วันพฤหัสบดีที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2561

ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง

SHARE
ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
    ที่มา http://sihawatchara.blogspot.com/2017/01/3.html
       นอกจากนั้น พระภิกษุจีน จากคำบอกเล่าของพระเสวียนจั้ง(พระถังซัมจั๋ง) 大唐玄奘  Monk Xuanzang  ผู้ที่เดินทางไปแสวงบุญที่อินเดีย ได้บันทึก เรื่องจดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก แล้วเสร็จในปีพ.ศ. 1189 (ค.ศ. 646) หน้าที่ 215 บรรทัดที่ 3 นับขึ้น ท่านได้เล่าว่า  พระราชวังเก่าในเมืองหลวงมีวิหารใหญ่หลังหนึ่ง สูงกว่า 60 เชี๊ยภายในประดิษฐานพระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์องค์หนึ่ง มีฉัตรศิลาแขวนห้อยอยู่ พระเจ้าอุเทนราชาทรงสร้างไว้ มีความศักดิ์สิทธิ์มาก เปล่งรัศมีส่องสว่างเป็นนิจ แม้ว่าจะมีพระราชาจากหลายแคว้นประสงค์ที่จะอัญเชิญไปยังแว่นแคว้นของพระองค์แต่ ไม่สามารถที่จะขยับเขยื้อนองค์พระพุทธรูปได้  จึงต้องนำรูปจำลองไปสักการะแทน ทั้งนี้ต่างก็เชื่อกันว่า พระพุทธรูปแก่นจันทน์เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะเหมือนพระพุทธองค์ทุกประการ และเป็นต้นแบบของพระพุทธรูปในลักษณะนี้
        In the city, within an old palace, there is a large vihara about 60 "feet high; in it is a figure of Buddha carved out of a sandal-wood, above which is a stone canopy. It is the work of the king U-to-yen-na (Udayana). By Its spiritual qualities (or, between its spiritual marks) it produces a divine light, which from time to time shines forth. The princes of various countries have used their power to carry off this this statue , but although many men have tried, not all the number could move it. They are so worshiping copies of it, and they pretend that the likeness is a true one, and this is the original of all such figures.
        หน้าที่ 216 บรรทัดที่ 8
            จำเดิมเมื่อพระตถาคตเจ้าทรงตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณแล้วก็เสด็จสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาโปรดประทานพุทธมารดาเป็นระยะเวลา 3 เดือน พระเจ้าอุเทนทรงรำลึกถึงพระองค์อย่างยิ่งจึงตั้งพระทัยจะวาดพระรูปของพระพุทธองค์ ทรงอาราธนาพระโมคคัลลานะใช้อิทธิปาฏิหาริย์นำช่างจำหลักขึ้นไปบนสวรรค์เพื่อชมพระพุทธลักษณะ จากนั้นก็จำหลักพระพุทธรูปขึ้นด้วยไม้จันทน์ และเมื่อพระโลกนาถ(พระพุทธเจ้า) เสด็จกลับลงมา พระปฏิมาองค์นี้ก็ลุกขึ้นยืนสำแดงอาการคารวะพระองค์ พระโลกนาถ ทรงทักทายรูปปฏิมาว่า "สั่งสอนกล่อมเกลามนุษยโลกเหน็ดเหนื่อยมากใช่ไหม การอบรมกล่อมเกลาโลกด้วยพุทธธรรมในยุคปลาย เป็นสิ่งที่ตถาคตหมายมั่งตั้งใจไว้ "
        When Tathagata first arrived at complete enlightenment, lie ascended up to heaven to preach the law for the benefit of his mother, and for three months remained absent. This king (i.e., Udayana), thinking of him with affection, desired to have an image of his person; therefore he asked Mudgalyayanaputra, by his spiritual power, to transport an artist to the heavenly mansions to observe the excel¬lent marks of Buddha’s body, and carve a sandal-wood statue. When Tathagata returned from the heavenly palace, the carved figure of sandal-wood rose and saluted the Lord of the World. The Lord then graciously addressed it and said, “ The work expected from you is to toil in the conversion of heretics, and to lead in the way of religion future ages.”


           จากคำบอกเล่าของพระภิกษุเสวียนจั้ง(พระถังซำจั๋ง) ท่านได้เห็นพระพุทธปฏิมาไม้แก่นจันทน์สามองค์ซึ่งเป็นที่นิยมเคารพบูชาอย่างแพร่หลาย องค์ที่หนึ่งสูง 20 ฟุต (สีทอง) อยู่ที่หันโม แคว้นโขตาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นองค์ดังเดิมที่แท้จริงและ(ไปสู่จีน?) องค์ที่สองในวิหารที่โกสัมพีซึ่งพระเจ้าอุเทนเป็นผู้สร้างจำลองเพื่อเผยแผ่พระศาสนาตามที่ท่านฟาเหียนบอกไว้ และองค์ที่สามอยู่ในเชตวันมหาวิหารที่สาวัตถีอันเป็นองค์ที่ทรงสร้างโดยพระเจ้าปเสนทิโกศล ดังปรากฏในหนังสือ ถังซำจั๋ง จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง


           และในจดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตกหน้าที่ 225 บรรทัดที่ 8 ท่านพระถังซำจั๋งได้จดจารึกไว้ว่า
            "ที่สวนอนาถปิณฑิกะผู้ซึ่งเป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่ของพระเจ้าประเสนชิตราชาสร้างถวายพระพุทธเจ้าเดิมที่สร้างเป็นอาราม แต่บัดนี้ปรักหักพังไปหมดแล้ว คงเหลือตัวเรือนและห้องหับต่างๆ ทรุดโทรมแล้ว เหลือแต่ฐานปรักหักพัง ที่ยังเหลือแข็งแรงคงทนอยู่เพียงสิ่งเดียวคือห้องที่ก่อด้วยอิฐ "มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน" เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์เสด็จสู่ดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมเทศนาพระทานพุทธมารดานั้น พระเจ้าประเสนชิตราชา (ประเสนทิโกศล) ทรงได้ข่าวว่าพระเจ้าอุเทนราชาทรงจำหลักพระพุทธรูปด้วยไม้จันทน์ พระองค์จึงทรงสร้างพระปฏิมาองค์นี้ขึ้น"
          และได้เล่าถึงเมืองต่างๆ ที่เกี่ยวกับพระแก่นจันทน์ไว้เช่น
            โกสัมพี มีอาราม 10 แห่ง พระสงฆ์ราว 100 รูป มีวิหารใหญ่สูง 600 เชี๊ยะ ประดิษฐานพระพุทธรูปจำหลักด้วยไม้จันทน์ โดยมีพระเจ้าอุเทนเป็นผู้สร้างขึ้น นอกจากนั้นยังมีอารามของโฆสิตเศรษฐี และกุกกุฏเศรษฐีสร้างถวายพระพุทธเจ้า แต่ขณะนั้นได้ปรักหักพังไปบ้างแล้ว
            สาวัตถี มีอารามหลายร้อยแห่ง พระสงฆ์หลายพันรูป โดยมากสังกัดนิกายสัมมิติยะ มีซากสถูปที่ พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างถวายพระพุทธเจ้า มีซากพระเชตวันมหาวิหาร  มีเสาอโศก 2 ต้น มีพระพุทธรูปทอง ที่พระเจ้าปเสนทิโกศลสร้างขึ้น เมื่อคราวอาลัยที่พระพุทธองค์ไปโปรดพระมารดาที่(มาจาก)สวรรค์ชั้นดุสิต
ที่มา http://sihawatchara.blogspot.com/2017/01/3.html
   
       อย่างที่ทราบกัน พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ฮั่น ที่พระเจ้าฮั่นหมิงตี้นิมิตถึงพระพุทธองค์ จึงทรงส่งคณะทูตไปยังอินเดียเพื่อไปอัญเชิญพระไตรปิฎก ปีต่อมาโปรดให้สร้างวัดม้าขาวขึ้นทางตะวันตกของลั่วหยาง แต่ก่อนหน้านั้นก็มีบันทึกไว้บ้าง ว่ามีพระพุทธศาสนาเข้ามาแต่จักพรรดิ์ไม่ได้สนับสนุน เช่น พ.ศ. 226 บันทึกของ  清俞樾《茶香室丛钞‧卷十三》Qīng yú yuè “chá xiāng shì cóng chāo" ผูกที่ 13 กล่าวว่า พระพุทธศาสนาได้เข้ามาสู่แผ่นดินจีนแล้ว และพ.ศ. 300 มีกลุ่มนักบวช 18 รูปเดินทางมาถึงเขตปกครองของจักรพรรดิ์ฉินซี   แต่ตอนนั้นฮ่องเต้ไม่ศรัทธา จึงจับขังในห้องคุมตัว จนกลางดึกได้มีสิ่งสีทอง (คาดว่าเป็นพระพุทธเจ้า)มาเปิดประตูและช่วยเหลือนักบวชให้ออกมาจากที่คุมขัง   费长房《历代三宝纪》卷一载秦始皇四年(公元前243年)沙门释利防等一十八贤者携经来化秦始皇,秦始皇不信佛教,把他们关进牢里。半夜,有金刚打破牢狱把释利防等人救走。唐代法琳《破邪论》也有此说。梁启超在《佛教之初输入》认为此事可信。
    ที่มา http://nicecasio.pixnet.net/blog/post/450979205-兩宋高僧往來-中日貿易-大藏經-法華經-乾文

อ้างอิงจาก
1.คัมภีร์ประวัติศาสตร์พระรัตนตรัยผูกที่ 1
历代三宝纪卷第一.
 2.บันทึกจากพระภิกษุในสมัยราชวงศ์ถัง
《破邪论》又称《对傅奕废佛僧事》又称《箴傅奕上废省佛僧表》,其中有引用《朱士行经录》,收录于道宣《广弘明集》卷一一。
3.สมเด็จพระจักรพรรดิหมิงแห่งราชวงศ์ฮั่น หรือ ฮั่นหมิงตี้ (ค.ศ. 28-75) เป็นพระราชโอรสองค์ที่2 ในจักรพรรดิฮั่นกวงตี้ทรงพระนามเดิมว่าองค์รัชทายาทหลิวหยางทรงประสูติเมื่อ ค.ศ. 28 (พ.ศ. 571) เมื่อพระราชบิดาสวรรคตลงเมื่อปี ค.ศ. 57 ขณะพระชนม์ได้ 62 พรรษาองค์รัชทายาทหลิวหยางจึงขึ้นครองราชย์สืบต่อทรงพระนามว่า จักรพรรดิฮั่นหมิง เมื่อพระชนม์ได้ 29 พรรษาในรัชกาลของพระองค์ พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน เริ่มเผยแผ่เข้าสู่จีน ต่อมาโปรดให้ส่งคณะทูตไปยังอินเดียเพื่อไปอัญเชิญ พระไตรปิฎก ปีต่อมาโปรดให้สร้างวัดม้าขาว ขึ้นทางตะวันตกของลั่วหยางสวรรคตเมื่อ ค.ศ. 75 ขณะพระชนม์ได้ 47 พรรษาทรงครองราชย์ได้ 18 ปี องค์รัชทายาทหลิวต้าจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ทรงพระนามว่า จักรพรรดิฮั่นจางตี้ ก่อนสวรรคตมีพระราชโองการมิให้สร้างวิหารประจำพระองค์ขึ้น
https://th.wikipedia.org/wiki/จักรพรรดิฮั่นหมิง

บทความที่น่าสนใจ

ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน ๑ พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน ๒ ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน? 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน ๓ สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน ๔ พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต”  (ตถาคตคือธรรมกาย) 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/4.html ตอน 7 ธมฺมกายพุทธลกฺขณํ พระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกาย
SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: