พระพุทธรูปทำไมไม่มีหนวดเหมือนคนอินเดียมีหนวด?
จากกรณีมีการกล่าวจ้วงจาบและลบหลู่พระพุทธรูปของบุคคลที่นับถือศาสนาอื่น ว่าไม่ถูกต้องไม่สมควรทำ และที่ทำมาก็ผิดและไม่เหมือนพุทธเจ้า เช่นกรณี พระพุทธรูปทำไมไม่มีหนวดเหมือนคนอินเดียมีหนวด?
1.พระพุทธองคตรัสเล่าเองว่า "ปลงผมและหนวด" ก่อนออกบวช
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรากำลังรุ่นหนุ่ม มีเกศาดำสนิท ยังอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้บวช มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ จึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวช เมื่อบวชแล้ว ก็เสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล พระวิปัสสีราชกุมาร(พระวิปัสสีพุทธเจ้า)ได้ตรัสเรียกนายสารถีมาสั่งว่า นายสารถีผู้สหาย ถ้าเช่นนั้น เธอจงนำรถกลับไปวังจากสวนนี้แหละ ส่วนเราจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต ณ สวนนี้แหละ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราอนุญาตพวกเธอนั่นแหละจงให้กุลบุตรทั้งหลายบรรพชาอุปสมบทในทิศนั้น ๆ ในชนบทนั้น ๆ เถิด.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงให้กุลบุตรบรรพชาอุปสมบทอย่างนี้.
ชั้นแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและอุปสมบท ปลงผมและหนวด แล้วให้ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้ว ให้นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี สั่งว่า เธอจงว่าอย่างนี้แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงให้กุลบุตรบรรพชาอุปสมบทอย่างนี้.
ชั้นแรก พวกเธอพึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและอุปสมบท ปลงผมและหนวด แล้วให้ครองผ้ากาสายะ ให้ทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลายแล้ว ให้นั่งกระโหย่งประคองอัญชลี สั่งว่า เธอจงว่าอย่างนี้แล้วให้ว่าสรณคมน์ ดังนี้.
พระพุทธเจ้าทรงห้ามทำพระพุทธรูปจริงหรือ?
ยังไม่พบหลักฐานว่า มีพุทธดำรัสห้ามสร้างพระปฏิมาหรือพระพุทธรูปองพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีแต่หลักฐานในคัมภีร์ที่กล่าวถึงการมีอยู่หรือการสร้างพระพุทธรูปไว้ปรากฏอยู่ เช่น
หลักฐานพระพุทธรูปมีมานานแล้ว ปรากฏในคัมภีร์ ปรมัตถโชติกา อรรถกถาขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ (พระไตรปิฏกอรรถกถา มมร.เล่ม 39 หน้า235-236)
"ชนแม้ทุกคน จะทำความเคารพยำเกรง บูชาเฉพาะจักรรัตนะและมณีรัตนะเท่านั้น
ปรารถนาพรนั้น ๆ และพรบางอย่างที่ปรารถนาแล้ว ๆ ของเขาก็สำเร็จผลได้ รัตนะแม้นั้น
เสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี.
ก็หากว่าทรัพย์เครื่องปลื้มใจชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่า ทำให้เกิดความเคารพยำเกรง
พระตถาคตเท่านั้น ก็ชื่อว่า รัตนะ. จริงอยู่เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว
เทวดาและมนุษย์ ผู้มีศักดิ์มาก ทุกหมู่เหล่าเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่ทำ
ความเคารพยำเกรงในรัตนะอื่น ย่อมไม่บูชารัตนะไร ๆ อื่น. จริงอย่างนั้น
ท้าวสหัมบดีพรหม ก็บูชา พระตถาคต ด้วยพวงรัตนะขนาดเท่าภูเขาสิเนรุ.
และเทวดาเหล่าอื่นและมนุษย์ทั้งหลายมีพระเจ้าพิมพิสาร
พระเจ้าโกศลและท่านอนาถบิณฑิกะ เป็นต้นก็บูชาตามกำลัง.
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสละพระราชทรัพย์ ๙๖ โกฏิ ทรงสร้างวิหาร ๘๔,๐๐๐
หลัง ทั่วชมพูทวีป อุทิศถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จปรินิพพานแล้ว.
ก็จะป่วยกล่าวไปใย สำหรับหมู่คนที่เคารพยำเกรงเหล่าอื่นเล่า. อนึ่ง
เมื่อพระพุทธเจ้าพระองค์ไร ๆ อื่น แม้ปรินิพพานแล้ว การทำความเคารพยำเกรง
อุทิศสถานที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ประกาศพระธรรมจักรและสถานที่ปรินิพพาน
หรือเจดีย์ คือ พระปฏิมา [พระพุทธรูป] ก็เป็นไปเหมือนของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
รัตนะที่เสมอด้วยพระตถาคตแม้เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความเคารพยำเกรง
ย่อมไม่มีด้วยประการฉะนี้."
ในอรรถกถาพระวินัยปิฏกมีเรื่องการแต่งตั้งภิกษุผู้ทำหน้าที่ต่างๆ ของสงฆ์ ก็ปรากฏมีภิกษุผู้รักษาโรงอุโบสถ และผู้รักษาเรือนพระปฏิมา(เรือนพระพุทธรูป) ในปฐมสมันตปาสาทิกาแปล (พระไตรปิฏกอรรถกถา มมร.เล่ม 2 หน้า 194)
"ควรแต่งตั้งภิกษุผู้อยู่ในอาวาส, ส่วนภิกษุผู้ถืออัพโภกาสิกธุดงค์ก็ดี ผู้ถือรุกขมูลิกธุดงค์ก็ดี
ไม่ควรให้รับวาระ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่งยังเป็นพระนวกะอยู่,
แต่เธอเป็นพหูสูต สอนธรรมให้การสอบถาม บอกบาลีแสดงธรรมกถา
แก่ภิกษุเป็นอันมาก ทั้งช่วยภาระของสงฆ์ด้วย,ภิกษุนี้
เมื่อฉันลาภอยู่ก็ดี อยู่ในอาวาสก็ดี ไม่ควรให้รับวาระ, ควรรู้กันว่าเป็นคนพิเศษ.
แต่ภิกษุผู้รักษาโรงอุโบสถ และเรือนพระปฏิมา[พระพุทธรูป]ควรให้ข้าวยาคูและภัตเป็นทวีคูณ
ข้าวสารทะนานหนึ่งทุกวัน ไตรจีวรประจำปี และกัปปิยภัณฑ์ที่มีราคา ๑๐ หรือ ๒๐
กหาปณะ. "
"ภิกษุนั้นรับสาสน์ของอุบาสกผู้มีศรัทธามีความเลื่อมใส
ด้วยคำว่า เอวมาวุโส ดังนี้แล. ได้ยินว่า การนำข่าวสาสน์ที่เป็นกัปปิยะเห็นปานนี้ไป
ย่อมควร. เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่พึงทำความรังเกียจในข่าวสาสน์ทั้งหลายเช่นนี้ว่า
ขอท่านจงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของเรา ดังนี้ ก็ดี ว่า
ขอท่านจงไหว้พระเจดีย์ พระปฏิมา[พระพุทธรูป]ต้นโพธิ์
พระสังฆเถระ ดังนี้ ก็ดี ว่า ท่านจงทำการบูชาด้วยของหอมการบูชาด้วยดอกไม้ที่พระเจดีย์
ดังนี้ ก็ดี ว่า ขอท่านจงนิมนต์ให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกัน, พวกเราจักถวายทาน จักฟังธรรม ดังนี้ ก็ดี ข่าวสาสน์เหล่านี้เป็นกัปปิยสาสน์
ไม่เกี่ยวด้วยคิหิกรรมของพวกคฤหัสถ์ ด้วยประการฉะนี้แล."
ในเรื่องการถวายทานสงฆ์สองฝ่าย
"ถามว่า เฉพาะในกาลก่อน
ทายกทั้งหลายถวายทานแก่สงฆ์สองฝ่ายมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งตรงกลาง ภิกษุนั่งข้างขวา ภิกษุณีนั่งข้างซ้าย
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสังฆเถระแห่งสงฆ์ ๒ ฝ่าย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบริโภคปัจจัยที่พระองค์ได้ด้วยพระองค์เองบ้าง
รับสั่งให้แก่ภิกษุทั้งหลายบ้าง. ส่วนในบัดนี้ คนผู้ฉลาดทั้งหลายตั้งพระปฏิมา[พระพุทธรูป]หรือพระเจดีย์ที่บรรจุพระธาตุ
แล้วถวายทานแก่สงฆ์ ๒ ฝ่าย มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ตั้งบาตรบนเชิงข้างหน้าแห่งพระปฏิมา[พระพุทธรูป]หรือพระเจดีย์แล้วถวายทักษิโณทกกล่าวว่า
ขอถวายแด่พระพุทธเจ้า ดังนี้แล้ว ใส่ของควรเคี้ยว
ของควรบริโภคอันใดเป็นที่หนึ่งในบาตรนั้น หรือนำมายังวัด ถวายบิณฑบาตและวัตถุมีระเบียบและของหอมเป็นต้น
กล่าวว่า นี้ถวายพระเจดีย์" (7/368)
ตติยสมันตปาสาทิกาแปล อรรถกถาพระวินัย (9/200)
ก็เรือนเจดีย์ เรือนโพธิ์ เรือนพระปฏิมา[พระพุทธรูป]ร้านไม้กวาด
ร้านเก็บไม้เวจกุฎี โรงอิฐ โรงช่างไม้ ซุ้มประตู โรงน้ำ
ศาลาคร่อมทาง ศาลาริมสระเหล่านี้ ไม่ใช่เสนาสนะ.
ภิกษุนั้นพึงปรนนิบัติเจดีย์. แม้ในต้นโพธิ์ เรือนโพธิ์ เรือนปฏิมา[พระพุทธรูป] ร้านไม้กวาด ร้านเก็บไม้ เวจกุฎี ซุ้มประตู
กุฎีน้ำ โรงน้ำ และโรงไม้สีไฟก็มีนัยเหมือนกัน.
ปรมัตถโชติกา
อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต 47/28
ที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักร และสถานที่ปรินิพพาน หรือปฏิมากรรม(พระพุทธรูป)และเจติยสถานเป็นต้น ของพระกัสสปพุทธเจ้า
แม้ปรินิพพานแล้ว เหมือนกับการทำการบูชาแสดงทำความเคารพเจาะจงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
ชื่อว่า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตจึงไม่มี
แม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลทำการบูชาอย่างนี้.
บุญเท่ากันแม้ในการบูชาพระพุทธเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ แม้บูชาในพระปฏิมา[พระพุทธรูป]ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แม้ปรินิพพานไปแล้ว
วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน
71/330
...พระอริยสาวก อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดา บิดา
และครูเป็นต้น ชื่อว่าปูชารหบุคคล (บุคคลที่ควรบูชา)
ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำการนับส่วนแห่งบุญที่บุคคลบูชาแล้วในปูชารหบุคคลเหล่านั้น
ด้วยสักการะมีระเบียบดอกไม้ดอกปทุม ผ้า
เครื่องอาภรณ์และปัจจัย ๔ เป็นต้น ด้วยทรัพย์ตั้งแสนเป็นต้น แม้ด้วยอานุภาพอันใหญ่ได้
มิใช่เพียงบูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น
ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่อย่างเดียวเท่านั้น แม้บูชาใน
พระเจดีย์ พระปฏิมา[พระพุทธรูป]และต้นโพธิ์เป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้แม้ปรินิพพานไปแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน.
ชนเหล่าใด ทำลายเป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริยกรรม
ปปัญจสูทนี อรรถกถามัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ 22/312 (พ.ศ.1000)
ถามว่า
ต่อมา เมื่อพระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วชนเหล่าใด ทำลายเจดีย์ ทำลายต้นโพธิ์ ประทุษร้ายพระบรมธาตุ
กรรมอะไรจะเกิดแก่ชนเหล่านั้น ?
ตอบว่า (การทำเช่นนั้น) เป็นกรรมหนัก เสมอด้วยอนันตริยกรรม. แต่การตัดกิ่งไม้โพธิ์ที่ขึ้นเบียดพระสถูปที่บรรจุพระธาตุ
หรือพระปฏิมา[พระพุทธรูป]ควรทำ
แม้ถ้าพวกนกจับที่กิ่งโพธิ์นั้นถ่ายอุจจาระรดพระเจดีย์ ก็ควรตัดเหมือนกัน.
ก็เจดีย์ที่บรรจุพระสรีรธาตุสำคัญกว่าบริโภคเจดีย์ (เจดีย์ที่บรรจุเครื่องใช้สอยของพระพุทธเจ้า).
แม้รากโพธิ์ที่งอกออกไปทำลายพื้นที่ ที่ตั้งเจดีย์จะตัดทิ้งก็ควร ส่วนกิ่งโพธิ์กิ่งใดขึ้นเบียดเรือนโพธิ์
จะตัดกิ่งโพธิ์นั้นเพื่อรักษาเรือน (โพธิ์) ไม่ควร. ด้วยว่า
เรือนมีไว้เพื่อต้นโพธิ์ ไม่ใช่ต้นโพธิ์มี
ไว้เพื่อประโยชน์แก่เรือน
แม้ในเรือนอาสนะก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ก็ในเรือนอาสนะใด เขาบรรจุพระบรมธาตุไว้ เพื่อจะรักษาเรือนอาสนะนั้น
จะตัดกิ่งโพธิ์เสียก็ได้.
เพื่อการบำรุงต้นโพธิ์จะตัดกิ่งที่ค้อมลง หรือที่ (เนื้อ) เสียออกไปก็ควรเหมือนกัน. แม้บุญก็ได้
เหมือนในการปฏิบัติพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
จริงอยู่ ในเวลาที่มีงานฉลองพระวิหารเป็นต้น
คนผู้ไปด้วยความตั้งใจว่า เราจักไหว้พระเจดีย์ และจักไหว้พระปฏิมา[พระพุทธรูป]นั้น ๆ เราจักดูโปตถกรรม(การทำหนังสือ) และจิตรกรรม (การวาดภาพ) ดังนี้
ไหว้หรือเห็นสิ่งหนึ่งแล้วก็ตั้งใจเพื่อต้องการไหว้
เพื่อต้องการชมสิ่งนอกนี้แล้ว ก็ไปเพื่อไหว้บ้างเพื่อดูบ้างทีเดียว อย่างนี้
จิตชื่อว่าก้าวไปจากอารมณ์ โดยอัชฌาศัย คือความปรารถนา.
อรรถกถานิธิกัณฑสูตร
พรรณนาคาถาที่ ๗ 39/313
ในเจดีย์ก็ดี ในสงฆ์ก็ดี ในบุคคลก็ดี ในแขกก็ดี ในมารดาก็ดี ในบิดาก็ดี ในพี่ชายก็ดี.
ในคาถานั้น ชื่อว่า เจติยะ เพราะควรก่อ ท่านอธิบายว่า ควรบูชา. ชื่อว่า เจติยะ เพราะวิจิตรแล้ว. เจดีย์นั้นมี ๓
อย่าง คือ บริโภคเจดีย์อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์.
บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่า บริโภคเจดีย์ พระพุทธปฏิมา[พระพุทธรูป] ชื่อว่า อุทิสสกเจดีย์
พระสถูปที่มีห้องบรรจุพระธาตุชื่อว่า ธาตุกเจดีย์.
สร้างได้
สรุปว่า ยังไม่พบหลักฐานว่า มีพุทธดำรัสห้ามสร้างพระปฏิมาหรือพระพุทธรูปของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเลย มีแต่หลักฐานในคัมภีร์ที่กล่าวถึงการมีอยู่ของพระพุทธรูปไว้หรือเรือนพระปฏิมาปรากฏอยู่ แม้จะยังไม่มีความชัดเจนทางหลักฐานว่าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สร้างพระพุทธรูปหรือไม่ แต่มีความชัดเจนว่า ไม่ได้ตรัสห้ามไว้ เมื่อไม่ตรัสห้ามหรือไม่ตรัสอนุญาตก็ต้องเข้าหลักมหาปเทส 4 อย่างได้สร้างได้
พุทธรูปคือส่วนหนึ่งในธรรม
และอีกอย่างที่คนอ้างเหตุว่าพระพุทธเจ้า ให้ธรรมะกับวินัยเป็นศาสดาแทน จึงหมายถึงการห้ามสร้างประพุทธรูป ที่จริงการสร้างพุทธรูปก็จัดอยู่ในส่วนของธรรมะ คือ การแสดงการบูชา ก็เป็นของมงคลสูตร และเมื่อบูชาก็เกิดบุญซึ่งเป็นส่วนของบุญกิริยาวัตถุเช่นกัน
พุทธรูปคืออุทิสสกเจดีย์
ทำไมสมัยแรกยังไม่ปรากฏหลักฐานพุทธรูป? เพราะสมัยนั้นผู้คนนิยมสร้างพระสถูปเจดีย์กันเป็นส่วนใหญ่ แต่ยุคสมัยต่อๆ มาจึงนิยมสร้างพุทธรูป จึงทำให้หลงเหลือหลักฐานมาจนถึงปัจจุบันนี้
พระวินัยปิฎก มหาวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 190
พระพุทธานุญาตมหาปเทส ๔
[๙๒] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายเกิดความรังเกียจในพระบัญญัติบางสิ่งบางอย่างว่า สิ่งใดหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระมีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสประทานสำหรับอ้าง ๔ ข้อ ดังต่อไปนี้.
๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้ห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควร หากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ไม่ควร ขัดกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควรแก่เธอทั้งหลาย.
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่เราไม่ได้อนุญาตไว้ว่า สิ่งนี้ควรหากสิ่งนั้นเข้ากับสิ่งที่ควร ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควรแก่เธอทั้งหลาย.
https://th.wikipedia.org/wiki/ปปัญจสูทนี
ตามหาพระแก่นจันทน์ สิ่งอัศจรรย์ที่หายไป
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_20.html ตอน 1 พระพุทธรูปแก่นจันทน์พระพุทธรูปองค์แรกของโลก?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_98.html ตอน 2 ความหมายและความสำคัญไม้แก่นจันทน์เป็นไฉน?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_82.html ตอน 3 สืบหาจากเมืองไทย ไปสู่นานาชาติ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post_15.html ตอน 4 พระถังซัมจั๋ง ผู้เห็นพระแก่นจันทน์อันอัศจรรย์กับตาท่านเอง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5-3.html ตอน 5 พระแก่นจันทน์โบราณตามตำนาน 3 องค์ที่คงมีอยู่?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/6_24.html ตอน 6 ตามหาพระแก่นจันทน์ จาก จดหมายเหตุการเดินทางสู่ดินแดนตะวันตก《大唐西域記》
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/7.html ตอน 7 ตามหาพระแก่นจันทน์ จากบทภาพยนต์ เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/blog-post.html พระพุทธเจ้ามีมากมาย พระธรรมกายมีไม่ถ้วน
ตามหาหลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/1.html ตอน 1 “ธรรมกายแลคือพระตถาคต” (ตถาคตคือธรรมกาย)
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/3.html ตอน 3 กว่าจะเป็นพระพุทธเจ้านั้น ต้องเกิด 2 ครั้ง
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/4.html ตอน 4 ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/03/5.html ตอน 5 เห็นพระพุทธเจ้าเห็นด้วยตาหรือเห็นด้วยใจ? เห็นอย่างไร?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/6_82.html ตอน 6 ธรรมกาย เป็น อัตตา จริงหรือ?
http://newheartnewworld.blogspot.com/2018/04/4.html ตอน 7 ธมฺมกายพุทธลกฺขณํ พระพุทธลักษณะ คือพระธรรมกาย
อ่านหนังสือแล้วมีประโยชน์มากที่สุดในโลกโดยการใช้สิทธิในเรื่องนี้ดีมากครับ
ตอบลบ