วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม

SHARE
ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม

     "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม" เมื่อได้ยินประโยคนี้ชาวพุทธที่ศึกษาธรรมอยู่เสมอย่อมจะคุ้นเคยประโยคนี้เป็นอย่างดีว่าเป็นประโยคที่พระพุทธองค์ตรัสกับใคร? และตรัสแล้วเกิดผลอย่างไร? ถ้านึกแล้วยังนึกไม่ออก แต่ถ้าพอเอ่ยถึง พระวักกลิ ย่อมจะพอนึกออกได้ทันที เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่พระวักกลิผู้มีศรัทธาความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าแต่เป็นประเภทที่ถือประมาณคือเลื่อมใสแต่รูปกาย จัดเป็นพวกรูปัปปมาณิกา คือศรัทธาพอใจแค่ในรูปไม่พัฒนาจิตให้ก้าวต่อไป เพราะความเลื่อมใสมี 4 ระดับ ซึ่งในชั้นอรรถกถา นิยมเรียกบุคคล 4 ประเภทนี้ว่า รูปัปปมาณิกา(ถือประมาณคือเลื่อมใสในรูป) โฆสัปปมาณิกา(ถือประมาณคือเลื่อมใสในเสียง) ลูขัปปมาณิกา(ถือประมาณคือเลื่อมใสในเศร้าหมองหรือปอนๆ) และ ธัมมัปปมาณิกา(ถือประมาณคือเลื่อมใสในธรรม) ตามลำดับ
      เมื่อพระวักกลิถือประมาณคือเลื่อมใสแต่เฉพาะในรูปของพระองค์ไม่ค่อยสนใจในพระสัทธรรม จึงทำให้ไม่สามารถบรรลุธรรมได้ พระองค์จึงตรัสสอนให้เห็นเบญจขันธ์ร่างกายไม่ใช่สิ่งเที่ยงแท้เป็นต้น เพราะถ้าผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นจะเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
 "อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นธรรม วักกลิ เป็นความจริง บุคคลเห็นธรรมก็ย่อมเห็นเรา บุคคลเห็นเรา ก็ย่อมเห็นธรรม วักกลิ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?..."
     และคำพูดประโยคที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา นั้นปรากฏในสังฆาฏิสูตร ขุททกนิกายความว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับที่ชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้ติดตามไปข้างหลังๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มีอภิชฌาเป็นปรกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย  มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา"  
ที่มา http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=25&A=6335&Z=6360

          คำว่า"ผู้ใดเห็นเรา"นั้น คำว่า เรา ในอรรถกถาสังฆาฏิสูตร ขุททกนิกาย  ท่านยกบาลีขึ้นแปลความว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นเราตถาคต" 
        ส่วนคำว่า ไม่เห็นธรรม นั้น ท่านพระอรรถกถาจารย์ก็อธิบายไว้ว่า  "ในคำว่า ธมฺมํ น ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ก็เธอไม่อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่า ไม่เห็นธรรมกาย สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ เธอจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกายอันเปื่อยเน่านี้ที่เธอได้เห็นแล้ว ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้น ก็เห็นเราตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้น ก็เห็นธรรม ดังนี้ และว่า เราตถาคตเป็นพระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้ และว่า เป็นธรรมกายบ้าง เป็นพรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น"
     สรุปความว่า ผู้ใดเห็นธรรม นั้นหมายถึง เห็นโลกุตรธรรม 9 อย่าง(มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1)ก็ชื่อว่า เห็นธรรมกาย เมื่อเห็นธรรมหรือเห็นธรรมกายนั้นก็ชื่อว่า เห็นเราตถาคต (ซึ่งไม่ใช่เห็นเพียงรูปกาย เพราะอย่างที่พระพุทธองค์ตรัสกับพระวักกลิว่า "อย่าเลย วักกลิ ร่างกายอันเปื่อยเน่าที่เธอเห็นนี้ จะมีประโยชน์อะไร")
     ความเหมือนในความต่าง
       ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรานั้น มีพระสูตรของฝ่ายมหายาน ก็มีความเหมือนหรือคล้ายกันมากสอดคล้องกับงานวิจัยเรื่อง "การศึกษาวิเคราะห์คัมภีร์สมาธิราชสูตร" โดยร้อยโทพรชัย หะพินรัมย์ ปรากฏในหน้าที่ 406  ความว่า "ในเถรวาทมีพระพุทธพจน์ที่ตรัสไว้ในวักกลิสูตรเช่นกันว่า “ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม” ในสมาธิราชสูตรก็มีข้อความที่ระบุไว้ในทํานองเดียวกันว่า  “ผู้ที่เห็นด้วยธรรมกายย่อมเห็นพระนายก เพราะว่า สัมพุทธเจ้าทั้งหลายคือธรรมกาย นั้นเป็นทรรศนะของพระสัมพุทธเจ้า”(1) ข้อความทั้งสองนี้ยืนยันตรงกันว่าพระพุทธเจ้าคือธรรมกายโดยไม่ต้องสงสัย...
(1) SR. 32.197.17. ธรฺมกาเยน ปศฺยนฺติ เย เต ปศฺยนฺติ นายกมฺ |
                              ธรฺมกายา หิ สํพุทฺธา เอตตฺ สํพุทฺธทรฺ ศนมฺ | (32)
                            dharmakāyena paśyanti ye te paśyanti nāyakam |
                            dharmakāyā hi saṃbuddhā etat saṃbuddhadar śanam |
http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/605/1/53105902%20%20พรชัย%20%20หะพินรัมย์.pdf

       เห็นธรรมกายเมื่อใด ก็ใกล้พุทธเจ้าเมื่อนั้น
       หากมีคำถามว่า แล้วทำไมเราจึงจะเห็นธรรมหรือเห็นธรรมกาย? เพราะถ้าไม่เห็นธรรมหรือเห็นธรรมกายก็จะเป็นผู้ห่างไกลพระพุทธเจ้าห่างไกลพระตถาคต และพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคตก็ห่างไกลผู้นั้นด้วย ดังในพุทธดำรัสในสังฆาฏิสูตร ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมชื่อว่าไม่เห็นเรา" 
       ทำไมถึงห่างไกลพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคต?  มีคำตอบอธิบายปรากฏใน ขุทฺทกนิกาย อิติวุตฺตก อรรถกถาสังฆาฏิสูตร เล่ม ๔๕ หน้า ๕๘๓ ว่า 
        "บทว่า โส อารกาว มยฺหํ อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกลเราตถาคตทีเดียว เราตถาคตก็ชื่อว่า อยู่ไกลเธอเหมือนกัน ด้วยคำนี้พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกันทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้น และการรวมกันด้วย ธรรมกาย ต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้) ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า
        ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุนั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรมก็ไม่เห็นเราตถาคต"
https://www.dmc.tv/pages/ธรรมกาย/พระธรรมกาย-ภาพพระธรรมกาย.html

       สรุปความว่า  แม้จะเดิมตามหลังพระพุทธองค์หรือพูดง่ายๆว่า เดินตามเกาะชายผ้าสังฆาฏิ ก็เป็นเพียงการเห็นหรืออยู่ด้วยกันทางรูปกายกับพระพุทธเจ้าก็ไม่ใช่เหตุของการอยู่รวมหรือวัตถุประสงค์ของพระพุทธเจ้าเพราะยังไม่เห็นธรรม จึงถือว่ายังห่างไกลพระพุทธเจ้า แต่ถ้าเห็นพระพุทธเจ้าหรือพระตถาคตด้วยญาณหรือญาณจักษุและอยู่รวมด้วยธรรมกายคือเข้าถึงหรือบรรลุธรรมกาย จึงประมาณคือบรรลุวัตถุประสงค์ของการอยู่ร่วมกันกับพระพุทธเจ้าได้

    เห็นพุทธเจ้าด้วยญาณจักษุคือเห็นอย่างไร? 
       ตอบแบบง่ายๆ คือเห็นด้วยใจที่ปราศจากอวิชชาไม่ใช่เห็นด้วยโลกียจักษุคือเห็นแบบชาวโลกทั่วไป ส่วนพระอริยสาวกและบางท่านผู้มีบุญมากก็สามารถเห็นด้วยโลกียจักษุและโลกุตรจักษุ เหมือนเรื่องนายธนิยและครอบครัวคือบุตรและภรรยาได้เห็นพระพุทธเจ้าด้วยตาทั้ง 2 อย่างคือโลกียจักษุและโลกุตรจักษุแปลง่ายคือเห็นด้วยตานอกกับตาในขุทฺทกนิกาย สตฺตนิปาต อรรถกถาธนิยสูตร เล่ม 46 หน้า 84 ว่า 
…นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็น ธรรมกาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยโลกุตตรจักษุ โดยการแทงตลอดอริยมรรคและเห็น รูปกาย ของพระองค์ด้วยโลกียจักษุ
...ธนิโย สปุตฺตทาโร ภควโต อริยมคฺคปฏิเวเธน ธมฺมกายํ ทิสฺวา โลกุตฺตรจกฺขุนา, รูปกายํ ทิสฺวา โลกิยจกฺขุนา สทฺธาปฏิลาภํ ลภิ..."
...dhaniyo saputtadāro bhagavato ariyamaggapaṭivedhena dhammakāyaṃ disvā lokuttaracakkhunā, rūpakāyaṃ disvā lokiyacakkhunā saddhāpaṭilābhaṃ labhi..."
http://www.84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=28&A=616
 
  คำว่าเห็นพระพุทธเจ้าไม่ใช่เห็นด้วยมังสจักษุตาภายนอกแต่เห็นด้วยธรรมจักษุหรือญาณจักษุตาภายในเท่านั้น เหมือนพระชันตาเถรีท่านกล่าวในตอนหนึ่งว่า "เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มีในที่สุด ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี" หมายถึงเมื่อเห็นพุทธเจ้าก็หมดกิเลสไม่มาเกิดอีก การเห็นนั้นต้องไม่ใช่การเห็นด้วยมังสจักษุธรรม ต้องเห็นด้วยธรรมจักษุคือเห็นด้วยตาภายใน เห็นพระพุทธเจ้าคือเห็นอะไร? พระอรรถกถาจารย์ก็อธิบายว่า คือเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ผู้เป็นธรรมกาย ผู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ ด้วยการเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ดังในพระไตรปิฎกและอรรถกถาบาลีว่า

                              ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควา อนฺติโมยํ สมุสฺสโย
                              วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ฯ (ชันตาเถรีคาถา 26/224)
                            diṭṭho hi me so bhagavā antimoyaṃ samussayo
                             vikkhīṇo jātisaṃsāro natthidāni punabbhavo 
                             เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นข้าพเจ้าเห็นแล้ว ร่างกายนี้มี
                            ในที่สุด ชาติสงสารขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี
        ดังในปรมตฺถทีปนิยา  นาม ขุทฺทกนิกายฏฺฐกถาย เถรีคาถาวณฺณนา (เชนตาเถรีคาถา วณฺณนา) ฉบับมหาจุฬาฯ  ข้อ ๒๒ หน้า ๓๕ ขยายความหมายได้ชัดเจนขึ้นว่า
            ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควาติ หิสทฺโท เหตุอตฺโถ. ยสฺมา โส ภควา   ธมฺมกาโย สมฺมาสมฺพุทฺโธ อตฺตนา ว อธิคตอริยธมฺมทสฺสเนน ทิฏฺโฐ, ตสฺมา อนฺติโมยํ สมุสฺสโยติ โยชนา. อริยธมฺมทสฺสเนน หิ พุทฺธา ภควนฺโต อญฺเญ จ อริยา ทิฏฺฐา นาม โหนฺติ, น รูปกายทสฺสนมตฺเตน. ยถาห "โย โข วกฺกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ, โส มํ ปสฺสตี ติ [เชิงอรรถ สํ.ข.๑๗/๘๗/๙๖]   จ"สุตฺวา จ โข ภิกฺขเว อริยสาวโก อริยานํ ทสฺสาวี ติ [เชิงอรรถ ม.มู.๑๒/๒๐/๑๒, สํ.ข.๑๗/๑/๓] จ อาทิ.
diṭṭho hi me so bhagavāti hisaddo hetuattho. yasmā so bhagavā dhammakāyo sammāsambuddho attanā va adhigatariyadhammadassanena diṭṭhotasmā antimoyaṃ samussayoti yojanā. ariyadhammadassanena hi buddhā bhagavanto aññe ca ariyā diṭṭhā nāma honti, na rūpakāyadassanamattena. yathāha "yo kho vakkali dhammaṃ passati, so maṃ passatī ti ca"sutvā ca kho bhikkhave ariyasāvako ariyānaṃ dassāvī ti ca ādi.
            หิ ศัพท์ในบาทคาถาว่า ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควา มีความว่า เหตุ ประกอบความว่า  เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  เป็นธรรมกาย เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ อันข้าพเจ้าเห็นแล้วด้วยการเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว ฉะนั้นร่างกายนี้จึงมีในที่สุด  ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคผู้พุทธเจ้า และพระอริยะอื่นๆ ย่อมชื่อว่า ข้าพเจ้าเห็นแล้ว ด้วยการเห็นอริยธรรม ไม่ใช่ด้วยเพียงเห็นรูปกาย เหมือนอย่างที่ตรัสว่า
            ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอริยสาวกผู้สดับแล้วเป็นผู้เห็นอริยสัจดังนี้ เป็นต้น
            (ขุ.เถรี.อรรถกถาเชนตาเถรีคาถา เล่ม ๕๔ หน้า ๔๘-๔๙ มมก) 
ที่มา http://infinitygoodness.blogspot.com/2016/04/blog-post_90.html

  และเห็นพุทธเจ้าก็หมดกิเลสไม่มาเกิดอีกก็คล้ายกับประโยคที่พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีกล่าวคาถาไว้ว่า
                                   ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควา อนฺติโมยํ สมุสฺสโย
                                   วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว ฯ (มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา 26/463)
                                 diṭṭho hi me so bhagavā antimoyaṃ samussayo
                                 vikkhīṇo jātisaṃsāro natthidāni punabbhavo 
                       ก็หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล้ว 
                       อัตภาพนี้เป็นอัตภาพสุดท้ายชาติสงสารสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพใหม่มิได้มี 

              ในอรรถกถามหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถาขยายความว่า  "บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควา ความว่า หม่อมฉันได้พบพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองพระองค์นั้น โดยประจักษ์ด้วยจักษุคือญาณโดยการเห็นโลกุตรธรรมที่พระองค์ทรงเห็นแล้ว.
               จริงอยู่ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นตถาคต ดังนี้เป็นต้น."
             สรุปว่า เมื่อเห็นธรรมคืออริยธรรม จึงเห็นพุทธเจ้า (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา) และไม่ใช่เห็นแค่รูปกาย ต้องเห็นธรรมกายด้วยเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว เมื่อนั้นจึงจะหมดภารกิจในพระศาสนาได้ในที่สุด

พึงเห็นพุทธเจ้าโดยธรรม พระตถาคตเป็นธรรมกาย
           แม้ในคัมภีร์ วัชรัจเฉทิกาปรัชญาปารมิตาในฉบับภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นส่วนที่พบจากกิลกิตอายุคัมภีร์ราวกลางพุทธศตวรรษที่ 11-13 ได้กล่าวถึงทำนองเดียวกันว่า ชนเหล่าใดถึงได้เห็นได้ฟังพระพุทธเจ้า แต่ประกอบความเพียรไม่ถูกต้อง ก็ไม่เรา พึงเห็นพุทธเจ้าโดยธรรม พระตถาคตเป็นธรรมกาย ดังนี้ ความว่า

      ภาพใบลานหน้าแรกและหน้าสุดท้ายของคัมภีร์วัชรัจเฉทิกา ในภาษาโขตานโบราณ
ที่มา หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ บทที่ 3 คันธาระ เอเชียกลาง และประเทศจีน | 185-187
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html

        น่าสังเกตว่า ประโยคในคัมภีร์วัชรัจเฉทิกาที่ว่า ทฺรษฺฏวฺโย ธรฺมโต พุทฺโธ ธรฺมกายสฺ ตถาคตะ คล้ายๆ กับประโยคว่า ทิฏฺโฐ หิ เม โส ภควา ในภาษาบาลี แม้ศัพท์และเนื้อหาจะไม่ตรงกันทั้งหมด แต่โดยรวมแล้วแนวคิดปรัชญาเรื่องพระพุทธเจ้าประกอบด้วยรูปกายและธรรมกายรวมถึงการเห็นพระองค์ไม่ใช่เห็นแค่รูปกาย ต้องเห็นพระพุทธเจ้าเป็นธรรมกายด้วยดูเหมือนจะตรงกัน

      ส่วนเรื่องการเห็นธรรมคือ ธรรมกายนี้ มีหลักฐานจากพระสูตรมหายานเหมือนกัน คือวิมลเกียรตินิเทศสูตร (Book of Vimalakīrti) ได้กล่าวถึงการสนทนาระหว่างท่านวิมลเกียรติกับพระสุภูติถามถึงการบรรลุธรรมของพระพุทธเจ้า ปรากฏความว่า
351 tte {x} kha daitta mvaśtai’ kaiṇa hvāña vāṣṭa hvadai ttā dyame jsa haiṣṭa tvā rraṣṭa dyā-
352 ma daitta vainau dyāme khu ra dye dajagaiva sarvaña ba’ ysa khva ra vaña sthīra sūbvā-
353 va dharmakāya ṣadai jsa ba’ ysa pa uysaña ttaiña baiḍa ba’ ysa baiśa sūmvaha dya 
(Ibid,p.496.)
๓๕๑ ตฺเต {x} ข ไทตฺต มฺวศฺไต’ ไกณ หฺวาญ วาษฺฏ หฺวไท ตฺตา ทฺยเม ชฺส ไหษฺฏ ตฺวา รฺรษฺฏ ทฺยา-
๓๕๒ ม ไทตฺต ไวเนา ทฺยาเม ขุ ร ทฺเย ทชไคว สรฺวญ พ’ ยฺส ขฺว ร วญ สฺถีร สูพฺวา-
๓๕๓ ว ธรฺมกาย ษไท ชฺส พ’ ยฺส ป อุยฺสญ ตฺไตญ ไพฑ พ’ ยฺส ไพศ สูมฺวห ทฺย
(351) เขาเห็นได้อย่างไร เพื่อความกรุณาบอกเล่าเถิด  เป็นที่กล่าวแล้วว่า: มันเป็นทั้งหมดโดยการมองเห็นว่าบุคคลผู้ซึ่งเห็นสัมมาทิฏฐินี้ (352) ปราศจากทิฏฐิ ทศครีวะ (Daśagrīva) เห็นพระพุทธเจ้าผู้รอบรู้ได้อย่างไร บัดนี้พระสุภูติเถระ (353) เห็นธรรมกายได้อย่างไร ด้วยศรัทธาของตนเองต่อพระพุทธเจ้า ในเวลานั้น ท่านได้เห็นพระพุทธเจ้าทั้งปวงแล้วในทิฏฐิที่สมบูรณ์ (Skjaervo, Prods Oktor. 2002:496.)
ที่มา ธรรมกายในคัมภีร์มหาปรินิรวาณสูตร คัมภีร์ต้นฉบับพระพุทธศาสนายุคต้น ดร. ชัยสิทธิ์ สุวรรณวรางกูล หน้า 41
      สรุปว่า  "ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม" การจะเห็นเห็นธรรมคืออริยธรรม จึงเห็นพุทธเจ้า (ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา) และไม่ใช่เห็นแค่รูปกาย ต้องเห็นธรรมกายด้วยเห็นอริยธรรมที่ตนได้บรรลุแล้ว หมายถึงเห็นธรรมกาย ด้วยธรรมจักษุคือเห็นด้วยตาภายใน เมื่อนั้นจึงจะหมดภารกิจในพระศาสนาได้ในที่สุด  เมื่อเราได้ทราบอย่างนี้แล้ว ควรที่จะปฏิบัติธรรมให้เกิดธรรมจักษุเพื่อจะเห็นอริยธรรมแล้วเห็นพระธรรมเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในที่สุด ส่วนการตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธจะเป็นอย่างไร โปรดติดตามตอนต่อไป

   ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน 1 พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน 2 ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?  
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน 3 สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต”  (ตถาคตคือธรรมกาย) 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: