วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2561

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?

SHARE
ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?

       ธรรมกายเป็นอัตตาคืออัตตาอะไร?
         ตั้งแต่ในอดีตจนถึงยุคปัจจุบันนี้เมื่อพูดหรือกล่าวถึง อัตตา (ตัวตน) คนส่วนใหญ่ก็จะเข้าใจไปถึงอัตตาตัวตนคือขันธ์ 5 หรือส่งที่เนื่องด้วยขันธ์ 5 (อุปาทานขันธ์) ซึ่งเกิดด้วยตัณหามานะทิฏฐิ ของปุถุชนผู้ยังละอนุสัย คือ ทิฏฐิและมานะไม่ได้แล้ว แต่เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสว่า อหํ (เรา) ซึ่งเป็นบทแสดงถึงอัตตา (ตัวตน) เป็นการอธิบายว่า อัตตา นั้นกล่าวคือสันดานอันเป็นของตนที่เที่ยงแท้ ไม่ใช่บุคคลอื่น เช่นคำว่า เราตถาคตมี  พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ตรัสเหมือนอย่างที่ปุถุชนทั้งหลายคิดและพูดกัน และเมื่อเสนอคำว่า "ธรรมกาย อันเป็นอัตตา" ก็ไม่ได้หมายถึงอัตตาที่คนทั้งหลายสมมติกันขึ้น เพราะอัตตานั้นที่ปุถุชนยึดมั่นกันเป็น อนัตตา ไม่ใช่ อัตตา ของตนที่เที่ยงแท้  ดังนั้น "ธรรมกาย อันเป็นอัตตา" จึงไม่น่าจะใช่ อัตตาที่อนัตตานั่นเอง 
            ซึ่งในคัมภีร์อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก (ปกิณฺณกกถา) ชื่อปรมัตถทีปนี เล่ม ๕๑ หน้า ๓๒๔ ปรากฏว่า ธรรมกายเป็นอัตตา ความว่า
                 อถ วา ปรํ สตฺตํ อตฺตนิ มวติ พนฺธติ คุณวิเสสโยเคน, ปรํ วา อธิกตรํ มชฺชติ สุชฺฌติ สงฺกิเลสมลโต, ปรํ วา เสฏฺฐํ นิพฺพานํ วิเสเสน มยติ คจฺฉติ, ปรํ วา โลกํ ปมาณภูเตน ญาเณวิเสเสน อิธโลกํ วิย มุนาติ ปริจฺฉินฺทติ ฯ ปรํ วา อติวิย สีลาทิคุณคณํ อตฺตโน สนฺตาเน มิโนติ ปกฺขิปติ, ปรํ วา อตฺตภูตโต ธมฺมกายโต อญฺญํ ปฏิปกฺขํ วา ตทนตฺถกรํ กิเลสโจรคณํ มินาติ หึสตีติ ปรโม, มหาสตฺโต ฯ
              แปลว่า : "อีกอย่างหนึ่ง บารมี ย่อมผูกสัตว์อื่นไว้ในตน ด้วยการประกอบคุณวิเศษ หรือบารมี ย่อมขัดเกลาสัตว์อื่นให้หมดจดจากมลทิน คือ กิเลส หรือบารมี ย่อมถึงนิพพานอันประเสริฐที่สุดด้วยคุณวิเศษ หรือบารมีย่อมกำหนดรู้โลกอื่น ดุจรู้โลกนี้ ด้วยคุณวิเศษ คือ ญาณอันเป็นการกำหนดแล้ว หรือบารมี ย่อมตักตวงคุณมีศีลเป็นต้นอื่น ไว้ในสันดานของตนเป็นอย่างยิ่ง หรือบารมี ย่อมทำลายเบียดเบียนปฏิปักษ์อื่นจาก ธรรมกาย อันเป็นอัตตา (หรือทำลายเบียดเบียนหมู่โจรคือกิเลส อันทำความพินาศแก่ ธรรมกาย อันเป็นอัตตานั้น) เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปรมะ สัตว์ใดประกอบด้วยปรมะ ดังกล่าวนี้ สัตว์นั้น ชื่อว่า มหาสัตว์ ฯ"

          ทำไม ธรรมกาย อันเป็นตัวตนที่แท้จริง? 
          เพราะบารมีกำจัดข้าศึกคือกิเลสทั้งหลายจาก ธรรมกาย อันเป็นอัตตาเสียได้ เพราะเหตุนั้นพระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ดังข้างต้นว่า "บารมี ย่อมทำลายคือเบียดเบียนข้าศึกอื่นจาก ธรรมกาย อันเป็นอัตตา หรือทำลายคือเบียดเบียนหมู่โจรคือกิเลส อันทำความพินาศแก่ ธรรมกาย อันเป็นอัตตานั้น"...
             ...คำเหล่านี้เป็นนามบัญญัติที่ใช้แทนหรือใช้เรียกท่านผู้บรรุผลแห่งบารมี มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ทรงพุทธภาวะภายใน คือ ธรรมกาย อันเป็นตัวตนที่แท้จริง เพราะบารมีกำจัดข้าศึกคือกิเลสทั้งหลายจาก ธรรมกาย อันเป็นอัตตาเสียได้ เพราะเหตุนั้นพระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ดังข้างต้นว่า "บารมี ย่อมทำลายคือเบียดเบียนข้าศึกอื่นจาก ธรรมกาย อันเป็นอัตตา หรือทำลายคือเบียดเบียนหมู่โจรคือกิเลส อันทำความพินาศแก่ ธรรมกาย อันเป็นอัตตานั้น"
          ฉะนั้น ท่านเหล่านั้น แม้กล่าวว่า เรา ของเรา อันแสดงถึงอัตตาภายใน คือ ธรรมกาย อันบริสุทธิ์ แต่ก็หากล่าวด้วยอำนาจความยึดถือเยี่ยงปุถุชนผู้ยังมีกิเลสไม่ ดังที่ท่านกล่าวไว้ใน อรรถกถา พราหมณสูตร จตุกกนิบาต ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ว่า
             "บทว่า อหํ (เรา) เป็นบทแสดงถึงอัตตา (ตัวตน). อธิบายว่า อัตตา กล่าวคือสันดานอันเป็นของตนที่เที่ยงแท้ ไม่ใช่บุคคลอื่น เรียกว่า อหํ (เรา). ก็พระศาสดาทรงปฏิญญาอยู่ว่า เรา(อัตตา)มี คือเมื่อทรงปฏิญญาความเป็นพราหมณ์ (ที่แท้จริงคือผู้ลอยบาปได้แล้ว) โดยปรมัตถ์ ที่กำลังตรัสถึงว่า อหํ (เราตถาคต) ว่ามีอยู่ในพระองค์ จึงได้ตรัสว่า เราตถาคตมี และบทว่า เราตถาคตมี พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ตรัสเหมือนอย่างที่ปุถุชนทั้งหลาย ผู้ยังละอนุสัย คือ ทิฏฐิและมานะไม่ได้แล้ว พูดเบ่งด้วยอำนาจการยึดมั่นด้วยทิฏฐิมานะและความดูหมิ่นว่า เรามี เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหมและว่าเราประเสริฐกว่า"
              อนึ่ง เหล่าสัตว์ผู้ทรงกายอันสังขตธรรม (คือ บุญหรือบาป) ปรุงแต่งซึ่งมีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ย่อมเวียนเกิดในภพคือที่อยู่อันไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาฉันใด
            พระสัมพุทธเจ้า เป็นต้น ผู้เป็น ธรรมกาย เพราะบรรลุผลแห่งบารมีธรรมอันเป็น อสังขตธาตุซึ่งมีลักษณะเที่ยง เป็นสุข และเป็นอัตตา อันตรงกันข้ามกับสังขตธรรม ย่อมไปสู่วิภพคืออายตนะนิพพานดังที่ท่านกล่าวไว้ในสังยุตตกนิกาย สฬายตนวรรคว่า "พระนิพพานเป็นคติ (ทางไป) ของพระอรหันต์ทั้งหลาย" เพราะอายตนะ (นิพพาน) มีสภาพเที่ยง เป็นสุขเป็นต้น ดังที่ท่านกล่าวไว้ปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคว่า "แม้อนุปัสสนามีอนิจจานุปัสนาเป็นต้นนี่ ก็เรียกได้ว่า เป็นปริจจาคปฏินิสสัคคะ และเป็นปักขันทนปฏินิสสัคคะ เพราะสละกิเลสทั้งหลายเสียพร้อมทั้งขันธ์และอภิสังขาร (คือ กรรม) ด้วยตทังคปหาน และเพราะด้วยการเห็นโทษในสังขตธรรม จึงแล่นไปเสียในพระนิพพานอันตรงกันข้ามกับสังขตธรรมนั้น"
ที่มา ผลแห่งบารมี ธรรมกาย ตัวตนที่แท้จริง ขยายความหลักฐานธรรมกาย โดย พระมหาสมเกียรติ วรยโส (ป.ธ.๙)
http://www.dhammakaya.net/สมาธิ/พระธรรมกาย/ผลแห่งบารมีธรรมกาย
             ในหลักการของวิชชาธรรมกาย ก็มีกล่าวถึงคุณสมบัติของธรรมกายที่ตรงกันกับคุณสมบัติของนิพพานเช่นกัน ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมกายเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา (รธ. 27) ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ตรงกันกับนิพพานที่แสดงไว้ในพระไตรปิฎกบาลี ดังนี้
                 ก) อาโรคฺยปรมา ลาภา         นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
                      อฏฺฐงฺคิโก จ มคฺคานํ เขมํ อมตคามินํ
                                                                (ม.ม. 13/288/283)
           คำแปล: ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่งนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
                         บรรดาหนทางสู่อมตะทั้งหลาย มรรคมีองค์ 8 เป็นทางเกษม
                ข) นิพฺพานํ นิจฺจํ ธุวํ สสฺสตํ อวิปริณามธมฺมนฺติ อสํหิรํ อสงฺกุปฺปํ ฯ (ขุ.จูฬ. 30/619/315)
            คำแปล: นิพพาน เที่ยง ถาวร ยั่งยืน เป็นธรรมที่ไม่แปรปรวน ดังนั้นท่านจึงเรียกว่า อสํหิรํ อสงฺกุปฺปํ ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน
                ค) สุสุขํ วต นิพฺพานํ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ อโสกํ วิรชํ เขมํ  ยตฺถ ทุกฺขํ นิรุชฺฌตีติ ฯ (ขุ.เถร. 26/309/305)
           คำแปล: นิพพาน อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว เป็นสุขจริงหนอ ไม่มีความโศก ปราศจากธุลี เป็นแดนเกษมเป็นที่ที่ความทุกข์ดับไป

           ในแง่นี้ จึงกล่าวได้ว่าคุณลักษณะของธรรมกายที่ไม่มีอาพาธ อันเป็นคุณสมบัติเดียวกันกับนิพพานนั้นตรงกันกับหลักการของวิชชาธรรมกาย
ที่มา หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ บทที่ 3 คันธาระ เอเชียกลาง และประเทศจีน | หน้า 226-227
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html

            ในมหาปรินิรวาณสูตรของมหายานฉบับแปลเป็นภาษาจีนโดยท่านธรรมเกษม พบคำว่า ธรรมกาย (法身) ทั้งหมด 41 แห่ง กล่าวถึงธรรมกายในแง่มุมต่างๆ ดังนี้
                 1.ธรรมกายเป็นอสังขตธรรม เป็นนิจจัง สุขัง อัตตา และบริสุทธิ์
                    1.1. 善男子。我於經中説如來身凡有二種。一者生身。二者。言生身者。即是方便應化之身。如是身者。可得言是生老病死長短黒白。是此是彼是學無學。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來。定説佛身是有爲法。法身即是常樂我淨。永離一切生老病死。非白非黒非長非短。非此非彼非學非無學。若佛出世及不出世。常住不動無有變易。善男子。我諸弟子聞是説已不解我意。唱言如來定説佛身是無爲法 (T374 12: 567a3,6)
                   คำแปล: ดูก่อนกุลบุตร เราได้อธิบายเนื้อความตามพระสูตรว่า กายของตถาคตประกอบด้วย 2 กาย หนึ่งคือรูปกายและสองคือธรรมกาย รูปกายเป็นชื่อของการแสดงออกของกายที่เกิดจากกุศโลบาย ดังนั้นคำที่จะใช้ได้กับคำนี้คือ การเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว มันเป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนี้ เป็นความรู้ เป็นความไม่รู้ สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอนและไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคตได้ตรัสว่า(รูป)กายของพระพุทธเจ้าเป็นสังขตธรรม” ธรรมกายเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา และ ความบริสุทธิ์ ปราศจากการเกิด การเจริญเติบโต ความเจ็บป่วย ความตาย ยาว สั้น ดำ และ ขาว ตลอดกาล มันไม่เป็นเช่นนั้น ไม่เป็นเช่นนี้ ไม่เป็นความรู้ ไม่เป็นความไม่รู้ ถึงแม้ว่าพระพุทธเจ้าจะปรากฏหรือไม่ปรากฏเกิดขึ้นในโลกนี้ พระองค์ก็เป็นนิจจัง มีความแน่วแน่ และมั่นคง ดูก่อนกุลบุตร สาวกทั้งหลายของเราได้ฟังเนื้อหาคำสอนและไม่เข้าใจประเด็นที่กล่าวว่า “พระตถาคตได้ตรัสว่า(ธรรม)กายของพระพุทธเจ้าเป็นอสังขตธรรม
              เนื้อหาของพระสูตรตอนนี้ กล่าวถึง “กายของพระพุทธเจ้า” ว่ามีความหมายสองด้าน คืออาจหมายถึงรูปกาย ซึ่งเป็นเพียงการแสดงออกของกายที่เกิดจากกุศโลบาย และเป็นสังขตธรรม หรืออาจหมายถึงธรรมกายซึ่งเป็นกายที่แท้จริงของพระพุทธองค์ เป็น อสังขตธรรม เป็น นิจจัง สุขัง อัตตา และบริสุทธิ์
ที่มา หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ บทที่ 3 คันธาระ เอเชียกลาง และประเทศจีน | หน้า 219-220
http://ebook.dmc.tv/book-หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ-1-ฉบับวิชาการ-606.html

      และในศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตร Sīmālāthēwī sīnātthasūt พระสูตรมหายาน ได้กล่าวถึงลักษณะ ธรรมกาย มีลักษณะเป็นมั่นคง(เที่ยง) สุข อัตตา ความบริสุทธิ์ คล้ายกับคัมภีร์เถรวาทเช่นกัน ความว่า
       "ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอบเขตของความรู้อันเป็นธรรมกายของพระตถาคตนั้น ไม่มีใครเห็นมาก่อน แม้โดยความบริสุทธิ์ของพระสาวกและพระปัจเจกพุทธะ เมื่อสรรพสัตว์มีศรัทธาในพระตถาคต และสรรพสัตว์เหล่านั้นเข้าถึงพระองค์ด้วยความมั่นคง ความสุข อัตตา ความบริสุทธิ์ และไม่หลงผิดไป สรรพสัตว์เหล่านั้นมีทัศนะที่ถูกต้อง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะธรรมกายของพระตถาคตมีความสมบูรณ์ในความเป็นนิจจัง มีความสมบูรณ์อยู่ในความสุข มีความสมบูรณ์ในอัตตา และสมบูรณ์ในความบริสุทธิ์ เมื่อใดก็ตามที่สรรพสัตว์เห็นธรรมกายของพระตถาคตในลักษณะนี้ เรียกได้ว่าเขาเห็นถูกต้อง ผู้ใดเห็นถูกต้องนับว่าเป็นพุทธบุตร เกิดจากพระหฤทัย เกิดจากพระโอษฐ์ เกิดจากธรรมะ ผู้ปฏิบัตินี้เป็นเยี่ยงปรากฏของพระธรรมและประดุจเป็นทายาทแห่งพระธรรม 
(แปลโดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์. กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง. เฮ้าส์. 2523.)
 “O Lord, living beings have contrary ideas when they have acquired the five psychophysical elements of the individual. The impermanent is considered permanent, suffering is considered happiness. The nonsubstantiality of the self is considered a substantial self, the impure is considered pure. The knowledge of all arhats and pratyekabuddhas has not originally apprehended the Dharma body of the Tathāgata nor the realm of his omniscience. If there are living beings who believe in the Buddha’s words, they will have thoughts of permanence, of happiness, of self, and of purity. These are not contrary views but are correct views. Why? The Dharma body of the Tathāgata is the perfection of permanence, the perfection of happiness, the perfection of the substantial self, and the perfection of purity. Those who see the Dharma body of the Buddha in this way are said to see correctly. Those who see correctly are the true sons and daughters of the Buddha. They arise from the Buddha’s words, from the True Dharma, and from conversion to the Dharma, attaining the remaining benefits of the Dharma. 
(The Sutra of Queen Śrīmālā of the Lion’s Roar 222b, P.43-44)


《勝鬘師子吼一乘大方便方廣經》卷1:「顛倒眾生,於五受陰,無常[4]常想、苦有樂想、無我我想、不淨淨想。一切阿羅漢、辟支佛淨智者,於一切智境界及如來法身,本所不見。 
「或有眾生,[5]信佛語故,起常想、樂想、我想、淨想,非顛倒見,是名正見。何以故?如來法身是常波羅蜜、樂波羅蜜、我波羅蜜、淨波羅蜜。於佛法身,作是見者,是名正見。正見者,是佛真子,從佛口生、從正法生、從法化生,得法餘財。」(CBETA, T12, no. 353, p. 222, a18-26) 
[4]〔常〕-【知】。[5]信+(於)【知】。子。


     สรุปความว่าในเถรวาทคำว่า ธรรมกาย อันเป็นอัตตา มีหลักฐานยืนยัน และความหมายธรรมกายอีกอย่างคือ นวโลกุตรธรรม (มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1) และในส่วน นิพพาน มีหลักฐานว่า นิพพาน เที่ยง ถาวร ยั่งยืน เป็นธรรมที่ไม่แปรปรวน (นิพฺพานํ นิจฺจํ ธุวํ สสฺสตํ อวิปริณามธมฺมนฺติ) ส่วนในพระสูตรมหายานเช่นในมหาปรินิรวาณสูตรบอกว่า "ธรรมกายเป็นนิจจัง สุขัง อัตตา และ ความบริสุทธิ์"เป็นต้น และในศรีมาลาเทวีสีหนาทสูตรความว่า   "เมื่อสรรพสัตว์มีศรัทธาในพระตถาคต และสรรพสัตว์เหล่านั้นเข้าถึงพระองค์ด้วยความมั่นคง ความสุข อัตตา ความบริสุทธิ์ และไม่หลงผิดไป สรรพสัตว์เหล่านั้นมีทัศนะที่ถูกต้อง ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะธรรมกายของพระตถาคตมีความสมบูรณ์ในความเป็นนิจจัง มีความสมบูรณ์อยู่ในความสุข มีความสมบูรณ์ในอัตตา และสมบูรณ์ในความบริสุทธิ์"  
       ส่วนตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธจะเป็นอย่างไรโปรดติดตามตอนต่อไป


ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน 1 พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน 2 ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?  
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน 3 สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน

ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต”  (ตถาคตคือธรรมกาย) 
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด ๒ ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: