วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 2 ตามหาธรรมกายจากคัมภีร์มหายานมหาปรินิพพานสูตร 《大般涅盤經》

SHARE
ตอน 2 ตามหาธรรมกายจากคัมภีร์มหายานมหาปรินิพพานสูตร 《大般涅盤經》

มหาปรินิรวาณสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งที่บันทึกด้วยภาษาสันสกฤตอักษรกุษาณะพราหมีในราว พุทธศตวรรษที่ ๖-๗ (ศ ๑-๒)1 และได้ถูกแปลมาเป็นภาษาจีน ในพุทธ ศตวรรษที่ ๙ (ศ๔) โดยท่านฟาเหียน พุทธภัทร และ ธรรมเกษม และถูกแปลมาเป็น ภาษาธิเบต ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ (ศ ๘) โดยท่านชินมิตร ชญานะครรพ และ เทวจันทระ มหาปรินิรวาณสูตร เป็นพระสูตรหนึ่งที่กล่าวบันทึกด้วยเรื่องราวเกี่ยวกับ แนวความคิด ตถาคตครรภะ ซึ่งเป็นแนวความคิดที่มีปรากฏในหลาย ๆ พระสูตร เช่น ศรีมาลาเทวีสิงห นาทสูตร ตถาคตครรภสูตร อังคุลีมาลียสูตรเป็นต้น มหาปรินิรวาณสูตรเป็นพระสูตร สุดท้ายที่พระพุทธองค์ได้เทศน์สั่งสอนก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน เนื้อหาในพระสูตรนี้ มีความแตกต่างจากพระสูตรอื่น ตรงที่พระสูตรนี้จะพูดถึงความเป็นพุทธธาตุ และความเป็นตัวตนที่แท้จริงของมนุษย์


           มหาปรินิรวาณสูตรเป็นพระสูตรใหญ่ มีจำนวน 40 ผูก เป็นหัวใจ และมีสูตรปกิณณะ เช่น มหากรุณาสูตร 5 ผูก, มหามายาสูตร 2 ผูก, มหาเมฆสูตร 4 ผูก, อันตรภาวสูตร 2 ผูก เป็น อาทิ ฯลฯ

มหายานมหาปรินิรฺวาณสูตฺร ได้กล่าวอ้างอิงถึงพระสูตรของมหายานอีก 4 พระสูตร คือ
1. ศูรงฺคมสมาธิ 2 ครั้ง พบในพระสูตรที่ T374
2. ปรัชญาสูตรฉบับใหญ่ โดยหมายเหตุว่าชื่อพระสูตรปรัชญาสูตรฉบับใหญ่นี้ตรงกับชื่อ
ปญฺจวิมฺศติสาหสฺริกาของกุมารชีพ ในพระสูตรลำดับที่ T223
3. สทฺธรฺมปุณฺฑริกสูตฺร โดยเรียกเพียงว่า ฝ่าฮวา (ธรรมบุษบา) 法花
4. อวตงฺสกสูตฺร โดยเรียกเพียงว่า จ๋าฮวาจิง 雜花經 3 ครั้ง พบในพระสูตร T374

มหาปรินิรวาณสูตร

          พระสูตรนี้ ขยายความจากนิพพานของเถรวาทมารวมกับแนวคิดของมหายานที่แตกต่างกับพระสูตรอื่นนั้น ความจริงหลักธรรมเป็นแนวทางที่จะละความหลงไปสู่ความเห็นแจ้งเพื่อความหลุดพ้น แต่ความหลุดพ้นอันอาศัยการละความหลงไปสู่การเห็นแจ้งนั้น มีอยู่ทางเดี่ยว คือด้วยจิตของเรา ที่ว่าตถาคตครรภ พุทธจิต ธรรมกาย พุทธกายหรือนิพพานก็ตาม ล้วนเป็นการสังเกตุจากจิต
พระสูตรนี้ถือว่า การนิพพานของพระองค์ ไม่เป็นแง่ลบตามที่เคยเข้าใจกันแต่เป็นการแสดงออกของ "ความใหญ่ยิ่งของมหาอัตต" เป็นนิจจัง เป็นสุข เป็นวิสุทธิ แม้พระวรกายที่เราเห็นจะดับไปก็ตาม แต่พระวรกายที่แท้จริงยังคงมีอยู่ และพระวรกายที่แท้จริงนี้ มีอยู่เพื่อจะโปรดสัตว์ จึงได้บันดาลให้เกิดเป็นนิรมานกายและสัมโภคกาย
          จากแนวคิดพระวรกายยังสถิตย์อยู่ ดำเนินมาถึงพระวรกายในประวัติศาสตร์ก็ยังคงสถิตย์อยู่นั้น เริ่มด้วยสัทธรรมปุณฑริกสูตร ต่อด้วยพระสูตรนี้แล้วถูกขยายไปอีกในสุวรรณประภาสูตร
          พระสูตรนี้ เริ่มด้วยการถือว่า สัตว์โลกมีพุทธภาวะอยู่ทั้งสิ้น จบลงด้วยการถือว่า พระองค์ทรงสถิตย์อยู่เป็นนิตย์ เมื่อเช่นนี้ก็เป็นอันรับรองว่าสัตว์โลกจะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าได้ทั้งสิ้น ความจริงตามแนวคิดของสายตถาคตครรภ แม้จะยืนยันว่าสัตว์โลกบรรลุถึงพุทธภูมิได้ทั้งสิ้น แต่ก็มีข้อแม้ว่าประเภทอิจฉันติกะสำเร็จไม่ได้ แต่พระสูตรนี้รับรองว่าอิจฉันติกะก็จะสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าในที่สุด เพราะว่า อิจฉันติกะแม้จะไม่ประกอบกุศลกรรม แต่พุทธภาวะที่มีอยู่เป็นกุศลกรรม เมื่อมีพุทธภาวะย่อมต้องบรรลุในพุทธภาวะถึงพุทธภูมิได้ในวันใดวันหนึ่งอย่างแน่นอน
          แนวคิดดังกล่าว แม้จะไม่ใช่สูตรนี้สร้างขึ้นทั้งหมด แต่เนื่องจากเป็นพระสูตรใหญ่จึงเป็นการสนับสนุนให้หลักธรรมเหล่านี้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเป็นสาระสำคัญของพุทธศาสนาในอินเดีย รวมทั้งมีอิทธิพลมากในจีนด้วย
(http://www.mahayana.in.th/buddhism/mahayan.html)

มหาปรินิรวาณมหาสูตรมีความเด่นในเนื้อหาด้วยเหตุ 2 ประการด้วยกันคือ
•ประการแรกส่วนล่าสุดของพระสูตรซึ่งแปลเป็นภาษาจีน (ด้วยต้นฉบับที่มาค่อนข้างคลุมเครือ) นั้นจะสอนถึงการตรัสรู้ธรรมที่เป็นสากล สอนให้เห็นถึงความมีอยู่ของตถาคตครรภะและสถานภาพของความเป็นพุทธะ แม้แต่ในกรณีของบุคคลที่มีความชั่วร้ายและเลวทรามจริง ๆ ผู้ซึ่งไม่มีพื้นฐานทางจิตวิญญาณที่เรียกว่าอิจฉันติกะ (icchan-tikas) ตลอดจนบุคคลที่ถือว่าแทบไม่มีความหวังเลยในการปฏิบัติ สัตว์โลกหรือมนุษย์ทั้งหลายไม่เว้นผู้ใดต่างก็มีธรรมชาติของความเป็นพุทธะอยู่ภายในทั้งสิ้น

•ประการที่สองคือเหตุผลที่ว่าทำไมมหาปรินิรวาณมหาสูตรมีความสำคัญก็เพราะว่า พระสูตรนี้ได้ยํ้าโดยตรงว่าแก่นแท้ของพุทธะหรือธรรมชาติของความเป็นพุทธะที่มีอยู่แล้วในทุก ๆ คน นั้นก็คืออัตตานั่นเอง (Zimmermann 2002: 83, n. 176) สิ่งนี้มีความขัดแย้งโดยตรงกับพระสูตรอื่นที่จะเลี่ยงใช้คำว่าอัตตาที่เกี่ยวข้องกับตถาคตครรภะ

             พระไตรปิฎกภาษาจีน (อักษรจีน: 大藏經 Dàzàngjīng ต้าจั้งจิง) เป็นพระไตรปิฎกที่รวบรวมเอาคัมภีร์ทั้งของทั้งสามนิกายคือ ๑.ฝ่ายนิกายหินยานเรียกส่วนนี้ว่าอาคม ๒. คัมภีร์ของฝ่ายมหายาน และ ๓.บางส่วนของวัชรยาน พระไตรปิฏกนี้ใช้เหมือนกันทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เพียงแต่มีสำเนียงต่างกัน เรียกในสำเนียงญี่ปุ่นว่า "ไดโซเคียว" ในสำเนียงเกาหลีเรียกว่า "แทจังคยอง" และในสำเนียงเวียดนามเรียกว่า "ไดตังกิง"
             นับตั้งแต่พุทธศาสนาเผยแผ่เข้ามาถึงแผ่นดิจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ได้มีการแปลพระธรรมวินัยกันแล้ว โดยการแปลพระธรรมวินัยครั้งแรก เป็นผลงานของพระอันซื่อกาว (安世高) พระภิกษุชาวพาร์เธีย และต่อมาไม่นานนักได้รับการเผยแพร่ในวงกว้างโดยพระโลกะเกษม (支婁迦讖) พระภิกษุชาวกุษาณะ
คัดมาจาก http://www.wikiwand.com/th/พระไตรปิฎกภาษาจีน

SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: