วันพฤหัสบดีที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

Reviving Lost Wisdom: The Unveiling of the Kanthari Studies Center and the Renaissance of Ancient Buddhist Languages

SHARE

Reviving Lost Wisdom: The Unveiling of the Kanthari Studies Center and the Renaissance of Ancient Buddhist Languages

I pay my utmost respects to Phra Ajahn Mahasudham Suratano, and greetings to all the attendees. The significant day has finally arrived, as we witness the opening of the Kanthari Studies Center of the Dhammachai International Research Institute, or DIRI for short. This organization, under the Pariyatti Dhamma Division of Wat Phra Dhammakaya, aims to revive ancient languages that seem almost extinct or forgotten, and to revitalize them in Thailand.

กราบนมัสการพระคุณเจ้าพระอาจารย์มหาสุธรรม สุรตโน แล้วก็สวัสดีท่านผู้มีบุญทุกท่านค่ะ ก็ต้องพูดว่าในที่สุดก็มาถึงวันนี้นะคะ วันนี้เป็นวันสำคัญ เพราะว่าเป็นวันที่มีพิธีเปิดศูนย์คานธารีศึกษาของสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยหรือที่เราเรียกกันย่อๆ ว่าดีรี องค์กรนี้จะสังกัดสํานักพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย แล้วก็จะมาช่วยกันปลุกภาษาโบราณ ที่ดูเหมือนว่าจะตายไปแล้วนะ ถ้าไม่ตายก็ถูกหลงลืมไปแล้ว ให้ฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ในสยามประเทศนี้

 

Speaking of DIRI, it's fitting to share through its lens of places and times, as DIRI's work truly spans across various countries and over a decade or more. Led by The Most Venerable Phrasudhammayanavidesa, who dedicated his life to unearth the original teachings of the exalted Supreme Buddha, anchored in the determination of Luang Por  Dhammajayo, who believed in the existence of truth, and his encouragement to find it. The Most Venerable Phrasudhammayanavidesa (Sudham Sudhammo), greatly rejoiced as he gradually discovered what was shared by Dr. Chanida Jantrasrisalai.

เมื่อพูดถึงดีรี ก็อยากจะเล่าสักนิดนึง แล้วก็ไม่มีอะไรที่จะเหมาะสมมากไปกว่า จะต้องเล่าผ่านเรื่องของสถานที่และกาลเวลา เพราะว่างานของดีรีนั้นเนี่ย เป็นงานที่ผ่านสถานที่และกาลเวลาจริงๆ เดินทางไปในหลายประเทศทั่วโลก ผ่านระยะเวลานับ 10 ปีหรืออาจจะมากกว่านั้น โดยที่มีพระเดชพระคุณพระสุธรรมญาณวิเทศ ท่านเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงสําคัญ อุทิศชีวิตเพื่อการศึกษานี้ โดยที่มีจิตตั้งมั่นอยู่ในมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่หลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่บอกว่า เขาบอกว่าไม่มีเหรอ ความจริงนั้นมีนะ ให้ไปแล้วจะเจอ ซึ่งหลวงน้าสุธัมโม ท่านเจ้าคุณหลวงน้าสุธัมโม ท่านก็ไปและท่านดีใจมากเลยเมื่อท่านค่อยๆ เจอ ดังที่ท่านได้รับทราบจากดร.ชนิดาไปแล้ว

 

DIRI has grown on the foundation laid by Most Ven. Dhammajayo, starting from almost nothing to being able to reach out to the vast world. At that time, whom to meet or where to go was unknown. Throughout this period, DIRI faced numerous challenges, including language barriers, cultural differences, and notably, financial constraints. However, through hard work and perseverance, it has come a long way. This is highly commendable.

ดีรีนี้อาจจะกล่าวได้ว่าเติบโตขึ้นมาบนฐานของมโนปณิธานของพระเดชพระคุณหลวงพ่อคุณครูไม่ใหญ่ เติบโตขึ้นมาจากความน้อย เกือบไม่มีอะไรเลย แต่ว่าจะต้องไปยังโลกที่กว้างใหญ่ไพศาล ตอนนั้นจะไปที่ไหน จะไปพบใคร ที่อยู่ในหน้าจอเมื่อสักครู่นี้ ยังไม่รู้จักเลยแม้แต่คนเดียว จะไปพบใคร ต้องใช้เวลาเท่าไหร่จะไปพบกับท่านเหล่านี้ได้อย่างไร ไม่มีใครรู้ทั้งสิ้น ในระหว่างเวลาดังกล่าว ดีรีต้องผ่านอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา เรื่องความแตกต่างทางวัฒนธรรม แล้วก็อีกหลายหลายด้านที่สําคัญอย่างยิ่งก็คือเรื่องของความขาดแคลนงบประมาณ หลวงน้าต้องทํางานหนักมากเลยในเรื่องนี้ แต่ก็สามารถอดทนฝ่าฟันกันมาได้จนกระทั่งถึงวันนี้เป็นที่น่าชื่นชมมาก

 

Without Luang Por Dhammajayo, DIRI wouldn't have reached this point. It must be emphasized that without him, there would be no DIRI.

หากไม่มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยแล้วเนี่ย ไม่มีทางเลยที่ดีรีเนี่ยจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ ต้องเน้นย้ำเลยนะคะ ไม่มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อก็ไม่มีดีรี

DIRI has been here until now through exploration and finding answers, though still incomplete or unclear. Nonetheless, DIRI has uncovered new knowledge, significant in the academic field, buried in Kanthari language inscriptions on wood. This will gradually ignite a new perspective in this society and the Buddhist community on open-mindedness towards Buddhist studies. Understanding Buddhism's depth sometimes requires more than just a single book or piece of knowledge, necessitating insights from various sources, which DIRI is actively doing and crucially contributing to Buddhism.

ดีรีได้มาถึงวันนี้เนี่ยได้ ผ่านการแสวงหาแล้วก็พบคําตอบที่แม้ว่าจะยังขาดหายอยู่บ้างแล้วก็ยังคลุมเครืออยู่บ้าง แล้วก็ยังไม่ครบถ้วน แต่ก็ต้องถือว่าดีรีได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งสําหรับในแวดวงวิชาการแล้วถือว่ามีความสําคัญมาก ได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งได้ถูกกลบฝังอยู่ในแผ่นเปลือกไม้ในภาษาคานธารี นับวันสิ่งเหล่านี้เนี่ยจะค่อยๆ จุดประกายทัศนะใหม่ในสังคมประเทศนี้ ในสังคมพุทธนี้ว่าด้วยการเปิดกว้างทางความคิดเกี่ยวกับการศึกษาพระพุทธศาสนา การที่จะศึกษาพระพุทธศาสนาซึ่งมีความล้ำลึกอย่างมากนั้น บางครั้งหนังสือเล่มเดียวไม่สามารถจะบอกได้หมด บางครั้งองค์ความรู้เดียวไม่สามารถที่จะตอบได้หมด ต้องอาศัยความรู้จากหลายๆ แหล่งและดีรีกําลังทําเรื่องนี้ ซึ่งถือว่าเป็นความสําคัญ มีความสําคัญต่อวงการพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

 

The discovery of Kanthari scriptures, once buried beneath the deserts, has led western scholars to seriously study this language. Westerners, when they commit to something, do so with dedication, and they eventually learn to read Kanthari.

การค้นพบคัมภีร์ภาษาคานธารีที่เคยถูกฝังกลบอยู่ใต้ทะเลทราย ทําให้นักวิชาการจากโลกตะวันตกที่ท่านได้เห็นภาพของท่านเหล่านั้นบนหน้าจอเมื่อสักครู่นี้ ได้หันมาศึกษาภาษานี้อย่างจริงจัง ต้องกล่าวว่าชาวตะวันตกเนี่ย เวลาเขาทําอะไรเขาทําจริงมากเลยนะคะ ตั้งอกตั้งใจศึกษาจนกระทั่งสามารถอ่านภาษาคานธารีออก

 

Scholars, including myself, participated and observed their learning methods. Dr. Po (Dr. Chanida Jantrasrisalai) worked tirelessly, often with little sleep, raising concerns for her health.

นักวิชาการจัดดีรีก็ได้เข้าไปมีส่วนร่วมไปศึกษาเรียนรู้ ดิฉันไปด้วยแล้วก็เห็น เห็นเรื่องวิธีการเรียนของเขาเนี่ย ดร.โป้(ดร.ชนิดา) ทํางานหนักมากเลย บางวันเนี่ยแทบจะไม่ได้นอน บอกโป้เอ้ยนอนมั่งเหอะ เธอก็ไม่เคยจะยอมนอน ซึ่งน่าเป็นห่วงในเรื่องสุขภาพเป็นอย่างมาก

 

These scholars studied and interpreted in their capacity as experts in Pali and other languages, and as Buddhists. Many seen earlier are not Buddhists; they come from different religions but with an open heart to study and contribute significantly to Buddhism.

ท่านเหล่านี้ก็ได้ไปศึกษาเรียนรู้ แล้วก็ตีความช่วยเค้าตีความในฐานะที่เป็นผู้รู้ในภาษาบาลีและในบางภาษา แล้วก็ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ ท่านต่างๆ ที่ท่านเห็นในหน้าจอเนี้ยหลายท่านไม่ได้เป็นพุทธ เขาถือศาสนาอื่นแต่เค้ามีจิตใจอันกว้างขวาง แล้วก็มาศึกษาคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา  แล้วก็ทําประโยชน์ให้แก่พุทธศาสนาเป็นอย่างมาก

 

Dr. Po's team, including Dr. Kitchai and many others, began as students and are now emerging scholars deeply knowledgeable in Kanthari, poised to broaden the world of Buddhism.

ทีมของดร.โป้ เนี่ยนะคะ ดร.กิจชัยก็ดีและอีกหลายๆ ท่าน ท่านเริ่มจากการเป็นนักเรียนจนบัดนี้เติบโตและกําลังก้าวขึ้นมาเป็นนักวิชาการ กําลังเป็นอาจารย์ที่มีความรู้ทางภาษาคานธารีอย่างลุ่มลึก ท่านจะเปิดโลกอันกว้างขวางของพระพุทธศาสนาสืบไปนะคะ

 

Buddhism's growth across regions cannot ignore the geographical and sociological factors, and local conflicts, persisting over thousands of years. Sometimes unable to compete, Buddhism was lost, leading to numerous sects. The diversification of teachings and inscriptions, worth studying, arose from this.

การเติบโตของพระพุทธศาสนาในแต่ละดินแดนนั้น ไม่สามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และยังมีการเผชิญกับอริราชศัตรูในท้องถิ่น ซึ่งดําเนินไปอย่างต่อเนื่องผ่านกาลเวลานับพันๆ ปี บางแห่งเราสู้รบตบมือกับเขาไม่ได้ พระศาสนาได้สูญหายไป และที่ได้รับรู้กันก็คือมีการแตกนิกายออกไปเป็นอันมาก แน่นอนว่าเมื่อมีการแตกนิกาย การจดจารึกบันทึกคําสอนก็ย่อมแตกต่างกันไป ซึ่งก็มีค่าควรแก่การศึกษาเป็นอย่างยิ่ง

 

Buddhists spread in various directions, facing different geographies and local challenges. They adapted what they knew to spread within those communities, believing no knowledge, especially Buddhist teachings, should be discarded. This opens up perspectives on other Buddhist scriptures beyond the Theravada Pali canon.

การที่ชาวพุทธเนี่ยแตกออกไปในทิศเหนือบ้าง ทิศตะวันออกเฉียงเหนือบ้าง ทิศตะวันตกทิศตะวันออก ต่างคนต่างก็ไปเผชิญภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน เผชิญภัยจากคนในท้องถิ่นที่หลากหลายมาก พวกเขาต้องปรับสิ่งที่เขารู้ เพื่อที่จะสามารถเผยแพร่ให้กับชุมชนในกลุ่มนั้นได้ ไม่ว่าความรู้นั้นจะเป็นอะไรก็ตาม ขึ้นชื่อว่าความรู้ย่อมไม่มีสิ่งใดที่ควรละทิ้ง ยิ่งเป็นเรื่องคําสอนของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความลุ่มลึกอย่างยิ่ง ก็สมควรที่จะเปิดทัศนะว่า ยังมีคัมภีร์พุทธของนิกายอื่นอื่นนอกจากเถรวาทในภาษาบาลี

 

Thai Buddhists have long studied Theravada teachings in Pali, but there are other teachings to learn, with similarities and differences. The Kanthari language is a tool to explore these teachings.

คําสอนของเถรวาทในภาษาบาลีนั้นชาวพุทธไทยได้ศึกษากันมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน  แต่ก็ยังมีคําสอนอื่นๆ ด้วยเช่นเดียวกัน คล้ายคลึงบ้างมีความแตกต่างกันอยู่บ้างสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ควรจะเรียนรู้มิใช่หรือ ภาษาคานธารีก็คือเครื่องมือหนึ่งในการเรียนรู้เรื่องราวต่างๆเหล่านั้น

 

Over the years, DIRI, led by Phra Sudhammayanavites, or affectionately known as Luang Nah Sudhammo, had to overcome challenges but never complained and dedicated his life to it.

หลายปีผ่านไปดีรีได้ทุ่มเทอย่างสุดชีวิตของพระสุธรรมญาณวิเทศ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่าพระเดชพระคุณหลวงน้าสุธัมโม ท่านทุ่มเทฝ่าฟันอุปสรรคที่หลั่งไหลเข้ามา ก็พูดได้เลยว่าทุกรูปแบบอย่างท้อถอย ไม่เคยปริปากบ่น จนกระทั่งบางครั้งเราต้องไปถามท่านว่าท่านคิดยังไงคะในเรื่องนี้ แต่ท่านไม่เคยบ่น จนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต

 

Today, DIRI, affiliated with the Pariyatti Dhamma Division of Wat Phra Dhammakaya, under the guidance of Phra Ajahn Mahasudham Suratano, will continue to strengthen the Kanthari Studies Center.

วันนี้ดีรี ได้สังกัดสํานักพระปริยัติธรรม วัดพระธรรมกาย ภายใต้การอํานวยการของพระอาจารย์มหาสุธรรม สุรตโน ท่านก็จะได้สร้างความเป็นปึกแผ่นให้ศูนย์คานธารีศึกษาต่อไป

 

Kanthari has traveled from afar, emerging in this region, confident of success for the benefit of Buddhism's prosperity.

คารธารีนั้นเดินทางมาจากที่ไกล อุบัติใหม่ในภูมิภาคนี้ เชื่อมั่นว่าจะประสบความสําเร็จ

 เพื่อประโยชน์ในการค้ำชูพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองสืบไป

 

I express my gratitude to the venerable teacher. Let's give a round of applause for Professor Sukanya Suddhammaraj, the esteemed advisor to the Dhammachai International Research Institute and the Kanthari Studies Center. Thank you.

กราบขอบพระคุณด้วยพระอาจารย์ค่ะ ขอเสียงปรบมือดังๆ นะครับให้ศาสตราจารย์กิตติคุณสุกัญญา สุดบรรทัดราชบัณฑิตที่ปรึกษาสถาบันวิจัยนานาชาติธรรมชัยและที่ปรึกษาศูนย์คานธารีศึกษานะครับ กราบขอบพระคุณนะครับ


SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: