วันอาทิตย์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน

SHARE

         คติเรื่องพระพุทธเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วน เป็นเรื่องจริงที่ยังไม่แพร่หลายในกลุ่มชาวพุทธเถรวาท โดยชาวพุทธส่วนใหญ่คิดว่าไม่มีหรือไม่เคยมีในหลักฐานฝ่ายคัมภีร์เถรวาท หรือถ้ามีก็มีปรากฏในหลักฐานทางคัมภีร์พระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานเท่านั้น เนื่องจากชาวพุทธเถรวาทไม่ได้รับความรู้ความเข้าใจและตระหนักความสำคัญเรื่อง พระพุทธเจ้ามีมากมายนับไม่ถ้วนนี้มากนัก
The concept that there are innumerable Buddhas is a truth not widely known among Theravada Buddhists. Most Theravada Buddhists believe that this concept does not exist or has never appeared in the Theravada scripture canon. If it does appear, it is only found in Mahayana Buddhist scriptures. This is because Theravada Buddhists have not been significantly exposed to, understood, or realized the importance of the belief in the existence of countless Buddhas.
      แต่ก็จะปรากฏให้ทราบเป็นเพียงว่าในกัปนี้จะมีพุทธเจ้า 5 พระองค์ โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราเป็นองค์ที่ 4 และจะมีพระศรีอริยเมตไตรยมาบังเกิดอีกในอนาคต ถ้าได้ศึกษาเพิ่มขึ้นจะเห็นว่ามีการอุปมาความมากของพระพุทธเจ้าดั่งเม็ดทรายในแม่น้ำคงคาหรือมหาสมุทร
However, it is acknowledged that in this era, there will be five Buddhas, with our current Buddha, Shakyamuni Buddha, being the fourth, and Maitreya Buddha to appear in the future. Further study reveals the analogy that Buddhas are as numerous as grains of sand in the Ganges river or the ocean.

ภาพพระพุทธเจ้ามากมายที่ผนังถ้ำตุนฮวง จีน http://www.lmsk.cn/e-commerce/CompHonorBig.asp?id=210&n=2

ตามคติความเชื่อเรื่องพระพุทธเจ้าจำนวนนับไม่ถ้วน มีมาทั้งสองนิกาย เช่น คัมภีร์เถรวาท เช่น วิสุทธชนวิลาสินี ในขุททกนิกาย อปทานกล่าวว่า เหตุแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายพึงเห็นว่าบารมี 30 ถ้วนมีทานบารมีเป็นต้น เป็นเหตุของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่น้อย อุปมาดั่งเมล็ดทรายในคงคา (คงคาวาลุกูปมานํ อเนเกสํ พุทฺธานํ ทานปารมิตาทิสมตึสปารมิตา การณานิ)

gaagāvālukūpamāna anekesa buddhāna dānapāramitādisamatisapāramitā kāraāni

This belief in countless Buddhas is present in both the Theravada and Mahayana traditions. For example, In the Apadāna of the Khuddaka Nikāya, it is mentioned as "Wisuthichanwilasinee.", stating that the cause of many Buddhas should be understood as the thirty perfections, with the perfection of giving as the beginning, likening the countless Buddhas to grains of sand in the Ganges (Gaṅgāvālukūpamānaṃ anekesaṃ buddhānaṃ dānapāramitādisamatiṃsapāramitā kāraṇāni).

และตามคัมภีร์ของมหายาน เช่น อปริมิตธารณีกล่าวว่า .พระพุทธเจ้าผู้ซึ่งได้บังเกิดมาแล้ว และที่กำลังจะเกิดมาอีก มีจำนวนมากมายยิ่ง กว่าเม็ดทรายริมฝั่งแม่น้ำคงคา”  The Buddhas who have been, and will be, are more numerous than the Grains of sand on the banks of the Ganges (Aparimita-Dharani)  

Similarly, Mahayana scriptures, like the Aparimita-Dharani, state, "The Buddhas who have been and will be are more numerous than the grains of sand on the banks of the Ganges."

ที่มา Alice Getty, The Gods of Northern Buddhism: Their History, Iconography and Progressive Evolution Through the Northern Buddhist, Rutland, Vt. Charles E. Tuttle (Oxford: The Clarendon press, 1962), 16.

          ความเชื่อที่ว่า อดีตกาลที่ผ่านมาอันหาเบื้องต้นและหาที่สิ้นสุดไม่ได้นั้นเคยมีพระพุทธเจ้ามาแล้วนับพระองค์ไม่ถ้วน ประหนึ่งเม็ดทรายในแม่น้ำคงคา และในอนาคตข้างหน้าก็จะมีผู้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอีกเช่นเดียวกัน คติความเชื่อนี้มีมาทั้งในพุทธศาสนาเถรวาทมหายานและวัชรยาน เป็นการเน้นย้ำถึงความเป็น อกาลิโก” ความไม่จำกัดด้วยกาลเวลาหรือความไม่มีกาลเวลาของพระพุทธศาสนา ปรากฏออกมาเป็นสื่อทางวรรณกรรมและจิตรกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่นในจิตรกรรมจำนวนมากที่แสดงถึงพระอดีตพุทธเจ้ามากมายนับไม่ถ้วน ที่ได้รับการประดับถ่ายทอดออกมาเป็นจิตรกรรมและศิลปะพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องจากอดีตจนถึงปัจจุบันนี้
The belief that there have been countless Buddhas in the immeasurable past, akin to grains of sand in the Ganges River, and that there will be more Buddhas to come in the future, exists in Theravada, Mahayana, and Vajrayana Buddhism. This emphasizes the concept of "akaliko" - the timelessness or the independence of Buddhism from temporal constraints. This belief has been represented in Buddhist literature and art, as seen in numerous paintings depicting innumerable past Buddhas, continuously embellished and transmitted through Buddhist art and literature from the past to the present.



ภาพพระพุทธเจ้าภายในผนังถ้ำคอว์กูนเป็นถ้ำทางพุทธศาสนา ใกล้เมืองปะอาน เมืองหลวงของรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า 
The images of Buddhas on the walls of the Kawkoon Cave, a Buddhist cave near Pa-an, the capital city of the Karenni State, Myanmar.

ภาพพระพุทธเจ้ามากมายภายในถ้ำ“วัดเก๊าะกะตาว”(Kaw Ka Thaung) 
Numerous Buddha images inside the "Kaw Ka Thaung" Cave.


              

ที่มา http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/paintingth/เมียนมาร์/item/344-พระอดีตพุทธเจ้าที่มากมายนับไม่ถ้วนเจดีย์ปยาตองสู.html

           ประเทศที่ได้รับการสืบทอดพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาจากอินเดียในยุคแรกๆ คือประเทศศรีลังกา ก็ปรากฏมีพุทธศิลป์เกี่ยวกับความมีมากมายของพระพุทธเจ้าอยู่เหมือนกัน เช่น วัดรังคิริดัมบุลลราชวิหาร (Rangiri Dambulla Rajamahaviharaya) แปลว่าวัดภูเขาทองแห่งเมืองดัมบุลละ สันนิษฐานว่า เป็นวัดป่าอรัญวาสีเกิดมีภายหลังพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่เกาะลังกาแล้วไม่นาน อารามแห่งนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายสมัยพระเจ้าวัฏฏคามณีอภัย เมื่อพระองค์เสด็จหนีราชภัยมาอาศัยวัดถ้ำแห่งนี้ระยะหนึ่ง ภายหลังต่อมาครั้นปราบพวกทมิฬขึ้นครองราชย์อีกครั้ง จึงโปรดให้สลักพระพุทธปฏิมาอีกทั้งวาดภาพจิตรกรรมตามผนังถ้ำ หลายศตวรรษต่อมาพระเจ้านิสสงกมัลละกษัตริย์แห่งอาณาจักรโปโฬนนารุวะ โปรดให้บูรณะซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ ทั้งวาดภาพและปั้นพระพุทธปฏิมาจำนวนมาก สุดท้ายพระเจ้ากีรติศรีราชสิงหะกษัตริย์แห่งอาณาจักรแคนดี้โปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์อีกรอบ 
(คัดลอกข้อความบางตอนมาจากหนังสือ ของดีศรีลังกา ของ ลังกากุมาร หน้า 280)
Sri Lanka, one of the earliest countries to inherit Theravada Buddhism from India, also exhibits Buddhist art reflecting the abundance of Buddhas, such as at the Rangiri Dambulla Rajamahaviharaya, meaning the Golden Rock Temple of Dambulla. It is presumed to have become a forest monastery shortly after Buddhism spread to the island of Lanka. This temple became widely known during the reign of King Vattagamani Abhaya, who sought refuge in this cave temple during a period of exile. After reclaiming his throne from the Tamils, he ordered the carving of Buddha statues and the painting of murals on the cave walls. Centuries later, King Nissankamalla of the Polonnaruwa Kingdom ordered a major restoration, adding many statues and paintings. Finally, King Kirti Sri Rajasinghe of the Kandy Kingdom ordered another round of renovations.
(Excerpted from the book "Treasures of Sri Lanka" by Lanka Kumara, page 280)


      แนวคิดพุทธเจ้ามีเป็นอสงไขยนับไม่ถ้วน แทบจะกล่าวได้ว่ามีในทุกนิกาย แม้แต่นิกายธิเบตหรือเราเรียกกันว่า นิกายวัชรยาน เพราะเมื่อไม่นานได้มีการพบถ้ำพระพุทธรูปยุคราชวงศ์เจี่ยวเซอหลัวเมื่อพันปีก่อนที่มณฑลชิงไห่ ภายในมีทั้งพระพุทธรูปพระพุทธโคดม พระโพธิสัตว์ศรีอริยเมตไตรย พระพุทธรูปพันองค์เป็นต้น นักวิชาการคาดการณ์ว่า ถ้ำพระพุทธรูปเหล่านี้ต้องมีความหมายสำคัญในประวัติศาสตร์พุทธศาสนานิกายทิเบต
The concept of countless Buddhas is virtually present in all Buddhist sects, including the Tibetan or what is known as the Vajrayana tradition. This is because, not long ago, a cave with Buddhist statues from the Jiaozhou dynasty a thousand years ago was discovered in Qinghai Province. Inside were images of Gautama Buddha, the Bodhisattva Avalokiteshvara, and a thousand other Buddha figures. Scholars speculate that these caves hold significant meaning in the history of Tibetan Buddhism.


เนื่องจากว่า ความเชื่อเรื่องอดีตพุทธเจ้าจำนวนมาก สืบเนื่องมาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์พิเศษ ที่กล่าวถึงพระประวัติของพระพุทธเจ้า คือพุทธวงศ์และอรรถกถาพุทธวงศ์ ซึ่งเป็นต้นแบบของคัมภีร์พุทธประวัติในยุคหลัง รวมถึงคัมภีร์พิเศษที่แต่งขึ้นและแพร่หลายในล้านนาและอยุธยา มีหลักฐานทางวิชาการทางฝ่ายเถรวาทไม่มาก นักวิชาการบางท่านจึงเสนอแนวคิดว่า "คติเรื่องพระอดีตพุทธที่มีจำนวนมากมายมหาศาลเช่นนี้ ก็มีปรากฎในคัมภีร์ภาษาบาลี ของนิกายเถรวาทด้วย ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นอิทธิพลมาจากคติของนิกายมหายานนั่นเอง" หรือ "คติความเชื่อเรื่องอดีตพุทธเจ้าเป็นระบบความคิดที่มีอยู่ทั้งในคัมภีร์เถรวาทและเถรวาทที่มีความเห็นไปทางพุทธมหายาน" ถ้าจะสรุปเช่นนี้จะเป็นการสรุปที่รีบด่วนเกินไปหรือไม่อย่างไร
The belief in numerous past Buddhas stems from the Pali Canon, commentaries, and special texts that discuss the history of Buddhas, such as Buddhavaṃsa and the Aṭṭhakathā Buddhavaṃsa, which serve as prototypes for later Buddhist biographies, including special texts that were composed and spread in Lan Na and Ayutthaya. There is limited academic evidence from the Theravada side. Some scholars suggest that "the concept of numerous past Buddhas, as seen in the Pali scriptures of the Theravada tradition, is presumed to be influenced by Mahayana ideas" or that "The belief in past Buddhas is a conceptual system present in both Theravāda scriptures and Theravāda views leaning towards Mahāyāna Buddhism." Would this summary be considered overly hasty or not?
เป็นความสงสัยที่อยู่ในใจมานาน เมื่อค้นคว้ามากเข้าจึงทำให้ไปพบหลักฐาน ชั้นพระไตรปิฎก ที่แสดงถึงแนวความคิดเรื่องพระพุทธเจ้ามีนับไม่ถ้วนมีอยู่ด้วย อาจจะถือว่าเป็นการค้นพบที่พลิกแนวคิดที่ว่า  "คติเรื่องพระอดีตพุทธที่มีจำนวนมากมายมหาศาลสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นอิทธิพลมาจากคติของนิกายมหายานนั่นเอง" หลักฐานพระพุทธเจ้ามีนับไม่ถ้วน ปรากฏในคัมภีร์พระไตรปิฏกขุททกนิกาย อปทานความว่า 
It's a curiosity that has lingered in my mind for a long time. Through deeper research, I discovered evidence within the Pali Canon that also presents the concept of countless Buddhas. This might be considered a groundbreaking discovery that challenges the notion that "the concept of numerous past Buddhas is presumed to be influenced by Mahayana ideas." The evidence of innumerable Buddhas appears in the Khuddaka Nikaya of the Pali Canon, suggesting that.
อหมฺปิ ปุพฺพพุทฺเธสุ       พุทฺธตฺตํ อภิปตฺถยึ
ตึส ปารมิ สมฺปุณฺณา     ธมฺมราชา อสงฺขิยา ฯ 

Ahaṃ pi pūjjaṃ katvāna,

pūjāyāmi Buddhaṃ;

Tesaṃ pāramī sampūrṇā,

Dhammarājā asaṅkhiyā.


บาลี (สุตฺต.ขุ.อป.32/1/2)
                                                                                                    — Pali (Sutt.Khu.Ap.32/1/2)
แปลว่า แม้เราก็ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าไว้ในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี 30 ถ้วน มีจำนวนนับไม่ถ้วน (แปลตาม ขุ.อ.อป.ชื่อวิสุทธชนวิลาสินี 1/1/123)
Even we aspire to the state of Buddhahood as in the past countless Buddhas, who, as Dharma kings, were complete with all 30 perfections. (Translated according to Khuddaka Nikaya, Apadana, Visuddhacari Vilasini 1/1/123)
จากหลักฐานนี้จะเห็นได้ว่า เถรวาทเอาคติแนวคิดตามมหายานก็ไม่ใช่  เพราะเถรวาทเองก็มีหลักการนี้มาแต่ต้นแล้ว ดังที่มีหลักฐานในพระไตรปิฎก (ตามที่ได้ยกคาถา ธมฺมราชา อสงฺขิยา มาแสดงไว้)  ไม่ใช่เพิ่งจะมามีในชั้นอรรถกถา แม้ในอรรถกถาซึ่งเป็นคัมภีร์ชั้นหลังที่ขยายความพระไตรปิฎก ก็ปรากฏหลักฐานพระพุทธเจ้านับไม่ถ้วนหรืออสงไขย ขยายความตรงกันกับหลักฐานในชั้นพระไตรปิฏกเหมือนกัน ตามที่ปรากฏในคัมภีร์อรรถกถาขุททกนิกาย อปาทาน ความว่า
From this evidence, it is clear that Theravada does not merely adopt the concepts and ideas of Mahayana. Theravada itself has had this principle from the beginning, as evidenced in the Pali Canon (as demonstrated by the verse "Dhammaraja Asankheyya"). This is not a recent development in the commentaries. Even in the commentaries, which are later texts that elaborate on the Pali Canon, there is evidence of innumerable or countless Buddhas, consistent with the evidence in the Pali Canon, as seen in the Atthakatha of the Khuddaka Nikaya, Apadana, which states.
"บัดนี้ ท่านเมื่อจะแสดงอปทานนั้น จึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาสมบูรณ์ด้วยบารมี 30 ถ้วน มีจำนวนนับไม่ถ้วน ดังนี้. ในคำเหล่านั้นมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
"Now, in order to present the Apadana, it is stated that the Buddhas, who are Dharma kings perfected with all 30 perfections, are countless in number as follows. In these words, the following analysis is made."
...   พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชาที่ล่วงไปแล้ว คือ จากไปแล้ว ดับแล้ว ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้แล้ว มีจำนวนนับไม่ได้ คือเว้นจากการนับ ด้วยอำนาจจำนวนสิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ ปโกฏิ โกฏิปโกฏิ นหุต นินนหุต อักโขภินี พินทุ อัพพุทะ นิรัพพุทะ อหหะ อพพะ อฏฏะ โสคันธิกะ อุปปละ กุมุทะ ปุณฑริกะ ปทุมะ กถานะ มหากถานะ และอสังเขยยะ. (ไทย) มมร.70/194-195
"The past Dharma kings, the Buddhas who have passed away, extinguished, and are no longer in existence, are innumerable, beyond counting through the powers of tens, hundreds, thousands, ten thousands, hundreds of thousands, millions, kotis, ayutas, niyutas, kankaras, vivaras, akshobhyas, bindus, abbudas, nirabbudas, ahahas, ababas, atatas, sokantikas, uppala, kumuda, pundarika, paduma, kathana, mahakathana, and asankhyeyya." (Thai) Mm.70/194-195
อิทานิ ตํ อปทานํ ทสฺเสนฺโต ‘‘ติํสปารมิสมฺปุณฺณาธมฺมราชา อสงฺขิยา’’ติ อาหฯ ตตฺถ....ทสสตํ สหสฺสํ ทสสหสฺสํ สตสหสฺสํ ทสสตสหสฺสํ โกฎิ ปโกฎิ โกฎิปฺปโกฎิ นหุตํ นินฺนหุตํ อโกฺขภิณิ พินฺทุ อพฺพุทํ นิรพฺพุทํ อหหํ อพพํ อฎฎํ โสคนฺธิกํ อุปฺปลํ กุมุทํ ปุณฺฑริกํ ปทุมํ กถานํ มหากถานํ อสงฺขฺยยฺยานํ วเสน อสงฺขิยา สงฺขารหิตา ธมฺมราชาโน อตีตา วิคตา นิรุทฺธา อพฺภตฺถํ คตาติ อธิปฺปาโยฯ (บาลี) ขุ.อป.1/123
idāni ta apadāna dassento ‘‘tisapāramisampuṇṇā, dhammarājā asakhiyā’’ti āha tattha....dasasata sahassa dasasahassa satasahassa dasasatasahassa koi pakoi koippakoi nahuta ninnahuta akokhabhii bindu abbuda nirabbuda ahaha ababa aaa sogandhika uppala kumuda puṇḍarika paduma kathāna mahākathāna asakheyayyāna vasena asakhiyā sakhārahitā dhammarājāno atītā vigatā niruddhā abbhattha gatāti adhippāyo
และพระพุทธเจ้าทั้งหลายมอุปมาดังเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา ปรากฏในวิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทานความว่า "แต่ในที่นี้ ปรากฏว่าใช้ในความหมายว่า การณะ คือเหตุเพราะฉะนั้น อปทานของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า พุทธาปทาน อธิบายว่า เหตุแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พึงเห็นว่า บารมี 30 ถ้วนมีทานบารมีเป็นต้น เป็นเหตุของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่น้อย อุปมาดังเมล็ดทรายในแม่น้ำคงคา." (ไทย) มมร.70/191
"The Buddhas are compared to the sand grains in the Ganges River, as revealed in the Visuddhacarinī, Aṭṭhakathā of the Khuddaka Nikāya, Apadāna, which states, 'But here, it is used in the sense of occasion, meaning because of that reason, the Apadana of those Buddhas, called Buddhāpadāna, explains the causes of the many Buddhas. It should be seen that the 30 perfections, starting with the perfection of giving, are not a minor cause for the many Buddhas, compared to grains of sand in the Ganges River.'" (Thai) Mm.70/191
อิธ ปน การเณ ทิสฺสติ. ตสฺมา พุทฺธานํ อปทานานิ พุทฺธาปทานิ, พุทฺธการณานีติ อตฺโถ. คงฺคาวาลุกูปมานํ อเนเกสํ พุทฺธานํ ทานปารมิตาทิสมตฺตึสปารมิตา การณนฺติ ทฏฺฐพฺพํ. (บาลี) ขุ.อป.1/179
idha pana kārae dissati. tasmā buddhāna apadānāni buddhāpadāni, buddhakāraānīti attho. gagāvālukūpamāna anekesa buddhāna dānapāramitādisamattisapāramitā kāraanti daṭṭhabba.
และหลักฐานว่า พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเป็นอันมาก อนันต์ นับไม่ถ้วน ในปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย เถรีคาถาความว่า "บทว่า อธิคตมิทํ พหูหิ อมตํ ความว่า พระอมตนิพพานนี้ อันพระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเป็นอันมาก อนันต์ นับไม่ถ้วน ต่างบรรลุ ตรัสรู้ ทำให้ประจักษ์แก่ตนมาแล้ว" (ไทย) มมร.54/528
"And evidence that the noble ones have had countless, infinite Buddhas as their origin appears in the Paramatthadīpanī, the Commentary of the Khuddaka Nikāya, Therīgāthā, it is said, 'The verse, Atthikataṃ idaṃ pahūhi amataṃ, means this deathless Nibbana, which the noble ones, having countless, infinite Buddhas as their origin, have all realized and made known to themselves.'" (Thai) Mm.54/528
 อธิคตมิทํ พหูหิ อมตนฺติ อิทํ อมตํ นิพฺพานํ พหูหิ อนนฺตอปริมาเณหิ พุทฺธาทีหิ อริเยหิ อธิคตํ ญาตํ อตฺตโน ปจฺจกฺขํ กตํ.  
(บาลี) เถรี.อ. (ปรมตฺถที.)
adhigatamida bahūhi amatanti ida amata nibbāna bahūhi anantaparimāehi buddhādīhi ariyehi adhigata ñāta attano paccakkha kata.
  เมื่อพุทธเจ้ามีเป็นอสงไขยนับไม่ถ้วน การที่จะบอกว่า "พระพุทธเจ้าที่ล่วงมาแล้วหลายพระองค์ มีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน อุปมาว่าจำนวนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ล่วงไปแล้วมีจำนวนมากกว่าเม็ดทรายในมหาสมุทรทั้งสี่" จึงเป็นเรื่องธรรมดา เพราะอย่างไรก็ยังน้อยกว่า "พุทธเจ้ามีเป็นอสงไขยนับไม่ถ้วน" นั่นเอง
Given that there are innumerable Buddhas, stating that "the past Buddhas, numerous beyond count, are more in number than the grains of sand in the four great oceans" is quite ordinary, as it is still less than "innumerable Buddhas."
สรุปความว่า พุทธเจ้ามีเป็นอสงไขยนับไม่ถ้วน มีหลักฐานชั้นปฐมภูมิคือหลักฐานจากพระไตรปิฏกบาลีและอรรถกถารวมถึงปกรณ์วิเสสอื่นๆ ซึ่งถือว่าเพียงพอที่จะเป็นหลักฐานว่าแนวคิดเรื่องพระพุทธเจ้ามีนับไม่ถ้วนเป็นอสงไขยของนิกายเถรวาทนั้นมีมาก่อนแล้ว ส่วนนิกายมหายานและนิกายวัชรยานก็อาจจะมีแนวคิดนี้อยู่แล้ว แต่ให้ความสำคัญในการอธิบายขยายความชี้แจงสั่งสอนอย่างดี จนกระทั้งปรากฏออกมาทางวรรณกรรมและศิลปะมากมายที่ได้รับทราบในปัจจุบันนี้ ทำให้นักวิชาการส่วนหนึ่งเข้าใจว่าเป็นแนวคิดที่มีต้นกำเนิดมาจากทางนิกายมหายานนั่นเอง  
In summary, the concept of innumerable Buddhas is well-established, with primary evidence from the Pali Canon and its commentaries, along with other related texts, which sufficiently supports the idea that countless Buddhas was a concept already present in the Theravāda tradition. The Mahāyāna and Vajrayāna schools also embraced this idea but provided more detailed explanations and teachings on it, leading to its widespread representation in literature and art as we see today. This has led some scholars to believe that the concept originally emerged from the Mahāyāna tradition.

บทความที่น่าสนใจ
ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน 1 พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน 2 ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?   
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน 3 สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธ 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต”  (ตถาคตคือธรรมกาย) 

http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด ๒ ครั้ง
SHARE

Author: verified_user

2 ความคิดเห็น:

  1. สาธุนะคะ ดีจังเลยอ่านแล้ว

    ตอบลบ
  2. สาธุค่ะ พระพุทธเจ้ามีนับพระองค์ ไม่ถ้วนจริงๆค่ะ

    ตอบลบ