วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

หลักฐานธรรมกายในอวตังสกสูตร

SHARE

                                         

                                  ปกรงควัตถุสีทองของอวตังสกสูตรฉบับภาษาเกาหลี ค.ศ. 1400.

                                      หลักฐานธรรมกายในอวตังสกสูตร                                  

อวตังสกสูตร มีชื่อเต็มว่า "มหาไวปุลยพุทธาวตังสกสูตร" เป็นพระสูตรสำคัญในพุทธศาสนามหายานที่มีขนาดใหญ่สูตรหนึ่ง ที่เกิดขึ้นในช่วง 3 สัปดาห์แรก ภายหลังการตรัสรู้พระโพธิญาณของพระพุทธเจ้า ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นการแสดงธรรมบรรยายซึ่งกล่าวถึงสภาวะภายในที่พระองค์ประจักษ์แจ้งให้กับเหล่าพระโพธิสัตว์ชั้นสูง ได้แก่ พระมัญศรีโพธิสัตว์และพระสมันตภัทรโพธิสัตว์เป็นต้น เนื้อหากล่าวถึงเหตุของการปฏิบัติและผลของการประพฤติของพระพุทธเจ้า ที่สำแดงออกมาอย่างซับซ้อนไม่รู้จบ และแต่ละสิ่งก็เชื่อมโยงกันโดยปราศจากสิ่งกีดขวาง มีความสมบูรณ์และยิ่งใหญ่ไพศาลในตัวเอง เปรียบเสมือนดอกไม้หลากหลายชนิดมาร้อยเรียงกันอย่างสวยงาม ซึ่งมองเห็นได้ด้วยดวงตาที่กระทบแสงอันแพรวพราว

คำว่า "มหาไวปุลยะ" หมายถึง หลักสัจธรรมที่กว้างใหญ่ไพศาลไร้พรมแดน ซึ่งโอบกอดสรรพสิ่งไว้ด้วยกัน ชีวิตของมนุษย์ทุกจักรวาล วัตถุสิ่งของทั้งหมดที่มีอยู่ในที่นั้น ๆ ได้รับการบรรจุไว้ในมหาไวปุลยะนี้ทั้งสิ้น สิ่งนี้คือพระธรรมอันไพศาล คำว่า "พุทธะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในพระธรรมอันไพศาล คำว่า"อวตังสกะ" คือการนำเอาเรื่องราวที่เป็นเหตุปัจจัยประการต่าง ๆ มาเกื้อกูลแก่การปฏิบัติตามแนวพระโพธิสัตว์อันงดงามด้วยคุณเป็นประการต่าง ๆ คำว่า "สูตร" ในที่นี้หมายถึง คำสอนในพุทธศาสนาที่ประมวลเอาคำสอนของพระพุทธเจ้าเข้าไว้ด้วยกัน มีเนื้อหามุ่งเน้นการเทิดทูนหลักธรรมไว้เหนือเกล้า และชี้แนะให้กับสรรพสัตว์ผู้อยู่เบื้องล่าง อีกนัยหนึ่ง "พุทธะ" คือ ประจักษ์พยานแห่งการตรัสรู้ธรรม "มหาไวปุลยะ"คือ พระธรรมที่ทรงตรัสรู้ "อวตังสกะ" คือ การใช้อุปมาในรูปของพวงมาลาดอกไม้ที่งดงามนานาชนิด ดอกไม้นี้ให้กำเนิดพุทธผลอันงดงามซึ่งหาได้ยากยิ่งในโลก

            อวตังสกสูตร ฉบับ 60 ผูก คือฉบับย่อเป็นฉบับที่เผยแพร่ปัจจุบันนี้ มี 60 ปกรณ์ มี 100,000 โศลก สรุปความเป็นภาษาสันสกฤตได้ 36,000 โศลก จีนได้ 45,000 โศลก ฉบับแปลภาษาจีน มี 2 ฉบับ คือ ฉบับพระพุทธภัทรมหาเถระ แปลระหว่างปีพ.ศ. 961 - 963 กับฉบับของพระมหาสมณะศึกษานันทะ แปลระหว่างปีพ.ศ. 1238 - 1242

如來處世無所依,

法身清淨無起滅,

而能照現無量土,

一切悉見天中天。

The Tathagata lived in the world without attachment to anything. Pure Dhammakaya does not arise or completely cease.

and can make light appear in an immeasurable land All people saw the Lord among the gods

พระตถาคตทรงอาศัยอยู่ในโลกโดยไม่ได้ยึดโยงอยู่กับสิ่งใด พระธรรมกายบริสุทธิ์ไม่เกิดขึ้นหรือดับสนิท

และสามารถทำให้ความสว่างปรากฎขึ้นในแผ่นดินอันไม่มีประมาณ ชนทั้งปวงล้วนได้เห็นพระผู้เป็นเทพในหมู่เทพทั้งปวง (๑.๒๙.)

一切眾生莫能測,法身禪境界,

無量方便難思議,智慧光照法門。

All living beings cannot fathom it. The Dhammakaya of the Tathagata in Jhānavisāya It is an immeasurable upaya, difficult to think about. This is the door to the Dharma with the light of wisdom.

สรรพสัตว์ทั้งปวงมิสามารถหยั่งถึง ธรรมกายของพระตถาคตในฌานวิสัย เป็นอุปายะไม่มีประมาณยากคิด นี้คือประตูสู่ธรรมด้วยแสงสว่างแห่งปัญญา (๑.๕๐.)

佛身無邊如虛空,智光音是,

佛於諸法無障礙,猶光照一切。

The Buddha's body was as boundless as the air. Even the radiance of his wisdom and the clarity of his voice are the same.

The Buddha is free from obstacles and barriers in all dharmas. It's like the moonlight shining on everything.

พระวรกายของพระพุทธเจ้าไร้ขอบเขตเหมือนอากาศ แม้รัศมีแห่งพระญาณกับเสียงที่ใสสะอาดก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน

พระพุทธเจ้าทรงปราศจากอุปสรรคและเครื่องกั้นในธรรมทั้งปวง เสมอเหมือนด้วยแสงจันทร์ส่องสรรพสิ่ง (๑.๕ ๕.)

法王安住妙法堂,法身光明無不照,

法性如實無異相,是名樂音海法門。」

Phra Thammaraja was resting peacefully in the Phra Sattham Hall. The Dhammakaya radiates a brilliant radiance that nowhere it cannot reach.

The state of Dhamma is true and has no difference in characteristics. This is called the door to Dhamma, which is the satisfaction in the sound of Sakhon.

พระธรรมราชาประทับอยู่อย่างสงบในหอพระสัทธรรม พระธรรมกายเปล่งรัศมีเรืองรองไม่มีที่ใดเลยที่แผ่ไปไม่ถึง

สภาวธรรมเป็นจริงตามนั้นมีลักษณะไม่แตกต่าง นี้ชื่อว่าประตูสู่ธรรมคือความซอบใจในเสียงสาคร (๑.๕๖.)

「如法身等法界,普應眾生悉對現,

如來法王化眾生,隨諸法悉調伏。

The Dhammakaya of the Tathagata is equal to the Dhamma elements. All of them are shown to the animals as appropriate throughout the universe.

The Tathagata, the Dhamma-king, guides all beings. All of them have been trained and controlled according to the Dhamma.

พระธรรมกายแห่งพระตถาคตเสมอด้วยธรรมธาตุ ทั้งหมดล้วนสำแดงให้ปรากฎขึ้นต่อหมู่สัตว์ตามสมควรทั่วสากล

พระตถาคตผู้ทรงเป็นพระธรรมราชาทรงชี้แนะสรรพสัตว์ ทั้งหมดล้วนได้รับการอบรมและกำราบโดยอนุโลมตามสรรพธรรม (๑.๕๗.)

法身於世難思議,普現應眾生

緣性無造非實,行業莊現世間。

In this world, Dhammakaya is something that is difficult to imagine. The Tathagata arose universally, appropriate to all living beings.

The nature of factors is devoid of creation and is not true reality. Conduct and actions are decorations that occur in this world.

ในโลกนี้พระธรรมกายเป็นสิ่งที่คิดได้โดยยาก พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นทั่วสากลอย่างเหมาะสมกับสรรพสัตว์

ธรรมชาติแห่งปัจจัยปราศจากการสร้างและมิใช่ความจริงแท้ ความประพฤติและการกระทำเป็นเครื่องประดับที่อุบัติขึ้นในโลกนี้ (๑.๖๗.)

方便求佛無所有,之十方不可得,

法身示現無真實.出生自在如是見。

The use of upāyā to seek the Buddha is all but non-existent. Pursuing or chasing (Buddha) in all directions cannot be considered anything.

The Dhammakaya manifests itself without any real truth. and can occur independently You should see that.

การใช้อุปายะเพื่อแสวงหาพระพุทธเจ้าทั้งหมดนั้นไม่ได้มีอยู่เลย การเที่ยวไขว่คว้าหรือไล่จับ(พระพุทธเจ้า) ในทศทิศก็ไม่อาจถือเอาอะไรได้

พระธรรมกายสำแดงให้ปรากฎขึ้นโดยปราศจากความจริงแท้ และเกิดขึ้นได้เองอย่างเป็นอิสระ พึงเห็นอย่างนั้น (๑.๖๘.)

如來法身不思,法界法性然

光明普照一切法,寂靜諸法皆悉現。

The Dhammakaya of the Tathagata is imaginary. And the analysis of the natural conditions of Dhamma Dhatu is also like that.

Light spreads universally in all dharmas. The calmness of all things has appeared.

พระธรรมกายของพระตถาคตเป็นอจินไตย และการวิเคราะห์สภาวธรรมแห่งธรรมธาตุก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน

แสงสว่างแผ่ซ่านทั่วสากลในธรรมทั้งปวง ความสงบระงับแห่งสรรพธรรมล้วนปรากฎขึ้นแล้วทั้งสิ้น (๑.๗๙.)

法身甚彌曠,周遍十方無際,

智慧光明方便力,寂滅禪樂無邊。

The Tathagata has an extraordinary and vast Dhammakaya. Covering all areas of the border spread out in boundless directions

Light is wisdom Having upaya as power and calm Happy to live in that boundaryless jhana.

พระตถาคตมีธรรมกายอันพิสดารกว้างใหญ่ไพศาล ปกคลุมทั่วทุกบริเวณเขตแดน แผ่กระจายไปในทศทิศไร้ขอบเขต

แสงสว่างคือปัญญา มีอุปายะเป็นพลัง และทรงสงบระงับ ยินดีอยู่ในฌานที่ไร้พรมแดนนั้นด้วย (๑.๘๖.)

 

ที่มา https://drive.google.com/file/d/1WmVAuc2YqRlXJVVi6c24C7Ygi7adEChT/view

https://th.wikipedia.org/wiki/อวตังสกสูตร

SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: