วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

หลักฐานธรรมกายใน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

SHARE

หลักฐานธรรมกายใน วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร

วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร (อังกฤษ: Diamond Sutra) เป็นชื่อพระสูตรสำคัญหมวดปรัชญาปารมิตาของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน เชื่อกันว่าพระสูตรหมวดปรัชญาปารมิตานี้เป็นพระสูตรมหายานรุ่นแรก ๆ ที่เกิดขึ้น

เนื้อหาสาระสำคัญเป็นเรื่องราวการเทศนาสั่งสอนของพระพุทธเจ้ากับพระสุภูติซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก ที่พระเชตวันมหาวิหาร ว่าด้วยการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ จะต้องกระทำด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นการอรรถาธิบายถึงหลักศูนยตา ความว่างเปล่าปราศจากแก่นสารของอัตตาตัวตนและสรรพสิ่งทั้งปวง แม้ธรรมะและพระนิพพานก็มีสภาวะเป็นศูนยตาด้วยเช่นเดียวกัน สรรพสิ่งเป็นแต่เพียงสักว่าชื่อเรียกสมมติขึ้นกล่าวขาน หาได้มีแก่นสารแท้จริงอย่างใดไม่ เพราะสิ่งทั้งปวงอาศัยเหตุปัจจัยประชุมพร้อมกันเป็นแดนเกิด หาได้ดำรงอยู่ด้วยตัวของมันเอง เช่นนี้สิ่งทั้งปวงจึงเป็นมายา พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีพึงมองเห็นสรรพสิ่งในลักษณะเช่นนี้ เพื่อมิให้ยึดติดในมายาของโลก ท้ายที่สุด พระพุทธองค์ได้สรุปว่าผู้เห็นภัยในวัฏสงสารพึงยังจิตมิให้บังเกิดความยึดมั่นผูกพันในสรรพสิ่งทั้งปวง เพราะสังขตธรรมนั้นอุปมาดั่งภาพมายา ดั่งเงา ดั่งความฝัน ดั่งฟองในน้ำ และดั่งสายฟ้าแลบ เกิดจากการอิงอาศัยไม่มีสิ่งใดเป็นแก่นสารจีรังยั่งยืน

แนวคิดเรื่องศูนยตานี้ได้พัฒนาต่อไปโดยท่านคุรุนาคารชุนแห่งนิกายมาธยมิกะ จนกลายเป็นความคิดหลักทางพุทธปรัชญาที่ลึกล้ำและโดดเด่นในโลกจนทุกวันนี้ พระสูตรนี้มีแปลเป็นภาษาไทยโดย เสถียร โพธินันทะ
atha khalu bhagavāṃstasyāṃ velāyāmime gāthe abhāṣata-
ye māṃ rūpeṇa cādrākṣurye māṃ ghoṣeṇa cānvaguḥ
mithyāprahāṇaprasṛtā na māṃ drakṣyanti te janāḥ1
dharmato buddho draṣṭavyo dharmakāyā hi nāyakāḥ
dharmatā ca na vijñeyā na sā śakyā vijānitum226
อถ ขลุ ภควําสฺตสฺยํา เวลายามิเม คาเถ อภาษต-
เย มํา รูเปณ จาทฺรากฺษุรฺเย มํา โฆเษณ จานฺวคุะฯ
มิถฺยาปฺรหาณปฺรสฤตา น มํา ทฺรกฺษฺยนฺติ เต ชนาะ๚๑๚
ธรฺมโต พุทฺโธ ทฺรษฺฏวฺโย ธรฺมกายา หิ นายกาะฯ
ธรฺมตา จ น วิชฺเญยา น สา ศกฺยา วิชานิตุมฺ๚๒๚๒๖๚
คำแปล: ในเวลานั้นแล พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานคาถาเหล่านี้
ชนเหล่าใดเห็นเราโดยรูปด้วย ชนเหล่าใดติดตาม(ฟัง)เราโดยเสียงด้วย 
มัวประกอบความเพียรไม่ถูกทาง พวกเขาย่อมไม่ได้ชื่อว่า เห็นเรา 
พึงเห็นพระพุทธเจ้าโดยความเป็นธรรม พระนายกเจ้าเป็นธรรมกาย 
แต่สภาวะแห่งธรรม ไม่อาจสัมผัสรับรู้ได้ “ธรรมตา”จะรับรู้ด้วยวิญญาณไม่ได้[1]

 ซึ่งคล้ายกับคัมภีร์พระสูตรมหายาน วัชรัจเฉทิกาปรัชญาปารมิตาสูตร (ฉบับภาษาสันสกฤต)
अथ खलु भगवांस्तस्यां वेलायामिमे गाथे अभाषत-
ये मां रूपेण चाद्राक्षुर्ये मां घोषेण चान्वगुः।
मिथ्याप्रहाणप्रसृता न मां द्रक्ष्यन्ति ते जनाः॥१॥
धर्मतो बुद्धो द्रष्टव्यो धर्मकाया हि नायकाः
धर्मता च न विज्ञेया न सा शक्या विजानितुम्॥२॥२६॥
atha khalu bhagavāstasyā velāyāmine gāthe abhāata-
ye mā rūpea cādarākurye mā ghoea cānvāgu |
mithyāprahāaprastā na mā drakyanti te janā || 1 ||
dharmato buddho draṣṭavyo dharmakāyā hi nāyakā |
dharmatā ca na vijñeyā na sā śākyā vijānitum || 2 || || 26 ||
๏ อถ ขลุ ภควำสฺตสฺยำ เวลายามิเน คาเถ อภาษต-
เย มำ รูเปณ จาทรากฺษุรฺเย มำ โฆเษณ จานฺวาคุะ
มิถฺยาปฺรหาณปฺรสฺฤตา น มำ ทฺรกฺษฺยนฺติ เต ชนาะ || ||
ธรฺมโต พุทฺโธ ทฺรษฺฏวฺโย ธรฺมกายา หิ นายกาะ
ธรฺมตา จ น วิชฺเญยา น สา ศากฺยา วิชานิตุมฺ || || || ๒๖ || 
คำแปล: ในเวลานั้นแล พระพุทธองค์ทรงเปล่งอุทานคาถาเหล่านี้
ชนเหล่าใดเห็นเราโดยรูปด้วย ชนเหล่าใดติดตาม(ฟัง)เราโดยเสียงด้วย 
มัวประกอบความเพียรไม่ถูกทาง พวกเขาย่อมไม่ได้ชื่อว่า เห็นเรา 
พึงเห็นพระพุทธเจ้าโดยความเป็นธรรม พระนายกเจ้าเป็นธรรมกาย 
แต่สภาวะแห่งธรรม ไม่อาจสัมผัสรับรู้ได้ “ธรรมตา”จะรับรู้ด้วยวิญญาณไม่ได้
http://www.thai-sanscript.com/index.php/sample/vajrasutra 
   
[梵本ये मां रूपेण चाद्राक्षुर्ये मां घोषेण चान्वगुः।
मिथ्याप्रहाणप्रसृता न मां द्रक्ष्यन्ति ते जनाः॥१॥ 
[
轉寫] ye māṁ rūpeṇa cādrākṣur-ye māṁ ghoṣeṇa cānvaguḥ| 
mithyāprahāṇaprasṛtā na māṁ drakṣyanti te janāḥ||1||
[
什譯「若以色見我、以音聲求我,是人行邪道,不能見如來。 
[
奘譯「諸以色觀我、以音聲尋我,彼生履邪斷,不能當見我。 
[
凈譯「若以色見我、以音聲求我,是人起邪觀,不能當見我。 
[梵本धर्मतो बुद्धो द्रष्टव्यो धर्मकाया हि नायकाः। 
धर्मता च न विज्ञेया न सा शक्या विजानितुम्॥२॥२६॥ 
[轉寫] dharmato buddho draṣṭavyo dharmakāyā hi nāyakāḥ| 
dharmatā ca na vijñeyā na sā śakyā vijānitum||2||26||
[
什譯] (缺譯
[奘譯應觀佛法性,即導師法身,法性非所識,故彼不能了。」 
其可以色身之相比觀乎。故說偈曰。
唯見色聞聲。是人不佛。秦譯止此。而唐譯又云。
應觀佛法性。即導師法性非所識 。故彼不能了。

Those who by my form did see me.
And those who followed me by voice,
Wrong the efforts they engaged in,
Me those people will not see.
From the Dharma should one see the Buddhas,
For the Dharma-bodies are the guides.
Yet Dharma’s true nature should not be discerned,
Nor can it, either, be discerned.
(Vajracchedika Prajndpdramitd, chap. 26.)


SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: