a restoration undertaken by the Western Turks in the VI century C.E.

(DIA 035) หากท่านใดกำลังวิเคราะห์เรื่องราวประติมากรรมทางพุทธศาสนาในตอนเหนือของประเทศ
อัฟกานิสถานอยู่ ข้าพเจ้าอยากจะฝากให้รวบรวมเรื่องถ้ำและพระสถูปที่ยังสร้างไม่เสร็จแห่ง Haibak ใน
Samangan ซึ่งสมัยนั้นเริ่มสร้างไว้ตามแบบพระสถูปในประเทศอินเดียยุคที่ยังไม่ปะปนด้วยศิลปะอื่นเป็น
ยุค Common Era
 (DIA 035) If one were to run an analysis on the Buddhist monuments of northern Afghanistan, I would include at the top of the list, the unfinished cave stupa of Haibak in Samangan, which had been started in the pure tradition of Indian stupas before the Common Era.

(DIA 036 ) ต่อจากนี้ข้าพเจ้าจะขอพูดถึงความคืบหน้าของ Kunduz เป็นสถานที่ที่นักโบราณคดีชาว
ฝรั่งเศสหลายคนซึ่งสังกัด DAFA ในสมัยสงครามโลกครั้งที่๒ ได้ขุดค้นพบวัดในพุทธศาสนาแห่งหนึ่งที่มีพระพุทธรูปงดงามองค์หนึ่งที่สร้างขึ้นมาจากปูนขาวผสมทรายและหินอ่อนป่น
ต่อมาทางตะวันตกเฉียงเหนือของ Bactres เขตไซท์ของ Delbarjin ขุดพบวัดพุทธเล็กๆ แห่งหนึ่ง
เป็นการขุดโดยสนธิสัญญาระหว่างอัฟกันและโซเวียตภายใต้การนำของข้าพเจ้า
 (DIA 036) Then I would proceed towards Kunduz where before WW2, French archaeologists of the DAFA had excavated a Buddhist monastery that revealed a beautiful stucco statue. Then, in the north west of Bactres, on the site of Delbarjin, there was a small Buddhist monastery, that was excavated by an Afghan-Soviet mission under my directorship.

(DIA 037) พระพุทธรูปที่ยังคงเป็นปริศนาลึกลับประดิษฐานอยู่ตรงทางเหนือของประเทศอัฟกานิสถาน
แท่นที่ประทับเป็นยกพื้นซึ่งสร้างขึ้นโดยพระเจ้ากนิษกะที่ ๑ ไ ด้ประดิษฐานอยู่ตรงทางขึ้นของโบสถ์ Kushanใน Surkh Kotal บรรดาเสาหินที่ติดกับผนังด้านหน้าและบรรดายอดเสาแกะสลักซึ่งประดับอยู่กับ
แท่นนั้นคล้ายคลึงกันมากเมื่อเทียบกับการค้นพบโบสถ์ Surkh Kotal เพียงแต่ขนาดเล็กกว่า บนเสา
แกะสลักพบว่ามีแผ่นเล็กๆ มีเรื่องราวเล่าขาน ภาพผ้าโพกศีรษะของพระโพธิสัตว์ พระพุทธรูปในอิริยาบถ
ต่างๆ ในยุคของ Kushan มหาราชได้ตกอยู่ในอำนาจของกองทัพ Sassanid เปอร์เซียนแห่งพระเจ้า
Shapur (ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่๒๑๔-๒๗๒)แม้ว่าจะต้องเผชิญกับการแสดงความคิดเห็น ข้าพเจ้าก็
เชื่อมั่นว่าวัดส่วนใหญ่ในประเทศอัฟกานิสถานล้วนถูกทำลาย พวก Sassanids ไม่ได้ทำลายชิ้นงาน
แกะสลักหิน schistและหินปูน ราชวงศ์ Kushan กลุ่มเล็กๆได้ปกครองในแถบตะวันออกของประเทศ
แผ่นดินส่วนใหญ่แม้จะบริหารโดยกลุ่มกษัตริย์ Kushanแต่เป็นการทำงานใช้หนี้ให้ Sassanids เรียกกัน
ว่า Kushano-Sassanids ในช่วงนั้นได้มีการขยับตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปในขณะเดียวกันก็หาทางที่จะ
เป็นอิสระจากการปกครองของ Sassanids พวกเขาได้ปฏิสังขรณ์วัดพุทธหลายแห่งจนกระทั่งในที่สุดก็
ได้รับอิสรภาพในช่วงปลายคริสตศตวรรษที่ ๔ภายใต้การนำของพระเจ้า Kidara
 (DIA 037) The Buddhist monument that remains the most enigmatic is located in the North of Afghanistan. It is called the Buddhist platform, founded by Kanishka I, it was located at the feet of a Kushan temple in Surkh Kotal. The pilasters and capitals of the Buddhist platform are very similar to those found on the Surkh Kotal temple with a small difference. On the capitals of the Buddhist platform we find small hints from the Buddhist art repertoire, namely: the turban of the Boddhisattva, and characters in various Buddhist positions and gestures. The dynasty of the Great Kushan succumbs to the Persian Sassanid armies of Shapur I (214-272 C.E). Despite opposing views, I believe that most monasteries in Afghanistan were destroyed. The Sassanids put a stop to the sculpture in schist and limestone. A few Kushan sovereigns continued to rule in the East of the country. The majority of the land was managed by Kushan kings that were in the pay of the Sassanids, and were called the Kushano-Sassanids. Little by little, perhaps seeking independence, they restored the Buddhist monasteries until they reached total independence towards the end of the IV century C.E. thanks to king Kidara.

( D IA 038) ข้าพเจ้าขอนิยามว่ายุคของกษัตริย์องค์สุดท้ายเป็นช่วงการฟื้นฟูศิลปะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เน้นที่วัดในพระพุทธศาสนา เราบันทึกปรากฏการณ์ที่ดีนี้จาก Hadda, Kabul, Mes Aynak และแม้แต่ที่
บามิยัน ข้าพเจ้าขุดพบเหรียญกษาปณ์ทองคำในรัชสมัยของกษัตริย์Kidaraที่แกเลอรี่ A9 ทางตะวันออก
ของวัด ในช่วงที่สองของยุคแกะสลักด้วยหิน schistก็โดนปล่อยปละละเลย หากมีการค้นพบชิ้นงาน
แกะสลักด้วยหิน schistจะเป็นที่ไหนก็ตามไม่ว่าจะพบที่ Kapisa, Kabulหรือที่ Mes Aynak ก็ล้วนเป็น
ชิ้นงานแกะสลักที่เป็นของเก่าเอามาดัดแปลงเวียนใช้ใหม่
จุดเด่นในยุคที่สองของพระพุทธศาสนาอยู่ที่การผลักดันให้สร้างพระสถูปเลียนแบบขนาดเล็กใน
Kapisa, Kabul และ Mes Aynak ซึ่งพระสถูปเหล่านี้สร้างด้วยหิน schist เป็นชิ้นยาวๆต่อๆกัน ด้วยเหตุที่
ข้าพเจ้าสังเกตว่าที่ Hadda มีการใช้ชิ้นส่วนที่ทำจากบล็อคหินปูนเป็นครั้งแรกและหินปูนก็ทำให้เกิด
ความโดดเด่นโดยเฉพาะบรรดาพระสถูปขนาดเล็กมักจะปลูกสร้างไว้ในที่โล่งแจ้ง จึงต้องปกป้องจากสภาพอากาศด้วยปูนขาวผสมทรายและหินอ่อนป่นใช้หินปูนเชื่อมต่อ แล้วยังปิดทับด้วยหินปูนผสมแบบพิมพ์ที่ทำจากปูนขาวผสมทรายและหินอ่อนสลักเป็นพระพุทธรูป พระโพธิสัตว์ รูปยักษ์ตลอดจนตัวประกอบอื่นๆ ที่มาเติมเต็มเรื่องราวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเขตของพระพุทธศาสนานี้อยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๓ ถึง ๕ และสถานที่ที่เจิดจรัสโชติช่วงที่สุดคือที่ตักสิลา และที่ Hadda
ในเรื่อง Hadda ข้าพเจ้าจะเจาะจงถึงเรื่องแม่พิมพ์ที่ทำจากปูนขาวผสมทรายและหินอ่อนสลักที่
สร้างเลียนแบบเป็นพระสถูปอีกทั้งจารึกบนพวกแจกันหรือกระถาง ตลอดจนถึงถ้ำที่ใช้เป็นสถานที่นั่ง
สมาธิที่ Tape Shotor เป็นเรื่องสำคัญมากที่สุดที่จะทำความเข้าใจพระพุทธศาสนาก่อนที่กองทัพของฝ่าย
มุสลิมจะบุกรุกเข้ามาระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ถึง๒๐ กลุ่มนักโบราณคดีชาวอังกฤษได้ค้นพบแม่พิมพ์แบบของตักสิลาในขณะเดียวกันเมื่อคริสตศตวรรษที่ ๒๐ กลุ่มนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศส DAFA (MM. A. Godard, A. Foucher ส่วนใหญ่เป็นผลงานขุดค้นของJ. Barthoux ) . ก็ขุดพบชิ้นงานปูนขาวผสมของแบบ Hadda In the 1960’ , Japanese archaeologists from the Kyoto University excavated, under the directorship of Pr. Mizuno, the site of Alma, located to the south West of Hadda.
ในปี ๑๙๖๐(พ.ศ.๒๕๐๓)กลุ่มนักโบราณคดีชาวญี่ปุ่นจากมหาวิทยาลัยเกียวโตภายใต้การนำของ
โปรเฟสเซอร์มิซูโน่ขุดค้นที่ไซท์ Almaบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของ Hadda
ปี ๑๙๖๐ - ปี๑๙๗๐(ช่วงปีพ.ศ.๒๕๐๓-๒๕๑๓มีการขุดค้นที่เป็นผลงานชิ้นเอกหลายชิ้นบริเวณไซท์
Tape Shotor และ Tape Tope Kalan นั้นเป็นผลงานของกลุ่มนักโบราณคดีชาวอัฟกันภายใต้การนำ
ของ Sh. Mostamandi และข้าพเจ้าเองบริเวณไซท์ Tape Shotor
กลุ่มนักโบราณคดีชาวฝรั่งเศสขุดพบพระสถูปได้ประมาณ ๑๐๐๐ องค์ซึ่งเป็นสิ่งที่พระถังซัมจั๋งได้
บันทึกอ้างถึง กลุ่มนักโบราณคดีชาวญี่ปุ่นขุดพบพระสถูป ๒๐ องค์ และกลุ่มนักโบราณคดีอัฟกันขุดพบและบูรณะซ่อมแซมพระสถูป ๕๐ องค์ ที่ไซท์ Tape Shotorได้มีการบูรณะซ่อมแซมและได้จัดให้เป็น
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง J. Barthouxได้ขุดค้นพบชิ้นงานแกะสลักส่วนใหญ่ที่ทำจากปูนขาวผสมประมาณ ๑๒๐๐๐ถึง ๑๕๐๐๐ ชิ้น ยังคงเหลือชิ้นงานที่หลุดรอดจากการถูกปล้นครั้งแรกเมื่อปี๑๙๒๐(พ.ศ.๒๔๖๓) ประมาณ ๓๐๐๐ ชิ้นโดยมีสัญญาลงนามร่วมกันดูแลระหว่างประเทศอัฟกานิสถานและประเทศฝรั่งเศส ชิ้นงานในส่วนที่ฝรั่งเศสดูแลจัดแสดงนิทรรศการไว้ที่พิพิธภัณฑ์ Guimet สำหรับของทางอัฟกานิสถานมีชิ้นงานเหลืออยู่ไม่มากเนื่องจากถูกทำลายและถูกปล้นไป การปล้นครั้งแรกเกิดขึ้นภายในพระราชวังโบราณที่ Koti Baghtcha การปล้นครั้งที่สองเกิดขึ้นในช่วงสงครามกลางเมือง หลังจากที่พิพิธภัณฑ์คาบูลถูกปล้น ชิ้นงานส่วนใหญ่ถูกนำไปขายแถวๆ เมือง Peshawar ของปากีสถาน การปล้นครั้งที่สามนั้นถูกทำลายล้างโดยกลุ่มตาลีบัน
 (DIA 038) I define this last king’s period as an artistic renaissance in particular in regards to the Buddhist monasteries. We note this positive phenomenon from Hadda, Kabul, Mes Aynak and more so in Bamiyan since there- in gallery A9 of the Eastern Monastery- I found five gold coins of sovereign Kidara. By this second Buddhist period schist sculpture is completely abandoned. If one still find schist sculptures here and there, in Kapisa, Kabul or at Mes Aynak, they are in fact reused sculptures. This second great Buddhist period is highlighted by a visible push to build small votive stupas. In Kapisa, Kabul and Mes Aynak these stupas are usually built with schist strips, whereas, I noticed that in Hadda the strips are first combined with limestone blocs and progressively the limestone becomes dominant. The smaller stupas in particular those that were built in the open air were covered with a weather resistant stucco slip made from lime. They were also covered with lime based stucco moldings that represented images of Budda, Bodhisattva, genies and other characters that would complement the iconographic Buddhist scenes. In this Buddhist world of the III-V centuries C.E. two sites would shine: Taxila and Hadda. In regars to Hadda, I will concentrate on the stucco moldings that adorned the stupas, the inscriptions on vases, and finally of the meditation cave of Tape Shotor. The latter is a very important monument for a better comprehension of Buddhism preceding the arrival of the Muslim armies. The Taxila moldings were discovered by British archaeologists between the XIX and XX centuries, whereas the Hadda stucos were excavated in the XX century by French archaeologists of the DAFA (MM. A. Godard, A. Foucher and mainly J. Barthoux). In the 1960’, Japanese archaeologists from the Kyoto University excavated, under the directorship of Pr. Mizuno, the site of Alma, located to the south West of Hadda. The most 16
important excavations are the masterpieces of the Afghan archaeologists who, in the 1960’ and 70’, excavated the sites of Tape Shotor and Tape Tope Kalan under the directorship of Sh. Mostamandi and myself. The French archaeologists excavated 500 out of the 1000 stupas Xuanzang mentioned; the Japanese excavated about 20 stupas and the Afghan archaeologists excavated and restored about 50 stupas. The Tape Shotor site, once restored, was transformed into an in situ outdoor museum. J. Barthoux discovered approximately 12000 to 15000 objects, most of them in stucco. About 3000 were saved following a first looting in the 1920’ and were shared according to the terms of a convention signed between Afghanistan and France. The objects that went to the French are exhibited at the Guimet Museum.Of what went to the Afghans there isn’t much left, following several destructions and looting. The first looting was of the Koti Baghtcha in the ancient royal palace. The second looting dates from the most recent civil war, when the Kabul Museum was looted, and a majority of the objects were sold from the Pakistani city of Peshawar. The third looting and destruction is a result of the Taliban.
(DIA 039 ) หากสังเกตชิ้นงานแกะสลักด้วยปูนขาวผสมทรายและหินอ่อนป่นที่มาจาก Hadda เป็นที่
สังเกตว่าชิ้นส่วนแกะสลักที่เกี่ยวกับพุทธศาสนามักจะทำขึ้นอย่างโอ่อ่าหรูหรา รูปแบบศิลปะเช่นนี้มีความ
กลมกลืนกันอย่างดีกับความเป็นพระพุทธรูป บ่งบอกความเป็นสัญลักษณ์ที่มีศิลปะผสมเชื่อมต่อระหว่าง
อินเดียกับ Hellenistic มีลักษณะศิลปะของ Hadda ที่มีความอ่อนช้อยแบบลูกคลื่นหรือมีเส้นผมเป็นลอน
อาจกล่าวได้ว่ามีพื้นฐานที่ถ่ายทอดกันมาจากเอเชียกลาง จีน เกาหลีและญี่ปุ่น
 (DIA 039) If one takes a look at some of the stucco pieces from Hadda, one notices that this stucco art is integrated in a period of the Buddhist world that had the most pomp. This art form is a harmonious combination of the Buddha’s image, slightly symbolized, as in a subtle mix of India and Hellenistic gain. The schematic of the undulations or the positioning of the hair curls, in Hadda, defines the base before transmitting it to Central Asia, China, Korea and Japan.

(DIA 040 ) งานปั้นรูปลำตัวค่อนข้างแฝงด้วยปรัชญา ศิลปะของ Haddaเป็นแนวศิลปะสมัยใหม่แขนง
หนึ่งที่ข้าพเจ้ามักนำไปเปรียบเทียบกับศิลปะของ Auguste Rodinและ Medardo Rosso
ช่างน่าเสียดายศิลปะอันมีชีวิตชีวาของ Haddaขาดความเข้มแข็ง จึงเป็นการบอกเล่าผ่านศิลปะ
ถึงการทำผลงานเพียงตามสั่ง เป็นผลให้พระสถูปต่างๆและพระเจดีย์ทั้งหลายประดับตกแต่งด้วยภาพ
เลียนแบบที่เหมือนๆ กันไปหมด
 (DIA 040) Aside from body of work that is almost academic, Hadda announces the concept of a modern art that I have often compared to the moldings of great masters, such as Auguste Rodin and Medardo Rosso. Unfortunately this vivacious art of Hadda looses its strength and expression as commissions increase more and more. As a result the stupas and the caityas are adorned with stereotypical images.

(DIA 041) จากการขุดค้นที่ต้นแหล่งของอัฟกานิสถานพบเหล่ารูปปั้นแกะสลักจากปูนขาวผสมทราย
และหินอ่อนป่นอยู่บนพระสถูป ส่วนใหญ่แล้วโดนปลดออกไป นี่เป็นเพียงส่วนน้อยที่เหลือในการปกป้องตัวอาคารไปพร้อมๆ กับชิ้นงานแม่พิมพ์แกะสลักจากปูนขาวผสมทรายและหินอ่อนป่นที่อยู่ข้างในเหล่าเจดีย์ทั้งหลายที่ประดับตกแต่งด้วยแบบพิมพ์ที่ฉาบทาด้วยปูนขาวผสมทรายและหินอ่อนป่นลงบนดินเหนียวของตัวเจดีย์
 (DIA 041) The stucco images originating from the Afghan excavations were in situ, on the stupas. The others, many of them, were detached, here a few of them. Along with the stucco moldings, the protected monuments build inside the caityas were adorned with moldings made of plaster stucco, applied directly to the clay.

(DIA 042 ) ตามบันทึกของพระถังซัมจั๋งที่กล่าวถึงการลดจำนวนของพระสถูปลงเหลือประมาณ ๑๐๐๐
องค์ อาจเป็นผลสืบเนื่องมาจากอิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน อย่างไรก็ตามจากหลักฐานที่ขุดค้นพบตัวอักษรที่เขียนด้วยหมึกจีนซึ่งจารลงบนเครื่องปั้นดินเผาที่พบในมีทั้งเขียนด้วยอักษร Kha -rosti, Brahmi และพบเห็นทั่วไปก็เป็นอักษร Prakrit และที่ข้าพเจ้ากับนักโบราณคดีฝรั่งเศสขุดค้นเจอ
ข้อเท็จจริงว่าวัดส่วนใหญ่ที่ Hadda เป็นวัดสังกัดนิกาย Sarvastivadin
เชื่อกันว่าคำบอกเล่าที่พระถังซัมจั๋งอ้างถึงนั้นเป็นสถานที่ในประเทศอัฟกานิสถานเนื่องจากไม่ได้
เอ่ยถึงแถบ Hadda ข้าพเจ้าอยากจะย้อนรอยภาพไปที่การเดินทางของพระถังซัมจั๋งตั้งแต่เข้าสู่ประเทศ
อัฟกานิสถาน ครั้งแรกท่านพูดถึงอาณาจักร Poho ( Bactres,ปัจจุบันคือ Balkh) บางครั้งเรียกว่า Bactriaท่านบอกว่าที่นี่มีวัดประมาณ๑๐๐แห่งแต่ละวัดมีพระสงฆ์ ๓๐๐๐ รูปศึกษาพระธรรมในนิกายหินยาน ยังได้เล่าถึงวัด Nava Sangharama ซึ่งมีพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ชิ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน และวัดนี้มีพระสถูปมากกว่า ๑๐๐ องค์แต่ละองค์สร้างอยู่บนพื้นที่ที่ใกล้กันมาก ข้าพเจ้าสนับสนุนข้อมูลนี้จะเห็นว่าแม้การลดจะนวนพระสถูปลงก็ไม่ถูกทางนิกายมหายานแบ่งแยกออกไปได้
ภาพจิตรกรรมบนผนังที่บามิยันทำให้เราปะติดปะต่อเรื่องราวว่าเป็นแรงบันดาลใจของพุทธ
ศาสนานิกายมหายาน และตองราบขอบพระคุณท่าพระถังซัมจั๋งทำให้เรารู้ว่ามีวัดอยู่๑๐แห่งในบามิยัน
ซ่งมีพระภิกษุหลายหมื่นรูปศึกษาในโรงเรียน Lokottaravadin
เรามาติดตามการจาริกของพระถังซัมจั๋งที่เมือง Kapisa ท่านเล่าว่ามีวัดหลายร้อยแห่ง แต่ละแห่ง
มีพระสงฆ์ประมาณ ๖๐,๐๐๐ รูป ศึกษาพุทธศาสนามหายาน ยังได้เอ่ยถึงทางตะวนออกของเมืองหลวงมีวัด
แห่งหนึ่งชื่อวัด Naransangharama มีพระสงฆ์ประมาณ ๓,๐๐๐ รูป ศึกษาพุทธศาสนานิกายหินยาน
ในยุคของกนิษกะอันเป็นปีที่ ๕๑แห่งรัชสมัย มีวัดแห่งหนึ่งตั้งอยู่ระหว่างกรุงคาบูลกับ Ghazni อยู่
ในเมือง Wardak เป็นของนิกาย Mahasanghikas อันเป็นส่วนหนึ่งของมหายานโบราณ
เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกบพุทธศาสนาในยุคก่อน Kushanเรากลับไปดูเรื่องไซท์สำคัญสองแห่ง
ที่ Hadda และบามิยัน ข้าพเจ้าจะไม่ลงรายละเอีดเนื่องจากเคยบรรยายมาแล้วก่อนหน้านี้ที่กรุงเทพฯ
ครั้งแรก Sassanidsได้ทำลายวัดต่างๆใน Begram, Hadda และบามิยัน ต่อมาทางฝ่าย Kushano-
Sassanids ด้ร่วมมือกันบูรณปฏิสังขรณ์ ผ่านการฟื้นฟูศิลปะในสมัยของพระเจ้า Kidarids
พระพุทธศาสนาได้รับการเยียวยาและกลับฟื้นคืนมา จากนั้นก็มีการวาดภาพจิตรกรรมฝาผนังบนพื้นที่ที่
กว้างใหญ่ที่ไม่ใช่ทางการนัก ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๕ ต่อกับต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๖ พวก Hephthalites ได้บุกรุกเข้ามาสามารถเอาชนะพันธมิตรเติกร์และ Sassanids แม้ว่าพวกเติกร์ตะวันตกจะครองอำนาจหลายครั้งก็ตามในระหว่างนั้นวัดต่างๆก็ได้ยุติบทบาทลงค่อยๆ ลดเลือนไปและลดจำนวนสมาชิกลง

(DIA 042) The increasing number of stupas, probably exceding 1000 stupas as reported by Xuanzang, are supposed to be a result of Mahayana Buddhism. However based on china ink inscriptions found on pottery -in Kharosti, Brahmi and generally Prakrit- I found, or those found by the French, all point to the fact that the Monasteries at Hadda belonged to the Sarvastivadin sect. Xuanzang who has mentioned most Buddhist beliefs he encountered in Afghanistan does not mention Hadda. I would like to go over his travels starting at his entrance in Afghanistan. First he talks about the kingdom of Poho (Bactres, today Balkh) in other words Bactria. He says that at Bactres there were about one hundred monasteries where one could account for three thousand monks who were studying the doctrine of the Smaller Vehicle (Hinayana). He talks about the Nava Sangharama monastery and its three sacred relics that belonged to Buddha himself. He also mentions that in that monastery the number of votive stupas exceeded one hundred and were all placed very close to one another. I emphasize on this information to illustrate how the increasing number of votive stupa is not solely attributed to Mahayana Buddhism. We know that the murals at Bamiyan give us compositions that are inspired by Mahayana 17
Buddhism, and yet thanks to Xuanzang we learn that the ten monasteries of Bamiyan and its thousands of monks belonged to the school of Lokottaravadin.Following the travels of Xuanzang we arrive in Kapisa. He says that there are about one hundred monasteries where one could account for six thousand monks who were studying the doctrine of the Mahayana Greater Vehicle. He also tells us that to the East of the capital there was a monastery called Naransangharama, where about three hundred monks were studying the doctrine of the Smaller Vehicle. In the days of Kanishka (51st year of his reign), located between Kabul and Ghazni, there was a monastery in Wardak that belonged to the Mahasanghikas, an ancient Mahayana sect. In order to understand post Kushan Buddhism, we have to go back to the two major sites of Hadda and Bamiyan. I will not detail these two sites since I have done so previously here in Bangkok. The monasteries at Begram, Hadda and Bamiyan are first destroyed by the Sassanids, and later restored by the Kushano-Sassanids and undergoes a renaissance thanks to the Kidarids; Buddhism heals its wounds and becomes organized. It is then that murals take on an unprecedented magnitude. In the first half of the V century and first half of the VI century the Hephthalites arrive, they are soon after challenged by a coalition of Turks and Sassanids, eventually the western Turks emerge winners. During that time, monasteries ceased to function, fade away or are downsized.

(DIA 043) ในช่วงสั้นๆที่อยู่ในปกครองของพวกเติร์กได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับงานศิลปะ เป็นเวลาที่
ต่อเนื่องในปลายคริสตศตวรรษที่๖ ต่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๗ อย่างเช่นพระสถูป Tope Rustam ที่ Bactres ซึ่งมีการบูรณะเพิ่มเติมใหม่ มีการแกะสลักพระพุทธรูปสูง ๕๕ เมตรที่บามิยัน มีการขยายวัดต่างๆใน Kapisa, Jajalalabad, Sorkhrod และ Hadda ( ตัวอย่างเช่นพระสถูปใหญ่แห่ง Tape Tope Kalan
การกลับมามีอำนาจของพวก Hephthalites ที่แผ่อิทธิพลมาจากทางอินเดีย ประเทศราชส่วนใหญ่
นับถือพุทธศาสนาอันเป็นศสนาแห่งการรู้แจ้งได้มีการเผยแผ่ครั้งใหญ่
สถานที่เราได้มีการขุดค้นที่กล่าวมาแล้วมีดังนี้คือ Mes Aynak, Algata of Wardak, Kabul,Fundukistan, Kharwar รวมถึงไซท์ที่อยู่ระหว่าง Logar กับ Ghazni เป็นต้น
ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเฟื่องฟูของจิตรกรรมฝาผนัง โดยเฉพาะระยะเวลาจากช่วงที่สองของคริสต์ศตวรรษที่ ๗ ตลอดถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๘ และบางแห่งเจริญรุ่งเรืองถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๙ พระพุทธศาสนาปักหลักมั่นคงโดยปราศจากเรื่องยุ่งยากแม้กองทัพมุสลิมยังคงมีอยู่ก็ตาม ต่อมาสาธุชนผู้มั่งคั่งและพวกอุปัฏฐากต่างเริ่มบริจาคทานและเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม วัดพุทธต่างๆ ในเขต
อัฟกานิสถานจึงเริ่มขาดแคลนผู้สนับสนุน เริ่มถูกปล่อยทิ้งร้าง คงเหลือไว้แต่ที่บามิยันที่ยังคงรุ่งเรืองอยู่
จนกระทั่งพวก Ghaznavidsได้แผ่อิทธิพลมาถึง
ดังที่ข้าพเจ้าเคยพูดถึงก่อนหน้านี้ว่า พื้นที่พุทธศาสนาด้านหน้าที่มีช่วงระยะทางยาวในประเทศ
อัฟกานิสถานนั้น ภาพจิตรกรรมฝาผนังได้มีการพัฒนาขึ้นอย่างชัดเจนโดยแสดงเรื่องราวที่มีคำอธิบาย
ประกอบบนอาคารสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรมในถ้ำ จะมีสักสอง-สามตัวอย่าง โดยเฉพาะสองแห่งที่
เด่นๆ ซึ่งบทวิเคราะห์จะทำให้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างพระสงฆ์ของวัดเหล่านี้กับนิกายต่างๆใน
พระพุทธศาสนา
 (DIA 043) The short lived peace that the western Turks brought was conducive to an extraordinary artistic renewal, during the end of the VI century and the beginning of the VII century, as can be seen in several places: Bactres for instance, where the Tope Rustam stupa was restored and refitted; the construction of the 55m Buddha statue at Bamiyan; the expansion of most of the monasteries in Kapisa, Jajalalabad, Sorkhrod and Hadda (for example the great stupa of Tape Tope Kalan) With the return of the Hephthalites from India and the independence of several local kingdoms devoted to Buddhism, the cult of the Enlightened One, expanded greatly. To the list of sites we already mentioned we must add, Mes Aynak, Algata of Wardak, Kabul, Fundukistan, and Kharwar, a site located between Logar and Ghazni, etc. During this time of prosperity for murals, in the second part of the VII century C.E, all along the VIII C.E. century, and in some areas during the IX century C.E., Buddhism resists without major difficulties, despite the presence of the Muslim armies. When the wealthy lay people and donors start to donate and convert to Islam, the monasteries are left without any economical resources or other substantial support from the lay people, and gradually disappear from the Afghan landscape. Only Bamiyan continues to resist until the arrival of the Ghaznavids. As I just mentioned, during this long Buddhist phase in Afghanistan, mural painting has undergone remarkable progress in the context of built architecture as well as cave architecture. I will discuss a few examples regarding these two domains to see if their analysis can help us better comprehend the relationship between the monks of these monasteries and Buddhist sects.

(DIA 044 ) ข้าพเจ้าเลือกปัทมปาณีเป็นตัวอย่างซึ่งเป็นภาพวาดอยู่บนผนังตรงบริเวณซอกหิน E ใน
Fundukistan จาการค้นพบเหรียญกษาปณ์หลายอันของสมัย Hephthalite มีเครื่องหมายอยู่บนเหรียญ
ของ Sassanid ที่บ่งบอกว่ารัฐแห่งมุสลิมปกครองในปีคริสตศตวรรษที่ ๖๘๙(พ.ศ.๑๒๓๒)
ข ้าพเจ้าจะให้ดูข้อความที่สอดคล้องกันบนชิ้นงานงดงามของแม่พิมพ์ศิลปะ Fundukistan เป็น
ศิลปะที่ได้รับถ่ายทอดจากแรงบันดาลใจของ Greco-Buddhist ไม่ห่างไกลจากศิลปะคุปต์จากอินเดียแล้วยังได้รับส่วนผสมศิลปะจากช่างศิลป์ Hephthalite
รูปปั้นพระโพธิสัตว์จากไซท์ Ghorband ล้วนแต่มีความสง่างามและเต็มไปด้วยศิลปะที่สมบูรณ์
แบบ ข้าพเจ้าจะขอปิดฉากข้อมูลตรงนี้ก่อน เรามาพูดถึงเรื่องภาพประติมากรรมที่อยู่ใกล้ๆ กับบามิยัน
 (DIA 044) I chose the Padmapani example, painted on the wall of Niche E in Fundukistan, because we know the date of the site, thanks to the discovery of several Hephthalite coins, one of which is Sassanid but countermarked by a Muslim governor in the year 689 C.E. Here I open a parenthesis on the refined molded art of Fundukistan, that is in its own right a heritage made of a combination of art inspired of the Greco-Buddhist, distant Guptas and post Guptas from India, and added to this mix we also have the Hephthalite artistic influences of the time. The Bodhisattva images from the site of Ghorband reached a grace and 18
artistic perfection. I close here the parenthesis and come back to the domain of mural paintings, close to Bamiyan.

( D IA 045) ภาพประติมากรรมที่เราเห็นนี้อยู่ในบามิยันและ Kakrak ตามที่พระถังซัมจั๋งท่านได้พูดถึง
ไว้ถึงแนวโน้มในการนับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งมีการประกาศที่ Mandala ข้อนี้ได้มีหลักฐาน
ยืนยันความจริงด้วยภาพประติมากรรมที่ประดับอยู่ตรงซอกหินบริเวณหลังคาโค้งเหนือพระพุทธรูปขนาด
สูง ๕๕ เมตร และภาพตรงซอกหินที่มีพระพุทธรูปประทับนั่งตรงกลุ่ม E, H และ I
ในบันทึกนี้เขียนไว้ว่าตรงส่วนกลางที่เหนือขึ้นไปเป็นภาพพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย์ผู้ทรงเป็น
ตัวแทนจากดุสิตเทวโลก
อันที่จริงพระองค์ทรงเป็นผู้ยิ่งใหญ่แห่งเทวโลกตามที่อ้างในพระสูตรการนั่งสมาธิที่เกี่ยวกับการ
บังเกิดขึ้นอีกครั้งของพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย์และพระสูตรเกี่ยวกับการบังเกิดขึ้นของพระศรีอริยเมต
ไตรย์บนสวรรค์ กล่าวถึงการสถิตอยู่ในดุสิตาเทวโลกและในอนาคตกาลจะเสด็จลงมาสู่โลกมนุษย์ สวรรค์ชั้นดุสิตเป็นสถานที่ที่ยังมีเบญจกามคุณ คำว่าดุสิตามีรากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤตว่า ดุสิตาแปลว่าความพึงพอใจ
เป็นที่น่าเสียดายที่ตอนกลางๆของบันทึก บอกเพียงชี้สถานที่ตั้งของพระพุทธรูปสูง ๕๕ เมตร
นอกนั้นไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมากไปกว่านี้
 (DIA 045) In the Bamiyan and Kakrak mural paintings we see, despite Xuanzang saying, a certain Mahayanist tendency, that announces the Mandala, this is also true in the mural painting adorning the vault of 55m Buddha statue’s niche, and the niches of the sitting Buddha statues in groups E, H and I. In this composition, the center of the higher part is occupied by a Maitreya Bodhisattva who is represented in the Tusita Sky. Indeed, he is represented as a Sovereign of a celestial world according to the Meditation Sutra on the Rebirth of the Maitreya Bodhisattva and the Sutra on the Rebirth of Maitreya in the Sky. It is said that he will reside in the Tusita Sky before descending to the world here below, in a distant future. The Tusita Sky is the world of voluptuous satisfaction as its name suggests. Tusita derives from the Sanskrit word tusita which means “satisfied”. Unfortunately of this central composition, located in the niche of the 55m Buddha statue, not much is left.

( D IA 046) ศิลปะแบบบามิยันไม่ได้ให้รายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับดุสิตเทวโลก ไม่ว่าจะเป็นแสงรัศมี
พวยพุ่ง การเนรมิตสถานที่ต่างๆ การจำลองเครื่องประดับเพชรพลอยของมีค่าตกแต่งพระราชวัง ต้นไม้ที่
ปลูกเป็นทิวแถว เทวดาและเทพธิดาแม้กระทั่งสถาปัตยกรรมหรือการจำลองสถานที่ก็เจาะจงที่จะลดทอนรายละเอียด
 (DIA 046) The Bamiyan artist does not fully express with exactitude the grand details of the Tusita Sky, such as the gush of light, source of creation, the transformation of jewels into palaces, or palisades in rows of trees, and in celestial beings and virgins, unless the architectural details and palisades were purposefully reduced.

( D IA 047) มีความเป็นไปได้ที่ศิลปะแบบบามิยันจะได้รับอิทธิพลมาจากพระสูตรที่ว่าด้วยเรื่องดอกบัว
และพระธรรมเทศนาว่าด้วยเรื่องสัจธรรม ซึ่งกล่าวถึงพระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย์ทรงแวดล้อมด้วยพระ
โพธิสัตว์ทั้งหลาย หากเทียบกับพระสูตรสมัยหลังที่มีการสื่อความหมายถึงพระโพธิสัตว์ทั้งหลายด้วยการ
แสดงรัศมีหลายๆวง หรือทำเป็นแฉกๆ หรือลักษณะโค้งวงกลมมีรัศมีหลายทิศทาง
(DIA 047) It is possible that this Bamiyan artist was inspired by the “Sutra of the Lotus and True Doctrine”, that states that the Maitreya Bodhisattva is surrounded by many bodhisattvas; close to the meaning of this latter sutra is also the representation of small arches, composed of alternating normal and trapezius arcs, that shelter the Bodhisattvas.

( D IA 048) อ้างจากพระสูตรว่าดินบริสุทธิ์จากดุสิตเทวโลกของพระศรีอริยเมตไตรย์เป็นเหตุให้บังเกิด
หมู่เทพธิดาหรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มีความงดงามอย่างหาที่เปรียบมิได้ พวกเธอเล่นดนตรีและมีความจงรักภักดีต่อพระโพธิสัตว์
เพื่อเพิ่มเติมอรรถรสในหลักฐานเกี่ยวกับภาพประติมากรรม ขอกลับไปเล่าเรื่องของ Hadda อีก
ครั้งและจะกระชับเรื่องของถ้ำที่ใช้นั่งสมาธิที่ Tape Shotor
 (DIA 048) It is said in the Sutra that the pure soil of the Tusita Sky of Maitreya is the cause for the emergence of celestial virgins or creatures of an incomparable beauty. They play music and worship the Bodhisattva. To complement this chapter on the mural paintings, I must go back to Hadda once again, and more precisely to the Meditation cave of Tape Shotor.

( D IA 049) มีถ้ำใหญ่แห่งหนึ่งที่มีบางส่วนอยู่ใต้ดิน เป็นถ้ำที่ถูกแกะสลักเข้าไปในเนื้อมวลก้อนกรวด
เจาะลึกเข้าไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของเนินเขาขนาดเล็กซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดแห่ง Tape Shotor ถ้ำแห่งนี้
มีความยาว ๙ เมตร กว้าง ๓ เมตร สูงน้อยกว่า ๒ เมตรนิดหน่อยและเป็นลักษณะหลังคาโค้ง ภายในถ้ำ
ประดับด้วยภาพประติมากรรมที่แสดงภาพของบุคคลสำคัญที่น่าเคารพบูชา สะท้อนให้เห็นถึงการทำอย่างรีบเร่งรวบรัด จากการศึกษาพบว่าพระสงฆ์ส่วนใหญ่พักอยู่ในวัด
 (DIA 049) It is a large cave partially underground, that was carved in a conglomerate mass, in the South West portion of the small hill on which the monastery of Tape Shotor was built. It measures a little less than 9 meters in length, about 3 meters in width and a little less than 2 meters in height. It is vaulted. It is adorned with very specific murals of great iconographic importance, though it seems that it was done rapidly even summarily, for an educated public, most likely the monks residing at the monastery.

( D IA 050 ) ตรงด้านล่างของผนังจะเห็นว่ามีการตกแต่งด้วยสีต่างๆ ทางผนังทิศเหนือใช้
เส้นทางที่หันหน้าเข้าประตูทางเข้า และทาสีดำและสีขาวตามผนังด้านข้าง รวมทั้งทิศตะวันออกและทิศ
ตะวันตก เหนือเส้นสีวาดเป็นภาพใบไม้ พืชผัก ดอกไม้ต่างๆและผลไม้ต่างๆจากต่างประเทศ ทั้งหมดนี้ได้แสดงฉันทลักษณ์อยู่บทหนึ่งกล่าวถึงดอกไม้กินสัตว์คู่หนึ่งชื่อว่า Nepenthes ดอกไม้ทางด้านซ้ายตกลงมาเป็นเส้นตรงราวกับสื่อว่าเป็นความตาย ในขณะที่ดอกไม้ทางด้านขวาชูดอกตั้งขึ้นราวกับสื่อถึงการเกิดหรือการเริ่มต้นแห่งชีวิต การเคลื่อนไหวเป็นคู่เช่นนี้เป็นข้อคิดถึงการสืบต่อเกิดดับของชีวิต
 (DIA 050) At the bottom of the walls, one could see the representation of colored drapes: black and red on the northern wall, facing the entrance, and black and white along the sidewalls, East and West. On these long walls, immediately above the drapes are drawn foliated vegetal scrolls, composed of leaves, flowers, and exotic fruits, the whole is given a rhythm with a pair of tropical carnivorous flowers called “Nepenthes”. The flower on the left falls vertically and mimics death, whereas the flower to the right stretches and mimics birth or the beginning of life. This double movement suggests a continuity of successive lives.

( D IA 051) ภาพที่ให้ความรู้สึกจับจิตจับใจของถ้ำนี้อันดับแรกก็คือสื่อแสดงนัยแห่งความตาย ภาพ
โครงกระดูกที่มีท่าทางต่างๆ และพุทธสาวกทั้งสิบรูปที่เกี่ยวข้องกับความตายเหมือนกัน สองรูปอยู่บนผนังด้านทิศเหนือตรงด้านซ้ายและด้านขวาของโครงกระดูก อีกสี่รูปอยู่บนผนังทางทิศตะวันออกและอีกสี่รูปอยู่บนผนังทางทิศตะวันตก
อย่างที่คิดว่าควรจะเป็นด้านหลังผนังทางทิศเหนือซึ่งอยู่ตรงหันหน้าเข้าทางเข้าเป็นจุดที่สำคัญ
ที่สุด นี่เป็นอัครสาวกนามว่าพระสารีบุตรอยุ่ทางขวามือ และทางซ้ายมือคือพระโมคคัลลานะ ทั้งสองรูปนี้
วาดออกมาให้ใหญ่กว่าพุทธสาวกรูปอื่นๆ และมีภาพธรรมจักรมุทรา หรือสิ่งที่เป็นสัญลักษณ์แทนพระ
ธรรมเทศนาและคำสอน
 (DIA 051) The images that are the most striking in this cave are first of all the representations of death under the traits of a skeleton, and Buddha’s ten disciples to either side of “death”, two on the northern wall, to the right and to the left of the skeleton, and four on each of the long walls (East and West). As it should be, the back wall (North), facing the entrance, is the most important. Here in order of importance the great disciple Sariputra is to the right, and to the left is Maudgalyayana. Both are painted larger than the other disciples and are represented in the Dharmacakramudra, in other words preaching and teaching. 19


(DIA 052 ) ในอีกแง่มุมหนึ่งพุทธสาวกแปดรูปแบ่งออกเป็นสี่รูปบนผนังแต่ละด้านและวาดพุทธสาวกอีก
สองรูปอยู่ตรงด้านหลังของผนังหนึ่ง ทุกรูปล้วนอยู่ในท่านั่งสมาธิมีแสงไฟพวยพุ่งออกมาจากบ่าไหล่ทั้ง
สองข้าง ในลำดับนี้ข้าพเจ้าจะพูดถึงพุทธสาวกลำดับที่ ๓ เพราะมีความสำคัญ ท่านคือพระอนุรุทธิ์ ที่ถูกวาดภาพไว้บนผนังทิศตะวันตก ในส่วนที่ ๕ คือพระสุภูติ ซึ่งข้าพเจ้าเคยอ่านเจออีกชื่อว่าพระ Sudarsana หนังสือที่ได้อ่านนั้นได้เปิดเผยถึงขอบเขตใหม่ในการค้นคว้าประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาใน
ภาคพื้นตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย นอกเหนือจากนี้ก็น่าจะคำนึงถึง Mulasarvastivadin ใน Hadda
อย่างที่ทราบกันอยู่ว่าทั้งพระกฤษณะและพระ Sudarsana ต่างเป็นปรมาจารย์แห่งนิกาย Mulasarvastivadin
(DIA 052) On the other hand the eight other disciples are four on each walls and painted smaller that the two disciples of the back wall; they are all in meditation and flames are gushing out of their shoulders. Of this series I will begin with presentation #3 in order of importance, it is Aniruddha who is drawn on the western wall. In fifth place is Subhuti, for whom I have a new read: namely Sudarsana. This reading opens a new horizon in the research on the history of Buddhism in the North West of India, and more so in regards to the presence of Mulasarvastivadin in Hadda. We know that with Krsna (Krishna), Sudarsana was one of the two first masters of the Mulasarvastivadin sect. The latter date for these paintings is placed between the V and the VII century


(DIA 053 ) องค์ที่ ๖ อยู่บนผนังทิศใต้คือ พระ Maitrayaniputra สำหรับบนผนังทิศตะวันออกเป็นพุทธ
สาวกองค์ที่ ๗ น่าจะเป็นพระ Katyayana ภาพนี้ไม่ค่อยเหลืออะไรนอกจากกลีบจีวรของท่าน ในอีกด้าน
คือทิศตะวันตกจะเห็นภาพนี้ชัดเจนทีเดียวพุทธสาวกองค์ที่ ๘ พระอานนท์ พุทธสาวกองค์ที่ ๙ คือ พระอุบาลีหรืออาจจะเป็นพระราหุล ซึ่งเคยมีภาพอยู่ทางผนังทิศตะวันออกแต่ตอนนี้ไม่เหลืออะไรเลย ในส่วนของถ้ำแห่งนี้ตรงทางเข้าด้านขวามือถูกทำลายลงอย่างกว้างขวางเนื่องจากการยุบตัวพังทลายของผนังถ้ำ พุทธสาวกองค์ที่ ๑๐ ตอนแรกภาพอยู่บนผนังทิศตะวันตก ตรงทางเข้า เป็นพระเถระที่มีชื่อเสียง
นามว่าพระอุปคุต (Upagupta) ผู้มีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระเจ้าอโศกและเป็นที่พระอาจารย์ที่ปรึกษาของพระ
เจ้าอโศกด้วย เป็นผู้ก่อตั้งนิกายสรวาสติวาทิน (Sarvastivadin)
เราได้เห็นแล้วว่าภารกิจทางโบราณคดีในการขุดค้นที่ประเทศอัฟกานิสถานส่งผลถึงพยานเอกสารสำคัญต่อพระพุทธศาสนา การเผยแผ่ การจาริก และความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบงานศิลปะโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานสร้างสรรค์พระพุทธรูป เป็นเรื่องน่าเศร้าใจที่๓๐ปีที่แล้วมีการขุดค้นอย่างผิดกฎหมายและการขโมยมรดกทางพุทธศิลป์ อาจกล่าวได้ว่าการวิจัยในทางวิทยาศาสตร์ก็มีอุปสรรคและมีเหตุที่ค่อนข้างอันตราย สำหรับตัวอย่างของต้นฉบับที่ยังไม่สามารถยืนยันแหล่งกำเนิดได้มีการตีพิมพ์ในนามของบามิยัน ในความเห็นของข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการตัดสินที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนเหตุผลนักไม่เช่นนั้นก็เป็นความไม่มีสัตย์
เมื่อพิจารณาถึงสถาปัตยกรรมที่สร้างวัดพุทธในประเทศอัฟกานิสถาน การขุดค้นทำให้พิสูจน์เห็นว่ามีการสร้างสืบต่อกันมาตลอกจากทางอินเดีย คันธาระ Swat, Kapisa และเอเซียกลาง
ตำราหลายเล่มได้กล่าวถึงว่าการสร้างวัดไม่ควรจะไกลหรือใกล้เมืองหรือหมู่บ้านจนเกินไป หากใกล้นักก็จะเป็นการรบกวนหรือเป็นอุปสรรคต่อพระสงฆ์ที่กำลังนั่งปฏิบัติธรรม หากสร้างไกลไปก็เป็นการยากลำบากแก่พระสงฆ์ที่จะเดินไปกลับเพื่อบิณฑบาตหรือแบ่งปันภัตตาหารให้แก่หมู่สงฆ์
(DIA 053) In sixth place and on the western wall is Maitrayaniputra. On the eastern wall, of the image of the seventh disciple, possibly Katyayana (?), there is not much left except for some pleats of his clothes. On the other hand on the western wall we can very well see the image of the eighth disciple, Ananda. Of the ninth disciple, Upali or Rahula, who used to be placed on the eastern wall, there is nothing left. That part of the cave, located immediately to the right, by the entrance, is extensively damaged due to a collapsing of the wall. The tenth disciple, first to be located on the western wall, by the entrance, is the famous patriarch Upagupta who was contemporary and advisor to Asoka the fonder of the Sarvastivadin sect. We have just seen how official archaeological missions on the Afghan soil have delivered important documentation on Buddhism, its expansion, migration and artistic transformation, and most of all on the creation of Buddha’s image. Sadly, the last 30 years of illegal excavation and looting of the Buddhist heritage have, to say the least, hindered scientific research and caused much harm. For instance some manuscripts of uncertain origins have been published in the name of Bamiyan, which seems a bit arbitrary if not dishonest in my opinion. In regards to the architecture of the Buddhist monasteries of Afghanistan, excavations have demonstrated continuity from India, Gandhara, Swat, Kapisa and Central Asia. In texts, it is said that a monastery should be built nor too far, nor too close to cities or villages. Too close would hinder or perturb the monk’s meditation. Too far would make it difficult for a monk to walk at a reasonable pace from the monastery to the city or village and back in order to collect food and share it with the members of his community.

(DIA 054 ) โดยทั่วไปแล้วการสร้างวัดจะสร้างไว้นอกเมือง อยู่ด้านข้างเมืองหรือในสถานที่ที่ได้รับ
อนุญาต บางคราวหากสถานที่หายากก็อาจสร้างวัดไว้ในเมือง เหมือนอย่างที่ตักสิลา ๒
วัดเหล่านี้มีการวางแปลนแบ่งออกเป็นสองส่วนประกอบด้วยพื้นที่สี่เหลี่ยมสองแห่ง แห่งแรกจะ
สำรองสำหรับสนามโล่งกว้างใหญ่ล้อมรอบวิหารและบางครั้งก็สร้างห้องประชุมที่เรียกว่า โปสถาคาร (Posadhagara)
ในส่วนที่สองสร้างพระสถูปหรือพระเจดีย์เพื่อเป็นสถานที่ที่ประกอบพิธีสักการะบูชาของสาธุชน
 (DIA 054) Usually monasteries are built outside cities, on the side of it, or as the topography of the place permits. In some rare occasions the monastery might be built inside of a city, as is the case in Taxila II. These monasteries had a bipartite plan composed of two quadrangles. The first was reserved for a large courtyard around which articulated the monk’s Viharas and sometimes the conference room: Posadhagara. The second hosted stupas and caityas dedicated to public cult.

(DIA 055 ) ในความเห็นช่วงนี้ขอยกตัวอย่างสักสองตัวอย่าง อันที่หนึ่งแสดงภาพวัดแบบคันธาระ Gandhara
และอีกภาพเป็นวัดแบบ Baghgaiใน Hadda
 (DIA 055) In this regards I chose two examples: one showing a Gandhara monastery and the other a monastery of Baghgai in Hadda.

(DIA 056 ) หากแบบแปลนแบบสองส่วนมีการพัฒนาออกไปแตกต่างกัน ย่อมขึ้นอยู่กันสองปัจจัย ซึ่งก็
คือสถานที่ที่ได้รับอนุญาตที่กระทบถึงสถานการณ์ต่อแบบแปลนพื้นฐาน หรือขึ้นอยู่กับระยะเวลาก่อสร้าง
ที่ยืดเยื้อจนมีการสร้างต่อเติมอยู่เรื่อยๆ เหมือนในกรณีของ Kalawan (Gandhara) และ Tape Shotor
แห่ง Hadda
 (DIA 056) If the bipartite plan develops differently, it depends on two factors, either on the topography of the place that would affect the coherence of the basic plan, or the extended length of time during which were created additions, as is the case in Kalawan (Gandhara) and Tape Shotor of Hadda.

(DIA 057 ) เหตุบังเอิญที่เกี่ยวกับภูมิประเทศที่จะก่อสร้างสถานที่ ห้ามไม่ให้สร้างวัดตรงหน้าผา ในการ
ก่อสร้างวัดนั้นเดิมทีแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งเป็นกุฏิสงฆ์ อีกส่วนหนึ่งสำหรับประกอบพิธีกรรมทาง
ศาสนาร่วมกับสาธุชน เราจะเห็นว่ามีวัดที่เป็นลักษระทั่วๆ ไปแบบนี้เช่นที่ Jamalghari, Tareli, Gandhara
และ Tape Narenj ในกรุงคาบูล
ความสัมพันธ์ระหว่างวัดที่สร้างบริเวณหน้าผากับวัดที่สร้างในเมืองยังไม่ได้ศึกษาค้นคว้าอย่าง
เต็มประสิทธิภาพจนกระทั่งมีการขุดค้นที่ Mes Aynak เมื่อเร็วๆนี้
 (DIA 057) The accidental topography of the places creates a sort of dislocation for monasteries built in cliffs. Instead of being built in two initial parts, one is reserved for private lodging 20
for the monks and the other for the public’s cult. We can see several ensembles of this kind in the monasteries of Jamalghari, Tareli, Gandhara and Tape Narenj in Kabul. The relationships between the monasteries built in cliffs and the nearby cities were not studied in an efficient way until the recent excavations of Mes Aynak.

ข ้าพเจ้าจะสาธยายถึงการขุดค้นใน Mes Aynak โดยทั่วๆไปแล้วข้าพเจ้าได้ทำการขุดค้นพร้อม
กับบุตรสาวคือ คุณ Nadia Tarzi-Saccardi ซึ่งได้เคยบรรยายหัวข้อนี้ไปแล้วที่กรุงเทพ
อะไรคืองานวิจัยที่สำคัญของข้าพเจ้าในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัดพุทธและเมืองโบราณต่างๆ
ก็เพื่อทำความเข้าใจหาคำตอบที่จะนำไปสู่เหตุผลต่างๆ ที่ทำให้เกิดการรวมตัวของประชาชนที่ก่อสงครามขึ้น เรื่องเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และลัทธิความเชื่อของชนกลุ่มน้อยต่างๆที่ Mes Aynak
ความจริงที่ Mes Aynak เป็นสถานที่ที่แตกต่างเป็นพิเศษ มีคำถามว่าที่นี่เป็นเมืองแล้วมีวัดพุทธ
หลายแห่งสร้างอยู่บนเหมืองทองแดง
ข้าพเจ้าจินตนาการภาพออกว่าเฟสเริ่มแรกที่สถาปนาที่ Mes Aynak นั้นแรกๆเป็นชุมชนธรรมดาในหมู่บ้านและได้มีการพัฒนาเป็นกิจกรรมเหมืองแร่ ในขณะที่ทุกหนแห่งของประเทศอัฟกานิสถานเวลานั้นล้วนสร้างวัดเริ่มจากที่ Sakas ซึ่งเป็นแห่งแรกของราชวงศ์กุษาน Kushan ซึ่งวัดเหล่านั้นอยู่ห่างจากชุมชนเล็กๆนี้ ที่ที่เริ่มอาศัยอยู่กันตามตีนเขาและใกล้ๆแหล่งน้ำที่ตักใช้สอยได้สะดวก
I will not dwell on the Me s Ayank excavation in general as I have done so several time and my daughter Nadia Tarzi-Saccardi presented on the subject to you here in Bangkok. What is important in my research on the relationship between Buddhist monasteries and the ancient cities, is to understand the reasons that led to a fusion of civil, economic, industrial and religious habitats at Mes Aynak. It is true that Mes Aynak is exceptional. It is question of a city and Buddhist monasteries built on top of copper mines. I could imagine the initial phase of installation at Mes Aynak that became at first a simple community in the valley and the development of mining activities. As everywhere in Afghanistan starting with the Sakas and the first Kushan, the initial building of monasteries was done far away from this small community had often began at the summit of small foothills and also near by potable water sources.

ข ้าพเจ้าคิดว่า Kushan ผู้ยิ่งใหญ่ การเกิดขึ้นของเหมืองแร่มาจากคำสั่งของส่วนกลางผู้ทรงอำนาจ ในยุคที่มีการขุดค้นกันคือคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ได้ค้นพบว่า พวกกรรมาชนจากชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่รอบๆ วัด ในคริสต์ศตวรรษที่ ๖ด้วยความได้เปรียบจากสงครามและความอ่อนแอของส่วนกลางผู้ทรงอำนาจ กลุ่มที่มาขุดทอง กลุ่มขุดทองแดงและนักขุดที่ทำแก้วได้รวมตัวกันเพื่อประสานกันระหว่างอาชีพที่ค้าวัตถุมีค่าเหล่านี้ซึ่งได้รับความสะดวกราบรื่นใน Mes Aynak และได้ครอบครองพื้นผิวทั้งหมดโดยปราศจากความกลัวเกรงใดๆ ทางวัดก็ได้แต่มองว่าพวกตนถูกล้อมรอบด้วยชนเผ่าที่ไม่นับถือศาสนาและมีการหลอมโลหะ เหมืองแร่และโรงงาน
นอกจากเอกสารและตำราที่เกี่ยวข้องกับ Mes Aynak ข้าพเจ้าจะขอเสนอข้อสมมุตติฐานใหม่ การ
ค่อยๆ ซึมซับความเป็นอยู่ร่วมกันของวัดกับผู้ใช้แรงงานต่างถิ่น ระหว่างความสมานฉันท์และการค้าต่างๆ
ในอีกฝ่ายหนึ่งตามหลักฐานแล้วก็ไม่เคยเห็นว่าพระพุทธศาสนาใช้อำนาจใดๆ ตัวอย่างของ M e s A y n a k นั้นเป็นการถูกต้องที่ควรจะเป็น เนื่องจากมีผู้เปิดหนทางเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่โดยได้รับผลประโยชน์และบทบาทของวัดพุทธต่อกิจการทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้
ขอบคุณครับ
 I think that at the time of the Great Kushan, mineral extraction depended on the central power. At the light of excavations we find that by the IV century C.E., civil habitat surrounded the monasteries. By the VI century C.E. taking advantage of wars and the weakness of the central power, groups of gold, copper and glass diggers formed confederations linking these three precious materials that were available at Mes Aynak and took over in their entirety the surfaces to be exploited. And so the Buddhist monasteries saw themselves surrounded very tightly by non-religious habitats, and metallurgy and mineral extraction workshops. Aside documents and texts regarding Mes Aynak I will propose new hypothesis. This osmosis created between the civil habitats and the Buddhist monasteries, between the confederations and various trades on one hand, and on the other hand the Buddhist religious power has never been seen before with so much evidence. The Mes Aynak example deserves that one opens a new chapter on the contribution and role of Buddhist monasteries in the economical affairs of the region.
 Thank you.