พระพุทธเจ้าทรงประกอบด้วย 2 กาย คือ รูปกาย กับ ธรรมกาย เมื่อพูดถึงเรื่องรูปกายเราก็จะทราบว่าพระองค์เมื่อเกิดเป็นเจ้าชายน้อยสิทธัตถะนั้นทรงบังเกิดขึ้นที่สวนลุมพินีวัน เป็นรูปกายที่น่าเลื่อมใสยิ่งนัก เพราะประกอบไปด้วยลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการและอนุพยัญชนะส่วนเสริมย่อย 80 ประการ แต่เมื่อถามถึงธรรมกายนั้น ธรรมกายของพระองค์เกิดมาตอนไหน? เกิดมาแล้วมีลักษณะอย่างไร? ชาวพุทธทั่วไปอาจจะยังไม่ค่อยได้รับทราบเท่าที่ควร
จึงได้ค้นคำตอบมาให้ทราบดังนี้คือ ธรรมกายของพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นตอนที่พระองค์ตรัสรู้อริยสัจ 4 แล้วบรรลุธรรมกายที่ควงต้นพระศรีมหาโพธิ์ การที่เจ้าชายสิทธัตถะพระองค์ได้ทรงบรรลุคือเข้าถึงพระธรรมกาย จึงเป็นการเสด็จอุบัติขึ้นคือเข้าถึงความเป็นพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง ด้วยอริยมรรคภาวนาคือการปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 มีสัมมาทิฏฐิ เป็นต้น มีหลักฐานบาลีที่พระฎีกาจารย์กล่าวไว้ในคัมภีร์วินัยฎีกา ชื่อ สารัตถทีปนี ภาค 1 ข้อ 154 หน้า 326 ว่า
ปฐมํ ลุมฺพินีวเน ทุติยํ โพธิมณฺเฑติ ลุมฺพินีวเน รูปกาเยน ชาโต, โพธิมณฺเฑ ธมฺมกาเยนฯ เอวมาทินาติ อาทิสทฺเทน เวรญฺชากิตฺตนโต รูปกายสฺส อนุคฺคณฺหนํ ทสฺเสติ, นเฬรุปุจิมนฺทมูลกิตฺตนโต ธมฺมกายสฺสฯ
paṭhamaṃ lumbinīvane dutiyaṃ bodhimaṇḍeti lumbinīvane rūpakāyena jāto, bodhimaṇḍe dhammakāyena। evamādināti ādisaddena verañjākittanato rūpakāyassa anuggaṇhanaṃ dasseti, naḻerupucimandamūlakittanato dhammakāyassa।
แปลว่า : ข้อว่า ปฐมํ ลุมฺพินีวเน ทุติยํ โพธิมณฺเฑ ความว่า พระพุทธเจ้า ทรงเสด็จอุบัติด้วยรูปกายที่สวนลุมพินี, เสด็จอุบัติด้วย พระธรรมกาย ที่ควงต้นโพธิ์. ด้วยอาทิศัพท์ว่า เอวมาทินา ท่านอาจารย์ย่อมสงเคราะห์คำมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านพระอุบาลีแสดงการอนุเคราะห์พระรูปกายด้วยคำระบุว่า เวรัญชา แสดงการอนุเคราะห์ ธรรมกาย โดยคำระบุว่า นเฬรุปุจิมันทมูละ.
http://www.dhammakaya.net/สมาธิ/พระธรรมกาย/พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย
เกิดครั้งแรกเกิดแบบโลกิยะ เกิดครั้งที่สองเกิดแบบโลกกุตตระ
ปกติการเกิดของคนหรือมนุษย์ในมนุษยโลกนี้ถือว่าเป็นการเกิดปกติของผู้มีบุญในระดับหนึ่ง แต่การเกิดของเจ้าชายสิทธัตถะเป็นเรื่องของมนุษย์ที่ไม่ธรรมดา เพราะเกิดด้วยร่างกายหรือรูปกายที่พร้อมต่อการบรรลุธรรมเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นกายพิเศษคือกายที่เป็นลักษณะมหาบุรุษ เพราะฉะนั้นการบังเกิดขึ้นของพระองค์จึงมีประโยชน์ใหญ่ สมจริงตามพระบาลีว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ! บุคคลเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติ เพื่อเกื้อกูลแก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, บุคคลเอก คือบุคคลชนิดไหน คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" (องฺ. ติก. ๒๐/๒๘.)
การเกิดครั้งแรกเกิดด้วยรูปกายเป็นการเกิดแบบโลกิยะคือเป็นการเกิดแบบทางโลกหรือเกิดอยู่บนโลกนี้เกิดแบบคนทั่วไป ส่วนการเกิดครั้งที่สองเกิดแบบโลกุตระ คือเกิดแบบพ้นโลกเหนือโลกด้วยการบรรลุธรรมแล้ว(เกิดด้วยธรรมกาย) ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงเกิด 2 ครั้งทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ปรากฏในปฐมสมันตปาสาทิกา เวรัญชกัณฑวรรณนาความว่า
"จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในป่าเท่านั้น ด้วยความอุบัติทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ คือ ครั้งแรกที่ลุมพินีวัน ครั้งที่สองที่โพธิมณฑล ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงแสดงที่อยู่ ของพระองค์ ในป่าทั้งนั้น"
ภควา หิ ปฐมํ ลุมฺพินีวเน ทุติยํ โพธิมณฺเฑติ โลกิยโลกุตฺตราย อุปฺปตฺติยา วเนเยว อุปฺปนฺโน เตนสฺส วเนเยว วิหารํ ทสฺเสตีติ
bhagavā hi paṭhamaṃ lumbinīvane dutiyaṃ bodhimaṇḍeti lokiyalokuttarāya uppattiyā vaneyeva uppanno tenassa vaneyeva vihāraṃ dassetīti
(เมื่อประมวลความตามบาลีอรรถกถาและฎีกาแล้วสรุปความได้ว่า พระพุทธเจ้าเกิดครั้งที่ 1 แบบโลกิยะด้วยรูปกายที่ลุมพินีวัน เกิดครั้งที่ 2 แบบโลกุตรด้วยธรรมกายที่โพธิมณฑล)
หรือถ้าว่าตามหลักฐานนี้ก็พูดแบบง่ายๆ ว่า กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง คือครั้งแรกต้องเกิดด้วยรูปกาย และครั้งที่สองเกิดด้วยธรรมกาย เรื่องพระพุทธเจ้าทรงมี 2 กายไม่ใช่จะมีแต่ในเถรวาทเท่านั้น แม้แต่คัมภีร์ฝ่ายมหายานก็ปรากฏหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าประกอบด้วย 2 กาย คือ รูปกาย กับ ธรรมกาย และยังแสดงอย่างละเอียดว่า ธรรมกายของพระพุทธองค์เป็นอสังขตธรรม นิจจัง สุขัง อัตตา และความบริสุทธิ์อีกด้วย
40, 41 善男子。我於經中説如來身凡有二種。一者生身。二者法身。言生身者。即是方便應化之身。如是身者。可得言是生老病死長短黒白。是此是彼是學無學。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來。定説佛身是有爲法。法身即是常樂我淨。永離一切生老病死。非白非黒非長非短。非此非彼非學非無學。若佛出世及不出世。常住不動無有變易。善男子。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來定説佛身是無爲法。(SAT Daizokyo, T374 12:567a3, 6)
แปลว่า ดูก่อนกุลบุตร เราได้อธิบายเนื้อความตามพระสูตรว่า กายของตถาคตประกอบด้วย ๒ กาย
หนึ่งคือ รูปกาย และสองคือ ธรรมกาย รูปกายเป็นชื่อของการแสดงออกของกายที่เกิดจากกุศโลบาย ดังนั้นคำที่จะใช้ได้กับคำนี้คือ การเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว มันเป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนี้ เป็นความรู้ เป็นความไม่รู้ สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอนและไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคต ได้ตรัสว่า(รูป)กายของพระพุทธเจ้าเป็นสังขตธรรม” ธรรมกาย เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา และ ความบริสุทธิ์ ปราศจากการเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว ตลอดกาล มันไม่เป็นเช่นนั้น ไม่เป็นเช่นนี้ ไม่เป็นความรู้ ไม่เป็นความไม่รู้ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะปรากฏ และไม่ปรากฏเกิดขึ้นในโลกนี้ พระองค์ก็เป็นนิจจัง มีความแน่วแน่ และมั่นคง ดูก่อน กุลบุตร สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอน และไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคตได้ตรัสว่า (ธรรม)กายของพระพุทธเจ้าเป็นอสังขตธรรม”
ที่มา ธรรมกายในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร คัมภีร์ต้นฉบับพระพุทธศาสนายุคต้น ดร. ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล หน้า 7-8
ไม่ใชเพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นจะมีธรรมกาย แม้พระสาวกก็มีธรรมกายได้ด้วย เรื่องรูปกายและธรรมกายนี้ถูกกล่าวถึงโดยพระนางมหาปชาบดีโคตมี พระน้านาง(ผู้ทรงเลี้ยงดูสิทธัตถราชกุมาร)ของพระพุทธเจ้าครั้งพระองค์ทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะปรากฏในพระบาลีสูตรที่ 2 ใน พระสูตรขุททกนิกาย อปทาน มหาปชาบดีโคตมีเถริยาปทาน ที่ 7 ฉบับสยามรัฐ เล่ม 33 ข้อ 157 หน้า 284 ว่า
อหํ สุคต เต มาตา ตุวํ ธีรา ปิตา มม สทฺธมฺมสุขโท นาถ ตยา ชาตมฺหิ โคตม ฯ สํวทฺธิโตยํ สุคต รูปกาโย มยา ตว อานนฺทิโย ธมฺมกาโย มม สํวทฺธิโต ตยา ฯ มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ อนโณ ตฺวํ มหามุเน ปตฺตกามิตฺถิโย ยาจํ ลภนฺติ ตาทิสํ สุตํ ฯ
ahaṃ sugata te mātā tuvaṃ dhīrā pitā mama saddhammasukhado nātha tayā jātamhi gotama । saṃvaddhitoyaṃ sugata rūpakāyo mayā tava ānandiyo dhammakāyo mama saṃvaddhito tayā । muhuttaṃ taṇhāsamanaṃ khīraṃ tvaṃ pāyito mayā tayāhaṃ santamaccantaṃ dhammakhīrampi pāyitā bandhanārakkhane mayhaṃ anaṇo tvaṃ mahāmune pattakāmitthiyo yācaṃ labhanti tādisaṃ sutaṃ ।
ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์ ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนม คือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว ข้าแต่พระมุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่า มิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน หม่อมฉันได้ฟังมาว่า สตรีทั้งหลายผู้ปรารถนาบุตร บวงสรวงอยู่ ก็ย่อมจะได้ บุตรเช่นนั้น (แปลเป็นไทย ฉบับมหามกุฏฯ เล่ม 72 หน้า 542)
http://www.dhammakaya.net/สมาธิ/พระธรรมกาย/หลักฐานธรรมกาย
เรื่องพระพุทธเจ้าประกอบด้วย ๒ กาย คือ รูปกาย และ ธรรมกาย เป็นเรื่องที่มีการยอมรับชัดเช่นในพระพุทธศาสนาทุกนิกายทั่วโลกก็ว่าได้ เพราะแม้ในคัมภีร์ธิเบตฝ่ายนิกายวัชรยานมีปรากฏด้วยเช่นกัน ความว่า
[D166a7] btsun pa mauda gal gyi bu chen po gang de bzhin gshegs pa'i snying po bden
pa yang dag pa nyid | don dam pa'i sku rtag pa'i sku | de bzhin gshegs pa'i bsam gyis mi
khyab pa'i sku | [P173b3] don [D166b1] dam pa'i sku | ther zug gi sku rtag pa'i sku | don
dam pa'i sku(1) | chos kyi sku | zhi ba'i sku | don dam pa'i sku(2) | de kho na las skyes pa'i
sku | de ji ltar ston || de bas na mi bden ba'i chos kyis 'byung ngo | bcom ldan 'das kyi
bstan pa thams cad ni mi bde na ba [D166b2] dang bral ba ste | de bas na sangs rgyas zhes
bya'o ||
(1) P: sku ste
(2) P: ได้ตัดคำว่า- chos kyi sku (Dharmakāya) ออก
目連宜善聽 若實若諦者 所謂如來藏 第一義常身 佛不思議身 第一不變易 恒身亦復然
第一義靜身 妙法身眞實 如是不思議 彼身云何現 是故僞法生 則是諸佛教 離一切虚僞
是故説名佛 (T120 2:530c03-12)
แปลว่า ดูก่อนภิกษุมหาโมคคัลลานะ ตถาคตครรภะเป็นความจริงที่แท้จริง เป็นกายสูงสุด เป็นกายที่เที่ยงแท้ ตถาคตเป็นกายอจินไตย เป็นกายสูงสุด เป็นกายที่เที่ยงแท้ เป็นนิตยกาย เป็นกายสูงสุด เป็นธรรมกาย เป็นกายแห่งสันติ เป็นกายสูงสุด รูปกายก็เป็นเช่น นั้น(3) (tattva) เหตุไร จึงอธิบายเช่นนั้น ด้วยเพราะว่า[รูปกาย]เกิดจากธรรมที่ยังไม่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าทรงสอนทุกสิ่งทุกอย่างถูกต้อง ดังนั้นจึงกล่าวว่าเป็นพระพุทธเจ้า
(3)ตัตตวา เป็นเช่นนั้น suchness
ที่มา ธรรมกายในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร คัมภีร์ต้นฉบับพระพุทธศาสนายุคต้น ดร. ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล หน้า 17-18
พระพุทธองค์ทรงประกอบด้วยพระรูปกายและพระธรรมกาย
การจำแนกว่าพระพุทธองค์ทรงประกอบด้วยพระรูปกายและพระธรรมกายนั้นมีกล่าวไว้ทั่วไปในคัมภีร์พระพุทธศาสนานิกายต่างๆ ซึ่งมีการตีความหมายของธรรมกายไปในรูปแบบที่แตกต่างกัน คัมภีร์ที่ศึกษาจากคันธาระ เอเชียกลาง และประเทศจีน ก็พบประเด็นนี้ในหลายคัมภีร์ เช่นศตปัญจสัตก(ศตปัญจสติก)สโตตระ พบข้อความเกี่ยวกับธรรมกายในคาถาที่ 145-146 ดังนี้
145. ปรารฺถเมว เม ธรฺมรูปกายาวิติ ตฺวยา ทุสฺกุหกาย โลกาย นิรฺวาณมุปทรฺศิตมฺ
146. ตถา หิ สตฺสุ สํคมฺย ธรฺมกายมเศษตะ ติลโศ รูปกายญฺจ หิตวาสิ ปรินิรฺวฤตะ (Hoernle 1916a: 74)
145. parārthameva me dharmarūpakāyāviti tvayā duskuhakāya lokāya nirvāṇamupadarśitam
146. tathā hi satsu saṃgamya dharmakāyamaśeṣataḥ tilaśo rūpakāyañca hitavāsi parinirvṛtaḥ
คำแปล:
145. ด้วยพระดำรัสว่า “ธรรมกายและรูปกายของเราก็เพื่อประโยชน์ของผู้อื่นนั่นเอง” พระองค์จึงทรงแสดงพระนิพพานแก่ชาวโลกผู้เฉื่อยชา(เชื่อยาก)
146. ดังที่ทรงแสดงพระธรรมกายแก่ผู้มีศรัทธาโดยสิ้นเชิงและทรงแบ่งพระรูปกายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย (ดังเมล็ดงา) แล้วเสด็จปรินิพพาน
ที่มา หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ บทที่ 3 คันธาระ เอเชียกลาง และประเทศจีน | หน้า 200-201
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html
เราจะเห็นว่า กว่าจะสร้างบารมีจนเต็มเปี่ยมบริบูรณ์และเป็นพระพุทธเจ้านั้น ในชาติปัจจุบันนี้พระองค์ต้องผ่านการเกิด 2 ครั้งคือด้วยรูปกายและธรรมกาย และแม้พระสาวกก็ต้องสร้างบารมีเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายเช่นกัน แม้การสร้างบารมีจะไม่ยาวนานเท่าพระพุทธเจ้าก็ตาม ดังนั้นควรที่เราชาวพุทธจะปฏิบัติธรรมตามพระดำรัสคำสอนของพุทธองค์ด้วยความไม่ประมาทแล้วเราก็จะเข้าถึงพระธรรมกายกันทุกคน ส่วนการตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป
ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน 1 พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน 2 ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน 3 สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน
ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต” (ตถาคตคือธรรมกาย)
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรมhttp://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
0 ความคิดเห็น: