เสวนาวิชาการสืบค้นวิเคราะห์บันทึกมรดกธรรมในพระพุทธศาสนากับสังคมที่ก้าวไปในหัวข้อพุทธานุสติในพระพุทธศาสนาฯ.
Academic
dialogue delves into the analysis and exploration of recorded Dharma heritage
in Buddhism. Society Moving Forward in The Topic of Buddhanusati in Buddhism
การทําสมาธิแบบพุทธานุสติซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับสมาธิแบบวิชชาธรรมกายที่เราปฏิบัติกันอยู่อย่างไรบ้างคะ?
Is
there a link between Buddhanusati meditation and Vijja Dhammakaya meditation
method that we are practicing?
กราบนมัสการพระคุณเจ้า
แล้วก็สวัสดีทุกท่านนะครับ
I pay my
highest respects to the venerable master, and greetings to all of you.
สําหรับเรื่องราวที่ผมจะมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้
ขอใช้คําว่าเล่าสู่กันฟังนะครับ เพื่อที่จะได้ไม่ดูเป็นวิชาการมากเกินไป
ก็คือเป็นเรื่องของการทําสมาธิแบบพุทธานุสสติ
ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสมาธิแบบวิชชาธรรมกายอยู่ เนื้อหาส่วนหนึ่งที่นํามาบรรยายนํามาเล่าสู่กันฟังในนี้
ก็เป็นเนื้อหาที่อยู่ในงานวิจัยที่ผมกําลังทําอยู่
โดยงานวิจัยของผมก็จะเน้นไปที่กลวิธีและประโยชน์ของวิเคราะห์ศัพท์แบบนิรุตติศาสตร์ในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือการวิเคราะห์ศัพย์เพื่อการปฏิบัติแบบพุทธานุสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
Today, I'm going to share a story with you, not in an
overly academic way, but more like a casual chat. It's about Buddhanusati
meditation and how it's connected to the Vijja Dhammakaya meditation method
we're familiar with. So, what I'm going to talk
about includes stuff from my ongoing research. It's all about digging into how
words are used and what they mean in Buddhist texts, especially when it comes
to understanding Buddhanusati meditation as explained in the Visuddhimagga.
สําหรับการบรรยายในวันนี้ผมก็
จะแสดงให้เห็นถึงที่มาและความสําคัญของการทําสมาธิแบบพุทธานุสติ
แล้วก็การพัฒนาการและวิธีการทําสมาธิแบบพุทธานุสติ
ตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงสมัยพระอรรถกถาจารย์ รวมถึง ความเชื่อมโยงในการทําสมาธิแบบวิชชาธรรมกายและก็คําภาวนาสัมมาอระหัง
พุทธานุสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
Part of the content I'm about to share comes from my
current research which focuses on the techniques and benefits of etymological
analysis in Buddhist scriptures. One aspect of this involves analyzing
terminology for the practice of Buddhanusati in the Visuddhimagga text.
สําหรับสิ่งแรกที่ผมจะพูดถึงก็คือความหมายของคําว่าอนุสสติ
ในคำว่าพุทธานุสติซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินคําสองคํานี้มาบ่อยๆ แล้ว
แต่ว่าความหมายที่แท้จริงของสองคํานี้หมายถึงอะไร บางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจ จริงๆ
แล้วคําว่าพุทธานุสติเป็นการสมาสของคําว่า พุทธะ ที่หมายถึงพระพุทธเจ้า กับคําว่า
อนุสติ โดยเมื่อสมาสแล้วก็หมายถึงอนุสติที่มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
คําว่าอนุสตินี้ ในพระไตรปิฎกมีความหมายใกล้เคียงกับคําว่า สติ
บางทีก็ใช้แทนกันได้ โดยมีความหมายอยู่ด้วยกัน 2 นัยยะ
นัยยะแรกนั่นก็คือความหมายดั้งเดิมของศัพท์หมายถึงการระลึกถึง หรือว่าความทรงจํา
ในภาษาอังกฤษคําว่าเมมโมรี่
โดยความหมายนี้จะเป็นความหมายที่พบโดยทั่วไปในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
รวมถึงคัมภีร์พราหมณ์ด้วย
So, I’m kicking things off with what "anusati"
means when we talk about "Buddhanusati." You've probably come across
this term before, but what do they truly signify? Well,
"Buddhanusati" basically merges "Buddha," as in the Lord
Buddha, with "anusati," meaning when put together, it's about keeping
the Buddha in mind. "Anusati," as found in the Pali texts, is pretty
close to "sati," and they can sometimes mean the same thing. It boils
down to two senses: the first is about remembering or memory—think "memory"
in English. This sense pops up a lot in the Buddhist texts and even in
Brahmanical scriptures.
สําหรับในภาษาไทยเรา
ก็มีการรับคํานี้มาใช้เช่นกันในคําว่าอนุสรณ์ หรือว่าภาษาบาลีก็คืออนุสรณะ
ซึ่งเป็นคํานามอีกคํานึงที่มีรากเดียวคําว่า อนุสติ นั่นเอง อนุสรณ์
หมายถึงสิ่งที่ทําให้เราระลึกถึงบุคคลหรือว่าเหตุการณ์สําคัญๆ
เหมือนกับคําว่าอนุสติที่หมายถึงการระลึกถึง
ส่วนอีกความหมายนึงของคําว่าสติหรือว่าอนุสติ
จะเป็นความหมายที่ค่อนข้างเฉพาะในบริบททางพระพุทธศาสนา
หมายถึงการทําสมาธิหรือว่าในภาษาอังกฤษใช้คําว่า
ความหมายนี้นักวิชาการบางท่านก็แย้งว่า
เป็นความหมายที่ขยายมาจากความความทรงจําอีกทีหนึ่ง แล้วก็การมีสติหรือว่าสติจําเป็นจะใส่ความทรงจําด้วย
แต่ว่านักวิชาการบางท่านเองก็กลับมาแย้งว่า
การมีสติในพระพุทธศาสนาไม่จําเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับความทรงจําเสมอไป
อันนี้ก็แล้วแต่ทัศนะของนักวิชาการท่านนั้นๆ
In Thai, we've got a similar word, "anusorn," or
"anusarana" in Pali, that comes from the same root as
"anusati." It's about things that jog your memory about people or big
events, kind of like "anusati" is about remembering. Now, when we
talk about "sati" or "anusati" in Buddhism, it shifts a bit
to mean meditation or mindfulness. Some folks think this idea kinda stretches
from the concept of memory, like mindfulness has to do with remembering stuff.
But then, some scholars argue that being mindful in Buddhism isn't always about
memory—it varies with each scholar's take.
สําหรับผมหลังจากที่ได้ศึกษาคําครั้งนี้แล้ว ก็คิดว่าพิจารณาความหมายของคํานี้ออกเป็น 2 ช่วงด้วยกัน
คือช่วงที่พระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ อนุสติหรือพุทธานุสติ
น่าจะหมายถึงความทรงจํา หรือว่าการระลึกนึกถึงพระองค์โดยตรง
โดยพระสาวกหรือว่าผู้ที่ทันเห็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ได้ฟังธรรมจากพระองค์
มีประสบการณ์โดยตรงจากพระองค์ แต่เมื่อพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว การใช้คําว่าอนุสติ
หรือว่าสติ น่าจะขยายความหมายออกมาอีกทีหนึ่ง
ซึ่งหมายถึงการทําสมาธิที่ระลึกถึงพระพุทธองค์ผ่านเรื่องเล่า
แล้วประกอบสร้างพระพุทธองค์ผ่านเรื่องราวที่ได้รับฟังมาอีกทีหนึ่งจากพระสาวกรุ่นแรกๆ
ซึ่งวิธีการเช่นนี้น่าจะเป็นต้นแบบของการทําสมาธิแบบพุทธานุสติที่ปรากฏในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
ซึ่งใช้วิธีการทางนิรุตติศาสตร์ในการประกอบสร้างภาพจําลองของพระพุทธองค์เพื่อการทําสมาธินั่นเอง
So, after digging into this word a bit, I think you can
split its meaning based on whether the Buddha was still around. Back when the
Buddha was alive, "anusati" or "Buddhanusati" was probably
about remembering him, thinking back to what it was like to be in his presence,
for those lucky enough to have actually met him and listened to his teachings.
But after the Buddha passed away, "anusati" or "sati"
started to mean something a bit broader. It turned into a way of meditating by
recalling the Buddha through stories passed down from the earliest disciples,
kind of piecing together what he was like from these narratives. This approach
laid the groundwork for what we now see as Buddhanusati meditation in texts
like the Visuddhimagga, where it's all about using stories to form a picture of
the Buddha in your mind for meditation.
สําหรับการทําแบบพุทธานุสตินั้น
ไม่ได้มีบอกว่าอย่างชัดเจนในประเทศไทยว่าต้องทําเช่นไร
เช่นมหานามสูตรในอังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้แต่เพียงหากจะระลึกพระองค์
หรือว่าจะอนุสติถึงพระองค์ ให้พระสาวกระลึกถึงโดยผ่านบทอิติปิโส
ซึ่งจะทําให้เข้าถึงสมาธิแล้วก็กําจัดความกลัวได้
บางพระสูตรเช่นในอังคุตตรนิกายเอง ตรัสพระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนว่า พุทธานุสติสิ่งนี้จะนําไปสู่นิพพานได้ในที่สุด ซึ่งอาจจะสังเกตว่าเนื้อหาตรงนี้
อาจจะมีความขัดแย้งอยู่บ้างจากคัมภีร์ยุคหลัง เช่นคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่กล่าวว่า
พุทธานุสติเป็นสมาธิที่นําไปสู่สมถะเบื้องต้นได้เท่านั้น
When it
comes to Buddhanusati, there isn't a clear-cut method laid out in Thailand,
like "do this, then that." Take the Mahanama Sutta in the Anguttara
Nikaya, for example. The Buddha was pretty much like, "If you wanna
remember me or keep me in mind, just think back on the Itipiso chant. It'll
help you focus and not be scared." And in the same collection, the
Buddha's pretty straightforward, saying Buddhanusati can take you all the way
to Nibbana. But then, you've got later texts, like the Visuddhimagga, throwing
in a bit of a curveball by saying Buddhanusati is great for getting started
with concentration, but that's about it.
แล้วก็นักวิชาการได้วิเคราะห์รูปแบบของพุทธานุสติ
ที่ปรากฏคัมภีร์บาลีแล้วก็สรุปมาเป็น 2 แนวทาง
โดยกลุ่มแรกก็เชื่อว่าพุทธานุสติในยุคแรก เป็นการท่องบทอิติปิโสเท่านั้น
แล้วก็ยังไม่มีการนึกภาพหรือว่านิมิตภาพ เป็นภาพพุทธองค์ในขณะที่ปฏิบัติสมาธิ
แต่ว่านักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งก็เห็นแย้งว่า
การทําพุทธานุสติเกี่ยวข้องกับการตรึกภาพของพระพุทธองค์เอาไว้ในใจดังที่ที่ปรากฏในคัมภีร์สุตนิบาตโดยพระปิงคียะก็กล่าวว่า
ท่านอายุมากแล้วและก็สังขารก็ไม่เอื้ออํานวยที่จะติดตามพระองค์ไปในทุกที่
แต่ท่านมีสติแล้วก็เห็นพระพุทธองค์ใจได้ตลอดเวลา
อีกคัมภีร์หนึ่งก็คือคัมภีร์พุทธาปธานกล่าวไว้ว่า พระพุทธองค์ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ได้นึกถึงภาพของพุทธเจ้าและพระสาวกในพระนิพพานเอาไว้ในใจ
แล้วก็ได้ฟังภาพจากพุทธเจ้าเหล่านั้นด้วย ซึ่งหลักฐานชั้นต้นจากพระไตรปิฎกเหล่านี้
ก็ชี้ชัดว่าพุทธสติแบบเห็นพระพุทธเจ้ามีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลแล้ว
So, there's this debate among scholars about how
Buddhanusati was practiced back in the day, based on what's in the Pali texts.
One side says early on, it was all about chanting the Itipiso and didn't
involve picturing the Buddha during meditation. But then, there's this other
viewpoint saying that Buddhanusati definitely included imagining the Buddha,
like Pingiya talking in the Suttanipata about how, even though he couldn't
physically keep up with the Buddha everywhere, he kept the Buddha in his mind all
the time. And in the Buddhavamsa, it talks about the Buddha, back when he was a
Bodhisattva, thinking about images of past Buddhas and their disciples in
Nirvana and hearing from them. So, these early texts from the Pali Canon really
show that seeing the Buddha in your mind's eye as part of Buddhanusati goes way
back.
สําหรับคําในคัมภีร์วิสุทธิมรรคมีการกล่าวถึงพุทธานุสติไว้แบบใด
ในงานวิจัยของผมพบว่าในคัมภีร์วิสุทธิมรรคพระพุทธโฆษาจารย์ผู้แต่ง
ได้ใช้วิธีการทางนิรุตติศาสตร์ในการอธิบายความของคําทุกคําที่ปรากฏในบทอิติปิโส
ซึ่งคําเหล่านี้ก็แสดงให้เห็นถึงพระพุทธคุณทั้ง 9 ประการ
แล้วก็การอธิบายแบบนี้ มีปรากฏอยู่บ้างแล้วในคัมภีร์จูฬนิเทศและมหานิเทศ
แต่ว่าไม่ได้เชื่อมโยงถึงการปฏิบัติแบบพุทธานุสติเหมือนกับในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
สําหรับหลักฐานที่เก่าสุดที่ปรากฏก็คือคัมภีร์วิมุตติมรรค
ซึ่งมีการอธิบายบทอิติปิโส แบบนิรุตติศาสตร์เหมือนกับวิสุทธิมรรคแล้วเชื่อมโยงถึงการปฏิบัติธรรมแบบพุทธานุสติด้วย
คัมภีร์วิมุตติมรรคนี้ นักวิชาการเชื่อว่าเป็นต้นแบบของคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แล้วก็แต่งโดยพระธรรมปาละที่เป็นพระจากสํานักอภัยคีวิหาร
อาจจะมีความเก่าแก่กว่าคัมภีร์วิสุทธิมรรคเล็กน้อย ในปัจจุบันต้นฉบับภาษาเดิมของวิมุตติมรรคไม่มีแล้วไม่หลงเหลือแล้ว
มีแต่เพียงฉบับภาษาจีนที่แปลไว้
แต่ว่าการอธิบายความของบทอิติปิโสในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
น่าจะเป็นฉบับที่ขยายความได้ชัดเจนมากที่สุด
แล้วก็ขยายมาจากคัมภีร์วิมุตติมรรคอีกทีหนึ่ง และก็การปฏิบัติแบบนี้น่าจะเป็นต้นแบบของการปฏิบัติพุทธานุสติพุทธศาสนาเถรวาทในสมัยต่อๆ
มา
So, in
the Visuddhimagga, there’s a section where it talks about Buddhanusati and
breaks down the Itipiso chant word by word, diving into what each term
means—pointing out the Buddha’s nine virtues. This kind of breakdown also pops
up in older texts like the Culaniddesa and the Mahaniddesa but doesn’t tie back
to Buddhanusati the way the Visuddhimagga does. The real old-school reference
for this comes from the Vimuttimagga, which goes through the Itipiso chant in a
similar way and connects it directly to Buddhanusati practice. People think the
Vimuttimagga, written by a monk named Upatissa from the Abhayagiri place, came
just before the Visuddhimagga. The original’s gone, and we only have a Chinese
translation now. But, the way the Visuddhimagga explains the Itipiso chant?
That’s probably the clearest we’ve got, and it likely builds off what the
Vimuttimagga started. Looks like this approach kind of laid the groundwork for
how Buddhanusati got practiced in Theravada Buddhism later on.
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค
พระพุทธโฆษาจารย์ได้อธิบายคําในบทอิติปิโสไว้อย่างละเอียด เช่นคําว่า อรหํ
มาจากคําว่า อรกา ซึ่งหมายถึงห่างไกล คือห่างไกลจากกิเลส หรือว่ามาจากคําว่า อริ
คําว่า หตะ ซึ่งผู้ที่ศัตรู อริก็คือกิเลสเนี่ยถูกกําจัดแล้ว หรือว่าคําว่า อระ
บวกคําว่า หตะ ซึ่งหมายถึงซี่กรรมของกงล้อ ก็คือสังสารวัฏ ได้แตกหักลงแล้วเป็นต้น
จะสังเกตได้ว่าการอธิบายความแบบนี้ มีหลักเกณฑ์อยู่ด้วยกัน 2 ประการ
ก็คือหนึ่งเสียงของคําเนี่ยคําตั้งต้นกับคําที่นําอธิบายความหมายจะต้องคล้ายคลึงกัน
อริหตะ กับคําว่า อรหันตะ หรือว่า อรหตะ กับคําว่า อรหันตะ เป็นต้น
So, in
the Visuddhimagga, Phra Buddhaghosacarn really dives deep into the words from
the Itipiso chant. Take "Araham"—he breaks it down to show it's about
being way beyond all those bad vibes, or it's like saying all the bad stuff
(defilements) that mess with us are gone for good. And when he talks about
breaking the cycle of life and death, it’s like saying the whole spinning mess
we’re caught in has finally cracked. The cool part about how he explains
things? There are a couple of rules he sticks to, like making sure the words he
uses to explain stuff sound kinda like the word he’s explaining. Like
"Arihata" sounding similar to "Arahanta."
สําหรับประการที่
2 ก็คือความหมายจะต้องเชื่อมโยงได้ด้วย
การวิธีการทางนิติศาสตร์แบบนี้
ส่วนใหญ่จะใช้ในการอธิบายความที่เป็นวิธีการทางภาษาศาสตร์ของชาวอินเดียโบราณ
แต่ว่าในที่นี้กลับนํามาใช้เป็นวิธีการทําสมาธิ ผมจึงสนใจว่ามันจะมีผลอย่างไร
แล้วเราจะอธิบายเหตุการณ์อย่างนี้ได้อย่างไร
So, the
second thing is about making sure everything's connected, especially when
you're digging into words like they did back in the old days in India. But
here's the twist—they're using this old-school word puzzle approach for
meditation. That got me wondering what kind of impact that could have and how
we'd even start to explain something like that.
อันนี้ผมจึงขอเชื่อมโยงไปถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่ง
ก็คือการศึกษาอารมณ์ความเกรงขาม หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า AWE อารมณ์นี้เกิดขึ้นจากการรับรู้สิ่งที่ใหญ่กว่าตน
ไม่ว่าจะเป็นทางกายภาพหรือทางสังคม เมื่อเรามองเห็นภูเขาแม่น้ําต้นไม้ที่ยิ่งใหญ่
การเห็นศักยภาพที่ตระการตาหรือว่าอาคารสิ่งปลูกสร้างที่อลังการ
หรือว่ารวมถึงการรับรู้ทางสังคมเช่นการพบปะหรือการพูดคุยกับบุคคลที่อํานาจ
มีคุณธรรมที่น่าเกรงขามที่ทําให้เรารู้สึกขนลุกได้
ถ้าเรารับรู้สิ่งต่างต่างเหล่านี้แล้ว
เราจะพยายามปรับเปลี่ยนมุมมองของเราที่มีต่อโลกให้เข้ากับสิ่งที่เรารับรู้ใหม่นี้
อารมณ์ความเกรงขามนี้
ในทางวิทยาศาสตร์มีการทดลองว่าจะนําไปสู่สมาธิได้และสร้างความศรัทธาในศาสนาและตัวบุคคล
รวมถึงทําให้ตาของผู้ที่มีอารมณ์ความเกรงขามลดลงด้วย So, I got thinking about how this all ties back to a
certain type of scientific study—looking into that whole awe thing. You know
that feeling you get when you're faced with something way bigger than you, like
a massive mountain or a huge river, or even when you're in the presence of
someone really powerful or morally upright, and it just gives you chills. When
stuff like this makes us see the world in a new light, science says it can
actually help us focus better, build up our faith in our religion or ourselves,
and even shrink our egos a bit.
จากการศึกษาอารมณ์ความเกรง
ทําให้ผมสรุปได้ว่าสมาธิแบบพุทธานุสติที่มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
ก็คือการสร้างอารมณ์ความเกรงขามนั่นเอง
โดยใช้วิธีการทางนิรุตติศาสตร์ในการขยายความเพื่อทําให้ผู้ตรึกระลึกถึงได้รับรู้ถึงพระพุทธคุณอันยิ่งใหญ่ของพระพุทธองค์
อ่านตัวหนังสือในบทสวดและสร้างความศรัทธา
มุ่งตรงต่อพุทธองค์แล้วนําไปสู่สมาธิและนิพพานในที่สุด
So,
after looking into how reverence works, I figured out that when you're doing
Buddhanusati meditation and focusing on the Buddha, you're basically building
up this sense of deep respect. The trick is using word analysis to really dig
into the texts, so when people think about it, they can get a sense of just how
awesome the Buddha's qualities are. It's about getting into the chants,
boosting your faith, and keeping your sights on the Buddha, which can then take
you all the way to getting your mind right and, eventually, to Nibbana.
สําหรับการทําสมาธิแบบพุทธานุสติที่ใช้หลักการทางนิรุตติศาสตร์
ก็มีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน โดยในสมัยเวลาหลังจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคเลย
มีคัมภีร์จตุรารักขาซึ่งใช้แนวทางการอธิบายความแบบเดียวกันคัมภีร์วิสุทธิมรรค
แต่ว่ามีลักษณะที่ย่อความมา อาจจะเป็นเพราะว่าต้องการจะลดความซับซ้อนในการท่องจําและการทําความเข้าใจ
ส่วนในแถบประเทศไทยเอง ก็มีการสืบทอดมาหลายทาง
มีการแต่งตําราพุทธคุณที่ใช้บทอิติปิโสเป็นหลัก
แล้วก็อธิบายความให้ยืดยาวออกไปเพื่อทําให้เห็นภาพของความยิ่งใหญ่ของกลุ่มของพระพุทธองค์
ซึ่งอันนี้ก็น่าจะเป็นแนวทางในการนําไปสู่การปฏิบัติแบบที่แบบพุทธานุสติ
นอกจากนี้คําว่าสมาส ผมคิดว่าน่าจะมาจากการท่องกลับของบทอิติปิโส
ที่ขึ้นต้นด้วยคําว่า อรหํ สัมมาสัมพุทโธ ภควา เป็นต้น
ซึ่งเมื่อกลับแล้วเราก็จะได้คําว่า สัมมาอรหัง และการตีความคําว่า สัมมาอะระหังเอง
ในปัจจุบันก็ยังมีการตีความทางนิรุตติศาสตร์อยู่ โดยจะพบว่าทางอาการทางสมาธิ
ก็อาศัยหลักการการตีความจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคมาเป็นต้นแบบนั่นเอง
So, the way we do Buddhanusati meditation, based on
breaking down words and their meanings, has come all the way down to us today.
After the Visuddhimagga came out, there was this text called the Caturarakkha
that kind of followed in its footsteps but made things shorter, probably to
make it easier for folks to get and remember. Over here in Thailand, we've
taken this and run with it, creating works that dive deep into the Buddha's
qualities using the Itipiso as a starting point, and really fleshing it out to
show just how amazing the Buddha and his teachings are. This sort of thing
probably helps shape how Buddhanusati is practiced. And about the term
"samma arahang," I'm pretty sure it comes from flipping the Itipiso
verse around, starting with "Araham sammasambuddho bhagava'' and so on.
Flipping it gives you "samma arahang," and how we understand that
term today has a lot to do with the kind of word analysis you see in the
Visuddhimagga, setting the standard for meditation practices.
สุดท้ายนี้
ผมก็เลยจะขอสรุปว่าการปฏิบัติสมาธิแบบพุทธานุสติที่มีการเห็นพระพุทธเจ้า
น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วดังที่มีปรากฏในพระไตรปิฎกที่ผมได้แสดงให้เห็นเบื้องต้น
แล้วก็พุทธสติสามารถนําไปสู่นิพพานได้ตามที่พระองค์ทรงตรัสสอนไว้ และคําว่า สัมมา
อะระหัง น่าจะสืบทอดมาจากการใช้วิธีการทางนิรุตติศาสตร์
เพื่อการปฏิบัติแบบพุทธานุสติในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นเอง
So, to wrap this up, I'm pretty convinced that Buddhanusati
meditation, where you visualize the Buddha, has been around since the Buddha's
days—just like the early texts in the Pali Canon show. Plus, the Buddha said
this kind of meditation can take you all the way to Nibbana. And that phrase
"Samma Arahang" we come across, especially in the Visuddhimagga? It
looks like it comes from using some serious word-analysis to get into the
groove of Buddhanusati meditation.
0 ความคิดเห็น: