ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/คัมภีร์ทางศาสนาพุทธในประเทศไทย
หากว่าในตำนาน รัตนพิมพวงศ์ แต่งขึ้นในสมัยที่ล้านนายังเป็นรัฐเอกราช พระพรหมราชปัญญาเป็นผู้แต่งเป็นภาษาบาลี เมื่อ พ.ศ. 1972 ถือได้ว่าเป็นตำนานที่เก่าที่สุดที่เป็นภาษาบาลีแต่งในประเทศไทย และพระยาปริยัติธรรมธาดา (แพ ตาละลักษมณ์) นำมาแปลเป็นภาษาไทย เรียกว่า ตำนานพระแก้วมรกต ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2456 ซึ่งได้กล่าวอ้างอิงว่าได้อาศัยต้นแบบมาจากพระพุทธรูปแก่นจันทน์ว่า “ได้อาไศรยพระพุทธรูปแก่นจันทน์ล้วน ที่พระเจ้าปัสเสนทิโกสล ผู้ทรงปรีชาฉลาดทำกุศลได้ ได้โอกาศในสำนักสมเด็จพระผู้มีพรภาคเจ้าแห่งเราทั้งหลายประดิษฐานขึ้นไว้ (อมฺหากํ ภควโต สนฺติเก ลทฺโธกาสกุสลกรณํ กุสเลน ปสฺเสนทิโกสลราเชน สกลชนหิตาย กตจนฺทสารมยํ พุทฺธพิมฺพํ นิสฺสาย)” ถ้าตำนานรัตนพิมพวงศ์ แต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1972 แสดงว่า ตำนานพระแก่นจันทน์ย่อมมีมาก่อนนี้อย่างแน่นอน
เรื่องราวของพระพุทธรูปหรือพระแก่นจันทน์ หลักฐานที่อ้างอิงกันอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่ได้มาจากตำนานพระเจ้าแก่นจันทน์ (มีหลายฉบับ) ชินกาลมาลีปกรณ์ ได้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลี ระหว่าง พ.ศ.2060-2071 วัฏฏังคุลีชาดกในเชียงใหม่ปัญญาสชาดก ระหว่างปี พ.ศ.2000-2200 ซึ่งต้นฉบับของเชียงใหม่ปัณณาสชาดกมาจากประเทศพม่าน่าจะแต่งก่อนปี พ.ศ.1888 และหนังสือปิฏกมาลาของล้านนาซึ่งเขียนขึ้นในปีพ.ศ. 2367 จากหลักฐานที่ได้อ้างอิงมาทั้งหมดในขณะนี้แสดงว่า ตำนานพระแก่นจันทน์น่าจะมาก่อน พ.ศ.1888 ล่วงกาลผ่านมาแล้วประมาณราว 6-700 ปี
ขอเล่าประวัติอย่างย่อของปัญญาสชาดก ถือเป็นเรื่องราวหรือวรรณกรรมที่เขียนขึ้นไว้ด้วยภาษาบาลี มีทั้งคำประพันธ์ที่เป็นร้อยแก้วและบทคาถาหรือบทร้อยกรอง มิได้เป็นพระพุทธพจน์ หมายความว่าเป็นชาดกนอกพระไตรปิฎก หรือชาดกนอกนิบาต แต่งขึ้นเพื่อต้องการให้เกิดศรัทธาปสาทะในหมู่พุทธศาสนิกชน จึงอ้างถึงพระพุทธพจน์ เช่นเดียวกับนิบาตชาดก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานว่า พระภิกษุชาวล้านนาได้รจนาชาดกเรื่องนี้ขึ้นในระหว่างปี พ.ศ.2000-2200 แต่ในเวลาต่อมามีผู้เสนอความคิดเห็นแตกต่างออกไป กล่าวคือ ผู้แต่งปัญญาสชาดก น่าจะเป็นสามเณรรูปหนึ่ง (ตามหลักฐานที่ได้จากพม่า) และน่าจะแต่งก่อนปี พ.ศ.1888 ซึ่งเป็นปีที่แต่งเรื่องไตรภูมิพระร่วง ของพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) เพราะในเรื่องไตรภูมิพระร่วงมีการกล่าวอ้างอิงถึงชาดกหลายเรื่องที่มีอยู่ในปัญญาสชาดก
(คัดบางส่วนมากจาก http://www.sookjai.com/index.php?topic=168774.0)
https://th.m.wikisource.org/wiki/ปัญญาสชาดก
ส่วนหนังสือเรื่อง ชินกาลมาลีปกรณ์ เป็นหนังสือที่ให้ความรู้ความเข้าใจทั้งด้านพุทธศาสนา และประวัติศาสตร์ของบ้านเมือง ควบคู่กันไป พระรัตนปัญญาเถระ ชาวล้านนาได้แต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีราวปี พ.ศ.2060-2071 ได้รวบรวมความสำคัญไว้ 2 ประการ คือ
1.เป็นเรื่องประวัติศาสนา ได้กล่าวถึง ประวัติของพระพุทธเจ้าไว้อย่างละเอียด โดยเริ่มต้นตั้งแต่ความปรารถนาของพระองค์ที่ทรงปรารถนาอยากเป็นพระพุทธเจ้า ทรงสะสมบารมี ตลอดถึงทรงได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ มาเป็นลำดับ จนในพระชาติสุดท้าย ทรงอุบัติในพระราชสกุลศากยวงศ์ แล้วทรงออกผนวช บำเพ็ญความเพียรจนได้ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ได้บำเพ็ญพุทธกิจจนถึงเสด็จดับขันธปรินิพพาน
2. กล่าวถึงประวัติศาสตร์ของแคว้นลานนา ที่มีเมือง เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงราย ลำพูน
หลักฐานที่สำคัญทางบาลีอีกอย่างทางเอกสารคือ หนังสือภาษาบาลีเรื่อง โกสลพิมพวัณณนา (Kosala-Bimba-Vannanã) แต่งขึ้นที่ลังกา ได้กล่าวถึงเรื่องพระเจ้าปเสนทิสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ ปรากฏในในช่วงระยะเวลาเดียวกันกับปัณณาสชาดกมาของประเทศพม่าน่าจะราวๆ พ.ศ.1800-1900 ซึ่ง Richard Francis Gombrich ได้แปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาอังกฤษไว้ (Richard F. Gombrich, Kosala-Bimba-Vannanã, Ceylon : Buddhist countries, 1978, pp.289-295.) และแปลเป็นภาษาอังกฤษ หน้า 295-303
เมื่อศึกษาจะเห็นได้ว่า ข้อมูลหรือข้อความจากคัมภีร์โบราณที่เกี่ยวพระพุทธรูปแก่นจันทน์ไม่ใช่ข้อความที่ไร้เหตุผลมีที่มาที่ไป สามารถที่จะสืบค้นสืบต่อย้อนกลับไปได้อย่างชัดเจนและผู้แต่งคัมภีร์โบราณเหล่านี้ก็เป็นผู้มีความรู้มีปัญญามีศรัทธาในพระพุทธศาสนา หาใช่พวกที่งมงายไร้ปัญญาไม่ จึงมีเหตุผลเพี่ยงพอที่จะน่าเชื่อถือและนำไปพิสูจน์ต่อไป
Kosala-Bimba-Vannana
By RICHARD F. GOMBRICH Introduction
“The Laudatory Account of the Kosalan Image” (KBV) is a Pali text in both prose and verse from mediaeval Ceylon. It is an aetiological myth, providing justification for the practice of making Buddha images. Pasenadi, King of Kosala, a canonical figure, calls on the Buddha one day only to find that he is out. When he repeats the call the next day he mentions his disappointment, and asks if the Buddha would allow an image of himself to be set up at his monastery to provide against such contingencies: visitors not finding the Buddha could then worship him in effigy. The Buddha not only agrees, but declares that the merit to be acquired by making a Buddha image of any size or material is incalculably great. The king has an image made of sandal-wood and set in a gorgeous shrine, and invites the Buddha and his monks. When the Buddha arrives, the image begins to rise and greet him; the Buddha stops it and predicts a long life for it. The earth quakes and other miracles of that order mark the moment. After a seven-day donation of food to the monks, King Pasenadi requests the Buddha to tell him what merit he has acquired, and Ananda, the Buddha’s favourite disciple, asks also to be told what merit lies in copying a Buddhist text. The Buddha responds to Ananda’s question with a series of verses: copyists and image-makers will not be reborn in unpleasant states, but will be reborn, free from congenital de¬fects, in good families, and lead prosperous lives. Ultimately they will attain nirvana. Five thousand of the listeners attain nirvana on the spot. The Buddha and his company are escorted back to the Jetavana mona¬stery. The next day the king has the image in its jewelled shrine installed there.
When, at the very beginning of the fifth century A. D., Fa Hsien visited Sravasti, the scene of this story, he heard and recorded the story like this:
“When Buddha went up to heaven for ninety days to preach the Faith to his mother, king Prasenajit, longing to see him, caused to be carved in sandalwood from the Bull’s-head mountain an image of Buddha and placed it where Buddha usually sat. Later on, when Buddha returned to the shrine, the image straightway quitted the seat and came forth to receive him. Buddha cried out, ‘Return to your seat; after my disappearance you shall be the model for the four classes of those in search of spiritual truth.’ At this, the image went back to the seat. It was the very first of all such images, and is that which later ages have copied. Buddha then moved to a small shrine on the south side, at a spot about twenty paces away from the image.” )
I know of no other reference to this story outside Ceylon, but it would be surprising if none existed. Perhaps further research will produce other versions, and throw light on our text.
ที่มา (Richard F. Gombrich, Kosala-Bimba-Vannanã, Ceylon : Buddhist countries, 1978, pp.281.)
จากตำนาน โกสลพิมพวัณณนาหรือโกสลพิมพชาดก แม้จะแต่งขึ้นเป็นภาษาบาลีอาจจะอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 18-19 อย่างไรก็ตาม จากทัศนะของอาจารย์ GOMBRICH ผู้แปลตำนานพระแก่นจันทน์(พระพุทธรูปของพระเจ้าปเสนทิโกศล)เป็นภาษาอังกฤษแล้วยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องพระภิกษุจีนนามว่า ฟาเหียน ผู้ที่เดินทางไปนครสาวัตถี แคว้นโกศล ระหว่างปี พ.ศ. 952-957 (ค.ศ. 399 - 414) ได้เล่าถึงตำนานพระพุทธรูปแก่นจันทน์ไว้เหมือนกัน แสดงว่าตำนานการสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์นั้นมีมานานก่อนหน้านั้นหลายศตวรรษแล้ว
สำหรับประวัติการสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ ปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุ ระหว่างการเดินทางไปอินเดียของหลวงจีนฟาเหียน เมื่อราว พ.ศ.950 ปรากฏในตำนานพระแก่นจันทน์ซึ่งเรื่องก็มีเนื้อหาคล้ายๆ กันคือ
อุตตมสงฆ์ ฟาเหียน (法顯) : บันทึกการเดินทาง สืบพระศาสนาในประเทศอินเดีย พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗. โกษากร ประภาศิริ แปลจากต้นฉบับจีน ฉบับเดียวกับ Professor James Legge แปลเมื่อคริสตศก ๘๘๖. องค์การศาสนประทีป, 2490 [1947]. Other Title. 仏国記. Title Transcription. อุตตมสงฆ์ ฟา เหียน : บันทึก การเดินทาง สืบ พระศาสนา ใน ประเทศ อินเดีย พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗
...ขณะพระพุทธองค์เสด็จดาวดึงส์สวรรคโปรดพุทธมารดา 90 วันนั้น พระเจ้าประเสนชิตมีอนุสรคำนึงถึง ตรัสสั่งให้แกะพุทธปฏิมาด้วยไม้โคศิรษจันทน์สถาบกไว้ ณ ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับ พุทธปฏิมานั้นหลีกจากที่ประทับไปรับเสด็จ พระพุทธเจ้าตรัสสั่งกะพุทธปฏิมาว่า "จงกลับไปนั่งตามเดิม เมื่อเราตถาคตปรินิพพานแล้ว จะควรแก่บริษัททั้ง 4 ได้กระทำธรรมมารยาท" พุทธปฏิมาก็กลับไปอยู่ตามเดิม พุทธปฏิมานี้ เป็นอาทิแห่งพุทธปฏิมาทั้งหลาย อันชนภายหลังถือเป็นธรรม สร้างต่อมา ฝ่ายพระพุทธเจ้าเมื่อตรัสด้วยพุทธปฏิมาดังนั้นแล้ว พระองค์เสด็จไปประทับ ณ อาศรมน้อยเบื้องทักษิณ ห่างพุทธปฏิมา 20 ก้าว... (อุตตมสงฆ์ ฟาเหียน ๒๔๙๐. ๕๒ - ๕๓)
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Gal_Viharaya_02.jpg
จะเห็นได้ว่า ประวัติการสร้างพระแก่นจันทน์มีมานานแล้ว น่าจะย้อนไปเกือบถึงสองพันปีแล้ว ถ้าว่าตามการคาดคะเนจากหลักฐานในเบื้องต้นแล้ว ตำนานพระแก่นจันทน์น่าจะย้อนไปถึงสองพันปีได้ เพราะเรื่องราวที่เล่าขานในยุคแรกครั้งพุทธกาลนั้น อาจจะยังไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงเล่าขานปากต่อปากที่เรียกกันว่ามุขปาฐะ เหมือนการสังคายนาพระไตรปิฏกก็เป็นได้ อย่างเช่นสมมุติว่าเรื่องราวต่างๆ ในประเทศเราในระยะ 3-400 ปี ก็น่าจะพอมีหลักฐานหรือจดจำกันได้อยู่ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ผู้คนมักจะจำกันได้ด้วยการเล่าขานสืบๆ กันมา ภายได้มีการจดจารึกไว้ในเวลาต่อมา ส่วนหลักฐานที่เล่าขานสืบๆ กันมาจะมีจริงหรือไป เราก็ไปค้นหาความจริงกันต่อไป
บทความที่น่าสนใจ
ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน ๑ พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน ๒ ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน ๓ สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน ๔ พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน
สำหรับประวัติการสร้างพระพุทธรูปแก่นจันทน์ ปรากฏในหนังสือจดหมายเหตุ ระหว่างการเดินทางไปอินเดียของหลวงจีนฟาเหียน เมื่อราว พ.ศ.950 ปรากฏในตำนานพระแก่นจันทน์ซึ่งเรื่องก็มีเนื้อหาคล้ายๆ กันคือ
อุตตมสงฆ์ ฟาเหียน (法顯) : บันทึกการเดินทาง สืบพระศาสนาในประเทศอินเดีย พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗. โกษากร ประภาศิริ แปลจากต้นฉบับจีน ฉบับเดียวกับ Professor James Legge แปลเมื่อคริสตศก ๘๘๖. องค์การศาสนประทีป, 2490 [1947]. Other Title. 仏国記. Title Transcription. อุตตมสงฆ์ ฟา เหียน : บันทึก การเดินทาง สืบ พระศาสนา ใน ประเทศ อินเดีย พ.ศ. ๙๔๒-๙๕๗
...ขณะพระพุทธองค์เสด็จดาวดึงส์สวรรคโปรดพุทธมารดา 90 วันนั้น พระเจ้าประเสนชิตมีอนุสรคำนึงถึง ตรัสสั่งให้แกะพุทธปฏิมาด้วยไม้โคศิรษจันทน์สถาบกไว้ ณ ที่พระพุทธเจ้าเคยประทับ ครั้นเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จกลับ พุทธปฏิมานั้นหลีกจากที่ประทับไปรับเสด็จ พระพุทธเจ้าตรัสสั่งกะพุทธปฏิมาว่า "จงกลับไปนั่งตามเดิม เมื่อเราตถาคตปรินิพพานแล้ว จะควรแก่บริษัททั้ง 4 ได้กระทำธรรมมารยาท" พุทธปฏิมาก็กลับไปอยู่ตามเดิม พุทธปฏิมานี้ เป็นอาทิแห่งพุทธปฏิมาทั้งหลาย อันชนภายหลังถือเป็นธรรม สร้างต่อมา ฝ่ายพระพุทธเจ้าเมื่อตรัสด้วยพุทธปฏิมาดังนั้นแล้ว พระองค์เสด็จไปประทับ ณ อาศรมน้อยเบื้องทักษิณ ห่างพุทธปฏิมา 20 ก้าว... (อุตตมสงฆ์ ฟาเหียน ๒๔๙๐. ๕๒ - ๕๓)
จะเห็นได้ว่า ประวัติการสร้างพระแก่นจันทน์มีมานานแล้ว น่าจะย้อนไปเกือบถึงสองพันปีแล้ว ถ้าว่าตามการคาดคะเนจากหลักฐานในเบื้องต้นแล้ว ตำนานพระแก่นจันทน์น่าจะย้อนไปถึงสองพันปีได้ เพราะเรื่องราวที่เล่าขานในยุคแรกครั้งพุทธกาลนั้น อาจจะยังไม่มีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงเล่าขานปากต่อปากที่เรียกกันว่ามุขปาฐะ เหมือนการสังคายนาพระไตรปิฏกก็เป็นได้ อย่างเช่นสมมุติว่าเรื่องราวต่างๆ ในประเทศเราในระยะ 3-400 ปี ก็น่าจะพอมีหลักฐานหรือจดจำกันได้อยู่ โดยเฉพาะเรื่องสำคัญๆ ผู้คนมักจะจำกันได้ด้วยการเล่าขานสืบๆ กันมา ภายได้มีการจดจารึกไว้ในเวลาต่อมา ส่วนหลักฐานที่เล่าขานสืบๆ กันมาจะมีจริงหรือไป เราก็ไปค้นหาความจริงกันต่อไป
บทความที่น่าสนใจ
ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน ๑ พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน ๒ ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน ๓ สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน ๔ พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน
ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต” (ตถาคตคือธรรมกาย)
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/4.html ตอน 7 ธมฺมกายพุทธลกฺขณํ พระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกาย
0 ความคิดเห็น: