วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2562

ตปุสสะและ
ภัลลิกะ

SHARE
เรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อ 2,605 ปีที่แล้วของพ่อค้ามอญ 2 คน คือ ตปุสสะและ
ภัลลิกะ ที่เกิดความเลื่อมใสในคำสอนของพระพุทธเจ้า จากการที่ได้ไปเข้าเฝ้าถวายข้าวสัตตูและถวายตัวเป็นปฐมอุบาสก เมื่อจะจากมาก็กราบทูลขอให้พระพุทธองค์ประทานสิ่งใดเป็นอนุสรณ์สำหรับบูชาแทนพระองค์ พระพุทธเจ้าจึงได้ประทานเส้นพระเกศาธาตุ หรือเส้นผม 8 เส้นของพระองค์ให้ เมื่อชาวมอญทั้ง 2 กลับมาจึงได้ก่อสร้างเจดีย์บนเนินเชียงกุตระ ณ เมืองตะโกง ทำให้บนเส้นขอบฟ้าของเมืองนี้เรามองเห็นพระมหาเจดีย์ชเวดากอง หรือเจดีย์ทองแห่งเมืองตะโกง ซึ่งปัจจุบันก็คือนครย่างกุ้ง และการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในประเทศเมียนมา

เมื่อเวลาเดินทางต่อมาถึงในสมัยอยุธยาเป็นราชธานีของสยาม เมืองท่าสำคัญทางตะวันตกของสยามที่เชื่อมเข้ากับมหาสมุทรอินเดียก็คือเมืองมะริด สยามซึ่งแผ่อิทธิพลเหนือล้านนา (ชื่อก็บอกแล้วว่าคือแหล่งผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ) และล้านช้าง (ชื่อก็บอกเราเช่นกันว่าคือแหล่งผลิตสินค้าทุน ปัจจัยการผลิตที่สำคัญในเวลานั้น นั่นคือ ปศุสัตว์) และมีความเชี่ยวชาญ (เทคโนโลยี) ในการฝึกฝนในช้าง (พิจารณาช้างในฐานะสินค้าทุนที่สำคัญในการผลิต และในการสร้างความมั่นคงเพื่อรักษาอาณาจักร) สยามก็สามารถลำเลียงช้างโดยใช้เรือสินค้าขนาดใหญ่ ส่งออกช้างไปยังอินเดีย ผ่านทางท่าเรือที่มะริดแห่งนี้ ช้างเป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดเจนถึงองค์ความรู้เรื่องโลจิสติกส์ที่ดีเยี่ยม เพราะเรากำลังพูดถึงการส่งออกสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่ต้องการพื้นที่ ต้องการนํ้าหนักบรรทุก ต้องการนํ้าจืดและต้องการอาหารจำนวนมาก รวมทั้งต้องการเส้นทางที่สั้นที่สุดเพื่อให้ช้างไม่โทรมและสามารถไปถึงมือลูกค้าราชวงศ์อิสลามโมกุลได้โดยบอบชํ้าน้อยที่สุด แล้วสยามก็ทำได้สำเร็จ
SHARE

Author: verified_user

0 ความคิดเห็น: